X
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้าเข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ตั้งครรภ์
    • คำนวณวันคลอด
    • ฉันกำลังตั้งครรภ์
    • ไตรมาสที่ 1
    • ไตรมาสที่ 2
    • ไตรมาสที่ 3
    • Project Sidekicks
    • ตั้งชื่อลูก
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • อีเว้นท์
    • TAP Awards Winners
    • TAP idol
    • TAP x Safari Largest Treasure Hunt
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

ทำอย่างไรดีเมื่อมีบางอย่างติดคอลูกน้อย?

บทความ 3 นาที
ทำอย่างไรดีเมื่อมีบางอย่างติดคอลูกน้อย?

เราต่างก็เคยได้ยินเรื่องน่ากลัวเกี่ยวกับเด็กที่เอาสิ่งของใส่ในปากและของติดคอ ของต่าง ๆ ที่ลูกชอบเอาเข้าปาก เช่น ก้อนหิน แม่เหล็ก ถ่านนาฬิกา ตัวต่อของเล่น เหรียญบาท หรือฝาขวดน้ำ คุณจะเห็นว่าไม่มีสิ่งใดปลอดภัยกับลูกน้อยของคุณเลย เราลองมาดูคำแนะนำว่าเราควรทำอย่างไรเมื่อลูกน้อยพยายามกลืนสิ่งของที่พวกเขาไม่สมควรกลืนลงไป หรือมันติดคอลูกอยู่

เด็ก ๆ อาจกลืนสิ่งของขนาดเล็กเมื่อใดหรือจากที่ใดก็ได้ ถึงแม้ว่าคุณจะพยายาม (อย่างที่สุด) ที่จะดูแลเขาให้ดีแล้วก็ตาม ของบางอย่างอาจผ่านลงคอลูกน้อยไปได้โดยไม่เกิดอันตราย แต่บางอย่างไม่เป็นเช่นนั้นและบางอย่างก่อให้เกิดอันตรายกับผนังลำไส้ถึงขั้นทำให้ลำไส้ทะลุได้

กลืน ติดคอ ลูก

เมื่อลูกกลืนอะไรลงไป หรือสิ่งนั้นติดคอลูกอยู่

เมื่อเด็กกลืนสิ่งของ…

หากลูกน้อยกลืนบางสิ่งที่ไม่คมหรือไม่อันตรายและไม่ติดคอลูก สิ่งของนั้นจะลงท้องและออกมากับของเสียที่ลูกขับถ่ายเองโดยไม่เป็นอันตราย

ในขณะที่คุณรอให้ลูกขับถ่าย เรารู้ว่าพ่อแม่เป็นทุกข์มากแค่ไหน หากลูกเริ่มอาเจียน น้ำลายไหล ไม่กินอาหาร มีไข้ ไอ หายใจลำบาก หรือมีเสียงหวีดหวิวเมื่อหายใจเข้า ให้คุณดูแลลูกอย่าให้ห่างและให้โทรศัพท์ปรึกษาแพทย์ถึงอาการของลูก

และหากคุณไม่เห็นสิ่งที่ลูกกลืนลงไปออกมากับอุจจาระของลูกน้อยภายในสองวัน ให้โทรศัพท์ปรึกษาแพทย์ เพื่อดูว่าสิ่งที่ลูกกลืนลงไปออกมาหรือยัง ให้คุณนำอุจจาระของลูกใส่ในตะแกรงและเปิดน้ำร้อนผ่าน เรารู้ว่ามันน่ารังเกียจ แต่นั่นเป็นของเสียจากลูกน้อยของคุณ ความรักที่มีต่อลูกทำให้พ่อแม่ทำได้ทุกอย่าง

หากลูกคุณกลืนสิ่งของมีคม เช่น ไม้จิ้มฟันหรือเข็ม หรือสิ่งที่เป็นอันตรายมากอย่างถ่านนาฬิกา หรือแม่เหล็กเล็ก ๆ หลายก้อน ให้พาลูกไปพบแพทย์ในทันที ไม่ว่าลูกน้อยอาจดูไม่มีอาการเจ็บป่วยอะไร สิ่งของเหล่านี้อาจจำเป็นต้องให้แพทย์ช่วยเอาออกแทนที่จะให้ผ่านระบบย่อยอาหารลงไปเนื่องจากอาจทิ่มทะลุหลอดอาหาร กระเพาะอาหาร หรือลำไส้ของลูกได้

เมื่อไปถึงโรงพยาบาล!

อะไรคือสิ่งที่แพทย์จะทำเมื่อคุณพาลูกไปถึงโรงพยาบาล?

นี่ขึ้นอยู่กับสิ่งที่ลูกน้อยของคุณได้กลืนลงไป และแพทย์จะดูว่าสิ่งนั้นติดคอหรือส่วนใดของร่างกายเขา หรือแพทย์อาจทำการ X-ray เพื่อหาว่าสิ่งของนั้นอยู่จุดใด และแพทย์อาจต้องใช้อุปกรณ์ช่วยเหลือเพื่อไม่ให้สิ่งที่ลูกกลืนลงไปนั้นติดหลอดลม ส่วนมากแล้วแพทย์จะใช้กล้องส่องตรวจภายในที่มีทั้งยาวและบาง มีน้ำหนักเบา เพื่อดูว่าสิ่งของอยู่ในหลอดอาหารหรือกระเพาะอาหาร

หากแพทย์วินิจฉัยว่าสิ่งนั้นจะออกจากระบบทางเดินอาหารของลูกได้เองอย่างปลอดภัย แพทย์จะกำชับให้คุณดูแลลูกอย่างใกล้ชิดเป็นระยะเวลา 2-3 วัน ในระหว่างนี้ แพทย์อาจ X-ray เพิ่มเติมเพื่อติดตามสิ่งติดค้างว่าอยู่ส่วนใดของร่างกายแล้ว

หากสิ่งติดค้างติดอยู่ที่ทางเดินหายใจหรือติดอยู่ที่หลอดอาหารหรือกระเพาะอาหาร และเป็นอันตรายเกินไปที่จะรอให้ออกมาเอง เนื่องจากเป็นของมีคมและก่อให้เกิดอันตรายถึงชีวิตได้ แพทย์จะเอาสิ่งของออกโดยทันที

ในบางสถานการณ์อาจจำเป็นต้องมีการผ่าตัดเพื่อเอาสิ่งติดค้างออก แต่นั่นเป็นสถานการณ์ขั้นรุนแรงที่พ่อแม่อย่างเราไม่อยากจะนึกถึงและหวังว่าจะไม่เกิดกับลูกของเรา

ป้องกันดีกว่าแก้ไข

เรารู้ว่าตอนนี้คุณกำลังคิดอะไรอยู่ คุณกำลังคิดว่า “มีทางที่จะไม่ให้ลูกเอาสิ่งของเข้าปากได้หรือไม่?” คำคอบคือ “ไม่ซะทีเดียว”

การเอาสิ่งของเข้าปากเป็นสิ่งที่เด็กทำเป็นปกติอยู่แล้ว คุณจะต้องเผชิญกับความเสี่ยงนี้จนกว่าลูกของคุณจะอายุ 4 ขวบ ถึงอย่างนั้นก็ตาม คุณก็ยังคงต้องระวังอันตรายที่อาจเกิดได้โดยไม่คาดคิดอยู่ดี

การที่คุณนั่งบอกลูกถึงอันตรายจากการกลืนสิ่งของที่ไม่ใช่อาหารนั้นเป็นเรื่องไร้ความหมาย เพราะลูกจะไม่ฟังสิ่งที่คุณพูด ดังนั้น การระมัดระวังอยู่เสมอในช่วงนี้จะเป็นทางออกที่ดีที่สุด

ระมัดระวังอยู่เสมอ

คุณควรจำไว้เสมอว่าสิ่งของที่ลูกสามารถกลืนได้เป็นสาเหตุทำให้เกิดความเสี่ยง ไม่ว่าจะเป็น เหรียญ ลูกโป่ง ก้อนหิน ถั่ว เมล็ดพืช องุ่น ข้าวโพดคั่ว หมูชิ้น หรือชิ้นแครอท เป็นต้น สิ่งของชิ้นเล็ก ๆ สามารถติดที่คอลูกและทำให้ลูกสำลักจนเป็นอันตรายได้ ยิ่งไปกว่านั้น สิ่งของชิ้นเล็ก ๆ ที่มีลักษณะแข็งอย่างเมล็ดพันธุ์ สามารถเข้าไปทางเดินหายใจและติดที่หลอดลมของลูก ทำให้เกิดการติดเชื้อหรือปิดกั้นทางเดินหายใจได้

เมื่อเป็นเช่นนี้แล้ว สิ่งที่คุณทำได้ดีที่สุดคือดูแลลูกของคุณอย่างใกล้ชิด คอยดูเขาบ่อย ๆ เมื่อคุณพาเขาไปเยี่ยมบ้านคนอื่นที่มีสิ่งล่อตาล่อใจและลูกคุณสามารถหยิบเข้าปากได้ง่าย ๆ นอกจากนี้ คุณต้องมั่นใจว่าของเล่นหรือตุ๊กตาที่คุณซื้อให้ลูกต้องไม่มีชิ้นส่วนเล็ก ๆ ที่หลุดออกมาและลูกสามารถหยิบเข้าปากได้

ยิ่งไปกว่านั้น หากคุณ สามี/ภรรยาของคุณ หรือคนในครอบครัวได้เข้าคอร์สเรียนการปฐมพยาบาลเบื้องต้น ก็จะเป็นประโยชน์กับลูกคุณมาก

อันตรายซ่อนอยู่ในทุกมุมของบ้านคุณ โดยเฉพาะในบ้านที่มีเด็กเล็กอยู่ ดังนั้น การระแวดระวังอยู่ตลอดเวลาจะช่วยคุณได้

หยุดลูกเอาสิ่งของเข้าปาก

บทความจากพันธมิตร
วัคซีน IPD จำเป็นที่ต้องให้ลูกรับหรือเปล่า? มาทำความเข้าใจเกี่ยวกับ 'โรคไอพีดี' และ 'วัคซีนป้องกันโรคไอพีดี'
วัคซีน IPD จำเป็นที่ต้องให้ลูกรับหรือเปล่า? มาทำความเข้าใจเกี่ยวกับ 'โรคไอพีดี' และ 'วัคซีนป้องกันโรคไอพีดี'
สารพัด ปัญหาของลูกน้อย ที่คุณแม่กังวลใจ ลูกงอแง ไม่สบายท้อง ท้องอืด มีผื่นคัน แก้ด้วย Little Shield
สารพัด ปัญหาของลูกน้อย ที่คุณแม่กังวลใจ ลูกงอแง ไม่สบายท้อง ท้องอืด มีผื่นคัน แก้ด้วย Little Shield
พ่อแม่เป็นภูมิแพ้ สาเหตุสำคัญของ ภูมิแพ้ในเด็ก ที่อาจถูกมองข้ามไป
พ่อแม่เป็นภูมิแพ้ สาเหตุสำคัญของ ภูมิแพ้ในเด็ก ที่อาจถูกมองข้ามไป
ปกป้องคนที่คุณรักให้ปลอดภัย ห่างไกลจาก RSV โควิด และ ฝุ่น PM 2.5 ด้วยเครื่องฟอกอากาศ Bwell
ปกป้องคนที่คุณรักให้ปลอดภัย ห่างไกลจาก RSV โควิด และ ฝุ่น PM 2.5 ด้วยเครื่องฟอกอากาศ Bwell

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

theAsianparent Editorial Team

  • หน้าแรก
  • /
  • สุขภาพ
  • /
  • ทำอย่างไรดีเมื่อมีบางอย่างติดคอลูกน้อย?
แชร์ :
  • แมลงเข้าหู ลูกน้อย ทำอย่างไรดี วิธีปฐมพยาบาลเบื้องต้น

    แมลงเข้าหู ลูกน้อย ทำอย่างไรดี วิธีปฐมพยาบาลเบื้องต้น

  • ก้างติดคอ ทําไง ก้างปลาติดคอ ก้างติดคอลูก วิธีแก้ทำอย่างไร เอาแมวมาเขี่ยคอ ดื่มน้ำมะนาว หรือกลืนข้าวคำโต

    ก้างติดคอ ทําไง ก้างปลาติดคอ ก้างติดคอลูก วิธีแก้ทำอย่างไร เอาแมวมาเขี่ยคอ ดื่มน้ำมะนาว หรือกลืนข้าวคำโต

  • ลูกเหงื่อออกตอนนอน สัญญาณโรคร้ายที่พ่อแม่ต้องระวัง

    ลูกเหงื่อออกตอนนอน สัญญาณโรคร้ายที่พ่อแม่ต้องระวัง

  • ลูกเหงื่อออกตอนนอน สัญญาณโรคร้ายที่พ่อแม่ต้องระวัง

    ลูกเหงื่อออกตอนนอน สัญญาณโรคร้ายที่พ่อแม่ต้องระวัง

  • แมลงเข้าหู ลูกน้อย ทำอย่างไรดี วิธีปฐมพยาบาลเบื้องต้น

    แมลงเข้าหู ลูกน้อย ทำอย่างไรดี วิธีปฐมพยาบาลเบื้องต้น

  • ก้างติดคอ ทําไง ก้างปลาติดคอ ก้างติดคอลูก วิธีแก้ทำอย่างไร เอาแมวมาเขี่ยคอ ดื่มน้ำมะนาว หรือกลืนข้าวคำโต

    ก้างติดคอ ทําไง ก้างปลาติดคอ ก้างติดคอลูก วิธีแก้ทำอย่างไร เอาแมวมาเขี่ยคอ ดื่มน้ำมะนาว หรือกลืนข้าวคำโต

  • ลูกเหงื่อออกตอนนอน สัญญาณโรคร้ายที่พ่อแม่ต้องระวัง

    ลูกเหงื่อออกตอนนอน สัญญาณโรคร้ายที่พ่อแม่ต้องระวัง

  • ลูกเหงื่อออกตอนนอน สัญญาณโรคร้ายที่พ่อแม่ต้องระวัง

    ลูกเหงื่อออกตอนนอน สัญญาณโรคร้ายที่พ่อแม่ต้องระวัง

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
    • ก่อนตั้งครรภ์
    • การคลอด
    • ระยะการตั้งครรภ์
    • การคลอด
  • พัฒนาการลูก
    • ทารก
    • เด็กก่อนเข้าเรียน
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • การวางแผนการเงิน
    • การเลี้ยงลูก
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • นมแม่และนมผง
  • โภชนาการ
    • สินค้าเด็ก
    • นมผง
    • เมนูอาหาร
    • สินค้าแม่
  • เพิ่มเติม
    • TAP สังคมออนไลน์
    • ติดต่อโฆษณา
    • ติดต่อเรา
    • Influencer Marketing (KOL)
    • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Sri-Lanka flag Sri Lanka
  • India flag India
  • Vietnam flag Vietnam
  • Australia flag Australia
  • Japan flag Japan
  • Nigeria flag Nigeria
  • Kenya flag Kenya
© Copyright theAsianparent 2023. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

theAsianparent heart icon
เราต้องการส่งแจ้งเตือนข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการดูแลทารกและสุขภาพไปให้กับคุณ