X
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้าเข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ตั้งครรภ์
    • คำนวณวันคลอด
    • ฉันกำลังตั้งครรภ์
    • ไตรมาสที่ 1
    • ไตรมาสที่ 2
    • ไตรมาสที่ 3
    • Project Sidekicks
    • ตั้งชื่อลูก
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • อีเว้นท์
    • TAP Awards Winners
    • TAP idol
    • TAP x Safari Largest Treasure Hunt
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

กลุ่มอาการ HELLP ขณะตั้งครรภ์ เสี่ยงไหม มีวิธีรักษาอย่างไรบ้าง ?

บทความ 5 นาที
กลุ่มอาการ HELLP ขณะตั้งครรภ์ เสี่ยงไหม มีวิธีรักษาอย่างไรบ้าง ?

กลุ่มอาการ HELLP (HELLP Syndrome) เป็นอีกหนึ่งอาการผิดปกติของคุณแม่ตั้งครรภ์หรือคุณแม่หลังคลอดแล้ว ซึ่งเกี่ยวกับตับ เลือด และความดันโลหิต หรืออาการนี้วินิจฉัยยากมาก เนื่องจากไม่ได้มีอาการที่แสดงออกได้ชัดเจน ส่วนใหญ่มักมีอาการคลุมเครือ ซึ่ง กลุ่มอาการ HELLP ขณะตั้งครรภ์ จัดเป็นกลุ่มที่มีปัญหาสุขภาพร้ายแรงมาก ๆ จึงต้องรีบเข้ารักษาเพราะอาจถึงแก่ชีวิตได้ อย่างไรก็ตาม กลุ่มอาการนี้ยังถือว่าพบได้น้อยอยู่ค่ะ

 

กลุ่มอาการ HELLP ขณะตั้งครรภ์

 

อาการของ กลุ่มอาการ HELLP

ความจริงแล้วกลุ่มอาการ HELLP ค่อนข้างสังเกตอาการได้ยากมากเลยค่ะ เพราะส่วนใหญ่จะมีอาการกว้าง ๆ คล้ายกับปัญหาสุขภาพอื่น ๆ อย่างเช่นติดเชื้อไวรัสในกระเพาะอาหาร ไวรัสตับอักเสบ โรคถุงน้ำดี โรคเกล็ดเลือดต่ำจากภูมิคุ้มกัน และอาการทั่วไปของคนตั้งครรภ์ จึงทำให้วินิจฉัยโรคได้ยากขึ้น

 

นอกจากนี้ผู้ป่วยแต่ละคนยังมีอาการที่แตกต่างกันอีกด้วย โดยผู้ที่ตั้งครรภ์มักจะรู้สึกไม่สบายหรืออ่อนแรง คุณแม่บางรายก็อาจจะปวดท้องโดยเฉพาะท้องส่วนบน คลื่นไส้ อาเจียน ปวดศีรษะ เป็นต้น หรือไม่ก็จะมีน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นมากและรวดเร็ว มองเห็นเป็นภาพเบลอ ส่วนอาการที่พบได้ยากจะเป็นเลือดกำเดาไหลหรือเลือดออกที่หยุดไหลช้า ไม่ก็มีความรู้สึกที่สับสน หรือชัก ซึ่งควรไปพบแพทย์ทันที

 

สาเหตุของกลุ่มอาการ HELLP ขณะตั้งครรภ์

แม้ว่าตอนนี้จะยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัดแต่ก็มีผู้เชี่ยวชาญคาดการณ์เอาไว้ ดังนี้

  • เกิดจากภาวะครรภ์เป็นพิษ ทำให้ความดันโลหิตสูงขึ้น โดยเฉพาะในช่วงไตรมาสสุดท้ายของการตั้งครรภ์ แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าคนที่มีภาวะครรภ์เป็นพิษทุกคนจะมีอาการนี้ เพราะเจอได้น้อยมากเลยค่ะ
  • มีประวัติสุขภาพหรือโรคประจำตัว เช่น โรคอ้วน โรคเบาหวาน โรคไต โรคความดันโลหิตสูง
  • ผู้ที่ผ่านการตั้งครรภ์มาแล้วมากกว่า 2 ครั้ง จะมีความเสี่ยงสูงขึ้นหากเคยเกิดกลุ่มอาการนี้ในระหว่างการตั้งครรภ์ครั้งก่อน
  • ผู้ที่มีอายุเกิน 35 ปี

บทความที่เกี่ยวข้อง : ภาวะแทรกซ้อนระหว่างตั้งครรภ์ 10 โรคอันตราย โรคแทรกซ้อนแม่ท้องต้องระวัง

 

กลุ่มอาการ HELLP ขณะตั้งครรภ์ รักษาได้ไหม ?

กลุ่มอาการ HELLP ถือว่าเป็นปัญหาสุขภาพที่รุนแรงต่อแม่และทารกพอสมควร การคลอดก่อนกำหนดจึงถือเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่ดีที่สุด ในการลดความเสี่ยงของภาวะแทรกซ้อนที่อาจตามมาภายหลัง และอาการของผู้ป่วยจะดีขึ้น 2–3 วันหลังคลอด แต่ถ้าผู้ป่วยมีอายุครรภ์น้อยกว่า 34 สัปดาห์ แพทย์ก็จะทำการประเมินก่อนเพื่อให้เกิดความปลอดภัยสูงสุดทั้งกับคุณแม่และลูกน้อยในครรภ์

จากนั้น ในระหว่างที่ผู้ป่วยตั้งครรภ์ หรือหลังคลอดบุตรแล้ว แพทย์จะรักษาตามความรุนแรงของอาการและอายุครรภ์อย่างเช่น การใช้ยาคอร์ตโคสเตอรอยด์ เพื่อให้ปอดของทารกคลอดก่อนกำหนดได้เจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว ยาแมกนีเซียมซัลเฟตใช้ต้านชัก รวมไปจนถึงการถ่ายเลือด เพื่อรักษาโลหิตจางและเกล็ดเลือดต่ำ

 

 

กลุ่มอาการ HELLP ขณะตั้งครรภ์

 

ภาวะแทรกซ้อน กลุ่มอาการ HELLP 

สำหรับกลุ่มอาการ HELLP สามารถก่อให้เกิดภาวะแทรกซ้อนต่อแม่และลูกน้อยได้ ทั้งก่อนและหลังคลอด เช่น ตับแตก ไตวาย ระบบทางเดินหายใจล้มเหลวเฉียบพลัน มีภาวะน้ำท่วมปอด ตกเลือดหลังคลอด ทารกในครรภ์เจริญเติบโตช้า ภาวะรกลอกตัวก่อนกำหนด ภาวะเลือดแข็งตัวในหลอดเลือดแบบแพร่กระจาย รวมไปจนถึงอาการชัก และถ้าหากปล่อยเอาไว้โดยที่ไม่ได้รับการรักษาผู้ป่วยอาจเป็นอันตรายถึงแก่ชีวิตได้

 

วิธีการป้องกันกลุ่มอาการ HELLP มีอะไรบ้าง

1. ให้ยาลดความดัน กลุ่มอาการ HELLP ขณะตั้งครรภ์

อย่างที่ได้เกริ่นไปเมื่อข้างต้นว่าอาการของกลุ่มนี้ค่อนข้างรุนแรงและอันตราย แพทย์จึงจำเป็นต้องสั่งยาเพื่อรักษาอาการ เช่น ยากระตุ้นหัวใจ ยาลดความดัน เพื่อควบคุมความดันของคุณแม่ หากไม่สามารถควบคุมความดันได้แสดงว่ามีอาการรุนแรงมากจนอาจจะต้องยุติการตั้งครรภ์ทันที

 

กลุ่มอาการ HELLP ขณะตั้งครรภ์

 

2. ให้ยาป้องกันชักที่เหมาะสม

ภาวะครรภ์เป็นพิษชนิดรุนแรงที่มาพร้อมกับอาการชักนั้นถือเป็นเรื่องที่รุนแรงมาก ๆ สำหรับคุณแม่ที่กำลังตั้งครรภ์ และอาจเป็นอันตรายถึงชีวิต แพทย์จะให้ยาป้องกันอาการชักต่อเนื่องไปจนถึงหลังคลอดภายในระยะเวลา 24 ชั่วโมง โดยจะมีการเฝ้าอย่างใกล้ชิดตลอดเวลา เพราะยังถือว่ามีความเสี่ยงมาก ๆ อยู่ค่ะ ซึ่งระยะเวลานานสุดที่ต้องเฝ้าระวังอาจกินเวลาไปถึง 2 อาทิตย์หลังคลอดได้

 

3. ยุติการตั้งครรภ์

ก่อนจะทำการยุติการตั้งครรภ์ แพทย์จะทำการพิจารณาให้คลอดก่อนกำหนด ในกรณีที่คุณแม่มีอายุครรภ์มากกว่า 34 สัปดาห์และมีอาการรุนแรง และเมื่อตรวจปากมดลูกแล้ว ถ้าเกิดว่าพร้อมคลอดก็จะให้คลอดเองโดยเร็วที่สุด หรือไม่ก็อาจจะต้องผ่าคลอดถ้าเกิดว่าปากมดลูกไม่พร้อมหรือเมื่อพบว่ามีภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ ที่เป็นอันตรายชีวิต

 

การดูแลทารกที่คลอดก่อนกำหนด

สำหรับคุณแม่ที่ทำการคลอดก่อนกำหนด เนื่องจากอยู่ในกลุ่มอาการ HELLP ขณะตั้งครรภ์ หรืออาการครรภ์เป็นพิษ ในขณะที่ลูกน้อยในครรภ์ยังเจริญเติบโตได้ไม่เต็มที่ มีน้ำหนักน้อย เพราะอายุครรภ์ยังไม่ถึงกำหนด แพทย์จะต้องดูแลรักษาภาวะต่าง ๆ ของทารกที่คลอดก่อนกำหนดอย่างใกล้ชิด เพราะอาจจะเกิดภาวะแทรกซ้อนและความไม่พร้อมทางร่างกายสูง

เนื่องจากทารกที่คลอดก่อนกำหนดยังเจริญเติบโตได้ไม่สมบูรณ์ ทำให้อัตราการตายของทารกมีสูงมากกว่าทารกที่คลอดครบกำหนดถึง 3 เท่า เพราะปอดของทารกยังทำงานได้ไม่เต็มที่ทำให้หายใจเองยังไม่ได้ รวมไปจนถึงปัญหาเรื่องของการมองเห็น การได้ยินเสียง ภาวะโลหิตจาง และเกิดการติดเชื้อง่ายกว่าเด็กทั่วไป

 

การเกิดกลุ่มอาการ HELLP แม้ว่าจะยังไม่มีวิธีป้องกันโดยตรง แต่คุณแม่ก็สามารถลดความเสี่ยงได้ด้วยการรักษาสุขภาพให้แข็งแรงได้ด้วยการรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ โดยเน้นกินผักผลไม้ให้เพียงพอในแต่ละวัน รวมถึงการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ เพื่อลดความเสี่ยงปัญหาสุขภาพที่เกี่ยวข้องกับกลุ่มอาการ HELLP

บทความจากพันธมิตร
ว่าด้วยเรื่อง ลูกเป็นภูมิแพ้ กับ ฝุ่น PM2.5 อันตรายใกล้ตัว ที่พ่อแม่ต้องระวัง
ว่าด้วยเรื่อง ลูกเป็นภูมิแพ้ กับ ฝุ่น PM2.5 อันตรายใกล้ตัว ที่พ่อแม่ต้องระวัง
รู้หรือไม่? มลพิษทางอากาศ และ ฝุ่น PM 2.5 เข้าปอดลูกได้แม้อยู่ในครรภ์แม่
รู้หรือไม่? มลพิษทางอากาศ และ ฝุ่น PM 2.5 เข้าปอดลูกได้แม้อยู่ในครรภ์แม่
5 วิธี เสริมภูมิคุ้มกัน กุญแจสำคัญที่ทำให้ลูกรักแข็งแรง พร้อมเรียนรู้ได้เต็มศักยภาพ
5 วิธี เสริมภูมิคุ้มกัน กุญแจสำคัญที่ทำให้ลูกรักแข็งแรง พร้อมเรียนรู้ได้เต็มศักยภาพ
ป้องกัน ลูกแพ้น้ำยาซักผ้า ฉบับคุณแม่มือโปร ด้วย Breeze Baby
ป้องกัน ลูกแพ้น้ำยาซักผ้า ฉบับคุณแม่มือโปร ด้วย Breeze Baby

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

โรคประจำตัวกับคนท้อง คุณแม่ควรเฝ้าระวังอาจส่งผลต่อลูกในครรภ์ได้

คุณหมอบอกมา 5 ภาวะแทรกซ้อนขณะตั้งครรภ์ ที่แม่ท้องต้องระวัง!!

โรคภูมิแพ้ในแม่ท้อง เสี่ยงต่อความผิดปกติของลูกในครรภ์หรือไม่

ที่มา : 1, 2

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

supasini hangnak

  • หน้าแรก
  • /
  • ระยะการตั้งครรภ์
  • /
  • กลุ่มอาการ HELLP ขณะตั้งครรภ์ เสี่ยงไหม มีวิธีรักษาอย่างไรบ้าง ?
แชร์ :
  • คนท้องกินต้มอึ่งได้ไหม กินเมนูอึ่งได้หรือเปล่า อะไรบ้างที่ต้องระวัง

    คนท้องกินต้มอึ่งได้ไหม กินเมนูอึ่งได้หรือเปล่า อะไรบ้างที่ต้องระวัง

  • สัญญาณเตือนออทิสติก มีอะไรบ้าง สังเกตได้จากเพลงกล่อมเด็กจริงไหม?

    สัญญาณเตือนออทิสติก มีอะไรบ้าง สังเกตได้จากเพลงกล่อมเด็กจริงไหม?

  • ยาระงับปวดระหว่างตั้งครรภ์ คนท้องกินยาพาราแก้ปวดได้ไหม อันตรายหรือเปล่า?

    ยาระงับปวดระหว่างตั้งครรภ์ คนท้องกินยาพาราแก้ปวดได้ไหม อันตรายหรือเปล่า?

  • คนท้องกินต้มอึ่งได้ไหม กินเมนูอึ่งได้หรือเปล่า อะไรบ้างที่ต้องระวัง

    คนท้องกินต้มอึ่งได้ไหม กินเมนูอึ่งได้หรือเปล่า อะไรบ้างที่ต้องระวัง

  • สัญญาณเตือนออทิสติก มีอะไรบ้าง สังเกตได้จากเพลงกล่อมเด็กจริงไหม?

    สัญญาณเตือนออทิสติก มีอะไรบ้าง สังเกตได้จากเพลงกล่อมเด็กจริงไหม?

  • ยาระงับปวดระหว่างตั้งครรภ์ คนท้องกินยาพาราแก้ปวดได้ไหม อันตรายหรือเปล่า?

    ยาระงับปวดระหว่างตั้งครรภ์ คนท้องกินยาพาราแก้ปวดได้ไหม อันตรายหรือเปล่า?

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
    • ก่อนตั้งครรภ์
    • การคลอด
    • ระยะการตั้งครรภ์
    • การคลอด
  • พัฒนาการลูก
    • ทารก
    • เด็กก่อนเข้าเรียน
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • การวางแผนการเงิน
    • การเลี้ยงลูก
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • นมแม่และนมผง
  • โภชนาการ
    • สินค้าเด็ก
    • นมผง
    • เมนูอาหาร
    • สินค้าแม่
  • เพิ่มเติม
    • TAP สังคมออนไลน์
    • ติดต่อโฆษณา
    • ติดต่อเรา
    • Influencer Marketing (KOL)
    • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Sri-Lanka flag Sri Lanka
  • India flag India
  • Vietnam flag Vietnam
  • Australia flag Australia
  • Japan flag Japan
  • Nigeria flag Nigeria
  • Kenya flag Kenya
© Copyright theAsianparent 2023. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

theAsianparent heart icon
เราต้องการส่งแจ้งเตือนข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการดูแลทารกและสุขภาพไปให้กับคุณ