X
TAP top app download banner
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้า
เข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • โภชนาการ เเม่ท้อง เเม่ให้นม
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • ตั้งชื่อลูก
  • แม่ผ่าคลอด
    • พัฒนาการเด็กผ่าคลอด
    • เตรียมตัวผ่าคลอด
    • สุขภาพเด็กผ่าคลอด
    • คู่มือคุณแม่ผ่าคลอด
    • การดูแลหลังผ่าคลอด
    • โภชนาการเด็กผ่าคลอด
  • หลังคลอด
    • คลอดธรรมชาติ
    • ผ่าคลอด
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

ดูแลอวัยวะเพศทารกแรกเกิด ดูแลอย่างไรให้สะอาด ดูแลไม่ดี ระวังติดเชื้อ !

บทความ 5 นาที
ดูแลอวัยวะเพศทารกแรกเกิด ดูแลอย่างไรให้สะอาด ดูแลไม่ดี ระวังติดเชื้อ !

ผิวของทารกแรกเกิดมีความบอบบาง ต้องได้รับการดูแลเป็นพิเศษ และร่างกายของทารกน้อยยังมีภูมิต้านทานไม่มาก การดูแลเรื่องความสะอาดจึงเป็นสิ่งสำคัญ และการ ดูแลอวัยวะเพศทารกแรกเกิด ต้องดูแลให้ดี เพราะอาจติดเชื้อได้หากทำความสะอาดไม่ถูกต้อง บทความนี้จะมาแนะนำการดูแลอวัยวะเพศทารกแรกเกิดอย่างถูกต้อง เพื่อความสะอาดและปลอดภัยต่อลูกน้อยค่ะ

 

ดูแลอวัยวะเพศทารกแรกเกิด

 

ดูแลอวัยวะเพศทารกแรกเกิด สำหรับทารกเพศหญิง

หลังจากที่ลูกสาวขับถ่ายปัสสาวะ หรืออุจจาระแล้ว คุณแม่จำเป็นต้องทำความสะอาดบริเวณก้น และจุดซ่อนเร้นทุกครั้ง ก่อนเปลี่ยนผ้าอ้อมเสมอ

  • สำหรับลูกสาวการเช็ดทำความสะอาดอวัยวะเพศหญิง พ่อแม่ต้องเตรียม..

    • ทิชชูเปียก หรือสำลีแผ่น หรือสำลีก้อน (หากใช้สำลี ให้ใช้กับน้ำต้มสุกที่อุ่นนิด ๆ หรือน้ำต้มสุกที่เย็นแล้ว)
    • เตรียมผ้าขนหนูผืนใหม่ที่มีความนิ่ม และต้องสะอาด 2 ผืน เพื่อเช็ดผิวลูกก่อนใส่ผ้าอ้อมผืนใหม่ให้ลูกสาว

 

Advertisement
  • การทำความสะอาดอวัยวะเพศลูกสาวเมื่อลูกปัสสาวะ ด้วยทิชชูเปียก

    • ให้เริ่มเช็ดจากบริเวณท้องน้อย ไปจนถึงอวัยวะเพศหญิง และไม่ควรเช็ดลึกถึงช่องคลอด
    • เช็ดทำความสะอาดบริเวณขาหนีบทั้งสองข้าง
    • ใช้นิ้วมือค่อย ๆ แหวกบริเวณแคมทั้งสองข้างเช็ดให้สะอาดอย่างเบามือ ไม่ควรถูแรง ๆ นะคะ
    • จากนั้นเปลี่ยนแผ่นทิชชูเปียก มาเช็ดบริเวณก้นลูก
    • โดยให้เช็ดทำความสะอาดทั้งหมด สัก 2-3 ครั้ง เพื่อให้แน่ใจว่าทำความสะอาดอวัยวะเพศลูกสะอาดแล้ว
    • คำแนะนำเพิ่มเติม ควรเช็ดทำความสะอาดจากหน้าไปด้านหลังเสมอ เพื่อป้องกันเชื้อโรคจากทวารหนักเข้าสู่ช่องคลอด

