X
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้าเข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ตั้งครรภ์
    • คำนวณวันคลอด
    • ฉันกำลังตั้งครรภ์
    • ไตรมาสที่ 1
    • ไตรมาสที่ 2
    • ไตรมาสที่ 3
    • Project Sidekicks
    • ตั้งชื่อลูก
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • อีเว้นท์
    • TAP Awards Winners
    • TAP idol
    • TAP x Safari Largest Treasure Hunt
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

น้ำยาบ้วนปากมีกี่ประเภท ใช้อย่างไรให้ถูกต้อง เพื่อให้มีสุขภาพช่องปากที่ดี

บทความ 5 นาที
น้ำยาบ้วนปากมีกี่ประเภท ใช้อย่างไรให้ถูกต้อง เพื่อให้มีสุขภาพช่องปากที่ดี

น้ำยาบ้วนปากมีกี่ประเภท และควรเลือกใช้แบบไหนดีถึงจะเหมาะสมต่อสุขภาพช่องปาก บทความวันนี้เราจะมาไขข้อสงสัยไปพร้อม ๆ กันค่ะ  เพื่อให้คุณเลือกใช้น้ำยาบ้วนปากได้อย่างถูกต้อง และเหมาะสม เพราะการใช้น้ำยาบ้วนปาก ก็ถือเป็นไอเทมที่จะช่วยส่งเสริมสุขภาพช่องปากที่ดีได้เช่นกัน นอกจากนี้ เรายังมีทริคการใช้น้ำยาบ้วนปากให้ได้ประสิทธิภาพสูงสุด มาฝากทุกคนกันด้วยค่ะ ถ้าพร้อมแล้ว มาตามไปดูพร้อมกันเลย

 

น้ำยาบ้วนปากมีกี่ประเภท ?

ปัจจุบันน้ำยาบ้วนปากได้ถูกผลิตออกมาจำหน่ายหลากหลายแบบ หลากหลายสูตร และหลากหลายยี่ห้อมาก ๆ ซึ่งโดยปกติแล้วจะมีน้ำยาบ้วนปากออกเป็น 2 แบบ ดังนี้

 

น้ำยาบ้วนปากมีกี่ประเภท

 

น้ำยาบ้วนปากแบบทั่วไป

  • สำหรับน้ำยาบ้วนปากแบบทั่วไป จะเป็นน้ำยาบ้วนปากที่ใช้สำหรับช่วยเสริมความมั่นใจเหมาะสำหรับใช้ระงับกลิ่นปากได้ชั่วคราว ไม่มีส่วนผสมของสารเคมี และไม่สามารถกำจัดแบคทีเรียในช่องปากได้ ดังนั้น จึงสามารถระงับกลิ่นปากได้เพียงชั่วคราวในเวลาสั้น ๆ เท่านั้นค่ะ

 

น้ำยาบ้วนปากสำหรับรักษาโรคในช่องปาก

  • สำหรับน้ำยาบ้วนปากประเภทนี้ จะเป็นน้ำยาที่ใช้ในการรักษาโรคในช่องปาก เพราะจะมีส่วนผสมที่จะสามารถช่วยกำจัดแบคทีเรีย และคราบจุลินทรีย์ภายในช่องปากได้ ดังนั้น จึงถือเป็นน้ำยาบ้วนปากที่มีประสิทธิภาพมากกว่าน้ำยาบ้วนปากทั่วไป ซึ่งถ้าหากเลือกใช้น้ำยาบ้วนปากประเภทนี้ ก็จะช่วยป้องกันการเกิดโรคปริทันต์ และช่วยบรรเทาอาการโรคเหงือกอักเสบ ป้องกันฟันผุ ยับยั้งการเกิดหินปูน และช่วยระงับกลิ่นปากได้อย่างมีประสิทธิภาพมาก ๆ เลยค่ะ

บทความที่เกี่ยวข้อง : แนะนำ น้ำยาบ้วนปาก คนท้อง ปราศจากฟลูออไรด์ ใช้ได้อย่างปลอดภัย!

ส่วนผสมในน้ำยาบ้วนปากมีอะไรบ้าง?

 

น้ำยาบ้วนปากมีกี่ประเภท

 

ฟลูออไรด์

เป็นแร่ธาตุตามธรรมชาติ ที่จะช่วยทำให้หน้าที่ในการเคลือบฟันให้แข็งแรง และลดความเสี่ยงในการเกิดฟันผุในเด็ก และผู้ใหญ่ได้ ดังนั้น ถ้าหากใครที่มีความเสี่ยงในการเกิดฟันผุ การเลือกใช้น้ำยาบ้วนปากที่มีส่วนผสมของฟลูออไรด์ ก็จะช่วยป้องกันฟันผุเกิดขึ้นได้ค่ะ

 

คลอร์เฮกซิดีน (Chlorhexidine)

สำหรับส่วนผสมของคลอร์เฮกซิดีน เป็นอีกหนึ่งส่วนผสมที่จะอยู่ในน้ำยาบ้วนปากเพื่อช่วยในการรักษาเหงือกอักเสบ หรือโรคปริทันต์ และช่วยต้านคราบจุลินทรีย์ ที่เป็นสาเหตุทำให้เกิดคราบสีบนผิวฟันได้

 

เซทิลไพริดิเนียมคลอไรด์ (Cetylpyridinium Chloride)

เป็นสารประกอบชนิดหนึ่งที่มีฤทธิ์ในการยับยั้งการเจริญเติบโตของแบคทีเรีย และช่วยลดการเกิดคราบหินปูน ลดความเสี่ยงการติดเชื้อในช่องปาก

 

ดีเทอร์เจนส์ (Detergents)

โซเดียมลอริลซัลเฟต และโซเดียมเบนโซเอต ถือเป็นตัวอย่างดีเทอร์เจนส์ (Detergents) ในน้ำยาบ้วนปาก ที่มีคุณสมบัติในการช่วยขจัดคราบจุลินทรีย์

 

เอนไซม์ต้านแบคทีเรีย

เอนไซม์ในร่างกายของมนุษย์จะสามารถช่วยต้านแบคทีเรียได้  เอนไซม์ที่มักจะพบในน้ำยาบ้วนปากก็จะมี ไลโซไซม์ และแล็กโทเพอร์ออกซิเดส ซึ่งจะมีส่วนช่วยในการลดอาการปากแห้งได้ค่ะ

 

น้ำมันหอมระเหย

น้ำยาบ้วนปากในหลาย ๆ ยี่ห้อ มักจะมีส่วนผสมของน้ำมันหอมระเหยรวมอยู่ในนั้นด้วย เช่น เมนทอล หรือยูคาลิปตัส เป็นต้น ซึ่งสารหอมระเหยเหล่านี้ จะช่วยในการระงับกลิ่นปาก และช่วยในการต้านแบคทีเรียค่ะ

 

ไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ (Hydrogen Peroxide)

สำหรับสารประกอบไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ จะมีคุณสมบัติในการที่จะช่วยต้านเชื้อแบคทีเรียภายในช่องปาก และลดคราบจุลินทรีย์ และป้องกันการเหงือกอักเสบ อีกทั้ง ยังมีส่วนช่วยให้ฟันขาวขึ้นเล็กน้อยอีกด้วยค่ะ

 

แอลกอฮอล์

ถือเป็นส่วนผสมที่จะถูกใส่ในน้ำยาบ้วนปาก ซึ่งแต่ละสูตรก็จะใส่น้ำยาบ้วนปากในปริมาณที่แตกต่างกันออกไป ซึ่งแอลกอฮอล์นั้นจะมีฤทธิ์ในการช่วยต้านเชื้อแบคทีเรีย และช่วยในการป้องกันโรคเหงือกอักเสบ แต่ถ้าหากน้ำยาบ้วนปากนั้นใส่แอลกอฮอล์ในปริมาณมาก ก็อาจทำให้มีอาการแสบร้อนภายในช่องปากเกิดขึ้นได้ค่ะ

บทความที่เกี่ยวข้อง : คนท้องใช้น้ำยาบ้วนปากได้ไหม คุณแม่ควรระวังเรื่องไหนบ้าง? มาดูกัน!

เคล็ดลับ! การใช้น้ำยาบ้วนปากอย่างถูกต้อง

 

