X
TAP top app download banner
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้า
เข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • โภชนาการ เเม่ท้อง เเม่ให้นม
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • ตั้งชื่อลูก
  • แม่ผ่าคลอด
    • พัฒนาการเด็กผ่าคลอด
    • เตรียมตัวผ่าคลอด
    • สุขภาพเด็กผ่าคลอด
    • คู่มือคุณแม่ผ่าคลอด
    • การดูแลหลังผ่าคลอด
    • โภชนาการเด็กผ่าคลอด
  • หลังคลอด
    • คลอดธรรมชาติ
    • ผ่าคลอด
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

เรื่องน่ารู้!!! ช่วยแม่คลอดด้วยการคีบและดูด

บทความ 3 นาที
เรื่องน่ารู้!!! ช่วยแม่คลอดด้วยการคีบและดูด

เป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้วนะคะว่า การคลอดแบ่งออกเป็น 2 ทาง คือ คลอดทางช่องคลอด และการผ่าคลอดทางหน้าท้อง สำหรับการคลอดแบบธรรมชาติที่ทารกน้อยจะคลอดออกมาทางช่องคลอดนั้น แล้วถ้าหากคุณแม่เบ่งคลอดเป็นเวลานานแล้วแต่เจ้าตัวเล็กยังไม่ออกมาเสียที คราวนี้ต้องถึงมือคุณหมอช่วยคลอดแล้วค่ะ มาดูกันว่า ช่วยแม่คลอดด้วยการคีบและดูด เป็นอย่างไร ติดตามอ่าน

การช่วยคลอดทางช่องคลอดทำได้อย่างไร

การช่วยคลอดทางช่องคลอดเพื่อให้การคลอดสิ้นสุดลง  ในระยะเวลาอันรวดเร็ว สามารถทำได้ 2 วิธี  คือ

1. การคลอดด้วยคีม(Forceps delivery)

2. การคลอดด้วยเครื่องดูดสุญญากาศ (Vacuum extraction)

ซึ่งการใช้อุปกรณ์ช่วยคลอดชนิดใด ต้องอยู่ในดุลยพินิจของคุณหมอที่ดูแลว่าวิธีไหนจะดีที่สุดและปลอดภัยที่สุดเท่านั้นค่ะ

เพราะเหตุใดจึงต้องใช้เครื่องมือช่วยคลอด

วิธีบรรเทาความเจ็บปวดขณะคลอด

เครื่องมือช่วยคลอดทั้ง 2 ชนิดนี้ จะใช้ในกรณีที่

1. คุณแม่ไม่มีแรงเบ่ง

2. คุณแม่มีภาวะแทรกซ้อนที่ทำให้ไม่สามารถออกแรงเบ่งคลอดได้ เช่น ความดันโลหิตสูง   โรคหัวใจ เป็นต้น

3. ในกรณีที่ทารกอยู่ในภาวะจำเป็นต้องรีบให้คลอด ในกรณีที่ปากมดลูกเปิดเต็มที่แล้วและทารกลงมาอยู่ต่ำใกล้บริเวณปากช่องคลอด

4. การเลือกใช้เครื่องมือช่วยคลอดแต่ละชนิดขึ้นอยู่กับท่าของทารก  ความชำนาญของผู้ทำคลอดและความเร่งด่วนที่จำเป็นต้องรีบทำคลอด

เรื่องน่ารู้!!! ช่วยแม่คลอดด้วยการคีบและดูด

1. การคลอดด้วยคีม (Forceps delivery)

ช่วยคลอด

คีมช่วยคลอดเป็นเครื่องมือช่วยคลอดที่ทำจากเหล็กสเตนเลส มีลักษณะคล้ายช้อนขนาดใหญ่ขนาดใหญ่ 2 อันประกบกัน ซึ่งจะใช้สอดเข้าไปในช่องคลอดเพื่อคีบศีรษะและแก้มทั้งสองข้างของลูก แล้วดึงศีรษะลูกออกมา

Advertisement

วิธีช่วยคลอดด้วยคีม

1. ก่อนที่จะช่วยคลอด คุณหมอจะทำการฉีดยาชาบริเวณอุ้งเชิงกราน แล้วสอดคีมเข้าไปด้านข้างของศีรษะทารกทีละข้าง

2. การใช้คีมคีบจะนำมาใช้หากปากมดลูกขยายตัวเต็มที่ถึง 10 เซนติเมตรและศีรษะของเด็กอยู่ใกล้ปากช่องคลอด

3. การใช้คีมช่วยคลอดนี้มักจะต้องมีการตัดผิวหนังระหว่างช่องคลอดและทวารหนักร่วมด้วย เพื่อให้มีช่องว่างเพิ่มมากขึ้นพอที่คุณหมอหรือพยาบาลผดุงครรภ์จะสามารถใช้คีมได้

4. คุณหมอจะใช้คีมหนีบที่ศีรษะด้านข้างด้านใดด้านหนึ่งของเด็ก จากนั้นจึงทำการดึงอย่างนุ่มนวลผ่านช่องคลอดขั้นตอนนี้คุณแม่อาจช่วยการคลอดได้โดยเบ่ง เมื่อศีรษะเด็กเคลื่อนลงมาต่ำจึงทำการตัดฝีเย็บ แล้วทำคลอดส่วนศีรษะ คลายคีมออก ทำคลอดส่วนลำตัวและแขนขาตามปกติ

5. หลังการใช้คีมช่วยคลอด เด็กมักจะมีรอยช้ำบนใบหน้าให้เห็น ซึ่งจะหายไปเองภายใน2-3วัน

2. การคลอดด้วยเครื่องดูดสุญญากาศ (Vacuum extraction)

ช่วยคลอด

เครื่องดูดสุญญากาศเป็นเครื่องมือที่ใช้ช่วยแรงเบ่งของคุณแม่ ในกรณีที่คุณแม่มีแรงเบ่งไม่ดีพอ  ในปัจจุบันได้มีการพัฒนาเครื่องดูดสุญญากาศไปอย่างมาก จนมีเครื่องดูดสุญญากาศชนิดใช้แล้วทิ้งเลย    นอกจากนี้เครื่องดูดสุญญากาศรุ่นใหม่ ๆ ไม่ต้องใช้เวลารอก่อนดึงนานเหมือนเครื่องมือสมัยก่อนแล้ว บางชนิดใช้เวลาในการดูดหนังศีรษะทารกเข้ามาในเครื่องมือรูปถ้วยตะไลเพียง 2-3 นาทีก็ดึงทารกออกมาได้แล้ว

วิธีช่วยคลอดด้วยเครื่องดูดสุญญากาศ

1. คุณหมอจะฉีดยาบริเวณอุ้งเชิงกราน

2. แล้วใส่โลหะกลมรูปร่างคล้ายถ้วยเล็ก ๆ เข้าไปดูดกับหนังศีรษะทารก

3. จากนั้นดูดอากาศในถ้วยออกเพื่อให้เป็นสุญญากาศแล้วดึงให้ทารกเคลื่อนต่ำลงมาพร้อมกับแรงเบ่งของคุณแม่

4. เมื่อศีรษะลงมาต่ำตัดฝีเย็บท่าคลอดส่วนศีรษะปิดเครื่องดูดสุญญากาศ ถ้วยจะหลุดออก

5. หลังจากนั้นคุณหมอก็จะทำคลอดส่วนที่เหลือของทารกตามปกติ

6. ทารกที่คลอดโดยวิธีนี้อาจมีศีรษะนูนเป็นลักษณะคล้ายจุก  เพราะเกิดจากแรงดูดของเครื่องดูดสุญญากาศ ตามปกติแล้วจะหายภายใน 1-2 วัน คุณแม่ไม่ต้องกังวลใจไปค่ะ

คุณหมอฝากบอก

การช่วยคลอดทางช่องคลอดด้วยคีมและเครื่องดูดสุญญากาศ เป็นอีกทางเลือกหนึ่งในการช่วยคลอด ซึ่งสามารถทำได้รวดเร็วกว่าการผ่าตัดคลอด การจะเลือกช่วยคลอดด้วยวิธีใดต้องอยู่ในดุลยพินิจของคุณหมอผู้ดูแล   ตามปกติแล้วการคลอดโดยใช้เครื่องมือช่วยคลอดหากไม่พบภาวะแทรกซ้อนของคุณแม่และทารก คุณแม่สามารถจะกลับไปพักผ่อนที่บ้านได้ภายในวันที่ 2 – 3  หลังคลอดได้เลยค่ะ