 

  • ดูแลอวัยวะเพศทารกแรกเกิด หลังจากที่ลูกสาวปัสสาวะ ด้วยสำลีชุบน้ำ

    • ให้เริ่มเช็ดจากตรงท้องน้อย เช็ดจนไปถึงอวัยวะเพศหญิง และไม่ต้องเช็ดลึกถึงบริเวณช่องคลอด
    • เช็ดตรงบริเวณขาหนีบทั้งสองข้าง ใช้นิ้วมือค่อย ๆ แหวกบริเวณแคมทั้งสองข้างเช็ดให้สะอาดอย่างเบามือ ย้ำอีกครั้งว่า ไม่ต้องถูแรงนะคะ
    • เปลี่ยนสำลีชุบน้ำแผ่นใหม่มาเช็ดก้น เช็ดทำความสะอาดสัก 2-3 ครั้งจนแน่ใจว่าไม่มีสิ่งสกปรกหลงเหลืออยู่
    • ต่อมาให้ใช้ผ้าขนหนูสะอาดซับเบา ๆ ที่ผิวก้นลูก
    • ใช้ผ้าขนหนูสะอาดอีกผืนซับเบา ๆ บริเวณอวัยวะเพศหญิง
    • เมื่อแห้งและสะอาดดีแล้ว ก็ใส่ผ้าอ้อมผืนใหม่ให้ลูกสาวได้เลยค่ะ
    • คำแนะนำเพิ่มเติม ควรเช็ดทำความสะอาดจากหน้าไปด้านหลังเสมอ เพื่อป้องกันเชื้อโรคจากทวารหนักเข้าสู่ช่องคลอด

 

  • การดูแลอวัยวะเพศทารกแรกเกิด เมื่อลูกสาวอุจจาระ

    • คุณแม่ควรใช้น้ำสะอาดล้างก้นลูกก่อน ล้างให้เศษอุจจาระออกให้หมด ล้างจนสะอาดดี
    • จากนั้นใช้น้ำต้มสุกที่พออุ่นนิด ๆ หรือน้ำต้มสุกที่ทิ้งไว้จนเย็น ทำความสะอาดโดยไม่ต้องใช้สบู่ และห้ามถูแรง ๆ เช่นเคย
    • ค่อย ๆ เช็ดตรงบริเวณขาหนีบทั้งสองข้าง
    • ใช้นิ้วมือค่อย ๆ แหวกบริเวณแคมทั้งสองข้าง และเช็ดให้สะอาดอย่างเบามือ
    • ขั้นตอนสุดท้าย ให้ซับอวัยวะเพศหญิงเบา ๆ แล้วใช้ผ้าขนหนูสะอาดอีกผืนซับบริเวณก้นลูกก่อนที่จะใส่ผ้าอ้อมสะอาดผืนใหม่ค่ะ
    • คำแนะนำเพิ่มเติม ควรเช็ดทำความสะอาดจากหน้าไปด้านหลังเสมอ เพื่อป้องกันเชื้อโรคจากทวารหนักเข้าสู่ช่องคลอด

ในช่วง 2-3 สัปดาห์แรก คุณแม่อาจสังเกตเห็นว่าช่องคลอดของลูกน้อยบวมและแดง หรือมีของเหลวสีขาวใสหรือมีเลือดปนเล็กน้อยออกมาจากช่องคลอด นี่เป็นเรื่องปกติที่เกิดขึ้นได้ เพราะได้มาจากฮอร์โมนของแม่ในขณะที่ลูกน้อยยังอยู่ครรภ์ อย่างไรก็ตาม หากลูกยังคงมีของเหลวไหลออกมาหลังจาก 6 สัปดาห์แรก ให้พาลูกน้อยไปพบแพทย์เพื่อทำการตรวจหาสาเหตุจะดีกว่าค่ะ

 

บทความที่เกี่ยวข้อง : วิธีการเปลี่ยนผ้าอ้อมทารกหญิงและทารกชายต่างกันไหม?

