X
TAP top app download banner
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้า
เข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • โภชนาการ เเม่ท้อง เเม่ให้นม
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • ตั้งชื่อลูก
  • แม่ผ่าคลอด
    • พัฒนาการเด็กผ่าคลอด
    • เตรียมตัวผ่าคลอด
    • สุขภาพเด็กผ่าคลอด
    • คู่มือคุณแม่ผ่าคลอด
    • การดูแลหลังผ่าคลอด
    • โภชนาการเด็กผ่าคลอด
  • หลังคลอด
    • คลอดธรรมชาติ
    • ผ่าคลอด
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

4 อาการผิดปกติของอวัยวะเพศหญิง ที่พบบ่อยในทารก

บทความ 3 นาที
4 อาการผิดปกติของอวัยวะเพศหญิง ที่พบบ่อยในทารก

หลากปัญหาอาการผิดปกติของอวัยวะหญิงที่พบบ่อยในทารก ช่องคลอดไม่เปิด เยื่อพรหมจารียื่นออกจากช่องคลอด อวัยวะเพศบวมหลังคลอด ติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะ ควรทำอย่างไร ไขข้อข้องใจที่นี่

อาการผิดปกติของอวัยวะเพศหญิง ช่องคลอดไม่เปิด เยื่อพรหมจารียื่นออกจากช่องคลอด อวัยวะเพศบวมหลังคลอด จิมิโผล่ ติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะ หากลูกสาวมีอาการเหล่านี้ควรทำอย่างไร ไขข้อข้องใจที่นี่

1. ช่องคลอดไม่เปิดในเด็ก (Labial adhesions)

นายแพทย์ นพพร ศรีทิพโพธิ์ กุมารศัลยแพทย์ ให้ความเห็นว่า ช่องคลอดไม่เปิด เป็นความผิดปกติที่พบบ่อยในเด็กเพศหญิงอายุ 3 เดือน – 6 ปี ที่มีเยื่อพังผืดยึดติดระหว่างแคมนอกสองด้าน ทำให้ช่องคลอดปิด หรือ ไม่มีช่องคลอด ส่วนมากมักไม่มีอาการใดๆ ผู้ปกครองตรวจพบโดยบังเอิญขณะทำความสะอาดร่างกาย

ในรายที่มีการติดกันโดยตลอดบดบังรูเปิดท่อปัสสาวะอาจทำให้เกิดการติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะซ้ำซาก รวมทั้งการอักเสบของเนื้อเยื่อปากช่องคลอดและช่องคลอดได้

ทำอย่างไรเมื่อ ช่องคลอดไม่เปิด

นายแพทย์ สนทิศ สุทธิจำรูญ สูตินรีแพทย์ อธิบายว่า ในรายที่แคมติดกันแต่ยังเห็นรูเปิดท่อปัสสาวะ ไม่ขัดขวางการไหลของปัสสาวะ ไม่มีช่องคลอดอักเสบ ก็ไม่จำเป็นต้องรักษา เนื่องจากแคมที่ติดกันจะแยกออกได้เองเมื่ออายุย่างเข้าวัยรุ่นสาวซึ่งมีการสร้างเอสโตรเจนขึ้น ไม่จำเป็นต้องแยกด้วยมือหรือตัดส่วนที่ติดกันเพราะทำให้เจ็บ เกิดแผลได้และกลับเป็นซ้ำได้ง่าย

คุณหมออาจให้ยา 0.1% dienestrol cream หรือทา conjugated estrogen cream มาทาทุกวันก่อนนอน แคมที่ติดกันจะแยกออกภายใน 14 วัน การรักษาแบบนี้พบว่าได้ผลดี นอกจากรายที่มีการอักเสบของปากช่องคลอดอาจทำให้เกิดแคมติดกันซ้ำในภายหลังได้อีก

2. เยื่อพรหมจารียื่นออกจากช่องคลอด (Hymenal tag)

เยื่อพรหมจารีในทารกแรกเกิดอาจบวมเนื่องจากฮอร์โมนเอสโตรเจนส่งผ่านจากแม่ ทำให้ติ่งเนื้อเยื่อสีชมพูเล็กๆ นี้ยื่นออกมาจากผนังช่องคลอด  โดยเกิดขึ้นประมาณร้อยละ 10 ของทารกแรกเกิดเพศหญิง