บทความจากพันธมิตร
Easy Life III เครื่องปั๊มนม Hands-Free จากแบรนด์ไทยอย่าง Attitude Mom ออกแบบเพื่อชีวิตการปั๊มนมของคุณแม่ที่ง่ายขึ้นกว่าเดิมพร้อมการควบคุมการทำงานผ่านแอปพลิเคชันบนมือถือ
Easy Life III เครื่องปั๊มนม Hands-Free จากแบรนด์ไทยอย่าง Attitude Mom ออกแบบเพื่อชีวิตการปั๊มนมของคุณแม่ที่ง่ายขึ้นกว่าเดิมพร้อมการควบคุมการทำงานผ่านแอปพลิเคชันบนมือถือ
ซีรีแล็ค จูเนียร์ โจ๊ก อร่อย ได้ประโยชน์ ตัวช่วยแม่ยุคใหม่
ซีรีแล็ค จูเนียร์ โจ๊ก อร่อย ได้ประโยชน์ ตัวช่วยแม่ยุคใหม่
เคล็ดลับดูแลครรภ์ และ สร้างภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อย
เคล็ดลับดูแลครรภ์ และ สร้างภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อย
MFGM จากนมแม่กุญแจสำคัญ สู่ IQ และทักษะสมองเพื่อความสำเร็จ EF ที่เหนือกว่าของเด็ก Gen ใหม่
MFGM จากนมแม่กุญแจสำคัญ สู่ IQ และทักษะสมองเพื่อความสำเร็จ EF ที่เหนือกว่าของเด็ก Gen ใหม่

 

แม้จะใกล้ถึงวันกำหนดคลอดของคุณแม่หลาย ๆ ท่าน อย่าเพิ่งกังวลใจไปนะคะ  เพราะตลอดเวลาในห้องคลอด คุณหมอและพยาบาลผู้เชี่ยวชาญจะดูแลคุณแม่อย่างปลอดภัยจนกระทั่งทารกน้อยคลอดออกมา  ในระหว่างนี้ให้คุณแม่พักผ่อนให้มาก เพื่อเตรียมร่างกายไว้สำหรับรอเลี้ยงทารกน้อยดีกว่าค่ะ

 

ร่วมบอกเล่าและแชร์ประสบการณ์ในช่วงตั้งครรภ์   คลอดบุตร รวมถึงการเลี้ยงดูทารกน้อย  เพื่อเป็นประโยชน์ต่อครอบครัวอื่น ๆ กันนะคะ  หากมีคำถามหรือข้อสงสัย ทางทีมงานจะหาคำตอบมาให้คุณ

 

อ้างอิงข้อมูลจาก

https://thaihealthy.thaidietetics.org

https://mamababycare.blogspot.com

เอกสารแผ่นพับ “ช่วยคลอดทางช่องคลอด: คีบและดูดออก” โดยราชวิทยาลัยสูตินรีแพทย์แห่งประเทศไทย

Credit ภาพ : https://www.bestpregnancytips.com

บทความอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง

วิธีบรรเทาความเจ็บปวดขณะคลอด

กำหนดวันคลอดจากหมอแม่นแค่ไหนTAP mobile app

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

มิ่งขวัญ ลิรุจประภากร

  • หน้าแรก
  • /
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • /
  • เรื่องน่ารู้!!! ช่วยแม่คลอดด้วยการคีบและดูด
แชร์ :
  • ให้นมลูก คัดเต้าจนเป็นไข้ รับมืออย่างไรให้หายปวด

    ให้นมลูก คัดเต้าจนเป็นไข้ รับมืออย่างไรให้หายปวด

  • คนท้องนอนไม่หลับ ควรนอนต่อไหม? หรือควรทำอะไรดี?

    คนท้องนอนไม่หลับ ควรนอนต่อไหม? หรือควรทำอะไรดี?

  • ริดสีดวงหลังคลอด สาเหตุ อาการ และวิธีรับมือสำหรับคุณแม่

    ริดสีดวงหลังคลอด สาเหตุ อาการ และวิธีรับมือสำหรับคุณแม่

  • ให้นมลูก คัดเต้าจนเป็นไข้ รับมืออย่างไรให้หายปวด

    ให้นมลูก คัดเต้าจนเป็นไข้ รับมืออย่างไรให้หายปวด

  • คนท้องนอนไม่หลับ ควรนอนต่อไหม? หรือควรทำอะไรดี?

    คนท้องนอนไม่หลับ ควรนอนต่อไหม? หรือควรทำอะไรดี?

  • ริดสีดวงหลังคลอด สาเหตุ อาการ และวิธีรับมือสำหรับคุณแม่

    ริดสีดวงหลังคลอด สาเหตุ อาการ และวิธีรับมือสำหรับคุณแม่

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • พัฒนาการลูก
  • ชีวิตครอบครัว
  • ระยะการตั้งครรภ์
  • โภชนาการ
  • ไลฟ์สไตล์
  • TAP สังคมออนไลน์
  • ติดต่อโฆษณา
  • ติดต่อเรา
  • Influencer Marketing (KOL)
  • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Vietnam flag Vietnam
© Copyright theAsianparent 2025. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว