X
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้าเข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ตั้งครรภ์
    • คำนวณวันคลอด
    • ฉันกำลังตั้งครรภ์
    • ไตรมาสที่ 1
    • ไตรมาสที่ 2
    • ไตรมาสที่ 3
    • Project Sidekicks
    • ตั้งชื่อลูก
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • อีเว้นท์
    • TAP Awards Winners
    • TAP idol
    • TAP x Safari Largest Treasure Hunt
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

ท้องอ่อน ๆ ปวดท้องน้อย ทำไมปวดมาก เสี่ยงแท้งหรือเปล่า?

บทความ 5 นาที
ท้องอ่อน ๆ ปวดท้องน้อย ทำไมปวดมาก เสี่ยงแท้งหรือเปล่า?

ทำไมช่วงตั้งครรภ์แรก ๆ ถึงมีอาการปวดท้องน้อย บ่อยจนกลายเป็นเรื่องน่ากังวลสำหรับคุณแม่มือใหม่ ในช่วงแรกเริ่มของการตั้งครรภ์ประมาณ 4 สัปดาห์หรือ 1 เดือน คุณแม่บางท่านอาจเพิ่งทราบว่า ตั้งท้อง ซึ่งจะมีอาการปวดหน่วง บริเวณท้องน้อยคล้ายคนมีประจำเดือน วันนี้ TAP มาชวนคุณแม่ ไขข้อข้องใจไปพร้อม ๆ กัน ว่าทำไม ท้องอ่อน ๆ ปวดท้องน้อย กันนะ เกิดจากอะไร ตามไปอ่านได้เลย

ท้องอ่อน ๆ ปวดท้องน้อย บ่อยมาก ควรทำอย่างไร

 

ท้องอ่อน ๆ ปวดท้องน้อย

 

โดยส่วนใหญ่แล้ว อาการปวดท้องน้อย จะเกิดกับผู้หญิงตั้งครรภ์ในระยะเริ่มแรก เช่น 1-3 เดือน ช่วงไตรมาสแรกนั่นเอง ซึ่งไม่เป็นอันตรายแต่อย่างใด แต่จะปวดมากหรือปวดน้อยขึ้นกับพฤติกรรมของคุณแม่ค่ะ บางคนยังไม่รู้ตัวว่าตั้งครรภ์จึงใช้ชีวิตประจำวันหนัก ๆ แบบที่เคยทำ เช่น เดินเร็ว ออกกำลังกายหนัก ชอบวิ่ง หรือเคลื่อนไหวเร็ว ๆ อย่างขึ้นลงบันได ซึ่งพฤติกรรมเหล่านี้จะทำให้ปวดท้องมากขึ้น ไม่ว่าจะปวดบริเวณซ้ายหรือขวา คุณแม่ตั้งครรภ์ส่วนใหญ่จึงเป็นกังวล หลังจากทราบว่าตนเองตั้งครรภ์แล้ว จะเป็นอันตรายหรือไม่ เรามาดูกันว่า หากปวดบ่อย ๆ จะทำอย่างไรได้บ้าง

  • ก่อนอื่นเมื่อทราบว่าตั้งครรภ์ควรหยุดกิจกรรมหนัก ทุกอย่าง หากยังปวดท้องน้อยอยู่ให้นั่งพัก หรือนอนสบาย ๆ จนรู้สึกร่างกายได้ผ่อนคลายมากขึ้น
  • หากปวดท้องน้อยตอนกลางคืน แนะนำให้คุณแม่เปลี่ยนท่านอนจากที่เคยนอนหงาย มานอนตะแคง โดยหาหมอนข้าง ก่ายหมอนไว้ หรือเปลี่ยนจากที่เคยนอนตะแคง มานอนหงายดูค่ะ
  • เวลาที่คุณแม่นั่งทำงาน หาหมอนขนาดเหมาะ ๆ สักใบหนุนหลังเอาไหว หรือเวลานั่งพักบนโซฟา ก็ให้เอาหมอนหนุนหลังล่างเอาไว้ค่ะ
  • ก่อนนอน แนะนำให้คุณแม่แช่น้ำอุ่น ใส่น้ำมันหอมระเหยที่ชอบ จะช่วยผ่อนคลาย บรรเทาความเหนื่อยล้าทางร่างกาย
  • แม้จะห้ามเดินไว ออกกำลังกายหนัก ๆ แต่คุณแม่สามารถออกกำลังกายเบา ๆ ได้ และควรทำเป็นประจำ เพราะวิธีนี้จะช่วยบรรเทาอาการปวดท้องน้อยของแม่ท้องอ่อน ๆ ได้ เช่น ลองการเดินเบา เล่นโยคะ ซึ่งอย่างหลังจะช่วยเรื่องการกำหนดลมหายใจด้วยค่ะ
  • เวลาว่าง ลองเอามือกดหน้าท้องเบา ๆ คล้ายการนวด และลูบให้รู้สึกอุ่นท้องคอยสังเกตอาการว่า ปวดมากแค่ไหน หากปวดติดต่อกันเป็นสัปดาห์จนทนไม่ไหว พร้อมกับมีเลือดออกทางช่องคลอด อาจเสี่ยงภาวะแท้งคุกคาม แนะนำให้คุณแม่ไปพบคุณหมอเพื่อวินิจฉัยอาการต่อไป

บทความที่เกี่ยวข้อง: เจ็บท้องน้อย ขณะตั้งครรภ์ ปวดอุ้งเชิงกราน ปวดจี๊ด ๆ จะเป็นอันตรายไหม

อาการปวดท้องน้อย เสี่ยงต่อภาวะใดบ้าง

 

ท้องอ่อน ๆ ปวดท้องน้อย

 

ช่วงเวลาท้องอ่อน ๆ ปวดท้องน้อย ดูเหมือนเป็นโรคปกติ แต่จริง ๆ แล้ว คุณแม่อาจกำลังเสี่ยงอยู่กับโรคแทรกซ้อน หรือสัญญาณของภาวะอื่น ๆ ที่กำลังจะเกิดขึ้นเป็นได้ เช่น

 

1. คุณแม่ตั้งครรภ์อาจเกิดการติดเชื้อในร่างกาย

ทั้งนี้คุณแม่ที่มีอาการปวดท้องน้อย อาจมีสาเหตุมาจากเกิดติดเชื้อในกระเพาะอาหารโดยไม่รู้ตัว มาจากอาหารการกินหรือบาดแผลในลำไส้ ซึ่งในบางกรณี เป็นอาการปวดจากโรคไส้ติ่งอักเสบ หรือหากมีอาการอาเจียน คลื่นไส้ร่วมด้วย ก็อาจมาจากสาเหตุของโรคอาหารเป็นพิษได้ ซึ่งอาการเหล่านี้ไม่ใช่แพ้ท้องแล้วค่ะ ต้องรีบพบแพทย์ด่วน

 

2. เสี่ยงต่อภาวะตั้งท้องนอกมดลูก

เป็นภาวะที่ไม่อยากให้เกิดกับคุณแม่ท่านใดเลยค่ะ การตั้งครรภ์นอกมดลูกนั้น ทำร้ายจิตใจคุณแม่หลายท่านมานักต่อนัก มีสาเหตุมาจาก ความผิดปกติของตัวอ่อน ที่เข้าไปฝังตัวนอกโพรงมดลูก หรือบริเวณท่อนำไข่ ซึ่งการไปฝังตัวตรงนั้น ทารกหรือตัวอ่อนจะไม่สามารถเจริญเติบโตแล้วฝ่อไปในที่สุด นอกจากจะสูญเสียทารกไปแล้ว ยังเป็นอันตรายต่อแม่ท้องอีกด้วย

 

สัญญาณการตั้งท้องนอกมดลูก

  • ขณะท้องอ่อน คุณแม่อาจมีเลือดออก จนคิดว่าเป็นประจำเดือน มีโอกาสท้องนอกมดลูกได้ค่ะ
  • มีอาการปวดท้องรุนแรงเฉียบพลัน จากที่ปวดตุบ ๆ บริเวณท้องน้อย จู่ ๆ อาจปวดมากจนทนไม่ไหวได้
  • มีอาการคลื่นไส้ เวียนศีรษะ ร่วมด้วย ซึ่งตรงนี้ คุณแม่ท้องอ่อน ๆ อาจคิดว่าตัวเองแพ้ท้องอยู่

 

การป้องกันการตั้งท้องนอกมดลูก

  • ควรมีเพศสัมพันธ์อย่างปลอดภัย ปลอดโรค หากยังไม่พร้อมต้องสวมถุงยางอนามัย
  • ไม่ควรเปลี่ยนคู่นอนบ่อย ๆ เพราะอาจเกิดการติดเชื้อจากคู่นอนได้ ควรรักเดียวใจเดียว
  • งดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทุกชนิด เพราะหากไม่ท้องนอกมดลูกฤทธิ์ของแอลกอฮอล์อาจทำให้ลูกพิการได้
  • เลิกสูบบุหรี่โดยเด็ดขาด แม้กระทั่งสูดกลิ่นควันบุหรี่จากคนรอบข้างก็อันตรายมาก
  • หากมีบุตรยาก ท้องนอกมดลูกหลายครั้ง ลองใช้เทคโนโลยีในการตั้งครรภ์อย่าง การทำอิ๊กซี่ (ICSI) ดูค่ะ ช่วยแก้ปัญหาเรื่องการตั้งครรภ์นอกมดลูกได้อย่างปลอดภัย

บทความที่เกี่ยวข้อง: อาการ ปวดท้องน้อยเริ่มตั้งครรภ์ เป็นตอนตั้งครรภ์กี่สัปดาห์

 

3. ปวดท้องน้อย บ่อย ๆ อาจเกิดภาวะแท้งคุกคาม

 

ท้องอ่อน ๆ ปวดท้องน้อย

 

การแท้งบุตรอีกหนึ่งประเภทที่น่าเศร้าคือ ภาวะแท้งคุกคาม ซึ่งส่วนใหญ่มักจะเกิดกับคุณแม่ตั้งครรภ์อ่อน ๆ ในช่วงไตรมาสแรก ยิ่งท้องอ่อน ยิ่งเพิ่มโอกาสเสี่ยงแท้งคุกคามสูงในช่วง 3 เดือนแรก นอกจากนี้ ผู้หญิงที่มีสิทธิ์แท้งคุกคามถึง 15 % คือ คนที่ตั้งครรภ์ตั้งแต่อายุ 35 ปีขึ้นไป ส่วนผู้หญิงที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไป เสี่ยงแท้งคุกคามถึง 30% เรียกว่า ยิ่งอายุมากขึ้น ยิ่งมีความเสี่ยงมากขึ้นตามลำดับ นอกจากอาการปวดท้องน้อยแล้ว ยังสามารถเกิดภาวะรกลอกตัวบนผนังมดลูกอีกด้วย

สาเหตุรกลอกตัวบนผนังมดลูกเกิดจาก

  • ทารกน้อยมีการพัฒนาร่างกายอย่างผิดปกติ หมายถึงอวัยวะไม่สมบูรณ์นั่นเอง
  • คุณแม่ตั้งครรภ์มีเนื้องอกในมดลูก
  • ผู้หญิงที่มีพังผืดในมดลูกหนา บริเวณโพรงและปากมดลูกขณะตั้งครรภ์
  • ผู้หญิงที่เคยผ่านการแท้งบ่อย ๆ จนต้องทำการขูดมดลูกมาก่อน จนมดลูกบาง
  • คุณแม่ตั้งครรภ์ที่มีการติดเชื้อในช่องคลอด เช่น เป็นโรคหัดเยอรมัน โรคที่เกิดจากเชื้อไวรัสต่าง ๆ
  • คุณแม่เคยใช้ยาเสพติดประเภทรุนแรงมาก่อน เช่น โคเคน
  • คุณแม่ที่ติดสุรา เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ดังนั้นควรเลิกเสียก่อนตั้งครรภ์
  • ระหว่างตั้งครรภ์คุณแม่ควรงดการดื่มคาเฟอีน พยายามลดจนไม่ดื่มเลย
  • คุณแม่สูบบุหรี่หรือรับสารนิโคตินจากคนรอบข้าง
  • คุณแม่ที่มีความกังวลสูง มีภาวะของโรคซึมเศร้า และเครียดจนเกินไป

มาฟังคุณหมอพูดกัน !

 

นอกจากนี้ภาวะแท้งลูก ไม่ว่าจะท้องนอกมดลูก หรือ แท้งคุกคามสามารถเกิดขึ้นได้กับคุณแม่ที่มีอายุครรภ์น้อย ๆ เนื่องจากร่างกายยังไม่แข็งแรงกับสภาพใหม่ ดังนั้น ควรระวังเรื่องความกระทบกระเทือนต่าง ๆ ไม่ว่าจะการเดิน การขึ้นลงบันได อาจทำให้เกิดอุบัติเหตุแท้งลูกได้ อีกทั้งเรื่องฮอร์โมนเพศก็เป็นสิ่งสำคัญค่ะ เพราะหากขาดแล้วจะทำให้เยื่อบุโพรงมดลูกบอบบาง อ่อนแอ ส่งผลให้ตัวอ่อนไม่สามารถฝังตัวและเจริญเติบโตได้

 

บทความจากพันธมิตร
Attitude Mom รุ่น Galaxy II เครื่องปั๊มนม ที่คุณแม่วางใจ ส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างมีประสิทธิภาพ
Attitude Mom รุ่น Galaxy II เครื่องปั๊มนม ที่คุณแม่วางใจ ส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างมีประสิทธิภาพ
รีวิว IMANI i2 Plus อันดับ 1 เครื่องปั๊มนมไร้สายสุดพรีเมียม ผู้ช่วยของคุณแม่ยุคใหม่ที่ทำให้การปั๊มนมเป็นเรื่องง่าย
รีวิว IMANI i2 Plus อันดับ 1 เครื่องปั๊มนมไร้สายสุดพรีเมียม ผู้ช่วยของคุณแม่ยุคใหม่ที่ทำให้การปั๊มนมเป็นเรื่องง่าย
เตรียมความพร้อมก่อนกลับไปทำงานของคุณแม่นักปั๊มฉบับ Working Mom
เตรียมความพร้อมก่อนกลับไปทำงานของคุณแม่นักปั๊มฉบับ Working Mom
ทำความรู้จัก NAN GOLD HA3 เจ้าของรางวัล Parents’ Choice Awards Best Hypoallergenic Formula Milk จากเวที theAsianparent Awards 2022
ทำความรู้จัก NAN GOLD HA3 เจ้าของรางวัล Parents’ Choice Awards Best Hypoallergenic Formula Milk จากเวที theAsianparent Awards 2022

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

เจ็บท้องหลอก ต่างจากเจ็บท้องจริงอย่างไร เจ็บแบบไหนเรียกว่าปวดท้องใกล้คลอด

คุณหมอบอกมา 5 ภาวะแทรกซ้อนขณะตั้งครรภ์ ที่แม่ท้องต้องระวัง!!

อาหารสำหรับคนท้อง ท้องอ่อน ๆ 1-12 สัปดาห์ แม่และลูกในท้องควรกินอะไร

ที่มา:  1, 2

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
ddc-calendar
เตรียมความพร้อมสำหรับลูกน้อย โดยใส่วันครบกำหนดคลอดของคุณ
หรือ
คำนวณวันครบกำหนดคลอด
img
บทความโดย

Chatchadaporn Chuichan

  • หน้าแรก
  • /
  • ระยะการตั้งครรภ์
  • /
  • ท้องอ่อน ๆ ปวดท้องน้อย ทำไมปวดมาก เสี่ยงแท้งหรือเปล่า?
แชร์ :
  • คนท้องกินปอเปี๊ยะทอดได้ไหม กินเพลิน ๆ น้ำหนักพุ่งได้ง่าย ๆ เลยนะ !

    คนท้องกินปอเปี๊ยะทอดได้ไหม กินเพลิน ๆ น้ำหนักพุ่งได้ง่าย ๆ เลยนะ !

  • นมผงสำหรับเด็ก 1 ปี เลือกแบบไหนดี สูตรไหนเหมาะที่สุด ?

    นมผงสำหรับเด็ก 1 ปี เลือกแบบไหนดี สูตรไหนเหมาะที่สุด ?

  • คนท้องกินข้าวต้มมัดได้ไหม คนท้องห่อข้าวต้มมัดแล้วคลอดยากจริงหรือ ?

    คนท้องกินข้าวต้มมัดได้ไหม คนท้องห่อข้าวต้มมัดแล้วคลอดยากจริงหรือ ?

  • คนท้องกินปอเปี๊ยะทอดได้ไหม กินเพลิน ๆ น้ำหนักพุ่งได้ง่าย ๆ เลยนะ !

    คนท้องกินปอเปี๊ยะทอดได้ไหม กินเพลิน ๆ น้ำหนักพุ่งได้ง่าย ๆ เลยนะ !

  • นมผงสำหรับเด็ก 1 ปี เลือกแบบไหนดี สูตรไหนเหมาะที่สุด ?

    นมผงสำหรับเด็ก 1 ปี เลือกแบบไหนดี สูตรไหนเหมาะที่สุด ?

  • คนท้องกินข้าวต้มมัดได้ไหม คนท้องห่อข้าวต้มมัดแล้วคลอดยากจริงหรือ ?

    คนท้องกินข้าวต้มมัดได้ไหม คนท้องห่อข้าวต้มมัดแล้วคลอดยากจริงหรือ ?

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
    • ก่อนตั้งครรภ์
    • การคลอด
    • ระยะการตั้งครรภ์
    • การคลอด
  • พัฒนาการลูก
    • ทารก
    • เด็กก่อนเข้าเรียน
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • การวางแผนการเงิน
    • การเลี้ยงลูก
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • นมแม่และนมผง
  • โภชนาการ
    • สินค้าเด็ก
    • นมผง
    • เมนูอาหาร
    • สินค้าแม่
  • เพิ่มเติม
    • TAP สังคมออนไลน์
    • ติดต่อโฆษณา
    • ติดต่อเรา
    • Influencer Marketing (KOL)
    • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Sri-Lanka flag Sri Lanka
  • India flag India
  • Vietnam flag Vietnam
  • Australia flag Australia
  • Japan flag Japan
  • Nigeria flag Nigeria
  • Kenya flag Kenya
© Copyright theAsianparent 2023. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

theAsianparent heart icon
เราต้องการส่งแจ้งเตือนข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการดูแลตัวเองระหว่างตั้งครรภ์ไปให้กับคุณ