X
TAP top app download banner
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้า
เข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • โภชนาการ เเม่ท้อง เเม่ให้นม
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • ตั้งชื่อลูก
  • แม่ผ่าคลอด
    • พัฒนาการเด็กผ่าคลอด
    • เตรียมตัวผ่าคลอด
    • สุขภาพเด็กผ่าคลอด
    • คู่มือคุณแม่ผ่าคลอด
    • การดูแลหลังผ่าคลอด
    • โภชนาการเด็กผ่าคลอด
  • หลังคลอด
    • คลอดธรรมชาติ
    • ผ่าคลอด
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

เด็กอ้วน ไม่ใช่เด็กน่ารัก แต่เป็นจุดเริ่มต้นของสารพัดโรค

บทความ 5 นาที
เด็กอ้วน ไม่ใช่เด็กน่ารัก แต่เป็นจุดเริ่มต้นของสารพัดโรค

เด็กตัวอ้วนๆกลมๆ เนื้อตัวฟู นุ่ม ช่างดูน่ารักน่ากอดในสายตาผู้ใหญ่ เวลากินแล้วดูทุกสิ่งอร่อยไปเสียหมดน่าเอ็นดู และพ่อแม่บางคนอาจคิดว่า กินเก่งดีกว่ากินยาก จึงยอมตามใจ เมื่อลูกอยากกินต้องได้กิน กินไม่หยุด กินจนอ้วนเดี๋ยวค่อยไปลดตอนโตก็ได้ รู้หรือไม่อันตรายของโรคอ้วนในเด็กนั้นร้ายแรงและส่งผลเสียต่อเด็กไปตลอดชีวิตเสี่ยงต่อการเกิดโรคเรื้อรังหลายโรคไม่ต่างจากผู้ใหญ่

คุณพ่อคุณแม่รู้หรือไม่ ความจริงแล้ว เด็กอ้วน ไม่ใช่เด็กที่น่ารัก แถมยังเสี่ยงต่อโรคอื่น ๆ อีกเพียบ คุณพ่อคุณแม่ต้องฝึกการกินของลูก เพื่อไม่ให้เสี่ยงต่อโรคอ้วน หรือเป็น เด็กอ้วน เพราะอาจจะเกิดโรคต่าง ๆ ที่ตามมา

 

เด็กอ้วนไม่ใช่เด็กน่ารัก แต่เป็นจุดเริ่มต้นของสารพัดโรค

เด็กอ้วน

 

 

“โรคอ้วน” เป็นภาวะที่มีไขมันสะสมในร่างกายมากกว่าปกติ จนเกิดผลเสียต่อสุขภาพ

เมื่อไหร่ถึงเรียกอ้วน ประเมินโดยใช้กราฟแสดงน้ำหนักตามเกณฑ์ส่วนสูง ตามอายุและเพศของเด็ก แล้วอยู่ในเกณฑ์เริ่มอ้วนหรืออ้วน

สาเหตุของโรคอ้วน

  • โรคทางกายหรือกลุ่มอาการทางพันธุกรรมที่มีภาวะอ้วนร่วมด้วย โดยกลุ่มนี้มักมีส่วนสูงต่ำกว่าเกณฑ์ เช่น Down’s syndrome, Prader-Willi syndrome และโรคทางต่อมไร้ท่อ เช่น ขาดฮอร์โมนการเจริญเติบโต (growth hormone) หรือขาดไทรอยด์ฮอร์โมน

 

  • อ้วนธรรมดา เกิดจากพันธุกรรมและสิ่งแวดล้อม เมื่อพลังงานที่เข้ามากกว่าที่เราใช้ออก ทำให้เกิดไขมันสะสมในร่างกาย
    “กินมาก” เกินกว่าความต้องการ
    ”กินไม่เหมาะ” ชอบกินอาหารพลังงานสูง ในขณะที่ กินผักและผลไม้น้อย
    ”ใช้ไม่หมด” เคลื่อนไหวร่างกายน้อยลง ไม่ค่อยออกกำลังกาย และใช้เวลาส่วนมากอยู่หน้าจอโทรทัศน์

บทความที่เกี่ยวข้อง : หญ้าหวาน สารให้ความหวานยอดฮิต หวานอย่างไร ให้ไร้โรคอ้วน

 

ผลเสียที่จะเกิดขึ้นเมื่อปล่อยให้ลูกอ้วนเกินไป

เด็กอ้วน

 

Advertisement
  • กระดูกและข้อ เมื่อข้อรับน้ำหนักมากนาน ๆ ทำให้มีขาโก่งในวัยเด็ก และหัวกระดูกสะโพกเลื่อนในวัยรุ่นได้
  • หัวใจและหลอดเลือด พบมีความดันโลหิตสูง และมีความเสี่ยงของหลอดเลือดอุดตันที่หัวใจหรือสมองเพิ่มขึ้น
  • ทางเดินหายใจ มีภาวะทางเดินหายใจอุดกั้น เด็กนอนกรน หรือหยุดหายใจขณะหลับ ทำให้เด็กง่วง หลับในห้องเรียน มีผลต่อการเรียนได้
  • ทางเดินอาหารและโรคตับ พบโรคนิ่วในถุงน้ำดี ภาวะไขมันสะสมที่ตับ นำไปสู่ โรคตับอักเสบ ตับแข็ง และตับวายได้
  • ระบบต่อมไร้ท่อ ระดับไขมันในเลือดผิดปกติ มีภาวะต่อต้านอินซูลินนำไปสู่เบาหวานชนิดที่ 2 โดยในเด็กอ้วนอาจพบผื่น acanthosis nigricans เป็นส
  • น้ำตาลดำนูนหนาที่คอ รักแร้ หรือขาหนีบ ซึ่งพบร่วมกับโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ได้
  • จิตใจและสังคม พบว่า เด็กอ้วนขาดความภูมิใจในตนเอง วิตกกังวล และมีภาวะซึมเศร้าได้
  • และเมื่อติดตามเด็กโรคอ้วน พบว่า 69% ของเด็กอายุ 6 – 9 ปี และถึง 83% ของวัยรุ่นอายุ 10 – 14 ปี กลายเป็นโรคอ้วนในผู้ใหญ่

 

  • เคลื่อนไหวตัวลำบาก เชื่องช้าขาดคความคล่องตัว เมื่อเกิดอุบัติเหตุเช่นหกล้ม หรือพลัดตกจะเจ็บมากกว่าเด็กที่ไม่อ้วน
  • น้ำหนักตัวมาก ทำให้กระดูกและข้อต่อเสื่อมสภาพก่อนวัยอันควร
  • ทำให้เป็นโรคเบาหวาน เพราะเด็กที่อ้วนมากร่างกายจะมีภาวะดื้ออินซูลิน เมื่อร่างกายไม่ตอบสนองต่ออินซูลินซึ่งเป็นฮอร์โมนที่ใช้ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ทำให้เด็กมีภาวะน้ำตาลในเลือดสูงจนกลายเป็นโรคเบาหวานในที่สุด นำไปสู่การเกิดภาวะแทรกซ้อนต่อ ตา ไต ระบบประสาทและหัวใจ
  • เกิดภาวะไขมันในเลือดสูงโดยเฉพาะเด็กที่ชอบกินของมัน ของทอด เช่น มันฝรั่งทอด ไก่ทอด เบค่อน หมูสามชั้นเป็นต้น
  • เด็กอ้วนมักมีภาวะหลอดเลือดแดงแข็ง ทำให้เกิดโรคความดันโลหิตสูงและมีปัญหาหัวใจขาดเลือดได้ง่าย
  • คนอ้วนมักนอนกรน เนื่องจากกล้ามเนื้อทางเดินหายใจเกิดการหย่อนตัวจนหลอดลมตีบลง เมื่อมีลมหายใจผ่านจะทำให้กล้ามเนื้อนั้นสั่นเกิดเป็นเสียงกรน เด็กอ้วนบางรายจะมีภาวะทางเดินหายใจอุดกั้นเนื่องจากกล้ามเนื้อทางเดินหายใจหย่อนปิดกั้นหายใจไม่สะดวก ทำให้เลือดมีออกซิเจนน้อยลงขณะหลับ ในรายที่มีอาการรุนแรงจะมีปัญหาภาวะหัวใจโตร่วมด้วย
  • ทำให้เกิดไขมันสะสมในตับ มีความเสี่ยงเป็นโรคตับอักเสบ และมีปัญหาทางไต
  • มีปัญหาด้านจิตใจเพราะถูกเพื่อนล้อ ทำให้ขาดความมั่นใจ ไม่อยากไปโรงเรียน ปรับตัวเข้าสังคมยาก

บทความที่เกี่ยวข้อง : ไขมันในเลือดสูงในเด็กอ้วน อันตรายที่พ่อแม่อย่ามองข้าม

เด็กอ้วน

แนวทางการรักษาเด็กที่เป็นโรคอ้วน

เมื่อเด็กอ้วน ควรมาพบแพทย์ เพื่อประเมินความรุนแรง ภาวะแทรกซ้อน และพิจารณาเจาะเลือดเพิ่มเติมเมื่อมีข้อบ่งชี้ เป้าหมาย เพื่อควบคุมน้ำหนักตัวให้คงเดิม หรือลดลงโดยมีส่วนสูงเพิ่มขึ้นตามปกติ และป้องกันภาวะแทรกซ้อน โดยขึ้นกับอายุของเด็กและความรุนแรงโรคอ้วน

  1. ปรับพฤติกรรมการกิน โดยกินอาหารครบ 5 หมู่ ในปริมาณพอดี ลดอาหารพลังงานสูง เช่น ขนมขบเคี้ยว น้ำหวาน เลี่ยงเนื้อสัตว์ที่ไขมันสูง ปรับเปลี่ยนการทำอาหาร จากทอด ผัด เจียว เป็น ต้ม นึ่ง ย่าง แทน เพิ่มการกินผักและผลไม้ และในเด็กอายุ 2 ปีขึ้นไปให้กินนมพร่องมันเนยหรือนมขาดมันเนยแทน
  2. ปรับพฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพ โดยเพิ่มการเคลื่อนไหวร่างกายในชีวิตประจำวัน เช่น เดินแทนนั่งรถ ทำงานบ้านเอง ออกกำลังกายเพิ่มมากขึ้น ลดเวลาหน้าจอโทรทัศน์และคอมพิวเตอร์ ให้น้อยกว่า 2 ชั่วโมงต่อวัน จากการศึกษาพบว่า เด็กที่ใช้เวลาหน้าจอโทรทัศน์ หรือคอมพิวเตอร์ มากกว่า 2 ชั่วโมงต่อวัน เป็นโรคอ้วนมากกว่ากลุ่มที่อยู่หน้าจอน้อยกว่า 2 ชั่วโมง ทั้งจากพฤติกรรมกินไปดูโทรทัศน์ไป และจากการซื้ออาหารและขนมตามโฆษณาเพิ่มขึ้น

ทั้งนี้ การรักษาโรคอ้วนในเด็กนั้น ต้องอาศัยความร่วมมือของครอบครัวเป็นหลัก โดยดูแลเด็กไปในทิศทางเดียวกัน เป็นแบบอย่างที่ดีในการเลือกกินอาหาร ชมเชยให้กำลังใจเด็กเมื่อมีพฤติกรรมที่เหมาะสม รวมถึงการจัดสิ่งแวดล้อมในบ้าน เช่น ไม่เก็บขนมในบ้านให้เด็กหยิบกินได้ง่าย

 

โภชนาการช่วยได้ ลดน้ำหนักอย่างไรไม่ให้ลูกขาดสารอาหาร

อาหารเสริมเด็ก

เมื่อรู้ถึงพิษภัยและอันตรายของโรคอ้วนในเด็กแล้วคุณพ่อคุณแม่ควรหันมาใส่ใจเรื่องอาหารการกินของลูกให้มากขึ้น โดย

  • ควรให้เด็กกินอาหารให้ครบ 5 หมู่ เลี่ยงอาหารมันๆ ทอดๆ ขนมหวาน น้ำหวานและน้ำอัดลมโดยเฉพาะเด็กวัย 2 ขวบขึ้นไป
  • ไม่ควรห้ามลูกไม่ให้กินอาหารหรือขนมชนิดใดชนิดหนึ่งเพราะจะกลายเป็นการกระตุ้นให้เด็กอยากกินมากขึ้น ควรอนุญาติให้กินในปริมาณที่พอดีหรือให้กินเฉพาะในโอกาสพิเศษ
  • อย่าใช้อาหารเป็นเครื่องลงโทษหรือให้รางวัลแก่เด็ก การให้เด็กอดอาหารเพื่อเป็นการทำโทษอาจทำให้เด็กกังวลว่าจะกินไม่อิ่มทำให้เด็กพยามกินมากขึ้นเท่าที่มีทำได้ หากใช้ขนมหวานเป็นรางวัลให้ลูกจะทำให้เด็กเข้าใจว่าขนมและของหวานเป็นอาหารที่มีคุณค่ายิ่งกินมากขึ้นไปอีก
  • ให้ลูกมีส่วนร่วมในการคิดเมนูอาหาร ออกไปเลือกซื้อวัตถุดิบ และลงมือช่วยทำอาหาร คุณแม่ควรให้ความรู้ที่ถูกต้องเกี่ยวกับการทำและเลือกซื้ออาหารขณะทำกิจกรรมร่วมกันด้วย
  • วางแผนการทำอาหารล่วงหน้า สับเปลี่ยนเมนูเพื่อไม่ให้ลูกเบื่อและให้ลูกกินอาหารที่ตัวเองชอบบ้างเป็นระยะ
  • สนับสนุนให้ลูกออกกำลังกาย พาออกไปวิ่งเล่นนอกบ้านให้ได้ใช้พลังงานเพิ่มขึ้น จะได้มีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรงเติบโตสมวัย

 

ที่มา : 1

บทความอื่นๆที่น่าสนใจ

https://www.nksleepcare.co.th/how-snoring-happens/

วิจัยเผย คนท้องอ้วนอันตราย มีผลร้ายกับแม่และลูก มาดูเหตุผลไปพร้อมกัน!

10 ผลไม้ลดความอ้วน ผลไม้น้ำตาลน้อย กินยังไงก็ไม่อ้วน กินแล้วดีต่อร่างกาย

 

บทความจากพันธมิตร
อาหารมื้อแรก สำหรับลูกรัก กินอะไรดี? เพื่อสารอาหารที่ครบถ้วน
อาหารมื้อแรก สำหรับลูกรัก กินอะไรดี? เพื่อสารอาหารที่ครบถ้วน
Dadi International Kindergarten เรียนรู้สนุก เล่นอย่างสร้างสรรค์ ด้วย 3 ภาษา พร้อมเสริมสร้างทักษะ EF
Dadi International Kindergarten เรียนรู้สนุก เล่นอย่างสร้างสรรค์ ด้วย 3 ภาษา พร้อมเสริมสร้างทักษะ EF
ดูแลทารกแรกเกิดวิกฤติน้ำหนักเพียง 500 กรัมสำเร็จ ด้วยความเชี่ยวชาญระดับสากล ที่ โรงพยาบาลเด็กสมิติเวช อินเตอร์เนชั่นแนล
ดูแลทารกแรกเกิดวิกฤติน้ำหนักเพียง 500 กรัมสำเร็จ ด้วยความเชี่ยวชาญระดับสากล ที่ โรงพยาบาลเด็กสมิติเวช อินเตอร์เนชั่นแนล
ซีรีแล็ค จูเนียร์ โจ๊ก อร่อย ได้ประโยชน์ ตัวช่วยแม่ยุคใหม่
ซีรีแล็ค จูเนียร์ โจ๊ก อร่อย ได้ประโยชน์ ตัวช่วยแม่ยุคใหม่

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

daawchonlada

  • หน้าแรก
  • /
  • พัฒนาการลูก
  • /
  • เด็กอ้วน ไม่ใช่เด็กน่ารัก แต่เป็นจุดเริ่มต้นของสารพัดโรค
แชร์ :
  • 7 กิจกรรม กระตุ้นสมองซีกขวา ให้ลูกคิดนอกกรอบ ปลดล็อกความคิดสร้างสรรค์

    7 กิจกรรม กระตุ้นสมองซีกขวา ให้ลูกคิดนอกกรอบ ปลดล็อกความคิดสร้างสรรค์

  • แผลปลูกฝีเป็นหนอง ต้องดูแลยังไง? ลูกมีไข้ งอแงหลังปลูกฝี ปกติไหม?

    แผลปลูกฝีเป็นหนอง ต้องดูแลยังไง? ลูกมีไข้ งอแงหลังปลูกฝี ปกติไหม?

  • ลูกยังไม่พูด ต้องพาไปหาหมอไหม? 3 วิธีกระตุ้นให้ลูกพูด ทำเลยได้ผลจริง!

    ลูกยังไม่พูด ต้องพาไปหาหมอไหม? 3 วิธีกระตุ้นให้ลูกพูด ทำเลยได้ผลจริง!

  • 7 กิจกรรม กระตุ้นสมองซีกขวา ให้ลูกคิดนอกกรอบ ปลดล็อกความคิดสร้างสรรค์

    7 กิจกรรม กระตุ้นสมองซีกขวา ให้ลูกคิดนอกกรอบ ปลดล็อกความคิดสร้างสรรค์

  • แผลปลูกฝีเป็นหนอง ต้องดูแลยังไง? ลูกมีไข้ งอแงหลังปลูกฝี ปกติไหม?

    แผลปลูกฝีเป็นหนอง ต้องดูแลยังไง? ลูกมีไข้ งอแงหลังปลูกฝี ปกติไหม?

  • ลูกยังไม่พูด ต้องพาไปหาหมอไหม? 3 วิธีกระตุ้นให้ลูกพูด ทำเลยได้ผลจริง!

    ลูกยังไม่พูด ต้องพาไปหาหมอไหม? 3 วิธีกระตุ้นให้ลูกพูด ทำเลยได้ผลจริง!

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • พัฒนาการลูก
  • ชีวิตครอบครัว
  • ระยะการตั้งครรภ์
  • โภชนาการ
  • ไลฟ์สไตล์
  • TAP สังคมออนไลน์
  • ติดต่อโฆษณา
  • ติดต่อเรา
  • Influencer Marketing (KOL)
  • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Vietnam flag Vietnam
© Copyright theAsianparent 2025. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว