X
TAP top app download banner
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้า
เข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • โภชนาการ เเม่ท้อง เเม่ให้นม
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • ตั้งชื่อลูก
  • แม่ผ่าคลอด
    • พัฒนาการเด็กผ่าคลอด
    • เตรียมตัวผ่าคลอด
    • สุขภาพเด็กผ่าคลอด
    • คู่มือคุณแม่ผ่าคลอด
    • การดูแลหลังผ่าคลอด
    • โภชนาการเด็กผ่าคลอด
  • หลังคลอด
    • คลอดธรรมชาติ
    • ผ่าคลอด
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

งานวิจัยเผย โครงสร้างสมองส่วนควบคุมอารมณ์สามารถถ่ายทอดจากแม่สู่ลูกสาวได้

บทความ 3 นาที
งานวิจัยเผย โครงสร้างสมองส่วนควบคุมอารมณ์สามารถถ่ายทอดจากแม่สู่ลูกสาวได้

คำพังเพยที่ว่า “ดูช้างให้ดูที่หาง ดูนางให้ดูที่แม่” ดูท่าจะเป็นจริง ล่าสุด มีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์สนับสนุนว่า แม่และลูกสาวมีโครงสร้างสมองส่วนที่ควบคุมอารมณ์คล้ายคลึงกัน...

นี่เป็นผลงานวิจัยชิ้นแรกที่ทดลองสแกนสมองทั้งพ่อแม่และลูกแล้วพบว่า โครงสร้างสมองส่วนที่เกี่ยวข้องกับโรคซึมเศร้าอาจถ่ายทอดทางพันธุกรรมจากแม่สู่ลูกสาวได้

วารสาร Journal of Neuroscience เมื่อปลายเดือนมกราคมที่ผ่านมาได้ตีพิมพ์ผลงานของทีมนักวิจัยที่นำโดย Dr. Fumiko Hoeft รองศาสตราจารย์ด้านจิตเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย ซานฟรานซิโก ซึ่งศึกษาเปรียบเทียบโครงสร้างสมองของพ่อแม่ลูกจำนวน 35 ครอบครัวโดยใช้วิธีสแกนสมองด้วยแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI) เพื่อวัดปริมาตรของเนื้อสมองสีเทาในระบบคอร์ติโคลิมบิก (corticolimbic system)

ผลการวิจัยพบว่า

  • สมองส่วนคอร์ติโคลิมบิกของแม่และลูกสาวคล้ายคลึงกันอย่างมีนัยสำคัญ
  • ความคล้ายคลึงดังกล่าวในคู่แม่-ลูกสาวสูงกว่าในคู่แม่-ลูกชาย หรือพ่อ-ลูก (ทั้งลูกสาวและลูกชาย) อย่างเห็นได้ชัด
  • เนื่องจากคอร์ติโคลิมบิกเป็นส่วนควบคุมอารมณ์และเกี่ยวข้องอย่างมากกับโรคอารมณ์แปรปรวนอย่างโรคซึมเศร้า จึงอนุมานได้ว่า โรคซึมเศร้าอาจถ่ายทอดจากแม่สู่ลูกสาวได้
  • แต่นี่ไม่ได้หมายความว่าถ้าแม่เป็นโรคซึมเศร้าแล้วลูกสาวต้องเป็นตาม เพราะยังมีปัจจัยอื่น ๆ ที่ส่งผลให้เกิดโรคซึมเศร้าได้เช่นกัน ตัวอย่างเช่น ยีนอื่นที่ไม่ได้ถ่ายทอดทางพันธุกรรม สภาพแวดล้อมทางสังคม และเหตุการณ์ต่าง ๆ ในชีวิต เป็นต้น ปัจจัยด้านสมองที่ค้นพบเป็นเพียงปัจจัยหนึ่งเท่านั้น

งานวิจัยชิ้นนี้เป็นการเปิดมิติใหม่ของการศึกษาอิทธิพลของพันธุกรรมที่มีต่อโครงสร้างสมองมนุษย์ เพื่อเพิ่มความเข้าใจเรื่องโรคซึมเศร้าและโรคผิดปกติทางจิตประสาทต่าง ๆ เพราะโรคพวกนี้ส่วนใหญ่ได้รับอิทธิพลจากพันธุกรรมที่ถ่ายทอดกันจากรุ่นสู่รุ่น ไม่ว่าจะเป็นโรควิตกจริต ออทิสติก จิตเภท หรือโรคบกพร่องด้านการเรียนรู้

อย่างไรก็ดี งานวิจัยชิ้นนี้ไม่ได้ศึกษาครอบครัวผู้ป่วยโรคซึมเศร้าโดยตรงและกลุ่มตัวอย่างมีขนาดเล็ก ดังนั้นควรศึกษาเพิ่มเติมเพื่อพิสูจน์ความถูกต้องของข้ออนุมานที่ว่าโรคซึมเศร้าอาจถ่ายทอดจากแม่สู่ลูกสาวได้ นอกจากนี้ ยังต้องศึกษารายละเอียดด้วยว่า โครงสร้างสมองที่รับสืบทอดจากพันธุกรรมนี้ แท้จริงแล้วได้รับอิทธิพลจากยีน ปัจจัยแวดล้อมก่อนคลอด และปัจจัยแวดล้อมหลังคลอดมากน้อยต่างกันเพียงใด

บทความจากพันธมิตร
ดูแลทารกแรกเกิดวิกฤติน้ำหนักเพียง 500 กรัมสำเร็จ ด้วยความเชี่ยวชาญระดับสากล ที่ โรงพยาบาลเด็กสมิติเวช อินเตอร์เนชั่นแนล
ดูแลทารกแรกเกิดวิกฤติน้ำหนักเพียง 500 กรัมสำเร็จ ด้วยความเชี่ยวชาญระดับสากล ที่ โรงพยาบาลเด็กสมิติเวช อินเตอร์เนชั่นแนล
เคล็ดลับดูแลครรภ์ และ สร้างภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อย
เคล็ดลับดูแลครรภ์ และ สร้างภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อย
โรคภูมิแพ้ในเด็ก ป้องกันได้ตั้งแต่แรกเกิด ด้วยนมแม่ที่มีคุณสมบัติเป็น H.A. (Hypoallergenic)
โรคภูมิแพ้ในเด็ก ป้องกันได้ตั้งแต่แรกเกิด ด้วยนมแม่ที่มีคุณสมบัติเป็น H.A. (Hypoallergenic)
พ่อแม่ต้องรู้! วิธีป้องกัน RSV ในเด็ก ช่วยลูกไม่ป่วยหนัก
พ่อแม่ต้องรู้! วิธีป้องกัน RSV ในเด็ก ช่วยลูกไม่ป่วยหนัก
Advertisement

ที่มา : theindusparent.com

บทความอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง :

การวิจัยพบ พ่อแม่ติดเล่นมือถือ กีดกั้นการพัฒนาสมองของลูก

รับมือโรคซึมเศร้าในเด็ก

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

ขวัญชนก ธนาภิกรกุล

  • หน้าแรก
  • /
  • สุขภาพ
  • /
  • งานวิจัยเผย โครงสร้างสมองส่วนควบคุมอารมณ์สามารถถ่ายทอดจากแม่สู่ลูกสาวได้
แชร์ :
  • หมอห่วง เด็ก 0-4 ขวบป่วยโควิดเยอะ ป่วยช่วงนี้ เสี่ยงโควิดสูงกว่าไข้หวัดใหญ่

    หมอห่วง เด็ก 0-4 ขวบป่วยโควิดเยอะ ป่วยช่วงนี้ เสี่ยงโควิดสูงกว่าไข้หวัดใหญ่

  • ลูกเป็นไข้ อาบน้ำได้ไหม วิธีไหนลดไข้เร็วที่สุด

    ลูกเป็นไข้ อาบน้ำได้ไหม วิธีไหนลดไข้เร็วที่สุด

  • เลี้ยงลูกปลอดภัย กินอย่างไร ไม่เสี่ยง โรคแอนแทรกซ์

    เลี้ยงลูกปลอดภัย กินอย่างไร ไม่เสี่ยง โรคแอนแทรกซ์

  • หมอห่วง เด็ก 0-4 ขวบป่วยโควิดเยอะ ป่วยช่วงนี้ เสี่ยงโควิดสูงกว่าไข้หวัดใหญ่

    หมอห่วง เด็ก 0-4 ขวบป่วยโควิดเยอะ ป่วยช่วงนี้ เสี่ยงโควิดสูงกว่าไข้หวัดใหญ่

  • ลูกเป็นไข้ อาบน้ำได้ไหม วิธีไหนลดไข้เร็วที่สุด

    ลูกเป็นไข้ อาบน้ำได้ไหม วิธีไหนลดไข้เร็วที่สุด

  • เลี้ยงลูกปลอดภัย กินอย่างไร ไม่เสี่ยง โรคแอนแทรกซ์

    เลี้ยงลูกปลอดภัย กินอย่างไร ไม่เสี่ยง โรคแอนแทรกซ์

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • พัฒนาการลูก
  • ชีวิตครอบครัว
  • ระยะการตั้งครรภ์
  • โภชนาการ
  • ไลฟ์สไตล์
  • TAP สังคมออนไลน์
  • ติดต่อโฆษณา
  • ติดต่อเรา
  • Influencer Marketing (KOL)
  • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Vietnam flag Vietnam
© Copyright theAsianparent 2025. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว