มาดูกันว่า สัญชาตญาณความเป็นแม่ ส่งผลต่อสมองเราอย่างไร?
มาดูกันว่า สัญชาตญาณความเป็นแม่ ส่งผลต่อสมองเราอย่างไร?
คุณรู้หรือไม่ว่าความเป็นแม่นั้นส่งผลต่อสมองของเรา?
เราต่างรู้กันดีว่าร่างกายของคุณแม่ต้องเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงครั้งยิ่งใหญ่เมื่อตั้งครรภ์และหลังคลอด ส่วนใหญ่เรามักจะสนใจแต่การเปลี่ยนแปลงในด้านลบ เช่น ความย้วย ท้องลาย หน้าอกหย่อนคล้อย และอื่น ๆ แต่คุณอาจไม่เคยรู้ว่าความเป็นแม่นั้นยังมีผลกระทบต่ออวัยวะสำคัญหนึ่งในร่างกายของเรา ซึ่งก็คือสมองนั่นเอง
เรากำลังจะบอกว่าการเป็นคุณแม่นั้นจะส่งผลดีต่อสมองของคุณอย่างไร (เรื่องนี้ได้รับการยืนยันทางวิทยาศาสตร์มาแล้ว ดังที่คุณจะได้อ่านต่อไป)
รายงานข่าวจาก NBC เมื่อเร็ว ๆ นี้ได้เปิดเผยผลการวิจัยที่บ่งชี้ว่าความเป็นแม่นั้นส่งผลดีต่อร่างกายคุณแม่อย่างไร โดยเฉพาะอย่างยิ่งต่อสมอง
เมื่อผู้หญิงกลายเป็นคุณแม่ สมองจะหลั่งฮอร์โมนออกมาหลายชนิด ซึ่งจะช่วยเสริมสร้างความผูกพันธ์ระหว่างตัวคุณแม่และลูกน้อย อีกทั้งยังทำให้คุณแม่รู้สึกอยากปกป้องและดูแลลูกในแบบที่คนอื่นไม่อาจเทียบ
ฮอร์โมนที่เราพูดถึงนี้ คือ ออกซิโทซิน และโปรแลคติน
ออกซิโทซิน
หรือที่รู้จักกันในชื่อ ฮอร์โมนแห่งความรัก ฮอร์โมนแห่งการกอด สารแห่งความสุข ฯลฯ ฮอร์โมนชนิดนี้ถูกสร้างขึ้นในไฮโปตลามัสในสมอง โดยต่อมพิทูอิตารีซึ่งอยู่ในสมองเช่นกัน
ออกซิโทซิน มีประโยชน์กับ แม่หลายประการ
“ฮอร์โมนแห่งความรัก” ทำหน้าที่อะไร?
- ระหว่างการคลอด จะทำหน้าที่ทำให้มดลูกบีบตัว
- ทำให้คุณแม่มีความเป็นห่วงเป็นใยและอยากเอาอกเอาใจมากขึ้น
- ออกซิโทซินยังทำให้คุณแม่สามารถจดจำกลิ่นอันเป็นเอกลักษณ์ของลูกน้อยได้และชอบกลิ่นนี้มากกว่ากลิ่นอื่น ๆ อีกด้วย
- กระตุ้นให้คุณแม่หลั่งน้ำนมในระหว่างการให้นม
- ออกซิโทซินยังช่วยให้ร่างกายจัดเรียงจุดเชื่อมต่อของเส้นประสาทภายในสมองบางส่วน ทำให้ผู้หญิงแสดงความเป็นแม่ออกอย่างชัดเจนยิ่งขึ้น
- ช่วยให้คุณแม่เข้าใจภาษากายของลูกน้อยได้ดียิ่งขึ้น
โปรแลคติน
หรือที่รู้จักกันในชื่อ “ฮอร์โมนน้ำนม” โปรแลคตินถูกผลิตขึ้นโดยต่อมพิทูอิตารี ฮอร์โมนตัวนี้จะถูกหลั่งออกมาเมื่อเด็กดูดนม ซึ่งกระตุ้นได้เกิดการผลิตน้ำนมและพฤติกรรมอันสุดแสนมหัศจรรย์ของของคุณแม่อื่น ๆ
คุณรู้หรือไม่ ว่าความเป็นแม่นั้น ส่งผลต่อ สมองของเรา?
“ฮอร์โมนน้ำนม” ทำหน้าที่อะไร?
- ทำให้คุณแม่ผ่อนคลายในช่วงเดือนแรกและอาจทำคุณแม่รู้สึกเหนื่อยในช่วงที่กำลังให้นม ซึ่งทำให้คุณแม่ต้องพักผ่อนมากขึ้น
- โปรแลคตินยังทำให้ความต้องการทางเพศของคุณแม่ลดลง ซึ่งจะทำให้คุณแม่หันมาใส่ใจลูกน้อยมากขึ้นโดยไม่มีอย่างอื่นรบกวน!
รายงานของ NBC ยังระบุอีกว่าไม่ได้แค่โปรแลคตินและออกซิโทซินเท่านั้นที่ถูกหลั่งออกมา แต่ร่างกายของคุณแม่มือใหม่ยังจะปล่อยฮอร์โมนอีกชนิดหนึ่ง ที่มีชื่อว่า “โอปิออยด์” (ฮอร์โมนแห่งความสุข) ออกมาอีกด้วย
หน้าที่หนึ่งของโอปิออยด์ก็คือมันจะช่วยกระตุ้นให้แม่สัมผัสสื่อสารกับลูกน้อยมากขึ้น และยังทำให้คุณแม่รู้สึกอิ่มอกอิ่มใจมากยิ่งขึ้นอีกด้วย
งานวิจัยยืนยันผลกระทบของความเป็นแม่ต่อสมอง
ผลการศึกษาที่ถูกตีพิมพ์ลงในวารสารวิชาการ Behavioural Neuroscience ได้เปิดเผยว่าสมองบางส่วนของคุณแม่จะขยายใหญ่ขึ้นหลังคลอด
พบว่าสมองบางส่วน ของคุณแม่เหล่านี้ มีปริมาตรเพิ่มขึ้นเล็กน้อย แต่เพิ่มขึ้นอย่าง มีนัยสำคัญ
งานวิจัย
นักวิจัยประจำ National Institute of Mental Health ในแมรี่แลนด์ ได้ทำการสแกนสมองของผู้หญิงจำนวน 19 คนที่เพิ่งคลอดลูก โดย10 คนได้ลูกชาย และอีก 9 คนได้ลูกสาว
ภาพสแกนสมองที่ถูกถ่ายในช่วง 2 – 4 สัปดาห์ และ 3 – 4 เดือนหลังคลอด
นักวิจัยค้นพบว่าสมองบางส่วนของคุณแม่เหล่านี้มีปริมาตรเพิ่มขึ้นเล็กน้อย แต่เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ
ก่อนอื่นเราต้องอธิบายว่าสมองของผู้ใหญ่มักไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ในระยะเวลาอันสั้นหากไม่ได้ผ่านเรียนรู้ โดนกระทบกระทั่ง บาดเจ็บหรือมีการเปลี่ยนสภาพแวดล้อมครั้งใหญ่
นักวิจัยเชื่อว่าการที่เซลล์สมองเหล่านี้มีปริมาณเพิ่มขึ้นมีสาเหตุมาจากระดับฮอร์โมนและความจำเป็นที่ทำให้คุณแม่พร้อมรับมือกับความท้าทายใหม่ ๆ ในการดูแลลูกน้อย
ส่วนที่มีขนาดใหญ่ขึ้นได้แก่:
- ไฮโปตลามัส เกี่ยวข้องกับแรงจูงใจ
- อะมิกดาลา เกี่ยวข้องกับการประมวลผลทางอารมณ์
- สมองด้านข้าง เกี่ยวข้องกับประสาทสัมผัส
- สมองกลีบหน้าผากส่วนหน้า เกี่ยวข้องกับเหตุผลและการตัดสินใจ
สิ่งที่น่าสนใจอีกอย่างหนึ่งจากงานวิจัยนี้คือมีการค้นพบว่า คุณแม่ที่พูดถึงลูกของตัวเองโดยใช้คำที่ให้ความรู้สึกในแง่บวกมาก ๆ เช่น คนที่บอกว่าลูก “พิเศษ” “สมบูรณ์แบบ” “น่ารัก” ฯลฯ มีแนวโน้มที่สมองในส่วนที่เชื่อมโยงกับแรงจูงใจ และการปรับอารมณ์ จะขยายตัวมากกว่าเมื่อเทียบกับคุณแม่ที่ไม่ได้รู้สึกตื่นเต้นหรือตื้นตันกับลูกมากนัก
ดังนั้น คราวหน้าถ้ามีคนมาบอกคุณว่าคุณไม่รู้จักทำอะไรนอกจากเลี้ยงลูก คุณก็เถียงไปได้เลยว่าฉันน่ะสมองใหญ่กว่าเธอนะจ้ะ นักวิทยาศาสตร์เค้าพิสูจน์มาแล้ว!
มาดูกันว่า สัญชาตญาณความเป็นแม่ ส่งผลต่อสมองเราอย่างไร?
The Asianparent Thailand เว็บไซต์ข้อมูลคุณภาพและสังคมคุณแม่ ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศ และในเอเชีย เรามีผู้เชี่ยวชาญด้านกุมารแพทย์ แหล่งความรู้แม่และเด็ก รวมถึงแอพพลิเคชั่น The Asianparent ที่ติดตามการตั้งครรภ์ ให้คุณแม่ได้ลงทะเบียนใช้งานฟรี เพื่อติดตามพัฒนาการของทารก ตั้งแต่ตั้งครรภ์ จนถึงติดตามหลังคลอดที่ครอบคลุมที่สุด และผู้ใช้งานสูงสุดในประเทศไทย นอกจากความรู้ยังมีไลฟ์สไตล์ และสื่อมัลติมีเดียหลากหลาย ไม่ว่าสุขภาพแม่และเด็ก โภชนาการแม่และเด็ก กิจกรรมสำหรับครอบครัว การวางแผนครอบครัวไปจนถึง การดูแลลูก การศึกษา และจิตวิทยาเด็ก The Asianparent เราพร้อมสนับสนุนพ่อแม่ทุกท่าน ให้มีความรู้และมีสุขภาพกายใจเข้มแข็ง เพื่อเสริมสร้างครอบครัวอย่างแข็งแรง
เพราะเราเชื่อว่า “พ่อแม่เข้มแข็ง ครอบครัวแข็งแรง”
บทความที่เกี่ยวข้อง :
thecut.com – The Science on What Happens to Mother’s Brains After Birth
บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :
20 สิ่ง ที่แม่เท่านั้น จะเข้าใจ ความเป็นแม่ มักมีอะไรที่ พิเศษกว่าคนอื่นเสมอ
เบื่อเลี้ยงลูก ไม่อยากหมดไฟในความเป็นแม่ ต้องรีบปลุก จิตวิญญาณด่วน ๆ เพื่อลูก
6 สัญญาณ การเปลี่ยนแปลง สู่ความเป็นแม่
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!