ช่วงการตั้งครรภ์ เป็นช่วงที่ร่างกายคุณแม่เกิดการเปลี่ยนแปลงหลาย ๆ ด้าน ซึ่งบางทีแม้เราจะดูแลตัวเองอย่างดี แต่ก็มีปัจจัยบางอย่างที่ทำให้เกิดปัญหาสุขภาพขึ้นได้ รกเกาะต่ำ ภาวะรกเกาะต่ำ หรือมดลูกต่ำกับการตั้งครรภ์ เป็นหนึ่งในปัญหาที่อาจเกิดกับคนที่ท้องบางคน วันนี้เราจะมาพูดถึงภาวะความผิดปกตินี้กันค่ะ
รกเกาะต่ำ คืออะไร
รกเกาะต่ำ หรือ Placenta previa เป็นภาวะการอยู่ผิดตำแหน่งของรกที่บริเวณของมดลูกในช่วงของการที่ตัวอ่อนหลังจากการปฏิสนธิกำลังมีการเจริญเติบโต และเริ่มแบางเซลล์จนมีขนาดใหญ่ โดยในช่วงของการพัฒนานั้น เซลล์ส่วนหนึ่งจะพัฒนากลายเป็นตัวอ่อน และอีกส่วนหนึ่งจะกลายเป็นรกที่มาปกป้องตัวของทารกที่กำลังเจริญเติบโตขึ้น โดยปกติแล้วรกจะอยู่ด้านบนของผนังมดลูกและเอนไปด้านหลังเล็กน้อย แต่สำหรับคุณแม่บางท่านที่มีอาการผิดปกติ หรือที่เรียกว่าภาวะรกเกาะต่ำนั้นจะมีลักษณะที่แตกต่างกันออกไป
บทความที่น่าสนใจ : น้ำคร่ำ คืออะไร? มีหน้าที่สำคัญต่อคุณแม่ตั้งครรภ์อย่างไร
รกเกาะต่ำ
ภาวะรกเกาะต่ำ หรือ มดลูกต่ำกับการตั้งครรภ์ เกิดจากอะไร
ส่วนมากใน คุณแม่ ตั้งครรภ์ ที่เกิด ภาวะ รกเกาะต่ำ ขึ้นในขณะตั้งครรภ์ เบื้องต้นอาจมาจากปัจจัยเหล่านี้ คือ
- มีการคลอดบุตรมาแล้วหลายครั้ง
- เคยขูดมดลูก เคยผ่าตัดที่มดลูก และเคยมีอาการมดลูกอักเสบ
- แม่มีอายุมาก
- เป็นคนสูบบุหรี่จัด
- การตั้งครรภ์แฝด
- การติดเชื้อในครรภ์มารดา
จะรู้ได้อย่างไรว่ารกเกาะต่ำ หรือ มดลูกต่ำกับการตั้งครรภ์
สำหรับคุณแม่ที่มีปัจจัยเสี่ยงดังที่กล่าวมาข้างต้น โดยเฉพาะในช่วงไตรมาสสุดท้ายของการตั้งครรภ์ สามารถสังเกตได้จากอาการเหล่านี้
- ไม่มีอาการปวดท้อง แต่มีเลือดไหลออกมาทางช่องคลอด
- เลือดไหลออกมาไม่มาก แต่เลือดออกบ่อยครั้ง
หากมีอาการเหล่านี้เกิดขึ้น ไม่ควรนิ่งนอนใจและควรรีบไปพบแพทย์โดยด่วน
รกเกาะต่ำเป็นเรื่องสำคัญที่แม่ท้องหลายคนมองข้าม และเป็นอีกเรื่องที่เป็นอันตรายถึงขั้นที่อาจทำให้คุณแม่และลูกน้อยในครรภ์เสียชีวิตได้ หากรู้ว่าตั้งครรภ์ควรรีบไปฝากครรภ์ และควรไปตรวจครรภ์อย่างสม่ำเสมอ เพราะนอกจากจะช่วยลดความเสี่ยงจากรกเกาะต่ำแล้ว ยังช่วยลดความเสี่ยงจากภาวะที่เป็นอันตรายอื่นๆได้อีกด้วย
บทความที่น่าสนใจ : หมอนัดตรวจครรภ์บ่อยแค่ไหน เดือนนี้หมอนัดแล้วไม่ไปได้ไหม ไปเดือนหน้าได้ไหม

ภาวะรกเกาะต่ำ มีกี่ชนิด
มีการแบ่งลักษณะของรกเกาะต่ำ เป็น 3 แบบใหญ่ๆ ตาม ความรุนแรง ดังนี้
- รกเกาะต่ำคลุมปากมดลูกทั้งหมด รกปิดปากมดลูกทั้งหมด ทำให้ทารกคลอดทางช่องคลอดไม่ได้ ต้องผ่าคลอดทารกออกมา
- รกเกาะต่ำ คลุมปากมดลูกเป็นบางส่วน ปากมดลูกที่ขยายมากขึ้นอาจไปดึงให้รกขยับสูงขึ้น บางครั้งอาจไม่ขวางการคลอดของทารก แต่จะทำให้มีเลือดออกมาก ทำให้ต้องผ่าคลอดทารกออกมา
- รกเกาะต่ำบริเวณด้านล่างของมดลูกแต่ไม่คลุมปากมดลูก คือ ทารกสามารถคลอดทางช่องคลอดได้ แต่ถึงแม่จะสามารถคลอดทารกทางช่องคลอดได้ ก็ทำให้เลือดออกมามากเช่นกัน
ภาวะ รกเกาะต่ำ อันตรายแค่ไหน
เมื่อมีภาวะรกเกาะต่ำ หรือ มดลูกต่ำกับการตั้งครรภ์ ในช่วงแรกของการตั้งครรภ์ คุณแม่มักจะไม่มีอาการผิดปกติใดๆ จนกระทั่ง อายุครรภ์มากขึ้นจนถึง ช่วงใกล้คลอด ซึ่งมดลูกจะมีขนาดใหญ่ขึ้น ปากมดลูกและส่วนล่างของมดลูกจะเริ่มบางตัวลง และ ยืดขยาย มากขึ้น เป็นผลให้รกที่เคยเกาะแน่นเกิดมีรอยปริแยกเกิดขึ้นจากการยืดขยายของส่วนล่างของมดลูก ทำให้เลือดออกตรงบริเวณที่ รกเกาะ ซึ่งเลือดที่ออกจะไหลผ่านปากมดลูกลงมาในช่องคลอด ลักษณะเป็นเลือดสด มักไม่มีอาการเจ็บท้องร่วมด้วย ส่วนมากเมื่อมีเลือดออกครั้งแรกจะออกมาไม่มาก และ จะหยุดได้เอง แต่ถ้ามีเลือดไหลออกมาอีกครั้ง และเลือดออกมากไม่หยุดไหล อาการแบบนี้ถือว่ารุนแรงส่งผลให้เป็นอันตรายถึงชีวิตทั้งคุณแม่ และ ทารกใน ครรภ์ได้

ภาวะแทรกซ้อนของ รกเกาะต่ำ
ภาวะรกเกาะต่ำจะส่งผลต่อทั้งมารดา และ ทารกในครรภ์ได้ โดยภาวะแทรกซ้อนที่พบได้มาก คือ การคลอดก่อนกำหนด ซึ่งจะเกิดขึ้นประมาณ 2 ใน 3 ของหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะรกเกาะต่ำรกที่ฉีกขาดหรือมีเลือดออก จะส่งผลให้เกิดภาวะโลหิตจางกับทารก และต้องผ่าคลอด (Cesarean Section) แบบฉุกเฉิน หากเสียเลือดมากเกินไปอาจทำให้เกิดอาการอื่น ๆ ตามมา เช่น ผิวซีด หายใจสั้น ชีพจรอ่อนหรือเต้นเร็วกว่าปกติ ความดันในเลือดลดต่ำลง โลหิตจาง เป็นต้น
บทความที่น่าสนใจ : 8 วิธีลดความเสี่ยงคลอดก่อนกำหนด ทำอย่างไรได้บ้าง? ให้ลูกปลอดภัย
รกเกาะต่ำ วิธีดูแลตัวเองเบื้องต้น
คุณแม่จะต้องนอนพักผ่อนให้มากๆ และระวังไม่ให้มีการกระทบกระเทือนต่อทารกในครรภ์ และหลีกเลี่ยงการทำงานหนักทั้งนอกบ้าน และในบ้าน ทั้งนี้ หากพบว่าตัวเองมีเลือดออก ให้รีบไปพบแพทย์ที่ดูแลครรภ์ในทันที สำหรับปัญหา สุขภาพที่อาจเกิดขึ้นในระหว่างการ ตั้งครรภ์ คุณแม่ท้องสามารถป้องกันในเบื้องต้นได้ด้วยการตรวจสุขภาพก่อน การตั้งครรภ์ และเล่าถึงปัญหาสุขภาพที่เคยมี ประวัติการเจ็บป่วยให้คุณหมอทราบ ก็จะช่วยให้การตั้งครรภ์ราบรื่นปลอดภัย เป็นการตั้งครรภ์คุณภาพได้ตลอดทั้ง 40 สัปดาห์ค่ะ ภาวะรกเกาะต่ำ ในปัจจุบันยังไม่สามารถป้องกันได้ เนื่องจากหญิงตั้งครรภ์ไม่สามารถกำหนด หรือ ควบคุมการยึดเกาะของรกในมดลูกได้ แต่ปัจจัยเสี่ยงบางอย่างอาจควบคุมเพื่อลดความเสี่ยงที่ทำให้เกิดภาวะรกเกาะต่ำได้ เช่น การรักษาสุขภาพ งดการสูบบุหรี่ เป็นต้น
บทความที่น่าสนใจ :
อาหารบํารุงผนังมดลูก มีอะไรบ้าง อยากให้มดลูกแข็งแรง ไม่แท้งง่ายต้องกินอะไร
มดลูกต่ำ มีลูกได้หรือไม่ มีวิธีป้องกันและรักษามดลูกหย่อนอย่างไร?
มะเร็งปากมดลูก เกิดจากอะไร? สัญญาณเตือนมะเร็งปากมดลูก มีอะไรบ้าง?
แชร์ประสบการณ์หรือเรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับภาวะรกเกาะต่ำ ได้ที่นี่!
รกเกาะต่ำ คืออะไรคะ เกิดจากอะไร แล้วอันตรายมากไหมคะ
ภาวะรกเกาะต่ำ เกิดจากอะไรคะ จะส่งผลอะไรกับลูกรึเปล่าคะ
ที่มา : 1, 2, 3
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!