X
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้าเข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ตั้งครรภ์
    • คำนวณวันคลอด
    • ฉันกำลังตั้งครรภ์
    • ไตรมาสที่ 1
    • ไตรมาสที่ 2
    • ไตรมาสที่ 3
    • Project Sidekicks
    • ตั้งชื่อลูก
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • อีเว้นท์
    • TAP Awards Winners
    • TAP idol
    • TAP x Safari Largest Treasure Hunt
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

รู้สึกว่าลูกดิ้น แต่ไม่ท้อง อาการแปลกที่ผู้หญิงสงสัย

บทความ 3 นาที
รู้สึกว่าลูกดิ้น แต่ไม่ท้อง อาการแปลกที่ผู้หญิงสงสัย

ความรู้สึกเมื่อลูกในท้องดิ้น ถือเป็นประสบการณ์ที่น่าตื่นเต้นของคนแม่เป็น แต่ถ้าคุณแม่ยังรู้สึกว่าลูกดิ้นหลังคลอด หรือรู้สึกว่าลูกดิ้น แต่ไม่ท้อง เป็นเพราะอะไร ไขข้อข้องใจไปพร้อมกันค่ะ

รู้สึกว่าลูกดิ้น แต่ไม่ท้อง

อาการเช่นนี้สามารถอธิบายได้ในสองกรณีค่ะ 1. รู้สึกว่าลูกดิ้น ทั้งที่คลอดลูกไปแล้ว 2. รู้สึกว่าลูกดิ้น เมื่อพยายามจะมีลูก

1. รู้สึกว่าลูกดิ้น ทั้งที่คลอดลูกไปแล้ว

หากคุณแม่รู้สึกว่าลูกดิ้น หลังคลอด คุณแม่อาจคิดว่า นี่ฉันประสาทไปหรือเปล่า? คุณแม่ไม่ได้ผิดปกติหรอกค่ะ มันเป็นเรื่องจริง แม้ว่าคุณแม่จะคลอดลูกไปแล้วหลายวัน หลายสัปดาห์ หรือหลายเดือน แต่บางครั้งคุณแม่ก็อาจรู้สึกเหมือนลูกน้อยยังดิ้นอยู่ในท้อง อาการเช่นนี้เรียกว่า Phantom Kicks

Phantom Kicks คืออะไร

Phantom Kicks เป็นอาการที่มีการเคลื่อนไหวภายในท้อง เช่นเดียวกับที่คุณแม่รู้สึกว่าลูกดิ้นในขณะตั้งครรภ์ แต่ต่างกันตรงที่ ตอนนี้ไม่มีเจ้าตัวเล็กอยู่ในท้องของคุณแม่แล้ว

อาการเช่นนี้มักเกิดขึ้นกับคุณแม่ที่มีการสูญเสียมาก่อน เช่น การแท้งลูก หรือลูกเสียชีวิตในครรภ์ จึงมีความรู้สึกเหมือนว่าลูกยังมีชีวิตอยู่ในครรภ์

บทความแนะนำ สัญญาณไม่ปลอดภัย ทารกอาจเสียชีวิตในครรภ์

แต่อาการเช่นนี้ก็สามารถเกิดกับคุณแม่ที่คลอดลูกออกมาอย่างปลอดภัยและสุขภาพดีได้เช่นกันค่ะ

อย่างไรก็ตามยังไม่มีคำอธิบายทางการแพทย์ที่ชัดเจนว่าอาการดังกล่าวเกิดจากอะไร แต่ก็มีหลายแนวคิดที่น่าสนใจเกี่ยวกับเรื่องนี้

แนวคิดที่ 1 คิดว่าเกิดจากมดลูกอาจต้องใช้เวลานานที่จะหยุดบีบตัวและกลับสู่สภาวะปกติ จึงทำให้คุณแม่ยังรู้สึกถึงความเคลื่อนไหวภายในมดลูก

แนวคิดที่ 2 คิดว่าอาจเป็นการบีบตัวของลำไส้สามารถเกิดขึ้นได้แม้ไม่ได้ตั้งครรภ์ สภาพแวดล้อมที่มีแก๊สภายในท้อง ก็อาจทำให้คุณแม่รู้สึกเหมือนลูกดิ้นอยู่ภายในท้องได้

แนวคิดที่ 3 คิดว่าอาจเป็นเพราะกล้ามเนื้อและระบบประสาทยังคงจดจำว่าต้องมีการส่งเลือดไปเลี้ยงกล้ามเนื้อมดลูก และกลุ่มกล้ามเนื้อของกระเพาะและลำไส้ ทำให้เกิดการหดเกร็งที่คล้ายกับเวลาที่ลูกเตะท้องคุณแม่

ได้ทราบถึงสาเหตุที่ทำให้คุณแม่หลังคลอดรู้สึกว่าลูกดิ้น ทั้งที่ไม่ได้ท้องไปแล้วนะคะ เรามาติดตามกรณีที่สอง รู้สึกว่าลูกดิ้น เมื่อพยายามจะมีลูก คลิกหน้าถัดไป

2. รู้สึกว่าลูกดิ้น เมื่อพยายามจะมีลูก

ในกรณีผู้หญิงที่พยายามมีลูก แต่ยังไม่สำเร็จสักที หากเกิดอาการเช่นนี้ มักจะเรียกว่า “ท้องหลอก” หรือ “ท้องเทียม” ค่ะ

ท้องหลอก ท้องเทียม คืออะไร

ท้องหลอก เป็นอาการของผู้หญิงที่รู้สึกว่าตัวเองตั้งครรภ์ เพราะมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน ประจำเดือนขาด รู้สึกว่าท้องโตขึ้น ปวดปัสสาวะบ่อย รู้สึกว่าลูกดิ้นอยู่ในท้อง แต่เมื่อไปหาคุณหมอแล้ว ปรากฏว่าไม่ท้อง ทั้งที่อาการต่างๆ ที่เกิดขึ้นมันเป็นอาการของคนท้องชัดๆ

บทความแนะนำ 10 สัญญาณการตั้งครรภ์ที่แม่ท้องควรรู้

อาการเหล่านี้มักเกิดกับผู้หญิงที่พยายามมีลูก แต่ยังไม่สำเร็จ จึงเกิดความเครียด ซึ่งความเครียดนี่เองที่ทำให้ต่อมใต้สมองผลิตฮอร์โมนมากระตุ้นรังไข่ให้สร้างฮอร์โมนอีกตัวไปกระตุ้นให้ผนังมดลูกหนาตัวและไม่มีประจำเดือน พอประจำเดือนขาดก็คิดว่าตั้งครรภ์ จึงบำรุงตัวเองจนอ้วนขึ้น อีกทั้งไขมันที่สะสมใต้ผิวหนังมากขึ้น ก็มีผลทำให้ไม่มีประจำเดือนได้เช่นกัน นอกจากนี้ การรู้สึกว่าลูกดิ้นก็อาจเป็นเพราะการบีบตัวของลำไส้ ส่วนอาการต่างๆ เช่น คลื่นไส้อาเจียน ปัสสาวะบ่อย อาจเป็นเพราะคิดไปเองเท่านั้น

ข้อควรระวัง

ท้องหลอก อาจไม่ได้เกิดจากภาวะทางจิตใจเสมอไป เพราะโรคหรือความผิดปกติบางอย่างของร่างกายอาจแสดงอาการคล้ายๆ กับการตั้งครรภ์ เช่น โรคของต่อมใต้สมองที่มีการสร้างฮอร์โมนบางชนิดมากเกินไป หรือเพราะยาบางตัว เช่น ยากันชัก หรือยานอนหลับบางชนิด เป็นต้น

การรักษา

การรักษาทำได้โดยการดูแลรักษาทางจิตใจ ไม่จำเป็นต้องใช้ยา เพียงให้กำลังใจแก่กัน ก็ช่วยลดความเครียดได้ เมื่อไม่เครียดโอกาสในการท้องหลอกก็จะลดลง และยังเพิ่มโอกาสในการตั้งครรภ์ที่ดีอีกด้วยค่ะ

ที่มา www.momjunction.com, www.si.mahidol.ac.th

บทความที่น่าสนใจอื่นๆ

ทุกสิ่งเกี่ยวกับอาการและโรคระหว่างตั้งครรภ์

ขึ้นสองขีดจางมาก ท้องหรือไม่?

 

บทความจากพันธมิตร
เริ่มต้นให้เหนือกว่า…เคล็ดลับสร้างสมองไวให้เด็กผ่าคลอด พร้อมเสริมภูมิคุ้มกันให้แข็งแรง
เริ่มต้นให้เหนือกว่า…เคล็ดลับสร้างสมองไวให้เด็กผ่าคลอด พร้อมเสริมภูมิคุ้มกันให้แข็งแรง
โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ เปิดบ้านต้อนรับคู่รักที่มีภาวะมีบุตรยาก ชวนทำความรู้จัก คลินิกรักษาผู้มีบุตรยาก ที่พร้อมให้บริการแบบ One Stop Service
โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ เปิดบ้านต้อนรับคู่รักที่มีภาวะมีบุตรยาก ชวนทำความรู้จัก คลินิกรักษาผู้มีบุตรยาก ที่พร้อมให้บริการแบบ One Stop Service
แม่ท้องอย่ามองข้าม อาการท้องผูก ในระหว่างตั้งครรภ์เสี่ยงต่อการแท้งได้จริง?
แม่ท้องอย่ามองข้าม อาการท้องผูก ในระหว่างตั้งครรภ์เสี่ยงต่อการแท้งได้จริง?
Attitude Mom รุ่น Galaxy II เครื่องปั๊มนม ที่คุณแม่วางใจ ส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างมีประสิทธิภาพ
Attitude Mom รุ่น Galaxy II เครื่องปั๊มนม ที่คุณแม่วางใจ ส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างมีประสิทธิภาพ

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
ddc-calendar
เตรียมความพร้อมสำหรับลูกน้อย โดยใส่วันครบกำหนดคลอดของคุณ
หรือ
คำนวณวันครบกำหนดคลอด
img
บทความโดย

สิริลักษณ์ อุทยารัตน์

  • หน้าแรก
  • /
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • /
  • รู้สึกว่าลูกดิ้น แต่ไม่ท้อง อาการแปลกที่ผู้หญิงสงสัย
แชร์ :
  • คุณพระ!! ลูกดิ้นในท้องแรงมาก ชมคลิป

    คุณพระ!! ลูกดิ้นในท้องแรงมาก ชมคลิป

  • เด็กหญิง 6 ขวบ อ้วกและสลบ หลังกินข้าวไข่คนมะเขือเทศ คาดเพราะมะเขือเทศไม่สุก !

    เด็กหญิง 6 ขวบ อ้วกและสลบ หลังกินข้าวไข่คนมะเขือเทศ คาดเพราะมะเขือเทศไม่สุก !

  • อันตราย! ตอนท้องควรหลีกเลี่ยงทำงานบ้าน 8 อย่างนี้นะ

    อันตราย! ตอนท้องควรหลีกเลี่ยงทำงานบ้าน 8 อย่างนี้นะ

  • คุณพระ!! ลูกดิ้นในท้องแรงมาก ชมคลิป

    คุณพระ!! ลูกดิ้นในท้องแรงมาก ชมคลิป

  • เด็กหญิง 6 ขวบ อ้วกและสลบ หลังกินข้าวไข่คนมะเขือเทศ คาดเพราะมะเขือเทศไม่สุก !

    เด็กหญิง 6 ขวบ อ้วกและสลบ หลังกินข้าวไข่คนมะเขือเทศ คาดเพราะมะเขือเทศไม่สุก !

  • อันตราย! ตอนท้องควรหลีกเลี่ยงทำงานบ้าน 8 อย่างนี้นะ

    อันตราย! ตอนท้องควรหลีกเลี่ยงทำงานบ้าน 8 อย่างนี้นะ

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
    • ก่อนตั้งครรภ์
    • การคลอด
    • ระยะการตั้งครรภ์
    • การคลอด
  • พัฒนาการลูก
    • ทารก
    • เด็กก่อนเข้าเรียน
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • การวางแผนการเงิน
    • การเลี้ยงลูก
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • นมแม่และนมผง
  • โภชนาการ
    • สินค้าเด็ก
    • นมผง
    • เมนูอาหาร
    • สินค้าแม่
  • เพิ่มเติม
    • TAP สังคมออนไลน์
    • ติดต่อโฆษณา
    • ติดต่อเรา
    • Influencer Marketing (KOL)
    • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Sri-Lanka flag Sri Lanka
  • India flag India
  • Vietnam flag Vietnam
  • Australia flag Australia
  • Japan flag Japan
  • Nigeria flag Nigeria
  • Kenya flag Kenya
© Copyright theAsianparent 2023. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

theAsianparent heart icon
เราต้องการส่งแจ้งเตือนข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการดูแลตัวเองระหว่างตั้งครรภ์ไปให้กับคุณ