น้ำยาบ้วนปากมีกี่ประเภท

บทความจากพันธมิตร
5 วิธี เสริมภูมิคุ้มกัน กุญแจสำคัญที่ทำให้ลูกรักแข็งแรง พร้อมเรียนรู้ได้เต็มศักยภาพ
5 วิธี เสริมภูมิคุ้มกัน กุญแจสำคัญที่ทำให้ลูกรักแข็งแรง พร้อมเรียนรู้ได้เต็มศักยภาพ
ป้องกัน ลูกแพ้น้ำยาซักผ้า ฉบับคุณแม่มือโปร ด้วย Breeze Baby
ป้องกัน ลูกแพ้น้ำยาซักผ้า ฉบับคุณแม่มือโปร ด้วย Breeze Baby
วิธีดูแลผิวลูกหน้าร้อน ดูแลอย่างไรให้ห่างไกลปัญหาผดผื่น
วิธีดูแลผิวลูกหน้าร้อน ดูแลอย่างไรให้ห่างไกลปัญหาผดผื่น
วัคซีน IPD จำเป็นที่ต้องให้ลูกรับหรือเปล่า? มาทำความเข้าใจเกี่ยวกับ 'โรคไอพีดี' และ 'วัคซีนป้องกันโรคไอพีดี'
วัคซีน IPD จำเป็นที่ต้องให้ลูกรับหรือเปล่า? มาทำความเข้าใจเกี่ยวกับ 'โรคไอพีดี' และ 'วัคซีนป้องกันโรคไอพีดี'

 

สำหรับการแปรงฟันเพียงอย่างเดียว อาจจะไม่ได้ช่วยให้ช่องปากของคุณสะอาดมากเพียงพอ ดังนั้น การเลือกใช้น้ำยาบ้วนปาก ก็ถือเป็นตัวช่วยที่จะทำให้ช่องปากของคุณสะอาดมากยิ่งขึ้น พร้อมทั้งยังสามารถช่วยระงับกลิ่นปากได้อีกด้วยค่ะ เพื่อช่องปากที่สะอาดมั่นใจ ควรเลือกใช้น้ำยาบ้วนปากร่วมด้วยนะคะ ซึ่งขั้นตอนการใช้น้ำยาบ้วนปากให้ถูกวิธีและมีประสิทธิภาพจะมีขั้นตอนง่าย ๆ ดังนี้

  • สำหรับขั้นตอนแรกเวลาอมน้ำยาบ้วนปากเข้าปากไปแล้ว แนะนำให้เงยหน้าขึ้น เพื่อที่จะได้ให้น้ำยาบ้วนปากนั้นสัมผัสภายในช่องปากได้อย่างทั่วถึงลึกถึงลำคอ
  • จากนั้น ก็ให้อมน้ำยาบ้วนปากทิ้งไว้ 1-2 นาที เพื่อให้น้ำยาสัมผัสกับเนื้อเยื่อภายในช่องปาก จะได้ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพให้ได้ผลลัพธ์ที่ดีมากยิ่งขึ้น หลีกเลี่ยงการกลั้วด้วยน้ำยาปากเป็นระยะเวลาที่นานกว่าที่แนะนำนะคะ เพราะอาจจะทำให้ฟันเกิดฟันกร่อนได้
  • หลังจากกลั้วน้ำยาบ้วนปากครบ 1-2 นาที แล้ว ก็สามารถบ้วนน้ำยาทิ้งได้เลยค่ะ และไม่ควรบ้วนน้ำตาม เพราะถ้าหากบ้วนน้ำตามเข้าไปและบ้วนออก ก็จะถือว่าเป็นการชะล้างตัวยาออกมาด้วย
  • หลังใช้น้ำยาบ้วนปากเสร็จแล้ว ก็ควรงดดื่มน้ำ และงดรับประทานอาหาร เป็นระยะเวลาครึ่งชั่วโมง เพื่อให้ตัวน้ำยาออกฤทธิ์นานขึ้น

 

น้ำยาบ้วนปากอายุเท่าไหร่ถึงสามารถใช้ได้?

น้ำยาบ้วนปาก ถือเป็นตัวช่วยที่จะช่วยส่งเสริมให้ฟัน และเหงือกแข็งแรง นอกจากผู้ใหญ่จะสามารถใช้น้ำยาบ้วนปากได้แล้ว เด็กก็สามารถใช้น้ำยาบ้วนปากได้ด้วยเช่น เพราะปัจจุบันแต่ละยี่ห้อก็ได้ผลิตน้ำยาบ้วนปากสำหรับออกมาจำหน่ายหลากหลายสูตร ซึ่งสมาคมทันตแพทย์อเมริกัน (ADA) ได้ให้คำแนะนำว่า สำหรับเด็กที่อายุต่ำกว่า 6 ปี ไม่ควรใช้น้ำยาบ้วนปากที่มีฟลูออไรด์ เพราะอาจจะเผลอกลืนน้ำยาบ้วนปากลงไป ส่งผลทำให้เด็กอาจได้รับฟลูออไรด์มากเกินไป และอาจจะส่งผลข้างเคียงอื่น ๆ  ตามมาได้ค่ะ

 

เป็นอย่างไรกันบ้างคะ สำหรับข้อมูลที่เรานำมาฝากกัน เราก็ได้มาคลายข้อสงสัยให้แล้วนะคะว่าสรุปแล้ว น้ำยาบ้วนปากมีกี่ประเภท และภายในน้ำยาบ้วนปากนั้นมีส่วนผสมอะไรอยู่บ้างที่เหมาะกับช่องปากของเราบ้าง อีกทั้ง ยังมีเคล็ดลับการใช้น้ำยาบ้วนปากให้ได้ประสิทธิภาพสูงสุดมาฝากทุกคนกันด้วย การแปรงฟันอาจจะช่วยให้สุขภาพช่องปากนั้นสะอาดได้มากเพียงพอ แนะนำให้เลือกใช้น้ำยาบ้วนปาก เพื่อเป็นตัวช่วยเสริมสุขภาพภายในช่องปากให้ดีขึ้น หวังว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์ให้สำหรับทุกคนนะคะ

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

รวมเคล็ดลับ วิธีระงับกลิ่นปาก ให้ไม่มีกลิ่นเหม็น บอกลาปัญหากลิ่นปาก!

แนะนำ น้ำยาบ้วนปาก คนท้อง ปราศจากฟลูออไรด์ ใช้ได้อย่างปลอดภัย!

สามีมีกลิ่นปาก น้ำลายเหม็น มีวิธีแก้ปากเหม็น ลดกลิ่นปากหรือเปล่า

ที่มา : 1, 2, 3

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

Suttida Butdeewong

  • หน้าแรก
  • /
  • สุขภาพ
  • /
  • น้ำยาบ้วนปากมีกี่ประเภท ใช้อย่างไรให้ถูกต้อง เพื่อให้มีสุขภาพช่องปากที่ดี
แชร์ :
  • การตรวจเลือดเพื่อหาความพิการแต่กำเนิด คืออะไร จำเป็นต้องตรวจหรือไม่ ?

    การตรวจเลือดเพื่อหาความพิการแต่กำเนิด คืออะไร จำเป็นต้องตรวจหรือไม่ ?

  • มือลอก มือแตกแห้ง เกิดจากอะไร เป็นสัญญาณของอาการขาดวิตามินจริงไหม?

    มือลอก มือแตกแห้ง เกิดจากอะไร เป็นสัญญาณของอาการขาดวิตามินจริงไหม?

  • เด็กสายตาสั้น ต้องระวัง! อาจเป็นโรคซึมเศร้าและวิตกกังวลโดยไม่รู้ตัว

    เด็กสายตาสั้น ต้องระวัง! อาจเป็นโรคซึมเศร้าและวิตกกังวลโดยไม่รู้ตัว

  • การตรวจเลือดเพื่อหาความพิการแต่กำเนิด คืออะไร จำเป็นต้องตรวจหรือไม่ ?

    การตรวจเลือดเพื่อหาความพิการแต่กำเนิด คืออะไร จำเป็นต้องตรวจหรือไม่ ?

  • มือลอก มือแตกแห้ง เกิดจากอะไร เป็นสัญญาณของอาการขาดวิตามินจริงไหม?

    มือลอก มือแตกแห้ง เกิดจากอะไร เป็นสัญญาณของอาการขาดวิตามินจริงไหม?

  • เด็กสายตาสั้น ต้องระวัง! อาจเป็นโรคซึมเศร้าและวิตกกังวลโดยไม่รู้ตัว

    เด็กสายตาสั้น ต้องระวัง! อาจเป็นโรคซึมเศร้าและวิตกกังวลโดยไม่รู้ตัว

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
    • ก่อนตั้งครรภ์
    • การคลอด
    • ระยะการตั้งครรภ์
    • การคลอด
  • พัฒนาการลูก
    • ทารก
    • เด็กก่อนเข้าเรียน
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • การวางแผนการเงิน
    • การเลี้ยงลูก
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • นมแม่และนมผง
  • โภชนาการ
    • สินค้าเด็ก
    • นมผง
    • เมนูอาหาร
    • สินค้าแม่
  • เพิ่มเติม
    • TAP สังคมออนไลน์
    • ติดต่อโฆษณา
    • ติดต่อเรา
    • Influencer Marketing (KOL)
    • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Sri-Lanka flag Sri Lanka
  • India flag India
  • Vietnam flag Vietnam
  • Australia flag Australia
  • Japan flag Japan
  • Nigeria flag Nigeria
  • Kenya flag Kenya
© Copyright theAsianparent 2023. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

theAsianparent heart icon
เราต้องการส่งแจ้งเตือนข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการดูแลทารกและสุขภาพไปให้กับคุณ