X
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้าเข้าสู่ระบบ
  • TAP Awards
  • อยากท้อง
  • ตั้งครรภ์
    • คำนวณวันคลอด
    • ฉันกำลังตั้งครรภ์
    • ไตรมาสที่ 1
    • ไตรมาสที่ 2
    • ไตรมาสที่ 3
    • Project Sidekicks
    • ตั้งชื่อลูก
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • อีเว้นท์
    • TAP idol
    • TAP x Safari Largest Treasure Hunt
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

เสียงฟู่ของหัวใจ คืออะไร เสียงหัวใจผิดปกติ ในเด็กเล็ก อันตรายหรือไม่

บทความ 5 นาที
เสียงฟู่ของหัวใจ คืออะไร เสียงหัวใจผิดปกติ ในเด็กเล็ก อันตรายหรือไม่

ชวนทำความรู้จัก “เสียงฟู่ของหัวใจ” (Heart Murmur) คืออะไร เสียงหัวใจผิดปกติ ในเด็กเล็ก จะเป็นอันตรายหรือไม่ อาการเป็นอย่างไร เรื่องที่คุณพ่อคุณแม่ควรรู้ เพื่อจะได้รู้จักวิธีรับมือให้ถูกต้อง

 

เสียงฟู่ของหัวใจ (Heart Murmur) คืออะไร ?

เสียงฟู่ของหัวใจ คือ เสียงที่คล้ายกับเสียงเป่าลม เกิดในระหว่างรอบการเต้นของหัวใจ โดยเสียงชนิดนี้สามารถได้ยินผ่านหูฟังของแพทย์ เป็นเสียงโลหิตไหลผ่านหัวใจ ซึ่งเกิดได้จากหลายสาเหตุ

อาการเสียงฟู่ของหัวใจแบบไม่เป็นอันตราย ซึ่งเรียกว่า เสียงฟู่หัวใจชนิดปกติ (innocent heart murmur) เสียงฟู่ของหัวใจไม่ใช่โรค และบ่อยครั้งมักพบแบบไม่เป็นอันตรายในเด็กเสียงฟู่ของหัวใจชนิดปกติ ตรวจพบเสียงฟู่หัวใจเป็นเสียง Systolic Ejection Murmur (SEM) ในระดับ 2-3 จาก 6 ระดับ โดยฟังได้ชัดที่สุดบริเวณ ขอบล่างซ้ายของกระดูกสันอก นอกจากนี้เด็กที่เสียงฟู่ชนิดปกติ ตรวจพบโครงสร้างหัวใจ และมีปริมาณเลือดไปปอดที่ปกติ นอกจากนี้ผลตรวจเอกซเรย์ทรวงอกไม่พบลักษณะของหัวใจโต เสียงฟู่ชนิดปกติจะสามารถหายเองเมื่อเด็กโตขึ้น และสำหรับผู้ใหญ่ เสียงฟู่อาจหายไปเมื่อโรคที่เป็นสาเหตุนั้นหายดีขึ้น

 

อาการเป็นเสียงฟู่ของหัวใจเป็นอย่างไร

  • มีอาการไอเรื้อรัง
  • เจ็บหน้าอก แน่นหน้าอก เหนื่อย
  • วิงเวียนศีรษะ หน้ามืดเป็นลม
  • เหงื่อออกมากกว่าปกติ
  • มีอาการตัวบวม หรือน้ำหนักขึ้นแบบฉับพลัน
  • ปลายนิ้วมือหรือริมฝีปาก กลายเป็นสีเขียว

 

สาเหตุ และปัจจัยเสี่ยงให้เกิดภาวะเสียงฟู่ของหัวใจ

  • คนในครอบครัวเคยมีประวัติภาวะหัวใจผิดปกติ หรือเป็นโรคหัวใจ
  • โรคประจำตัวบางประการ เช่น โรคความดันโลหิตสูง ภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานเกิน โรคแพ้ภูมิตัวเอง กล้ามเนื้อหัวใจอ่อนแอ โลหิตจาง
  • ช่วงตั้งครรภ์เกิดภาวะเบาหวานที่ไม่สามารถควบคุมได้ , ติดเชื้อหัดเยอรมัน
  • ใช้ยาหรือสารเสพติด ดื่มแอลกอฮอล์ในระหว่างตั้งครรภ์ ส่งผลให้ทารกเกิดความผิดปกติของหัวใจ
  • ความบกพร่องของหัวใจตั้งแต่กำเนิด เกิดรูในผนังหัวใจหรือลิ้นหัวใจทำให้ทำงานผิดปกติ แต่ส่วนมากสามารถผ่าตัดแก้ไขความผิดปกติเหล่านี้ได้
  • โรคลิ้นหัวใจไมตรัลหรือเอออร์ติกรั่ว (Mitral or aortic regurgitation) คือเลือดไหลไปผิดทาง ทำให้หัวใจทำงานหนักขึ้นเพื่อผลักดันเลือดให้ไหลย้อนกลับผ่านลิ้นหัวใจ ในอนาคตอาจทำให้เกิดภาวะหัวใจล้มเหลวได้
  • ลิ้นหัวใจเอออร์ติกตีบและแข็ง (aortic sclerosis and stenosis) พบมากในผู้สูงอายุ เกิดเสียงฟู่เพราะลิ้นหัวใจเอออร์ติกแข็งตัว ทรงผลให้เจ็บทรงอก หายใจลำบาก แต่ลิ้นหัวใจยังสามารถทำงานได้อีกหลายปีหลังเริ่มเกิดเสียงฟู่ของหัวใจ
  • ลิ้นหัวใจเอออร์ติกหรือไมตรัลตีบ (mitral valve or aortic stenosis) เป็นลิ้นหัวใจที่อยู่ด้านซ้ายของหัวใจ ถ้าลิ้นนี้ตีบลง จะทำให้หัวใจต้องทำงานหนักขึ้นเพื่อสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ อาจนำไปสู่ภาวะหัวใจล้มเหลวได้
  • ลิ้นหัวใจไมตรัลปลิ้น (mitral valve prolapse) ตามปกติ ลิ้นหัวใจไมตรัลจะปิดสนิท เมื่อห้องหัวใจล่างซ้ายหดตัว ลิ้นหัวใจนี้จะหยุดเลือดไม่ให้ไหลกลับ แต่ถ้าลิ้นหัวใจโป่งออกมาและปิดไม่สนิท จะทำให้เกิดเสียงคลิกเมื่อหัวใจเต้น ภาวะนี้เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นค่อนข้างน้อยและมักไม่รุนแรง

 

เสียงฟู่ของหัวใจพบได้บ่อยหรือไม่ ?

มักจะพบกับเด็กเล็กๆ ร้อยละ 40-45 และในผู้ใหญ่ประมาณร้อยละ 10 แต่เป็นเสียงฟู่ของหัวใจชนิดปกติไม่เป็นอันตราย และพบได้ในคุณแม่ระหว่างการตั้งครรภ์บุตร ส่วนเสียงฟู่ของหัวใจที่ผิดปกติมักพบในผู้ป่วยที่มีปัญหาเกี่ยวกับหัวใจ เช่น โรคลิ้นหัวใจรั่ว ลิ้นหัวใจบกพร่อง  ลิ้นหัวใจตีบ ผนังภายในหัวใจรั่ว หากมีอาการควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ

บทความที่น่าสนใจ : โรคหัวใจโตในเด็ก และโรคหัวใจในผู้ใหญ่ที่ไม่ควรมองข้าม

 

เสียงฟู่ของหัวใจ

การป้องกันและรักษา ควรพบแพทย์หรือไม่

  • รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ เน้นประเภทโปรตีนและผัก ผลไม้ เพื่อให้ร่างกายแข็งแรง มีภูมิต้านทานเชื้อโรคได้
  • ปรับเปลี่ยนไลฟ์สไตล์ เพราะเสียงฟู่หัวใจไม่ใช่โรค มีโอกาสหายได้เองเมื่อโตขึ้น
  • การผ่าตัดเพื่อแก้ไขความผิดปกติของลิ้นหัวใจบางประเภท ในกรณีที่รุนแรง
  • รักษารับยากินเป็นประจำ รักษาอาการตามคำสั่งของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ

 

ควรไปพบแพทย์ทันทีหากอาการดังนี้
  • มีอาการของโรคหัวใจ เช่น อาการเจ็บหน้าอก เจ็บคอ วิงเวียนศีรษะ หน้ามืดเป็นลม ริมฝีปากหรือปลายนิ้วมือมีสีน้ำเงินจาง ไอเรื้อรัง เหนื่อยหอบ มีเหงื่อออกมากแม้ออกแรงเพียงเล็กน้อย
  • ได้ยินเสียงฟู่ของหัวใจ เมื่อมีไข้หรือในระหว่างออกกำลัง

 

ผู้ที่มีภาวะเสียงฟู่หัวใจผิดปกติ อาจต้องมีการตรวจเพิ่มเติมหาความผิดปกติ เพื่อจะได้ทำการรักษาได้ทันที

  • การเอ็กซ์เรย์ทรวงอก เพื่อให้เห็นภาพของหัวใจ ปอดและหลอดเลือด ถ้าหัวใจขยายโตขึ้นอาจเป็นอาการที่ซ่อนอยู่ สาเหตุของเสียงฟู่หัวใจ
  • การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (Electrocardiogram, ECG) เพื่อตรวจหาจังหวะหัวใจและปัญหาทางโครงสร้างการทำงาน
  • การสวนหัวใจและหลอดเลือด (Cardiac Catheterization) การสอดสายสวนเข้าสู่เส้นเลือดดำหรือเส้นเลือดแดงในขา หรือแขนจนกว่าจะไปถึงหัวใจ เพื่อช่วยประเมินแรงดันในห้องหัวใจ
  • การตรวจหัวใจด้วยคลื่นเสียงสะท้อนความถี่สูง (Echocardiography) โดยใช้คลื่นอัลตราซาวด์การทำงาน และโครงสร้างของหัวใจอย่างละเอียด สามารถระบุอาการรั่วของลิ้นหัวใจ และความผิดปกติอื่น ๆ

 

บทความที่น่าสนใจ :

หัวใจวายมีอาการเป็นอย่างไร มีวิธีรักษาหรือไม่ รวมความรู้เกี่ยวกับโรคหัวใจวาย

โคคิวเทน (CoQ10) ป้องกันโรงหัวใจได้จริงหรือไม่? มีอยู่ในอาหารใดบ้าง?

เครื่องฟังเสียงหัวใจทารก คืออะไร ? จำเป็นแค่ไหนกันนะ ?

ที่มาข้อมูล : 1 , 2 , 3

บทความจากพันธมิตร
5 ผลเสียของ โปรไบโอติกส์ ที่แม่ท้องต้องรู้
5 ผลเสียของ โปรไบโอติกส์ ที่แม่ท้องต้องรู้
หมอสูติฯ เตือน ไม่อยากให้ ลูกป่วยบ่อย แม่ป้องกันได้ตั้งแต่เตรียมตัวตั้งครรภ์
หมอสูติฯ เตือน ไม่อยากให้ ลูกป่วยบ่อย แม่ป้องกันได้ตั้งแต่เตรียมตัวตั้งครรภ์
ลูกเป็นผื่น แดง คัน ผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง ผิวแพ้ง่าย แชร์วิธีรักษาง่ายๆ ด้วยวิธีที่ปลอดภัยแบบไม่ต้องพึ่งสเตียรอยด์
ลูกเป็นผื่น แดง คัน ผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง ผิวแพ้ง่าย แชร์วิธีรักษาง่ายๆ ด้วยวิธีที่ปลอดภัยแบบไม่ต้องพึ่งสเตียรอยด์
แม่รู้มั้ย เสริมภูมิต้านทาน โรคยุคใหม่ ทำได้ตั้งแต่วันแรกของลูก
แม่รู้มั้ย เสริมภูมิต้านทาน โรคยุคใหม่ ทำได้ตั้งแต่วันแรกของลูก

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

Suchanya Dheerasunt

  • หน้าแรก
  • /
  • สุขภาพ
  • /
  • เสียงฟู่ของหัวใจ คืออะไร เสียงหัวใจผิดปกติ ในเด็กเล็ก อันตรายหรือไม่
แชร์ :
  • พลิกโฉมแบรนด์ครั้งใหญ่!! เอส-26 โกลด์ 3 สูตรใหม่ เพิ่มสฟิงโกไมอีลินขึ้นอีก 25% เพื่อเด็กยุคนี้

    พลิกโฉมแบรนด์ครั้งใหญ่!! เอส-26 โกลด์ 3 สูตรใหม่ เพิ่มสฟิงโกไมอีลินขึ้นอีก 25% เพื่อเด็กยุคนี้

  • 5 ผลเสียของ โปรไบโอติกส์ ที่แม่ท้องต้องรู้
    บทความจากพันธมิตร

    5 ผลเสียของ โปรไบโอติกส์ ที่แม่ท้องต้องรู้

  • หมอสูติฯ เตือน ไม่อยากให้ ลูกป่วยบ่อย แม่ป้องกันได้ตั้งแต่เตรียมตัวตั้งครรภ์
    บทความจากพันธมิตร

    หมอสูติฯ เตือน ไม่อยากให้ ลูกป่วยบ่อย แม่ป้องกันได้ตั้งแต่เตรียมตัวตั้งครรภ์

  • พลิกโฉมแบรนด์ครั้งใหญ่!! เอส-26 โกลด์ 3 สูตรใหม่ เพิ่มสฟิงโกไมอีลินขึ้นอีก 25% เพื่อเด็กยุคนี้

    พลิกโฉมแบรนด์ครั้งใหญ่!! เอส-26 โกลด์ 3 สูตรใหม่ เพิ่มสฟิงโกไมอีลินขึ้นอีก 25% เพื่อเด็กยุคนี้

  • 5 ผลเสียของ โปรไบโอติกส์ ที่แม่ท้องต้องรู้
    บทความจากพันธมิตร

    5 ผลเสียของ โปรไบโอติกส์ ที่แม่ท้องต้องรู้

  • หมอสูติฯ เตือน ไม่อยากให้ ลูกป่วยบ่อย แม่ป้องกันได้ตั้งแต่เตรียมตัวตั้งครรภ์
    บทความจากพันธมิตร

    หมอสูติฯ เตือน ไม่อยากให้ ลูกป่วยบ่อย แม่ป้องกันได้ตั้งแต่เตรียมตัวตั้งครรภ์

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
    • ก่อนตั้งครรภ์
    • การคลอด
    • ระยะการตั้งครรภ์
    • การคลอด
  • พัฒนาการลูก
    • ทารก
    • เด็กก่อนเข้าเรียน
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • การวางแผนการเงิน
    • การเลี้ยงลูก
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • นมแม่และนมผง
  • โภชนาการ
    • สินค้าเด็ก
    • นมผง
    • เมนูอาหาร
    • สินค้าแม่
  • เพิ่มเติม
    • TAP สังคมออนไลน์
    • ติดต่อโฆษณา
    • ติดต่อเรา
    • Influencer Marketing (KOL)
    • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Sri-Lanka flag Sri Lanka
  • India flag India
  • Vietnam flag Vietnam
  • Australia flag Australia
  • Japan flag Japan
  • Nigeria flag Nigeria
  • Kenya flag Kenya
© Copyright theAsianparent 2023. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว