X
TAP top app download banner
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้า
เข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • โภชนาการ เเม่ท้อง เเม่ให้นม
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • ตั้งชื่อลูก
  • แม่ผ่าคลอด
    • พัฒนาการเด็กผ่าคลอด
    • เตรียมตัวผ่าคลอด
    • สุขภาพเด็กผ่าคลอด
    • คู่มือคุณแม่ผ่าคลอด
    • การดูแลหลังผ่าคลอด
    • โภชนาการเด็กผ่าคลอด
  • หลังคลอด
    • คลอดธรรมชาติ
    • ผ่าคลอด
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

6 เรื่องต้องห้าม! หยอกล้อเด็ก กระทบ Self-Esteem แหย่เด็กเล่น ไม่ใช่เรื่องเล่นๆ

บทความ 8 นาที
6 เรื่องต้องห้าม! หยอกล้อเด็ก กระทบ Self-Esteem แหย่เด็กเล่น ไม่ใช่เรื่องเล่นๆ

ความเชื่อมั่นในตัวเอง หรือ Self-Esteem สำคัญสำหรับลูกน้อยมากนะคะ และการแหย่เด็กเล่น ไม่ใช่เรื่องเล่นๆ มาดูผลกระทบ และสิ่งที่ควรทำไปพร้อมกัน

เชื่อว่าแทบทุกครอบครัวเคยพบเจอเรื่องของการ “ล้อเลียนเด็ก” ไม่ว่าจะเกิดกับลูกน้อยของเรา หรือเด็กคนอื่นที่เรารู้จักก็ตาม เพราะผู้ใหญ่บางคน มักคิดว่าการล้อเลียนเด็กเป็นเพียงเรื่อง “ล้อเล่น ขำๆ” เพื่อ “ความสนุกสนาน” และสร้างบรรยากาศที่ดีระหว่างทั้งสองช่วงวัย แต่! รู้ไหมคะว่า การพูดหยอก แหย่เด็กเล่น ไม่ใช่เรื่องเล่นๆ เพราะการ หยอกล้อเด็ก กระทบ Self-Esteem หรือ “ความเชื่อมั่นในตัวเอง” หนึ่งในทักษะทางพัฒนาการที่สำคัญของเด็กได้ ทั้งยังมีผลกระทบทางจิตใจระยะยาวด้วย วันนี้จะชวนคุณพ่อคุณแม่ และผู้ใหญ่ทุกคนมาเรียนรู้ 6 เรื่องต้องห้าม! การล้อเลียน แหย่ หยอก ที่จะลดความเชื่อมั่นของเด็ก พร้อมบอกวิธีเสริมสร้าง “Self-Esteem” ให้ลูกน้อยค่ะ

แหย่เด็กเล่น ไม่ใช่เรื่องเล่นๆ

▲▼สารบัญ

  • ล้อเล่น หยอกๆ แบบไหน ? ที่ผู้ใหญ่ชอบทำ
  • หยอกล้อเด็กแบบเกินขอบเขต ไม่ดียังไง?
  • 6 เรื่องต้องห้าม! หยอกล้อเด็ก กระทบ Self-Esteem
  • ล้อเลียนเรื่อง รูปร่างหน้าตา หรือลักษณะภายนอก
  • หยอกล้อความสามารถ สติปัญญา หรือความชำนาญ
  • เย้าแหย่เรื่องนิสัย บุคลิกภาพ และการแสดงความรู้สึก
  • เปรียบเทียบกับเด็กคนอื่น
  • ล้อเรื่องความสัมพันธ์ในครอบครัว หรือเพื่อน
  • ล้อเลียนการแต่งตัว หรือสไตล์เฉพาะตัว
  • เคล็ด(ไม่)ลับ สร้าง Self-Esteem ให้ลูกน้อย
  • กระตุ้นให้แสดงความคิดเห็น และแสดงการยอมรับ
  • ชี้ให้เห็นความพิเศษของความแตกต่าง
  • ให้โอกาสลูกลงมือทำด้วยตัวเอง
  • ติเพื่อก่อ
  • ชมเชยทุกครั้งที่ทำดี

ล้อเล่น หยอกๆ แบบไหน ? ที่ผู้ใหญ่ชอบทำ

Advertisement

การล้อเลียน แหย่เด็ก หรือ หยอกล้อเด็ก เป็นพฤติกรรมทั่วไปที่ผู้ใหญ่หลายๆ คนมักใช้ในการสร้างสีสันและความสนุกสนานกับเด็กๆ อาทิ

  • การทำท่าทางประหลาดๆ เพื่อล้อเลียนพฤติกรรม การเคลื่อนไหว กิริยาอาการของเด็ก
  • การตั้งชื่อ หรือฉายาต่างๆ ให้เด็กในเชิงขำขัน
  • การเล่นหยิกแก้ม บีบแขน ลูบพุงน้อยๆ หรือจั๊กจี้เอว
  • การเล่นแย่งอาหาร หรือสิ่งของกับเด็ก

การเล่นหรือหยอกล้อเด็กในลักษณะข้างต้น อาจนับเป็นวิธีที่ช่วยสร้างความใกล้ชิดและความสัมพันธ์กับเด็กได้ หากอยู่ภายใต้ขอบเขตของการสร้างรอยยิ้มและเสียงหัวเราะของทั้งสองฝ่าย แต่เมื่อไรก็ตาม ที่การหยอกล้อ ไม่ว่าจะเด็กเล็ก หรือเด็กโต ถูกข้ามเส้นแบ่งความสนุก ไปสู่ความรู้สึกไม่พอใจ โกรธ หรืออับอาย จนเด็กไม่สนุกด้วยอีกต่อไปแล้ว การแหย่เด็ก ล้อเลียนเด็ก ในระดับเกินขีดจำกัดนั้น อาจกลายเป็นการ “สร้างปม” ในใจเด็ก รวมถึงส่งผลกระทบต่อทักษะและพัฒนาการเด็กในด้านความมั่นใจ และสร้างพฤติกรรมเลียนแบบได้ในอนาคตค่ะ

พฤติกรรมเลียนแบบการหยอกล้อ

หยอกล้อเด็กแบบเกินขอบเขต ไม่ดียังไง?

ล้อเรื่องผลการเรียนไม่ดี เด็กจะสูญเสียกำลังใจ
ล้อว่าเล่นกีฬา/ทำกิจกรรมไม่เก่ง ทำให้เด็กไม่ต้องการร่วมทำกิจกรรมอีก
ล้อรูปร่างหน้าตา เกิดปมด้อย ไม่เห็นคุณค่าในตัวเอง
เรื่องฐานะทางครอบครัว ความแตกต่าง ทำให้เด็กรู้สึกแปลกแยก เป็นการปิดกั้นช่องทางในการแสดงตัวตนของเด็ก

 

6 เรื่องต้องห้าม! หยอกล้อเด็ก กระทบ Self-Esteem

การหยอกล้อเด็กโดยไม่คิดหน้าคิดหลังนั้น สามารถส่งผลกระทบต่อพัฒนาการด้านจิตใจ อารมณ์ และพฤติกรรมการเข้าสังคมของเด็กได้ โดยเฉพาะการทำให้ “ความเชื่อมั่นในตัวเอง” หรือ Self-Esteem ลดลง เนื่องจากเด็กเป็นช่วงวัยที่กำลังเรียนรู้และพัฒนาตัวตนของตนเอง หากถูกล้อเลียนในบางเรื่องบ่อยๆ อาจทำให้เกิดความรู้สึกด้อยค่า ไม่มั่นใจในตัวเอง หรือกลายเป็นปมด้อยในระยะยาวได้ค่ะ ซึ่ง 5 เรื่องต้องห้าม! ที่ไม่ควรทำในการหยอก แหย่ ล้อเลียนเด็ก เพราะกระทบกับ Self-Esteem มีดังนี้

 

  1. ล้อเลียนเรื่อง รูปร่างหน้าตา หรือลักษณะภายนอก

การล้อเลียนรูปร่างหรือรูปลักษณ์ภายนอก เช่น ความสูง ความอ้วน รูปหน้า ฯลฯ จะทำให้เด็กเกิดความรู้สึกด้อยค่าและไม่มั่นใจในตัวเอง นานวันเข้าเด็กอาจรู้สึกว่าตัวเองไม่สวย ไม่หล่อ ไม่เหมือนคนอื่น เกิดความไม่พอใจในร่างกายของตัวเอง (Body Image Issues) อาจนำไปสู่ปัญหาทางจิตใจ เช่น ความวิตกกังวลเกี่ยวกับรูปร่าง (Body Dysmorphia) หรือโรคการกินผิดปกติ (Eating Disorders) เมื่อโตขึ้น และมีผลกระทบต่อความเชื่อมั่นในตัวเองในระยะยาวได้

ดังนั้น แทนที่จะกล่าวหรือวิจารณ์รูปร่างของเด็ก ลองเปลี่ยนเป็นการส่งเสริมให้เด็กมีสุขภาพร่างกายแข็งแรงผ่านคำพูดเชิงบวก เช่น “วันนี้มีผลไม้สดในตู้เย็น เรามาช่วยกันล้างให้สะอาด จัดใส่จานให้สวยงาม เก็บไว้กินหลังมื้อเย็นกันดีกว่า กินผลไม้ร่างกายแข็งแรงด้วยนะ”

ความมั่นใจตัวเองของเด้ก เป็นสิ่งสำคัญ

  1. หยอกล้อความสามารถ สติปัญญา หรือความชำนาญ

ผู้ใหญ่อาจจะคิดว่าเป็น “การแซว” แบบน่ารักๆ หากหยอกล้อเรื่องความสามารถในการเรียน หรือการาทำกิจกรรมต่างๆ ของเด็ก เช่น หัวเราะหรือแหย่ เมื่อเด็กทำอะไรไม่ได้ดี หรือทำผิดพลาด อาทิ

“ง่ายแค่นี้เอง… ทำไมทำไม่ได้”

“ไม่ไหวแล้วมั้งแบบนี้ โตไปจะทำยังไง?”

เหล่านี้ จะทำให้เด็กมีความรู้สึกว่าเขาไม่เก่ง ไม่สมบูรณ์แบบ รู้สึกว่าตัวเองไม่มีคุณค่า กลัวที่จะลองทำสิ่งใหม่ ๆ เพราะกลัวถูกล้อเลียน กลายเป็นการบั่นทอนความมั่นใจในการพัฒนาตัวเองต่อไป ดังนั้น ควรเปลี่ยนมาเป็นการให้กำลังใจและชื่นชมความพยายามของเด็กจะได้ประโยชน์มากกว่านะคะ

 

  1. เย้าแหย่เรื่องนิสัย บุคลิกภาพ และการแสดงความรู้สึก

เช่น “แค่นี้ก็ร้องไห้แล้วเหรอ?” , “ขี้อายจัง” , “ไม่แมนเลย” ฯลฯ คำพูดเหล่านี้จะส่งผลให้เด็กไม่กล้าแสดงออกทางอารมณ์ หรือคิดว่าต้องเปลี่ยนแปลงตัวเองเพื่อให้เป็นที่ยอมรับของผู้อื่นทั้งที่ไม่จำเป็นเลย เพราะผู้ใหญ่ควรจะสนับสนุนให้เด็กๆ เติบโตตามธรรมชาติของตัวเอง เพื่อช่วยให้เด็กรู้สึกมั่นใจมากขึ้น

เราต้องทำความเข้าใจนะคะว่า เด็กๆ มีการแสดงอารมณ์และความรู้สึกที่หลากหลาย การล้อเลียนการแสดงออกทางอารมณ์ของเด็ก เช่น การร้องไห้ หรือโกรธ อาจทำให้เด็กคิดว่าไม่ควรแสดงความรู้สึก และพยายามซ่อนอารมณ์ แทนที่จะเรียนรู้การจัดการอารมณ์ในทางที่ดี ซึ่งเป็นสิ่งที่สำคัญสำหรับการพัฒนาจิตใจ กลับไม่กล้าแสดงความรู้สึกออกมา จนนำไปสู่ปัญหาทางอารมณ์ในระยะยาว

 

  1. เปรียบเทียบกับเด็กคนอื่น

การเปรียบเทียบเด็กกับคนอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นพี่ น้อง หรือเพื่อนวัยเดียวกัน จะทำให้เด็กคิดว่าตัวเองไม่มีคุณค่า และรู้สึกว่าความรักของพ่อแม่มีเงื่อนไข ดังนั้น สิ่งที่ควรทำคือการให้กำลังใจและช่วยพัฒนาทักษะต่างๆ ในแบบของตัวเด็กเอง สอนให้ลูกเข้าใจว่าไม่จำเป็นต้องเหมือนใคร เพราะทุกคนมีข้อดีในแบบของตัวเอง

 

  1. ล้อเรื่องความสัมพันธ์ในครอบครัว หรือเพื่อน

เด็กบางคนอาจถูกล้อเลียนเกี่ยวกับสถานการณ์ในครอบครัว เช่น พ่อแม่แยกทาง หรือถูกแหย่เย้าว่ามีเพื่อนน้อย ซึ่งอาจทำให้ความรู้สึกโดดเดี่ยวหรือท้อแท้เกิดขึ้นในใจเด็ก เป็นการสร้างปม และผลกระทบด้านลบที่ยิ่งใหญ่ต่อความเชื่อมั่นในตัวเองของเด็ก

หยอกล้อเด็ก กระทบ Self-Esteem

  1. ล้อเลียนการแต่งตัว หรือสไตล์เฉพาะตัว

ผู้ใหญ่มีสไตล์ของตัวเองอย่างไร เด็กก็มีความคิดเรื่องการแต่งตัวที่เป็นสไตล์ของตัวเองเช่นกันค่ะ ความชื่นชอบในเสื้อผ้าหรือสไตล์ที่ไม่เหมือนใครของเด็กจึงไม่ควรถูกล้อเลียน ไม่ว่าวันนี้จะอยากแต่งชุดเจ้าหญิง ยอดมนุษย์ ชุดลายพร้อย หรือสีสันตัดฉับจัดจ้านแค่ไหน ไม่ใช่เรื่องผิด

ดังนั้น ห้ามวิจารณ์เด็ดขาดค่ะ คำพูดเชิงว่า “แต่งตัวอย่างกับกาคาบพริก” , “จะไปเล่นลิเกที่ไหน?” หรือ “หลุดมาจากโลกไหนเนี่ย” อาจสร้างปมให้เด็กรู้สึกไม่เหมาะสม หรือไม่เป็นที่ยอมรับในสังคม ซึ่งอาจทำให้เด็กสูญเสียความมั่นใจและไม่กล้าที่จะแสดงออกอย่างอิสระในอนาคตค่ะ

ความกล้า สร้าง Self-Esteem ให้ลูก

เคล็ด(ไม่)ลับ สร้าง Self-Esteem ให้ลูกน้อย

เด็กที่ถูกทำให้ขาดความเชื่อมั่นในตัวเองนั้นจะเติบโตบนความรู้สึกผิดหวัง ทั้งยังมีมุมมองต่อตัวเองในด้านลบ วิตกกังวล ขาดแรงจูงใจในการเรียนหรือการทำกิจกรรมต่างๆ เก็บตัวและไม่ต้องการเข้าสังคม รวมถึงมีแนวโน้มเข้ากลุ่มเพื่อนที่ทำตัวแปลกแยกจากคนอื่น อาจมีพฤติกรรมต่อต้านสังคม ทำร้ายตัวเองและคนอื่น หรือหันเหสู่ยาเสพติดเพื่อสร้างการยอมรับและความมั่นใจให้กับตัวเองได้นะคะ

ดังนั้น การสร้างความภาคภูมิใจในตนเอง (Self-Esteem) ให้ลูกน้อย จึงมีความสำคัญอย่างยิ่ง เพราะจะทำให้ลูกมั่นใจ กล้าที่จะเผชิญหน้ากับปัญหา แก้ปัญหาเป็น เอาชนะอุปสรรคได้ดี มีทัศนคติที่ดี นับถือตนเอง และใช้ชีวิตในสังคมได้อย่างมีความสุข ซึ่ง “ความภาคภูมิใจในตนเอง” นี้ คุณพ่อคุณแม่ควรเริ่มสร้างให้ลูกตั้งแต่ยังเล็กและบ่มเพาะพัฒนาการด้านนี้ให้เติบโต ดังนี้ค่ะ

  1. กระตุ้นให้แสดงความคิดเห็น และแสดงการยอมรับ

ควรชวนลูกพูดคุยเรื่องต่างๆ อยู่เสมอ และกระตุ้นให้ลูกได้แสดงความคิดเห็น โดยไม่ตัดสินว่าผิดหรือถูก แต่ให้แสดงออกว่าเรายอมรับความคิดเห็นของลูก จะทำให้ลูกความสำคัญของตัวเอง มั่นใจ กล้าแสดงออก และดีใจที่ได้รับการยอมรับ

บทความจากพันธมิตร
การมีสติ ฉบับเด็ก ๆ เป็นอย่างไร ฝึกลูกให้มีสติ ท่ามกลางโลกที่วุ่นวาย
การมีสติ ฉบับเด็ก ๆ เป็นอย่างไร ฝึกลูกให้มีสติ ท่ามกลางโลกที่วุ่นวาย
ส่งเสริมพัฒนาการเด็กยุคใหม่ด้วย ทักษะ Executive Function
ส่งเสริมพัฒนาการเด็กยุคใหม่ด้วย ทักษะ Executive Function
ปี 2567 เด็กป่วยด้วยโรคอะไร? LUMA แบ่งปันสถิติให้เข้าใจมากขึ้น
ปี 2567 เด็กป่วยด้วยโรคอะไร? LUMA แบ่งปันสถิติให้เข้าใจมากขึ้น
Value Health (Kids) ประกันสุขภาพสำหรับลูกน้อย เจ้าของรางวัล Most Promising จากเวที TAP Awards 2023
Value Health (Kids) ประกันสุขภาพสำหรับลูกน้อย เจ้าของรางวัล Most Promising จากเวที TAP Awards 2023
  1. ชี้ให้เห็นความพิเศษของความแตกต่าง

บอกให้ลูกรู้เสมอว่า “ความต่าง” เป็นเรื่องปกติ และบางครั้งความต่างก็เป็นความพิเศษ ลูกไม่จำเป็นต้องเก่งเหมือนใคร อาจวาดรูปไม่สวย แต่ระบายสีได้สวย เป็นระเบียบ สะอาด เป็นต้น จะทำให้ลูกรู้สึกถึงความดีงามในตนเอง รู้ว่าสามารถทำอะไรได้ดี และมีความพยายามให้ดียิ่งขึ้น เห็นความก้าวหน้าของตนเองจากคําพูดของพ่อแม่ เช่น วันก่อนทำได้ไม่ครบ วันนี้ลูกได้ครบและทำได้ดีมากจ้ะ

  1. ให้โอกาสลูกลงมือทำด้วยตัวเอง

การเปิดโอกาสให้ลูกได้ทำสิ่งต่างๆ ตามวิธีการของตัวเองมากที่สุด จะช่วยพัฒนาทักษะการแก้ปัญหา และการตัดสินใจ เมื่อทำสำเร็จและได้รับการยอมรับจากพ่อแม่ ก็จะเกิดความรู้สึกพิเศษ พอใจ และรู้สึกถึงคุณค่าในตัวเอง

  1. ติเพื่อก่อ

เมื่อไรก็ตามสิ่งที่ลูกทำเกิดอุปสรรค ผิดพลาด ไม่สำเร็จตามที่ตั้งใจ ควรเริ่มจากคำชมเชยในความพยายาม ความกล้าที่จะลงมือทำ แล้วชี้แนะแนวทางให้ลูกแบบ “ติเพื่อก่อ” ผิดว่าไปตามผิด สิ่งไหนไม่ดีให้ช่วยกันปรับปรุงเปลี่ยนแปลง ควรมองที่การกระทำ ไม่ใช่ลักษณะนิสัย หรือบุคลิกภาพ และให้การสนับสนุนลูกให้พยายามต่อไป โดยไม่ดูถูกความสามารถหรือเย้ยหยันความคิดของลูก

  1. ชมเชยทุกครั้งที่ทำดี

เด็กที่รู้สึกว่าตัวเองไม่ได้ดีพิเศษอะไร จะไม่กล้ารับคําชมเชยเมื่อทำสิ่งต่างๆ สำเร็จลุล่วง หรือทำความดี และจะอายหรือกลัวคํานินทาจากคนอื่น ดังนั้น คุณพ่อคุณแม่ควรชมเชยลูกเสมอที่ทำความดี หรือทำสิ่งที่ตั้งใจสำเร็จ โดยชมเชยที่ความมุ่งมั่น ความพยายาม และการลงมือทำด้วยความตั้งใจของลูก เพื่อแสดงให้เห็นว่าความสำของลูกเป็นเรื่องพิเศษที่น่าประทับใจ

 

ทั้งนี้ สิ่งสำคัญที่สุดในการเสริมสร้าง Self-Esteem ให้ลูกก็คือ การมีคุณพ่อคุณแม่อยู่เคียงข้าง คอยชี้แนะ เป็นกำลังใจ ปลอบโยน และร่วมชื่นชมยินดีไปกับทุกสิ่งที่ลูกทำ ลูกจะรู้สึกอบอุ่นใจว่าพ่อแม่จะอยู่ตรงนั้น ด้วยความรักและปรารถนาดีเสมอ ซึ่งจะทำให้ลูกรู้สึกว่าตัวเองมีคุณค่าได้มากที่สุดค่ะ

สร้าง Self-Esteem เสริมความมั่นใจในตัวเองให้ลูก

เด็กเล็กคือวัยเรียนรู้โลกและเรียนรู้ตนเอง สิ่งสำคัญมากคือ การเรียนรู้อารมณ์ รู้จักควบคุม และระบายอารมณ์นั้นอย่างเหมาะสม เป็นทักษะทางสมองที่พ่อแม่ต้องส่งเสริมและฝึกให้ลูกเรียนรู้เพื่อเติบโตเป็นคนที่รู้เท่าทันอารมณ์ตัวเองในอนาคต การหยอกล้อ ซึ่งเป็นการล้อเล่นกับอารมณ์ความรู้สึกของเด็กจึงไม่ใช่เรื่องเล่นๆ ด้วยวัยที่มีความละเอียดอ่อน การกระทำของผู้ใหญ่สามารถส่งผลกระทบอย่างยาวนานต่อการพัฒนาความเชื่อมั่นในตัวเองและสุขภาพจิตของเขา ดังนั้น การแสดงออกอย่างระมัดระวัง และให้การสนับสนุนที่ดีแก่เด็กจึงเป็นสิ่งสำคัญ เพื่อให้ลูกน้อยเติบโตขึ้นอย่างมีสุขภาพจิตที่แข็งแรงและเต็มไปด้วยความมั่นใจในตัวเองนะคะ

 

ที่มา : กรมสุขภาพจิต , เป็นหมอ Academy – จุดเริ่มต้นแห่งความฝัน , เลี้ยงลูกตามใจหมอ , thepotential.org , www.thaihealth.or.th

บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ

รู้ไว้ให้ชัวร์! ยาสีฟันมีฟลูออไรด์ ทำเด็ก IQ ต่ำลง จริงไหม?

ผลเสียจากการตะโกนใส่ลูก บาดแผลทางใจที่มองไม่เห็น

Should do! สิ่งที่พ่อแม่ควรทำ วิธีสอนลูก เมื่อลูกทำผิด

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

จันทนา ชัยมี

  • หน้าแรก
  • /
  • ชีวิตครอบครัว
  • /
  • 6 เรื่องต้องห้าม! หยอกล้อเด็ก กระทบ Self-Esteem แหย่เด็กเล่น ไม่ใช่เรื่องเล่นๆ
แชร์ :
  • ต้องแยกแยะ “สุภาพ” กับ “โกหก”  สอนลูกพูดความจริง เมื่อการสร้างภาพและรักษาน้ำใจไม่ใช่ทางออก

    ต้องแยกแยะ “สุภาพ” กับ “โกหก” สอนลูกพูดความจริง เมื่อการสร้างภาพและรักษาน้ำใจไม่ใช่ทางออก

  • ครอบครัวแบบไหนไม่ทำร้ายเด็ก สร้างพื้นที่ปลอดภัย เป็นความสบายใจให้ลูก

    ครอบครัวแบบไหนไม่ทำร้ายเด็ก สร้างพื้นที่ปลอดภัย เป็นความสบายใจให้ลูก

  • เคล็ดลับสร้างวินัยเชิงบวกให้ลูก เลี้ยงลูกแบบ ใจดีแต่ไม่ใจอ่อน (Kind but Firm)

    เคล็ดลับสร้างวินัยเชิงบวกให้ลูก เลี้ยงลูกแบบ ใจดีแต่ไม่ใจอ่อน (Kind but Firm)

  • ต้องแยกแยะ “สุภาพ” กับ “โกหก”  สอนลูกพูดความจริง เมื่อการสร้างภาพและรักษาน้ำใจไม่ใช่ทางออก

    ต้องแยกแยะ “สุภาพ” กับ “โกหก” สอนลูกพูดความจริง เมื่อการสร้างภาพและรักษาน้ำใจไม่ใช่ทางออก

  • ครอบครัวแบบไหนไม่ทำร้ายเด็ก สร้างพื้นที่ปลอดภัย เป็นความสบายใจให้ลูก

    ครอบครัวแบบไหนไม่ทำร้ายเด็ก สร้างพื้นที่ปลอดภัย เป็นความสบายใจให้ลูก

  • เคล็ดลับสร้างวินัยเชิงบวกให้ลูก เลี้ยงลูกแบบ ใจดีแต่ไม่ใจอ่อน (Kind but Firm)

    เคล็ดลับสร้างวินัยเชิงบวกให้ลูก เลี้ยงลูกแบบ ใจดีแต่ไม่ใจอ่อน (Kind but Firm)

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • พัฒนาการลูก
  • ชีวิตครอบครัว
  • ระยะการตั้งครรภ์
  • โภชนาการ
  • ไลฟ์สไตล์
  • TAP สังคมออนไลน์
  • ติดต่อโฆษณา
  • ติดต่อเรา
  • Influencer Marketing (KOL)
  • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Vietnam flag Vietnam
© Copyright theAsianparent 2025. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว