X
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้าเข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ตั้งครรภ์
    • คำนวณวันคลอด
    • ฉันกำลังตั้งครรภ์
    • ไตรมาสที่ 1
    • ไตรมาสที่ 2
    • ไตรมาสที่ 3
    • Project Sidekicks
    • ตั้งชื่อลูก
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • อีเว้นท์
    • TAP Awards Winners
    • TAP idol
    • TAP x Safari Largest Treasure Hunt
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

อยากให้ลูกอ้วน รวมวิธีเพิ่มน้ำหนัก เมื่อลูกผอมเกินไป

บทความ 5 นาที
อยากให้ลูกอ้วน รวมวิธีเพิ่มน้ำหนัก เมื่อลูกผอมเกินไป

ทำอย่างไรดีลูกผอมเกินไป ? อยากให้ลูกอ้วน เราช่วยได้ ผู้ปกครองคนไหนกำลังมองหาทางออกสำหรับปัญหานี้ ลองอ่านบทความนี้ดูก่อน เรามีวิธีแก้มาให้ทั้งการปรับมื้ออาหารสำหรับเด็กวัยซน และการปรับการให้นมสำหรับทารกน้อย รับรองช่วยได้แน่นอน

 

อยากให้ลูกอ้วน รวมวิธีช่วยลูกหากลูกผอมเกินไป

ลูกของคุณอ้วนหรือผอมในตอนนี้ ? หันไปมองดูลูกแล้วพบว่าลูกมีกระดูกขึ้นตามร่างกาย ดูตัวเล็ก ผอมเกินไป ปัญหานี้ปล่อยผ่านไปเรื่อย ๆ จะส่งผลเสียต่อเด็กได้ หากกำลังมองหาวิธีที่จะช่วยเพิ่มน้ำหนักให้ลูก เราก็มีมานำเสนอให้ ทั้งวิธีสำหรับเด็กแรกเกิด – 4 เดือน และวิธีสำหรับเด็กที่กำลังโตอยู่ในซุกซน

 

3 วิธีเพิ่มน้ำหนักสำหรับเด็กทารก – 4 เดือน

ผู้ปกครองที่เพิ่งมีลูกอาจมีความกังวลใจว่าทารกน้อยหลังคลอด ตอนนี้มีน้ำหนักมาก หรือน้อยกว่าเกณฑ์ ซึ่งอาหารหลักของทารกนั้นเป็นนมแม่ แต่ด้วยหลายปัจจัย เช่น สารอาหารในน้ำนมอาจไม่พอ เป็นต้น อาจทำให้ทารกแต่ละคนกินนมแม่ได้ไม่เท่ากัน ดังนั้นผู้ปกครองที่สงสัยว่าลูกของตนสมส่วนหรือไม่ ให้เทียบจากน้ำหนักด้านล่างนี้

 

  • ทารกแรกเกิด – 7 วันแรก น้ำหนักตัวลดลงได้ 10 % ของน้ำหนักหลังคลอด
  • ทารก อายุ 2 สัปดาห์ จะมีน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น เท่ากับน้ำหนักตัวตอนหลังคลอด
  • เมื่อลูกอายุครบ 5 เดือน น้ำหนักจะเป็น 2 เท่า ของน้ำหนักตอนหลังคลอด
  • ลูกอายุครบ 1 ปี น้ำหนักจะเป็น 3 เท่า ของน้ำหนักตอนหลังคลอด
  • เมื่อลูกอายุครบ 2 ปี น้ำหนักจะเป็น 4 เท่า ของน้ำหนักตอนหลังคลอด

 

เมื่อเทียบกับข้อมูลแล้วพบว่าทารกน้อยมีน้ำหนักน้อยกว่าเกณฑ์ที่กำหนด อย่ารอช้า เพราะทารกอาจมีพัฒนาการช้า จากสารอาหารที่ไม่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกายได้ จึงควรแก้ไข ดังนี้

บทความที่เกี่ยวข้อง : อยากให้ลูกสูง 180 เป็นไปได้ไหมถ้าพ่อแม่ไม่สูง พร้อมสูตรทำนายส่วนสูงลูก

 

วิดีโอจาก : นพ.ธีระยุทธ์ ธนนันทน์ธัญโชติ

 

1. เลี่ยงไม่ให้ลูกกินนมส่วนหน้ามากเกินไป

คุณแม่บางคนอาจไม่รู้ว่านมแม่นั้นมี 2 ส่วน และมีความแตกต่างกัน คือ นมส่วนหน้า (Foremilk) ลักษณะนมจะมีความใส มีสารอาหารที่หลากหลาย ช่วยเสริมภูมิคุ้มกันได้ดี สังเกตได้จากอุจจาระของลูกจะกระปริบกระปอย และมีฟอง และนมส่วนหลัง (Hindmilk) มีไขมันผสมอยู่กับสารอาหารอื่น ๆ ด้วย ทำให้สามารถเพิ่มน้ำหนักทารกได้ดี ลักษณะนมจะมีสีขาวข้น สังเกตจากอุจจาระของลูกจะเป็นสีเหลือง และเป็นเม็ด ๆ ดังนั้นการให้ลูกกินนมส่วนหลังจึงช่วยแก้ปัญหาเรื่องลูกน้ำหนักตัวน้อยได้

วิธีก็คือ ให้คุณแม่ปั๊มนมให้เกลี้ยงทุก 2 – 3 ชั่วโมง นมส่วนหน้าที่ถูกปั๊มออกมาให้เก็บเอาไว้ให้ลูก แล้วให้ลูกกินนมจากเต้า เพราะนมส่วนหลังจะถูกผลักออกมาใช้แทน ทำให้ทารกมีโอกาสรับไขมันจากนมส่วนหลัง จนมีน้ำหนักเพิ่มมากขึ้นนั่นเอง ส่วนนมส่วนหน้าที่ปั๊มไว้ก็ค่อย ๆ เอาออกมาให้ลูกกินในโอกาสอื่น ๆ ตามลำดับ

 

2. แก้ไขจากการแพ้สารอาหารในนมแม่

ลูกจะได้รับสารอาหารจากนมแม่ตามสารอาหารที่คุณแม่กิน เด็กบางคนอาจมีอาการแพ้อาหารบางชนิดได้ แต่ด้วยทารกไม่สามารถพูดบอกได้ จึงต้องใช้การสังเกตอาการ เช่น อาการผื่นขึ้นตามใบหน้า หรือการหายใจเสียงดัง หายใจผิดปกติ เป็นต้น หากพบอาการเหล่านี้ ควรพาไปพบแพทย์ก่อนว่าเกิดจากอาการแพ้หรือไม่ และรับการตรวจ และรับคำแนะนำ

โดยทั่วไป มักใช้วิธีงดเมนูอาหารที่ทานก่อนหน้าให้นมลูกไปก่อนประมาณ 2 สัปดาห์ หากให้นมลูกต่อไป แล้วลูกไม่มีอาการแพ้ ก็ให้งดอาหารเมนูเหล่านั้นต่อไปในช่วงที่ต้องให้นมลูกอยู่ หากอาการลูกไม่ดีขึ้น แสดงว่าเกิดจากอาหารเมนูอื่น ที่คุณแม่ทานไปนั่นเอง

 

อยากให้ลูกอ้วน

 

3. ระวังลูกหลับตอนดูดนม

ทารกบางคนอาจเผลอหลับตอนดูดนม ทำให้คุณแม่เข้าใจว่าลูกกินนมพอแล้ว จึงเอาลูกออกจากเต้า แต่ในความเป็นจริงเกิดจากที่ทารกรู้สึกสบายจากวิธีการอุ้ม เช่น การห่อตัวลูกมากเกินไป เป็นต้น ทำให้ทารกดูดนมได้ไม่นานก็เผลอหลับไป คุณแม่ต้องคอยสังเกตให้ดี หากพบว่าลูกหลับเร็วมากเกินไป อาจต้องปลุกเบา ๆ เพื่อให้ลูกกินนมต่อ ส่วนสาเหตุที่ลูกไม่ร้องหิวนมแม้จะเผลอหลับ เพราะว่ายังไม่หิว จากการได้กินนมไปบ้าง แต่สารอาหารที่ได้รับก็ไม่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย จนทำให้มีน้ำหนักน้อยได้

 

4 วิธีเพิ่มน้ำหนัก สำหรับเด็กวัยเรียนรู้ / เด็กโต

สำหรับเด็กที่โตขึ้นมา จะสามารถสังเกตน้ำหนักได้ง่ายกว่า ลูกอ้วน ลูกผอมจะมองออกได้ง่าย จากการเคลื่อนไหว จากสรีระการยืน การเดิน โดยเฉพาะเมื่อลูกผอมจะเห็นกระดูกบางส่วน ผู้ปกครองก็ไม่ควรนิ่งนอนใจ ควรหาวิธีแก้ไข เพื่อให้ลูกรักมีน้ำหนักที่เพิ่มมากขึ้น ซึ่งสามารถช่วยได้ ดังนี้

 

1. ปรับบรรยากาศบนโต๊ะอาหาร

บางครอบครัวอาจไม่ทันสังเกตและมองเป็นเรื่องปกติ เช่น การพูดคุยเสียงดัง เป็นเรื่องที่ลูกไม่เข้าใจ หรือการทะเลาะกัน เถียงกันบนโต๊ะอาหาร เสียงสิ่งแวดล้อมที่ดังมาก ไปจนถึงสิ่งเร้าต่าง ๆ เช่นการ์ตูนในทีวี หรือเล่นแท็บเล็ตไปด้วย ทำให้กินข้าวได้น้อยลง ดังนั้นนอกจากพ่อแม่จะต้องระวังการเถียงกันจนทำให้บรรยากาศไม่ดีแล้ว ยังต้องให้ลูกงดเล่น งดดูการ์ตูนระหว่างทานข้าว เพื่อให้ลูกหันมาสนใจการกินข้าวมากขึ้น

 

2. ปรับสารอาหารให้ร่างกายได้รับพลังงานมากขึ้น

อาหารที่ลูกกินสัมพันธ์โดยตรงต่อน้ำหนักของลูก ผู้ปกครองสามารถช่วยให้ลูกมีน้ำหนักเพิ่มขึ้นได้ด้วยการให้ลูกกินอาหาร ที่ให้พลังงานกับร่างกายมากขึ้น เช่น กล้วย อาโวคาโด ไข่ นม และเนื้อไก่ เป็นต้น ซึ่งสามารถนำไปดัดแปลงเป็นเมนูตามที่ลูกชอบได้ไม่ยากแน่นอน แต่ต้องระวังหากกินจนมีน้ำหนักเพิ่มมากขึ้นแล้ว ต่อไปจะทำให้ลูกอ้วนได้ จึงต้องระวังให้ดี ควรชวนลูกออกกำลังกายด้วย

นอกจากนี้ลูกอาจไม่ทานอาหารที่ไม่ชอบ หรือไม่คุ้นเคย ลองกินแล้วไม่ถูกใจ ทำให้กินได้น้อย ผู้ปกครองอาจแก้ปัญหาเหล่านี้ ด้วยการทำเมนูอาหารที่ลูกชอบทานเป็นพิเศษมากขึ้น เพื่อให้ลูกสามารถกินได้อย่างอร่อย และมีความสุข โดยมีเป้าหมายก็เพื่อเพิ่มน้ำหนักให้ลูกนั่นเอง

 

บทความจากพันธมิตร
แม่รู้ไหม? พัฒนาการสมอง ของลูกเกิดขึ้นได้ทั้งกลางวันและกลางคืน เสริมด้วย สารอาหารสมอง และการนอนอย่างมีคุณภาพ
แม่รู้ไหม? พัฒนาการสมอง ของลูกเกิดขึ้นได้ทั้งกลางวันและกลางคืน เสริมด้วย สารอาหารสมอง และการนอนอย่างมีคุณภาพ
หมดกังวลเรื่อง ผิวแตกลาย จบทุกปัญหาผิวคุณแม่ตั้งครรภ์ ด้วย EVE'S OIL
หมดกังวลเรื่อง ผิวแตกลาย จบทุกปัญหาผิวคุณแม่ตั้งครรภ์ ด้วย EVE'S OIL
พ่อแม่เป็นภูมิแพ้ สาเหตุสำคัญของ ภูมิแพ้ในเด็ก ที่อาจถูกมองข้ามไป
พ่อแม่เป็นภูมิแพ้ สาเหตุสำคัญของ ภูมิแพ้ในเด็ก ที่อาจถูกมองข้ามไป
ปกป้องคนที่คุณรักให้ปลอดภัย ห่างไกลจาก RSV โควิด และ ฝุ่น PM 2.5 ด้วยเครื่องฟอกอากาศ Bwell
ปกป้องคนที่คุณรักให้ปลอดภัย ห่างไกลจาก RSV โควิด และ ฝุ่น PM 2.5 ด้วยเครื่องฟอกอากาศ Bwell

อยากให้ลูกอ้วน 2

 

3. ให้ลูกได้ใช้พลังงานออกมามากขึ้น

ออกแรงเยอะ เล่นมาก ๆ ทำให้เหนื่อย ร่างกายจะต้องการพลังงานจากการทานอาหาร เป็นเรื่องธรรมชาติที่เกิดขึ้น การให้ลูกอยู่แต่ในบ้าน เดินไปเดินมา นั่งเล่นของเล่นอาจไม่ช่วยอะไร แต่ถ้าหากลูกได้มีโอกาสวิ่งเล่น ได้เล่นกับคนในครอบครัว จะทำให้ร่างกายใช้พลังงานจนทำให้ลูกหิว ผู้ปกครองสามารถถือโอกาสนี้ในการหาอาหารที่มีพลังงานสูงมาให้ลูกทาน หรือเปลี่ยนบรรยากาศในการทานอาหารมื้อพิเศษที่สวนสาธารณะ เป็นต้น

 

4. ใช้อาหารเสริมช่วย

ปัญหาที่เกิดจากการรับสารอาหารไม่เพียงพอ สามารถแก้ไขได้ด้วยการหาอาหารเสริมมาให้เด็กทานได้เช่นกัน แต่ผู้ปกครองไม่ควรเลือกเอง หรือฟังจากคำโฆษณาตามสื่อออนไลน์ การเลือกอาหารเสริมให้กับลูกอย่างถูกต้อง ควรมาจากการปรึกษากับแพทย์เท่านั้น ควรให้แพทย์แนะนำอาหารเสริมที่ถูกต้องปลอดภัย มีมาตรฐานเท่านั้น

 

ทั้งนี้วิธีที่เราแนะนำมาทั้งหมดนั้น หากลองทำแล้วไม่ได้ผล ผู้ปกครองไม่ควรรอช้า ควรพาลูกไปพบแพทย์เพื่อรับการตรวจวินิจฉัยเพิ่มมากขึ้น เพื่อหาสาเหตุที่ทำให้ลูกมีน้ำหนักน้อยอย่างแท้จริง และแก้ไข หรือรักษาตามคำแนะนำของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

อยากให้ลูกเป็นหมอ พ่อแม่อย่าพลาดลืมทำ 6 ข้อนี้เด็ดขาด !

ลูกผอมมากแล้วยังอยากผอมอีก…ระวังโรคบูลิเมียและอโนเร็กเซีย !

ลูกน้ำหนักน้อยและตัวผอม ควรให้ ลูกทานยาถ่ายพยาธิ หรือไม่ ?

ที่มา : 1, 2, 3

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

Sutthilak Keawon

  • หน้าแรก
  • /
  • โภชนาการ
  • /
  • อยากให้ลูกอ้วน รวมวิธีเพิ่มน้ำหนัก เมื่อลูกผอมเกินไป
แชร์ :
  • แม่รู้ไหม? พัฒนาการสมอง ของลูกเกิดขึ้นได้ทั้งกลางวันและกลางคืน เสริมด้วย สารอาหารสมอง และการนอนอย่างมีคุณภาพ
    บทความจากพันธมิตร

    แม่รู้ไหม? พัฒนาการสมอง ของลูกเกิดขึ้นได้ทั้งกลางวันและกลางคืน เสริมด้วย สารอาหารสมอง และการนอนอย่างมีคุณภาพ

  • จะรู้ได้อย่างไรว่าลูกชอบอะไร ถนัดอะไร เรามีวิธีสังเกต

    จะรู้ได้อย่างไรว่าลูกชอบอะไร ถนัดอะไร เรามีวิธีสังเกต

  • รวมเคล็ดลับ วิธีระงับกลิ่นปาก ให้ไม่มีกลิ่นเหม็น บอกลาปัญหากลิ่นปาก!

    รวมเคล็ดลับ วิธีระงับกลิ่นปาก ให้ไม่มีกลิ่นเหม็น บอกลาปัญหากลิ่นปาก!

  • แม่รู้ไหม? พัฒนาการสมอง ของลูกเกิดขึ้นได้ทั้งกลางวันและกลางคืน เสริมด้วย สารอาหารสมอง และการนอนอย่างมีคุณภาพ
    บทความจากพันธมิตร

    แม่รู้ไหม? พัฒนาการสมอง ของลูกเกิดขึ้นได้ทั้งกลางวันและกลางคืน เสริมด้วย สารอาหารสมอง และการนอนอย่างมีคุณภาพ

  • จะรู้ได้อย่างไรว่าลูกชอบอะไร ถนัดอะไร เรามีวิธีสังเกต

    จะรู้ได้อย่างไรว่าลูกชอบอะไร ถนัดอะไร เรามีวิธีสังเกต

  • รวมเคล็ดลับ วิธีระงับกลิ่นปาก ให้ไม่มีกลิ่นเหม็น บอกลาปัญหากลิ่นปาก!

    รวมเคล็ดลับ วิธีระงับกลิ่นปาก ให้ไม่มีกลิ่นเหม็น บอกลาปัญหากลิ่นปาก!

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
    • ก่อนตั้งครรภ์
    • การคลอด
    • ระยะการตั้งครรภ์
    • การคลอด
  • พัฒนาการลูก
    • ทารก
    • เด็กก่อนเข้าเรียน
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • การวางแผนการเงิน
    • การเลี้ยงลูก
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • นมแม่และนมผง
  • โภชนาการ
    • สินค้าเด็ก
    • นมผง
    • เมนูอาหาร
    • สินค้าแม่
  • เพิ่มเติม
    • TAP สังคมออนไลน์
    • ติดต่อโฆษณา
    • ติดต่อเรา
    • Influencer Marketing (KOL)
    • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Sri-Lanka flag Sri Lanka
  • India flag India
  • Vietnam flag Vietnam
  • Australia flag Australia
  • Japan flag Japan
  • Nigeria flag Nigeria
  • Kenya flag Kenya
© Copyright theAsianparent 2023. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

theAsianparent heart icon
เราต้องการส่งแจ้งเตือนข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการดูแลทารกและสุขภาพไปให้กับคุณ