ทำอย่างไรเมื่อ เยื่อพรหมจารียื่นออกจากช่องคลอด

ถือว่าเป็นเรื่องปกติ ไม่เป็นอันตราย และจะหายไปเองประมาณ 2-4 สัปดาห์ บางครั้งก็อาจใช้เวลานานกว่านี้ คุณแม่อาจไม่สบายใจ แต่ขอให้อดทน ไม่มีความจำเป็นที่ต้องรักษา

อาการผิดปกติของอวัยวะเพศหญิง

อาการผิดปกติของอวัยวะเพศหญิง

3. อวัยวะเพศบวมหลังคลอด (Swollen genitals after birth)

เป็นเรื่องธรรมดามากสำหรับอวัยวะเพศของทารกแรกเกิดทั้งชายและหญิงที่จะบวมและแดงหลังการคลอด เนื่องจากการรวมกันของสิ่งต่าง ๆ รวมทั้ง บาดแผลที่เกิดจากการคลอด และฮอร์โมนที่ส่งผ่านจากแม่สู่ลูก

ทารกแรกเกิดยังได้รับของเหลวจำนวนมาก ซึ่งเป็นสาเหตุของการบวมในบางจุด เช่น รอบอวัยวะเพศและใบหน้าโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ทารกเพศหญิงบางครั้งอาจมีตกขาวหรือเลือดออกทางช่องคลอดซึ่งมักจะหายไปในเวลาเพียงไม่กี่วัน

ทำอย่างไรเมื่อ ลูกน้อยอวัยวะเพศบวมหลังคลอด

ไม่จำเป็นต้องทำอะไร อวัยวะเพศบวมเป็นเรื่องปกติในทารกแรกเกิด เด็กแรกเกิดทั้งหมดจะได้รับการตรวจจากแพทย์อย่างละเอียดหลังคลอด รวมถึงการตรวจประเมินความผิดปกติบริเวณอวัยวะเพศด้วย

4. ติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะ Urinary tract infection (UTI)

การติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะ หมายถึงการติดเชื้อในกระเพาะปัสสาวะ ไต หรือท่อปัสสาวะ เป็นเรื่องธรรมดามากในทารกทั้งหญิงและชาย รวมถึงเด็กเล็กที่ยังสวมใส่ผ้าอ้อม

โดยส่วนใหญ่แล้วแบคทีเรียจากลำไส้หรืออุจจาระจะเข้าสู่ระบบทางเดินปัสสาวะและทำให้เกิดการติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะ ซึ่งทำให้ลูกน้อยรู้สึกเจ็บปวดขณะปัสสาวะ และมักจะเป็นไข้ไปพร้อม ๆ กัน แต่บางครั้งการติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะก็ไม่มีอาการใด ๆ ที่เห็นได้ชัด

ทำอย่างไรเมื่อ ลูกน้อยติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะ

การติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะสามารถรักษาได้โดยยาปฏิชีวนะ หากลูกน้อยมีการติดเชื้อซ้ำอีก อาจต้องทำการอัลตร้าซาวนด์ไต หรือกระเพาะปัสสาวะ หรือบางกรณีคุณหมออาจจำเป็นต้องตรวจสอบเพิ่มเติมโดยการฉีดสีเข้ากระเพาะปัสสาวะผ่านทางสายสวน

หากคุณแม่สังเกตเห็นอาการผิดปกติของจิ๊มิลูกน้อย ควรปรึกษาคุณหมอ เพื่อความมั่นใจ และรับคำแนะนำในการดูแลรักษาอย่างถูกวิธีขึ้นอยู่กับอาการของเด็กด้วย

ที่มา www.kidspot.com.au, https://ped-surg.blogspot.com/  www.healthcarethai.com

บทความที่น่าสนใจอื่น ๆ

วิธีทำความสะอาดอวัยวะเพศหญิง (จิ๊มิลูกสาว)

ขั้นตอนการอาบน้ำทารก ที่คุณแม่ทำเองได้ไม่ยาก

จุ๊ดจู๋ลูกชาย ทำความสะอาดอย่างไร ให้ถูกวิธี

บทความจากพันธมิตร
Dadi International Kindergarten เรียนรู้สนุก เล่นอย่างสร้างสรรค์ ด้วย 3 ภาษา พร้อมเสริมสร้างทักษะ EF
Dadi International Kindergarten เรียนรู้สนุก เล่นอย่างสร้างสรรค์ ด้วย 3 ภาษา พร้อมเสริมสร้างทักษะ EF
ดูแลทารกแรกเกิดวิกฤติน้ำหนักเพียง 500 กรัมสำเร็จ ด้วยความเชี่ยวชาญระดับสากล ที่ โรงพยาบาลเด็กสมิติเวช อินเตอร์เนชั่นแนล
ดูแลทารกแรกเกิดวิกฤติน้ำหนักเพียง 500 กรัมสำเร็จ ด้วยความเชี่ยวชาญระดับสากล ที่ โรงพยาบาลเด็กสมิติเวช อินเตอร์เนชั่นแนล
Easy Life III เครื่องปั๊มนม Hands-Free จากแบรนด์ไทยอย่าง Attitude Mom ออกแบบเพื่อชีวิตการปั๊มนมของคุณแม่ที่ง่ายขึ้นกว่าเดิมพร้อมการควบคุมการทำงานผ่านแอปพลิเคชันบนมือถือ
Easy Life III เครื่องปั๊มนม Hands-Free จากแบรนด์ไทยอย่าง Attitude Mom ออกแบบเพื่อชีวิตการปั๊มนมของคุณแม่ที่ง่ายขึ้นกว่าเดิมพร้อมการควบคุมการทำงานผ่านแอปพลิเคชันบนมือถือ
ซีรีแล็ค จูเนียร์ โจ๊ก อร่อย ได้ประโยชน์ ตัวช่วยแม่ยุคใหม่
ซีรีแล็ค จูเนียร์ โจ๊ก อร่อย ได้ประโยชน์ ตัวช่วยแม่ยุคใหม่

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

theAsianparent Editorial Team

  • หน้าแรก
  • /
  • พัฒนาการลูก
  • /
  • 4 อาการผิดปกติของอวัยวะเพศหญิง ที่พบบ่อยในทารก
แชร์ :
  • หากลูกหมกมุ่นกับ 3 สิ่งนี้... พฤติกรรมที่ผู้ปกครองควรจับตา และรับมืออย่างทันท่วงที

    หากลูกหมกมุ่นกับ 3 สิ่งนี้... พฤติกรรมที่ผู้ปกครองควรจับตา และรับมืออย่างทันท่วงที

  • เคลือบสูติบัตรได้ไหม เรื่องต้องรู้ก่อนเคลือบสูติบัตร

    เคลือบสูติบัตรได้ไหม เรื่องต้องรู้ก่อนเคลือบสูติบัตร

  • อย่ามองแค่เกรด! 5 ทักษะที่มีค่าที่สุด ช่วยลูกรับมือกับอุปสรรคในชีวิต

    อย่ามองแค่เกรด! 5 ทักษะที่มีค่าที่สุด ช่วยลูกรับมือกับอุปสรรคในชีวิต

  • หากลูกหมกมุ่นกับ 3 สิ่งนี้... พฤติกรรมที่ผู้ปกครองควรจับตา และรับมืออย่างทันท่วงที

    หากลูกหมกมุ่นกับ 3 สิ่งนี้... พฤติกรรมที่ผู้ปกครองควรจับตา และรับมืออย่างทันท่วงที

  • เคลือบสูติบัตรได้ไหม เรื่องต้องรู้ก่อนเคลือบสูติบัตร

    เคลือบสูติบัตรได้ไหม เรื่องต้องรู้ก่อนเคลือบสูติบัตร

  • อย่ามองแค่เกรด! 5 ทักษะที่มีค่าที่สุด ช่วยลูกรับมือกับอุปสรรคในชีวิต

    อย่ามองแค่เกรด! 5 ทักษะที่มีค่าที่สุด ช่วยลูกรับมือกับอุปสรรคในชีวิต

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • พัฒนาการลูก
  • ชีวิตครอบครัว
  • ระยะการตั้งครรภ์
  • โภชนาการ
  • ไลฟ์สไตล์
  • TAP สังคมออนไลน์
  • ติดต่อโฆษณา
  • ติดต่อเรา
  • Influencer Marketing (KOL)
  • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Vietnam flag Vietnam
© Copyright theAsianparent 2025. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว