X
TAP top app download banner
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้า
เข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • โภชนาการ เเม่ท้อง เเม่ให้นม
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • ตั้งชื่อลูก
  • แม่ผ่าคลอด
    • พัฒนาการเด็กผ่าคลอด
    • เตรียมตัวผ่าคลอด
    • สุขภาพเด็กผ่าคลอด
    • คู่มือคุณแม่ผ่าคลอด
    • การดูแลหลังผ่าคลอด
    • โภชนาการเด็กผ่าคลอด
  • หลังคลอด
    • คลอดธรรมชาติ
    • ผ่าคลอด
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

ทำไมเราถึงจำเรื่องราวในวัยเด็กไม่ได้ โดยเฉพาะ 3 - 4 ปีแรกของชีวิต!?

บทความ 5 นาที
ทำไมเราถึงจำเรื่องราวในวัยเด็กไม่ได้ โดยเฉพาะ 3 - 4 ปีแรกของชีวิต!?

นักจิตวิทยาไขปริศนาคาใจ ทำไมเราถึงจำเรื่องราวในวัยเด็กไม่ได้ !? สำหรับผู้คนส่วนใหญ่ เรามักจะไม่มีความทรงจำใด ๆ ในช่วง 3 – 4 ปีแรก ของชีวิต หรือหากพูดให้ชัด ๆ ก็คือ ในช่วง 7 ปีแรก เราแทบจะ ไม่มีความทรงจำในช่วงนั้นอยู่เลย  เพราะอะไร ทำไมเราถึงจำเรื่องราวในวัยเด็กไม่ได้ ไม่ว่าเราจะพยายามนึกเท่าไร แต่ก็นึกไม่ออก มีเพียงแค่ความทรงจำที่เลือนลางเท่านั้น  

 

ปรากฏการณ์ ในรูปแบบนี้ เป็นสิ่งที่เรารู้จักกันในชื่อ “ภาวะเสียความจำในวัยเด็ก” (Childhood Amnesia) ปรากฏการณ์ ที่แม้แต่นักจิตวิทยาก็ยังคงพยายามหาคำตอบกันเรื่อยมาว่ามันเกิดขึ้นเพราะอะไร

 

อ้างอิงจากคุณ Jeanne Shinskey อาจารย์อาวุโส และผู้อำนวยการห้องปฏิบัติการภาควิชาจิตวิทยา หากเรามองกันโดยเผิน ๆ การที่เราจำอะไรในวัยเด็กไม่ได้เลยนั้น ก็คงมีความเป็นไปได้สูง ที่จะมาจาก การที่ในตอนเด็ก สมองของเรานั้นจะยังพัฒนาได้ไม่เต็มที่

 

แนวคิดนี้ เกิดขึ้นจากการที่ สมองส่วนฮิปโปแคมปัส (Hippocampus) ที่มีความสำคัญ ต่อการจัดเก็บความทรงจำระยะสั้น ไปไว้ในความทรงจำระยะยาว โดยมากจะใช้เวลาพัฒนาจน เราอายุได้ราวๆ 7 ปี

 

อย่างไรก็ตาม จากการทดลองในอดีต นักวิทยาศาสตร์กลับพบว่า แม้แต่เด็กอายุ 6 เดือน เอง ส่วนมาก ก็จะมีความสามารถ ในการจดจำการเล่นของเล่น ในระยะยาวแล้ว

 

ดังนั้น ปัญหาความทรงจำของเรา จึงไม่น่าจะมาจากการที่เราจำอะไรไม่ได้ตั้งแต่ต้น แต่เป็นเพราะ เราลืมมันไปมากกว่า

 

นั่นนำมาซึ่ง ความเป็นไปได้ที่สองนั่นคือ ในวัยเด็ก เราน่าจะยังมีความรู้ด้านภาษา ไม่มากพอที่จะจดจำอะไรเป็นเวลานาน

Why cant we remember our childhood 2

Why can’t we remember our childhood 2

นี่อาจจะเป็นอะไร ที่ฟังดูแปลกสำหรับหลาย ๆ คน แต่เชื่อหรือไม่ว่า นักวิทยาศาสตร์นั้น ได้พิสูจน์มาแล้ว ว่ามนุษย์จะจำอะไรได้ดีขึ้น หากเราเปลี่ยนความทรงจำของตัวเองเป็นภาษา

Advertisement

ด้วยเหตุนี้ มันจึงอาจจะไม่ใช่เรื่องแปลก ที่เราจะลืมความทรงจำส่วนใหญ่ในวัยเด็กไป เพราะสมองของเรานั้น ยังไม่มีคําศัพท์มากพอ ที่จะใช้เปลี่ยนความทรงจำ

 

ซึ่งทำให้ในวัยเด็ก เราจะแทบจำอะไรไม่ได้เลย และยิ่งเราเรียนภาษามกาขึ้นเท่าไร ความทรงจำของเราก็จะยิ่งชัดเจนขึ้นตามไปด้วย

 

แต่แม้ว่า แนวคิดเรื่องภาษา จะดูน่าเชื่อก็ตาม แต่มันก็ไม่ใช่แนวคิดเดียว ที่พยายามจะอธิบาย การหลงลืม ความทรงจำสมัยยังเป็นเด็กของเรา เช่นกัน เพราะวัฒนธรรม และสังคมเอง จริง ๆ แล้ว ก็อาจจะมีส่วนเกี่ยวข้อง กับความทรงจำของเราได้ด้วย

 

นั่นอาจเป็นเพราะ นักวิทยาศาสตร์นั้น ได้พบว่า ชาวเมารีส่วนใหญ่นั้น จะสามารถจำความได้ตั้งแต่อายุประมาณ 2.5 ปี เท่านั้น ซึ่งถือว่าเร็วที่สุด ในบรรดาคนจากทั่วโลก

แต่คำถามนี้ ก็ยังไม่มีคำตอบ ว่าเพราะอะไร ที่ทำให้ผู้ใหญ่ของชาวเมารี เป็นเช่นนั้น อย่างไรก็ตาม นักวิจัยเชื่อว่า มันอาจจะเกี่ยวกับการที่พ่อแม่ชาวเมารี มักจะมีการเล่าเรื่องราว เหตุการณ์ ของครอบครัวที่ซับซ้อน ซึ่งรวมไปถึง เรื่องราวของตัวเด็ก ๆ เอง ให้แก่ลูก หลาน ของตัวเอง ฟังอยู่บ่อย ๆ ก็มีความเป็นไปได้ 

 

บทความจากพันธมิตร
การมีสติ ฉบับเด็ก ๆ เป็นอย่างไร ฝึกลูกให้มีสติ ท่ามกลางโลกที่วุ่นวาย
การมีสติ ฉบับเด็ก ๆ เป็นอย่างไร ฝึกลูกให้มีสติ ท่ามกลางโลกที่วุ่นวาย
ส่งเสริมพัฒนาการเด็กยุคใหม่ด้วย ทักษะ Executive Function
ส่งเสริมพัฒนาการเด็กยุคใหม่ด้วย ทักษะ Executive Function
ปี 2567 เด็กป่วยด้วยโรคอะไร? LUMA แบ่งปันสถิติให้เข้าใจมากขึ้น
ปี 2567 เด็กป่วยด้วยโรคอะไร? LUMA แบ่งปันสถิติให้เข้าใจมากขึ้น
Value Health (Kids) ประกันสุขภาพสำหรับลูกน้อย เจ้าของรางวัล Most Promising จากเวที TAP Awards 2023
Value Health (Kids) ประกันสุขภาพสำหรับลูกน้อย เจ้าของรางวัล Most Promising จากเวที TAP Awards 2023

ในท้ายที่สุดแล้ว แม้ว่านักวิทยาศาสตร์ จะยังคงหาคำตอบที่แน่ชัดว่าทำไม เราถึงจำเรื่องราวในวัยเด็กไม่ค่อยได้ แต่พวกเขาก็กำลังค่อย ๆ เข้าใกล้ความจริงปัญหานี้เข้าไปเรื่อย ๆ

และหากมองว่า ตามปกติ มนุษย์เราก็หลงลืมเรื่องราวส่วนใหญ่ ที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวันอยู่แล้ว มันก็ไม่แน่ เหมือนกันว่า การจำช่วงชีวิตในวัยเด็กไม่ได้ มันก็คงจะไม่ใช่เรื่องที่เลวร้ายสักเท่าไร

Why cant we remember our childhood i

Why can’t we remember our childhood i

theAsianparent Thailand เชื่อว่าการศึกษาที่ดี จะช่วยเสริมสร้างรากฐานที่ดีให้กับเด็ก เป็นการเริ่มต้นสร้างสภาะแวดล้อมในการเรียนรู้ได้อย่างสมวัย และเป็นไปตามที่พ่อแม่ต้องการการเลือกโรงเรียนให้กับลูกคือหัวใจหนึ่งของการศึกษา เพราะการเลือกโรงเรียนตั้งแต่เนอสเซอรี่ การเลือกโรงเรียนอนุบาล เป็นด่านแรกที่จะช่วยเสริมสร้างพัฒนาการให้กับลูกได้ เช่น มีหลักสูตรที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง หลักสูตรวิชาการที่พอดีกับการเรียนรู้ การใช้ Play Base Learning เพื่อเสริทสร้างพหุปัญญษทั้ง 8 ด้าน หรือ EF ที่ทำให้ลูกได้เรียนรู้ทั้ง Hard Skill และ Soft Skill อย่างสมดุลย์ เพราะการเรียนรู้ที่ดี สามารถเรียนรู้ได้ต่อเนื่องไม่จำกัด และทำให้เด็กค้นพบตัวตน และมีความสุขกับการเรียนรู้ได้ด้วยตัวเอง

 

ที่มา :  www.catdumb.tv

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

12 วิธีที่ผู้ปกครองสามารถช่วยให้เด็กฝึกความจำได้ดี วิธีทำให้ความทรงจำดีขึ้น

5 ความทรงจำในวัยเด็กที่ลูกจะจดจำ เกี่ยวกับพ่อแม่ อย่าคิดว่าลูกไม่รู้เรื่องนะ!

อยากให้ลูกฉลาดต้องกินอะไร ? 7 อาหารบำรุงสมองลูก ให้ลูกกินบ่อยๆ เเล้วฉลาด ความจำดี

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

@GIM

  • หน้าแรก
  • /
  • ชีวิตครอบครัว
  • /
  • ทำไมเราถึงจำเรื่องราวในวัยเด็กไม่ได้ โดยเฉพาะ 3 - 4 ปีแรกของชีวิต!?
แชร์ :
  • หากลูกหมกมุ่นกับ 3 สิ่งนี้... พฤติกรรมที่ผู้ปกครองควรจับตา และรับมืออย่างทันท่วงที

    หากลูกหมกมุ่นกับ 3 สิ่งนี้... พฤติกรรมที่ผู้ปกครองควรจับตา และรับมืออย่างทันท่วงที

  • เทคนิคเลี้ยงลูกตามวัย สร้างสายใยไว้ใจ เลี้ยงลูกยังไง ให้กล้าคุยกับพ่อแม่

    เทคนิคเลี้ยงลูกตามวัย สร้างสายใยไว้ใจ เลี้ยงลูกยังไง ให้กล้าคุยกับพ่อแม่

  • อย่ามองแค่เกรด! 5 ทักษะที่มีค่าที่สุด ช่วยลูกรับมือกับอุปสรรคในชีวิต

    อย่ามองแค่เกรด! 5 ทักษะที่มีค่าที่สุด ช่วยลูกรับมือกับอุปสรรคในชีวิต

  • หากลูกหมกมุ่นกับ 3 สิ่งนี้... พฤติกรรมที่ผู้ปกครองควรจับตา และรับมืออย่างทันท่วงที

    หากลูกหมกมุ่นกับ 3 สิ่งนี้... พฤติกรรมที่ผู้ปกครองควรจับตา และรับมืออย่างทันท่วงที

  • เทคนิคเลี้ยงลูกตามวัย สร้างสายใยไว้ใจ เลี้ยงลูกยังไง ให้กล้าคุยกับพ่อแม่

    เทคนิคเลี้ยงลูกตามวัย สร้างสายใยไว้ใจ เลี้ยงลูกยังไง ให้กล้าคุยกับพ่อแม่

  • อย่ามองแค่เกรด! 5 ทักษะที่มีค่าที่สุด ช่วยลูกรับมือกับอุปสรรคในชีวิต

    อย่ามองแค่เกรด! 5 ทักษะที่มีค่าที่สุด ช่วยลูกรับมือกับอุปสรรคในชีวิต

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • พัฒนาการลูก
  • ชีวิตครอบครัว
  • ระยะการตั้งครรภ์
  • โภชนาการ
  • ไลฟ์สไตล์
  • TAP สังคมออนไลน์
  • ติดต่อโฆษณา
  • ติดต่อเรา
  • Influencer Marketing (KOL)
  • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Vietnam flag Vietnam
© Copyright theAsianparent 2025. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว