X
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้าเข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ตั้งครรภ์
    • คำนวณวันคลอด
    • ฉันกำลังตั้งครรภ์
    • ไตรมาสที่ 1
    • ไตรมาสที่ 2
    • ไตรมาสที่ 3
    • Project Sidekicks
    • ตั้งชื่อลูก
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • อีเว้นท์
    • TAP Awards Winners
    • TAP idol
    • TAP x Safari Largest Treasure Hunt
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

เดจาวู ความลึกลับกับวิทยาศาสตร์ เกิดจากอะไร มีจริงหรือไม่ !?

บทความ 5 นาที
เดจาวู ความลึกลับกับวิทยาศาสตร์ เกิดจากอะไร มีจริงหรือไม่ !?

หลายคนคงเคยได้ยิน เรื่องราวของ “เดจาวู” กันมาบ้างแล้ว อีกทั้งอาจจะมีหลาย ๆ คน ที่เคยรู้สึกว่ามันเกิดขึ้นกับเรามาก่อน ปรากฎการณ์ลึกลับ ที่ทำเอาหลายคนต้องแปลกใจ เป็นความรู้สึกราวกับว่าเรา เคยไปสถานที่ที่นึง หรือ เคยคุยกับใครสักคน ทั้ง ๆ ที่จริงแล้ว เราไม่เคยเดินทางไป หรือไม่เคยพบเจอกับคน ๆ นั้นมาก่อนเลย อาการแปลก ๆ เหล่านี้ ยังไม่มีที่มาอย่างแน่ชัด ว่าเป็นมายังไง จะเกี่ยวข้องกับความทรงจำทับซ้อนหรือไม่ วันนี้เราจะมาหาคำตอบกัน

 

เดจาวู คืออะไร ?

คำว่า “เดจาวู” มาจากภาษาฝรั่งเศส แปลว่า “เคยเห็นมาก่อนแล้ว” นั่นคือความรู้สึก ที่หลาย ๆ คน เผชิญสถานการณ์ใดสถานการณ์หนึ่งมาก่อน แต่เป็นเพียงความรู้สึกคุ้นเคย ที่เหมือนเคยเห็นเท่านั้น แต่อีกใจหนึ่ง ก็รู้สึกว่าไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน เช่น คุ้นเคยกับสถานที่ เหมือนเคยไปมาแล้ว แต่ยังไม่เคยไปมาก่อน หรือการพูดคุยกับใครสักคน ทั้ง ๆ ที่ไม่เคยเจอกันมาก่อน

 

จากการสำรวจพบว่า ประมาณ 60-70 เปอร์เซ็นต์ เคยมีอาการเดจาวูเกิดขึ้นมาก่อน โดยมักเกิดขึ้นในช่วงอายุ 15-25 ปี และจะอาการจะน้อยลง หลังจากอายุมากขึ้น ซึ่งส่วนใหญ่ มักเกิดจากการรับความรู้สึกจากภาพ เช่น รู้สึกเหมือนเคยเห็นสถานที่ที่พึ่งไปครั้งแรกมาก่อน

 

เดจาวู คืออะไร เดจาวู คืออะไร

 

เดจาวู เกิดจากอะไร ?

สาเหตุของเรื่องลึกลับนี้ ยังคงเป็นปริศนา และไม่มีคำตอบที่แน่ชัด เนื่องจากยังไม่มีการศึกษา หรืองานวิจัยที่แน่ชัด ส่วนมากยังเป็นประสบการณ์ส่วนตัว ที่ทำการทดสอบได้ยาก อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันได้มีทฤษฎีปรากฎการณ์เดจาวูอยู่บ้าง แต่ไม่มีงานวิจัยที่แน่ชัด โดยคาดว่า จะมีอยู่ 4 สาเหตุหลัก ๆ คือ ความสนใจ ความทรงจำ การประมวผลแบบผสาน และ ระบบประสาท

1. ความสนใจ

สาเหตุของการเกิดเดจาวู อาจอธิบายได้ว่า อาจเกิดจากความตั้งใจ หรือไม่ตั้งใจ เช่น คุณกำลังตั้งใจอ่านหนังสือ แต่แล้วก็มีเสียงรบกวนเข้ามา ทำให้คุณหันไปสนใจเสียงนั้นแทน จากนั้น เมื่อคุณกลับมาอ่านหนังสือเช่นเดิม ภาพของการอ่านหนังสือที่ยังค้างอยู่ จะถูกสมองจัดการ คุณจึงรู้สึกว่าเหตุการณ์นี้เหมือนเคยเกิดขึ้นในอดีตได้

 

2. ความทรงจำ

การใช้ชีวิตในแต่ละวันของเรา ได้รับข้อมูลมากมายในทุก ๆ วัน แต่สมองของเรา ไม่สามารถบันทึกไว้ได้ทั้งหมด บางสิ่งที่เรารับรู้ อาจมีรายละเอียดคล้าย ๆ กับสิ่งที่เราเคยบันทึกไว้ ในความทรงจำอยู่แล้ว แต่เราไม่สามารถจดจำ รายละเอียดได้ทั้งหมด สมองจึงตีความว่า คล้ายความทรงจำ ที่ถูกบันทึกไว้อยู่แล้ว

 

3. คุ้นเคยจากการท่องเที่ยว

สำหรับคนที่ชอบเดินทาง และ เคยเดินทางไปตามสถานที่ต่าง ๆ หลายที่ อาจมีโอกาสที่จะเกิดความรู้สึกเดจาวูได้ มากกว่าบุคคลที่ไม่ได้ชอบเดินทาง และไม่ค่อยได้ออกไปไหน ซึ่งความทรงจำต่าง ๆ จะทำให้เกิดความคุ้นเคย กับภาพสถานที่ ที่พึ่งเคยเห็นเป็นครั้งแรกได้ง่าย

 

เดจาวู กับฝันลึกลับ เดจาวู กับฝันลึกลับ

 

4. จดจำความฝัน

การที่เราฝัน และจดจำความฝันของตนเองได้นั้น อาจมีโอกาสเกิดเดจาวู ได้มากกว่าผู้ที่ไม่สามารถ จำความฝันของจนเองได้ ซี่งอธิบายได้ด้วยหลักการ การเดินทางไปตามสถานที่ต่าง ๆ เพราะภาพในความฝัน ก็อาจเป็นความทรงจำ ที่ก่อให้เกิดความคุ้นเคย ต่อสิ่งต่าง ๆ เช่นกัน

 

5. สมองทำงานผิดปกติ

ผู้เชี่ยวชาญบางคน คิดว่า อาการเดจาวู เกิดจากการทำงานของเซลล์ประสาท ที่เกิดความขัดข้อง โดยอาจเกิดขึ้น เมื่อสมอง ไม่สามารถประมวลผลข้อมูลจำนวนมาก ได้อย่างราบรื่น ทำให้การจัดเรียงข้อมูลต่าง ๆ ในสมองไม่เป็นระเบียบ เนื่องจากพบว่า บางคนเคยมีอาการเดจาวู ก่อนเกิดอาการชักเกร็ง และยังพบว่า อาจเกิดในผู้ป่วยสภาวะสมองเสื่อม เช่นกัน จึงเป็นไปได้ว่าจะเกี่ยวข้องกับ การทำงานของสมอง

 

อาการเดจาวู อันตรายมั้ย ?

อาการเดจาวู ไม่ก่อให้เกิดอันตราย แต่บางครั้ง มันอาจเป็นสัญญาณของโรค อย่างโรคลมชัก หรือปัญหาเกี่ยวกับสมอง ระบบประสาทได้ หากใครมีอาการบ่อย อย่างเดือนละ 2 - 3 ครั้ง หรือมากกว่านั้น ควรสังเกตอาการ และไปพบแพทย์ 

 

ยังไงก็ตาม อาการเดจาวู ยังไม่มีข้อสรุป และผลวิจัยที่แน่ชัด ว่ามีสาเหตุเกิดจากอะไร มีที่มายังไง มีเพียงทฤษฎีจากผู้เชี่ยวชาญต่าง ๆ อาการนี้ก็ยังคงเป็นอาการลึกลับ ที่ยังหาคำตอบไม่ได้ แต่ทฤษฎีที่มีอยู่ ก็มีความเป็นไปได้เช่นกัน

 

 

บทความจากพันธมิตร
เลือกเป้อุ้มเด็ก ยี่ห้อไหนดี ให้ปลอดภัยสะโพกเด็กไม่หลุด
เลือกเป้อุ้มเด็ก ยี่ห้อไหนดี ให้ปลอดภัยสะโพกเด็กไม่หลุด
วิธีเลือก ทิชชู่เปียกเด็ก ที่ปลอดภัย ไม่แพ้ ไม่คันผิว
วิธีเลือก ทิชชู่เปียกเด็ก ที่ปลอดภัย ไม่แพ้ ไม่คันผิว
Unique Ideas To Make Your Kitchen Look Elegant, Stylish and Appealing
Unique Ideas To Make Your Kitchen Look Elegant, Stylish and Appealing
สร้างความแข็งแกร่งของฮีโร่ตัวน้อย ด้วย LPR โพรไบโอติก ตัวดัง
สร้างความแข็งแกร่งของฮีโร่ตัวน้อย ด้วย LPR โพรไบโอติก ตัวดัง

ที่มาของข้อมูล : 1 , 2

 

บทความที่น่าสนใจ :

6 Tips สอนสมองลูกให้เรียนดีและมีความสุข

งานวิจัยเผย โครงสร้างสมองส่วนควบคุมอารมณ์สามารถถ่ายทอดจากแม่สู่ลูกสาวได้

7 เรื่องจริงของสมองลูก เพื่อการเรียนรู้ไม่สิ้นสุด

 

 

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

Waristha Chaithongdee

  • หน้าแรก
  • /
  • ไลฟ์สไตล์
  • /
  • เดจาวู ความลึกลับกับวิทยาศาสตร์ เกิดจากอะไร มีจริงหรือไม่ !?
แชร์ :
  • Paleoรูปแบบอาหารมนุษย์ยุคหิน การกินรูปแบบนี้ช่วยลดน้ำหนักได้ดีจริงหรือไม่ ?

    Paleoรูปแบบอาหารมนุษย์ยุคหิน การกินรูปแบบนี้ช่วยลดน้ำหนักได้ดีจริงหรือไม่ ?

  • แม่สงสัย ลูกจากไปเพราะ โรคPPHN จริงหรือ?

    แม่สงสัย ลูกจากไปเพราะ โรคPPHN จริงหรือ?

  • โอ้ละพ่อ! เด็ก ป.1 หายตัวปริศนา แจ้งตามหากันให้วุ่น สรุปสุดท้าย อยู่ในห้องเรียนนั่นแหละ !

    โอ้ละพ่อ! เด็ก ป.1 หายตัวปริศนา แจ้งตามหากันให้วุ่น สรุปสุดท้าย อยู่ในห้องเรียนนั่นแหละ !

  • เด็กหญิง 6 ขวบ อ้วกและสลบ หลังกินข้าวไข่คนมะเขือเทศ คาดเพราะมะเขือเทศไม่สุก !

    เด็กหญิง 6 ขวบ อ้วกและสลบ หลังกินข้าวไข่คนมะเขือเทศ คาดเพราะมะเขือเทศไม่สุก !

  • Paleoรูปแบบอาหารมนุษย์ยุคหิน การกินรูปแบบนี้ช่วยลดน้ำหนักได้ดีจริงหรือไม่ ?

    Paleoรูปแบบอาหารมนุษย์ยุคหิน การกินรูปแบบนี้ช่วยลดน้ำหนักได้ดีจริงหรือไม่ ?

  • แม่สงสัย ลูกจากไปเพราะ โรคPPHN จริงหรือ?

    แม่สงสัย ลูกจากไปเพราะ โรคPPHN จริงหรือ?

  • โอ้ละพ่อ! เด็ก ป.1 หายตัวปริศนา แจ้งตามหากันให้วุ่น สรุปสุดท้าย อยู่ในห้องเรียนนั่นแหละ !

    โอ้ละพ่อ! เด็ก ป.1 หายตัวปริศนา แจ้งตามหากันให้วุ่น สรุปสุดท้าย อยู่ในห้องเรียนนั่นแหละ !

  • เด็กหญิง 6 ขวบ อ้วกและสลบ หลังกินข้าวไข่คนมะเขือเทศ คาดเพราะมะเขือเทศไม่สุก !

    เด็กหญิง 6 ขวบ อ้วกและสลบ หลังกินข้าวไข่คนมะเขือเทศ คาดเพราะมะเขือเทศไม่สุก !

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
    • ก่อนตั้งครรภ์
    • การคลอด
    • ระยะการตั้งครรภ์
    • การคลอด
  • พัฒนาการลูก
    • ทารก
    • เด็กก่อนเข้าเรียน
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • การวางแผนการเงิน
    • การเลี้ยงลูก
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • นมแม่และนมผง
  • โภชนาการ
    • สินค้าเด็ก
    • นมผง
    • เมนูอาหาร
    • สินค้าแม่
  • เพิ่มเติม
    • TAP สังคมออนไลน์
    • ติดต่อโฆษณา
    • ติดต่อเรา
    • Influencer Marketing (KOL)
    • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Sri-Lanka flag Sri Lanka
  • India flag India
  • Vietnam flag Vietnam
  • Australia flag Australia
  • Japan flag Japan
  • Nigeria flag Nigeria
  • Kenya flag Kenya
© Copyright theAsianparent 2023. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

theAsianparent heart icon
เราต้องการส่งแจ้งเตือนข้อมูลข่าวสารไลฟ์สไตล์ที่น่าสนใจไปให้กับคุณ