 

 

ดูแลอวัยวะเพศทารกแรกเกิด สำหรับทารกเพศชาย

เมื่อลูกชายตัวน้อย ๆ ของคุณแม่ขับถ่ายแล้ว ควรรีบทำความสะอาด เพื่อลดความหมักหมมนะคะ การทำความสะอาดอวัยวะเพศของลูกชายมีความแตกต่างจากลูกสาวแน่นอน ต้องทำอย่างไรบ้าง มาดูกันค่ะ

  • สำหรับลูกสาวการเช็ดทำความสะอาดอวัยวะเพศชาย พ่อแม่ต้องเตรียม…

    • ทิชชูเปียก หรือสำลีแผ่น หรือสำลีก้อน (หากใช้สำลี ให้ใช้กับน้ำต้มสุกที่อุ่นนิด ๆ หรือน้ำต้มสุกที่เย็นแล้ว)
    • เตรียมผ้าขนหนูผืนใหม่ที่มีความนิ่ม และต้องสะอาด 2 ผืน เพื่อเช็ดผิวลูกก่อนใส่ผ้าอ้อมผืนใหม่ให้ลูกชาย

 

  • การทำความสะอาดอวัยวะเพศลูกชายเมื่อลูกปัสสาวะ ด้วยทิชชูเปียก

    • ให้เริ่มเช็ดจากบริเวณท้องน้อย ไปจนถึงบริเวณขาหนีบทั้งสองข้าง เรื่อยไปจนถึงอวัยวะเพศชาย
    • การเช็ดบริเวณอวัยวะเพศชาย คุณแม่ไม่ต้องพลิกเปิดหนังที่ห่อหุ้มอวัยวะเพศชายด้านในออกมานะคะ
    • จากนั้นเปลี่ยนผ้าเปียกผืนใหม่ แล้วเช็ดบริเวณก้นของลูก โดยให้เช็ดทำความสะอาดสัก 2-3 ครั้งจนแน่ใจว่าสะอาดดีแล้ว
    • คำแนะนำเพิ่มเติม ควรเช็ดทำความสะอาดจากหน้าไปด้านหลังเสมอ เพื่อป้องกันเชื้อโรคจากทวารหนักเข้าสู่อวัยวะเพศชาย

 

  • ทำความสะอาดอวัยวะเพศชายเมื่อลูกปัสสาวะ ด้วยสำลีชุบน้ำ

    • วิธีการก็จะคล้าย ๆ กับการใช้ผ้าเปียกเลยค่ะ โดยให้เริ่มเช็ดจากตรงท้องน้อย มายังบริเวณขาหนีบทั้งสองข้าง
    • เช็ดไปจนถึงอวัยวะเพศของลูกชาย โดยไม่ต้องพลิกเปิดหนังที่ห่อหุ้มอวัยวะเพศชายด้านในออกมาเช่นกัน  ให้เช็ดทำความสะอาดเฉพาะด้านนอกก็เพียงพอแล้ว
    • หลังจากนั้นเปลี่ยนสำลีแผ่นใหม่ ชุบน้ำ แล้วเช็ดตรงก้น โดยให้เช็ดทำความสะอาดสัก 2-3 ครั้งจนแน่ใจว่าสะอาดดีแล้ว
    • ต่อมาให้ใช้ผ้าขนหนูสะอาดซับเบา ๆ ที่ผิวก้นลูกก่อน
    • แล้วใช้ผ้าขนหนูสะอาดอีกผืนซับเบา ๆ บริเวณอวัยวะเพศชาย
    • เมื่อแห้งและสะอาดดีแล้ว ก็ใส่ผ้าอ้อมผืนใหม่ให้ลูกชายได้เลยค่ะ
    • คำแนะนำเพิ่มเติม ควรเช็ดทำความสะอาดจากหน้าไปด้านหลังเสมอ เพื่อป้องกันเชื้อโรคจากทวารหนักเข้าสู่อวัยวะเพศชาย

บทความที่เกี่ยวข้อง : รู้หรือไม่! ผ้าอ้อมแบบไหนเหมาะสำหรับเด็ก อะไรคือสิ่งที่คุณแม่ต้องรู้

 

ดูแลอวัยวะเพศทารกแรกเกิด

 

  • วิธีทำความสะอาดอวัยวะเพศชายเมื่อลูกอุจจาระ

    • การทำความสะอาดอวัยวะเพศชายเมื่อลูกอุจจาระ ก่อนอื่นแนะนำให้ใช้น้ำสะอาดล้างก้นลูกก่อนค่ะ
    • โดยล้างให้เศษอุจจาระออกหมดก่อน ล้างให้เกลี้ยงดี
    • จากนั้นก็ซับก้น และอวัยวะเพศชายให้แห้ง ไม่ต้องพลิกเปิดหนังหุ้มอวัยวะเพศชายด้านในออกมาเช่นกัน โดยแค่ซับด้านนอกให้แห้งก็เพียงพอแล้ว
    • คำแนะนำเพิ่มเติม ควรเช็ดทำความสะอาดจากหน้าไปด้านหลังเสมอ เพื่อป้องกันเชื้อโรคจากทวารหนักเข้าสู่อวัยวะเพศชาย

 

  • ดูแลอวัยวะเพศทารกแรกเกิด เพศชายเวลาอาบน้ำ

    • หากทารกเพศชายที่ไม่ได้รับการขลิบ คุณแม่ควรล้างอวัยวะเพศชายของลูกให้สะอาดทุกครั้งที่อาบน้ำ
    • ด้วยการรูดหนังหุ้มส่วนปลายให้ ตึงเพียงเล็กน้อย เพื่อให้แน่ใจว่าไม่มีปัสสาวะ หรือเศษอุจจาระตกค้างอยู่ข้างใน ห้ามรูดหนังหุ้มปลายแรง จนตึงมากเพราะจะทำให้ลูกเจ็บ และทำให้เลือดออก หรือติดเชื้อตามมาได้ค่ะ

หนังหุ้มปลายของทารกจะติดกับหัวขององคชาต หนังหุ้มปลายจะแยกออกจากองคชาตเมื่อลูกอายุ 3-5 ขวบ หรือกระทั่งเข้าสู่วัยแรกรุ่น คุณแม่ไม่จำเป็นต้องดึงหรือรูดลงเยอะ การดึงหนังหุ้มปลายอาจทำให้บาดเจ็บ หรือฉีกขาดได้ ซึ่งส่งผลร้ายต่อลูกน้อยและทิ้งรอยแผลเป็นไว้ได้ นอกจากนี้ยังอาจทำให้เกิดปัญหาอื่น ๆ กับลูกน้อยของคุณในภายหลังได้อีกด้วยค่ะ

 

การดูแลอวัยวะเพศทารกแรกเกิดเป็นเรื่องที่คุณแม่ทำตามได้ไม่ยาก โดยมีสิ่งสำคัญที่ต้องทำตามหลัก ๆ คือ ทำอย่างเบามือ อุปกรณ์สะอาด และทำความสะอาดจากหน้าไปด้านหลังเสมอ เพียงเท่านี้ลูกน้อยของคุณแม่ก็ได้รับการดูแลเรื่องความสะอาดได้เป็นอย่างดีแล้วค่ะ หมดกังวลเรื่องการติดเชื้อไปได้เลยค่ะ

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

วิธีอาบน้ำทารกแรกเกิด จำเป็นต้องอาบทุกวันไหม อาบอย่างไรไม่ให้ลูกป่วย

10 ยี่ห้อ ทิชชู่เปียก ผ้าเปียก คัดมาแล้วว่าดี ทำความสะอาดได้อย่างหมดจด !

การเปลี่ยนผ้าอ้อมนอกบ้าน 100 สิ่งที่คุณแม่หลังคลอดต้องรู้ ตอนที่ 78

ที่มา : th.theasianparent, th.theasianparent, babycenter

บทความจากพันธมิตร
ดูแลทารกแรกเกิดวิกฤติน้ำหนักเพียง 500 กรัมสำเร็จ ด้วยความเชี่ยวชาญระดับสากล ที่ โรงพยาบาลเด็กสมิติเวช อินเตอร์เนชั่นแนล
ดูแลทารกแรกเกิดวิกฤติน้ำหนักเพียง 500 กรัมสำเร็จ ด้วยความเชี่ยวชาญระดับสากล ที่ โรงพยาบาลเด็กสมิติเวช อินเตอร์เนชั่นแนล
เคล็ดลับดูแลครรภ์ และ สร้างภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อย
เคล็ดลับดูแลครรภ์ และ สร้างภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อย
โรคภูมิแพ้ในเด็ก ป้องกันได้ตั้งแต่แรกเกิด ด้วยนมแม่ที่มีคุณสมบัติเป็น H.A. (Hypoallergenic)
โรคภูมิแพ้ในเด็ก ป้องกันได้ตั้งแต่แรกเกิด ด้วยนมแม่ที่มีคุณสมบัติเป็น H.A. (Hypoallergenic)
พ่อแม่ต้องรู้! วิธีป้องกัน RSV ในเด็ก ช่วยลูกไม่ป่วยหนัก
พ่อแม่ต้องรู้! วิธีป้องกัน RSV ในเด็ก ช่วยลูกไม่ป่วยหนัก

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

Patteenan

  • หน้าแรก
  • /
  • เด็กแรกเกิด 0-3 เดือน
  • /
  • ดูแลอวัยวะเพศทารกแรกเกิด ดูแลอย่างไรให้สะอาด ดูแลไม่ดี ระวังติดเชื้อ !
แชร์ :
  • แม่รู้ไหม ลูกไอเวลานอน มีโรคอะไรแฝงอยู่?

    แม่รู้ไหม ลูกไอเวลานอน มีโรคอะไรแฝงอยู่?

  • แผลปลูกฝีเป็นหนอง ต้องดูแลยังไง? ลูกมีไข้ งอแงหลังปลูกฝี ปกติไหม?

    แผลปลูกฝีเป็นหนอง ต้องดูแลยังไง? ลูกมีไข้ งอแงหลังปลูกฝี ปกติไหม?

  • 7 อาการปวดที่คนท้องต้องเจอ รับมือยังไง? ให้ราบรื่นตลอด 9 เดือน

    7 อาการปวดที่คนท้องต้องเจอ รับมือยังไง? ให้ราบรื่นตลอด 9 เดือน

  • แม่รู้ไหม ลูกไอเวลานอน มีโรคอะไรแฝงอยู่?

    แม่รู้ไหม ลูกไอเวลานอน มีโรคอะไรแฝงอยู่?

  • แผลปลูกฝีเป็นหนอง ต้องดูแลยังไง? ลูกมีไข้ งอแงหลังปลูกฝี ปกติไหม?

    แผลปลูกฝีเป็นหนอง ต้องดูแลยังไง? ลูกมีไข้ งอแงหลังปลูกฝี ปกติไหม?

  • 7 อาการปวดที่คนท้องต้องเจอ รับมือยังไง? ให้ราบรื่นตลอด 9 เดือน

    7 อาการปวดที่คนท้องต้องเจอ รับมือยังไง? ให้ราบรื่นตลอด 9 เดือน

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • พัฒนาการลูก
  • ชีวิตครอบครัว
  • ระยะการตั้งครรภ์
  • โภชนาการ
  • ไลฟ์สไตล์
  • TAP สังคมออนไลน์
  • ติดต่อโฆษณา
  • ติดต่อเรา
  • Influencer Marketing (KOL)
  • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Vietnam flag Vietnam
© Copyright theAsianparent 2025. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว