X
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
  • อยากท้อง
  • ตั้งครรภ์
    • คำนวณวันคลอด
    • ฉันกำลังตั้งครรภ์
    • ไตรมาสที่ 1
    • ไตรมาสที่ 2
    • ไตรมาสที่ 3
    • Project Sidekicks
    • ตั้งชื่อลูก
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • พัฒนาการลูก
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • การศึกษา
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • อีเว้นท์
    • TAP Awards Winners
    • TAP idol
    • TAP x Safari Largest Treasure Hunt
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

รวมเรื่องอันตรายที่มักเกิดกับลูกวัย 1-2 ขวบ

บทความ 3 นาที
รวมเรื่องอันตรายที่มักเกิดกับลูกวัย 1-2 ขวบรวมเรื่องอันตรายที่มักเกิดกับลูกวัย 1-2 ขวบ

วัยเตาะแตะหรือที่เรียกว่า Toddler จะอยู่ในช่วงอายุประมาณ 1- 3 ขวบ เป็นช่วงที่ต่อจากวัยของทารก เด็กในวัยนี้จะมีพัฒนาการในด้านต่าง ๆ ที่ชัดเจนขึ้น เช่น การเดินได้ จับสิ่งของได้ถนัดมือขึ้น มีความคิด และชุดคำถามมากมายสำหรับพ่อแม่ และเมื่อเข้าสู่วัยนี้แล้ว อันตรายและอุบัติเหตุรอบตัวก็อาจจะเกิดขึ้นตามมาได้มากมาย ที่พ่อควรต้องระวังและอย่าประมาท

อันตรายที่เกิดขึ้นกับลูกเพียงพริบตาอาจทำให้พ่อแม่ต้องเสียใจไปตลอดชีวิต การป้องกันอุบัติเหตุจึงเป็นเรื่องสำคัญที่พ่อแม่ควรใส่ใจเป็นอันดับต้น ๆ ในการดูแลลูกให้ปลอดภัย

อันตรายที่มักเกิดกับวัยเตาะแตะในช่วง 1-2 ขวบ

อันตรายที่เกิด ลูกวัย 1-2 ขวบ

#อันตรายจากการพลัดตกจากที่สูง

เด็กวัย 1 ขวบเริ่มที่จะขยับแข้งขา เคลื่อนที่เองได้แล้ว ดังนั้นการปล่อยให้ลูกนอนเล่นบนเตียงเป็นเรื่องที่ไม่ควรชะล่าใจ ไม่ควรทิ้งลูกเล็กไว้ตามลำพังขณะให้นอนอยู่บนเตียงหรือที่สูงที่ไม่มีราวกั้น และไม่ควรวางเตียงเด็กไว้ใกล้หน้าต่างเพราะอาจเสี่ยงต่อการพลัดตกได้

Read : เด็ก 3 ขวบพลัดตกระเบียง เหตุพ่อแม่ทิ้งอยู่บ้านลำพัง

#อันตรายจากของใช้ภายในบ้าน

เพราะเด็กวัยเตาะแตะเริ่มที่คลานเคลื่อนไหวได้เอง และสามารถใช้มือนิ้วจับสิ่งของต่าง ๆ ได้ อันตรายที่เกิดภายในบ้าน เช่น ชนมุมเหลี่ยมคนจากเฟอร์นิเตอร์ต่าง ๆ อันตรายจากปลั๊กไฟ พื้นบ้านลื่นเสี่ยงต่อการเดินลื่นหกล้ม การชอบปีนบันไดของลูก ฯลฯ

อันตรายที่เกิด ลูกวัย 1-2 ขวบ

#อันตรายจากรถหัดเดิน

คุณแม่ส่วนใหญ่มักเข้าใจผิด ๆ ว่าการใช้รถหัดเดินจะช่วยให้ลูกเดินได้แข็งแรงเร็วขึ้น แต่จริง ๆ การใช้รถหัดเดินจะไม่ได้ทำให้ลูกเดินได้เร็วขึ้นและยังทำให้พัฒนาการโดยทั่วไปของลูกช้าลงด้วย และอาจทำให้ลูกเดินพลิกคว่ำหรือตกบันไดจากการใช้รถหัดเดินอีกด้วย

Read : รถหัดเดิน อุบัติภัยใกล้ตัวเด็ก อันตรายที่แม่คาดไม่ถึง

อันตรายที่เกิด ลูกวัย 1-2 ขวบ

# อันตรายจากการหยิบของเข้าปาก

เมื่อเด็กเริ่มใช้มือและนิ้วได้คล่องขึ้น ความอยากรู้อยากเห็นเริ่มตามมา ลูกในวัยนี้อาจใช้มือหยิบของชิ้นเล็กเข้าปากได้โดยไม่รู้ว่าสิ่งนั้นคืออะไร ซึ่งจะทำให้เกิดการสำลักอุดกั้นทางเดินหายใจ เป็นอันตรายถึงแก่ชีวิตได้ ดังนั้น ไม่ควรปล่อยให้ลูกวัยนี้เล่นของเล่นเพียงลำพังโดยเฉพาะของชิ้นเล็ก ๆ และควรเลือกของเล่นที่เหมาะสำหรับเด็กให้ชิ้นใหญ่กว่าแกนทิชชู่ มีส่วนประกอบที่หนาแน่น ไม่หลุดง่าย

Read : ระวัง! อาหารอันตรายเสี่ยงติดคอลูกวัย 1-2 ปี

อันตรายที่เกิด ลูกวัย 1-2 ขวบ

#อันตรายจากจุกนมหลอก

จุกนมหลอกที่ให้ลูกใช้ต้องมีขนาดไม่เล็กหรือใหญ่จนเกินไป ไม่มีรอยฉีกขาดระหว่างจุกนมและฐาน ไม่ควรใช้สายคล้องคอเพื่อป้องกันการรัดคอลูก

Read : จุกหลอก: ข้อดีและข้อเสียที่พ่อแม่ควรรู้

#อันตรายจากถุงพลาสติก

ถุงพลาสติกที่เผลอลืมวางเอาไว้ ก็เป็นของที่ทำให้เกิดอันตรายกับลูกน้อยได้ เพราะลูกอาจมุดเข้าถึง หรือหยิบจับถุงมาคลุมหัวเล่น แล้วไม่สามารถดึงออก ทำให้ขาดอากาศหายใจได้ นอกจากการเก็บถุงพลาสติกขึ้นให้มิดชิดพ้นจากมือลูกแล้ว ก็ยังไม่ควรใช้ถุงพลาสติกมาใส่ของเล่นลูก

#อันตรายจากของร้อน

ในขณะที่อุ้มลูกไม่ควรถือของร้อนไปด้วย หรือหลีกเลี่ยงการวางของร้อนบริเวณขอบโต๊ะเพราะลูกอาจคลานไปชนหรือดึงผ้าปูโต๊ะที่ทำให้ของหล่นใส่ลูกได้

อันตรายที่เกิด ลูกวัย 1-2 ขวบ

#อันตรายจากการโดยสารรถยนต์

ที่นั่งที่ปลอดภัยสำหรับเด็กทุกวัยคือ ที่นั่งด้านหลังรถ และวิธีที่ปลอดภัยคือการให้ลูกได้นั่งคาร์ซีท โดยติดตั้งบนเบาะหลังและหันหน้าเข้าไปที่เบาะ เพื่อช่วยลดความเสี่ยงต่อการบาดเจ็บของไขสันหลังคอหากเกิดอุบัติเหตุ หากไม่สามารถติดตั้งบนเบาะหลังได้ ให้ติดตั้งเบาะหน้ารถที่ไม่มีถุงลมนิรภัย เพราะถุงลมที่กางออกจะทำให้เด็กได้รับบาดเจ็บได้ ถ้าหลีกเลี่ยงไม่ได้ควรถอยเบาะนั่งออกมาให้ห่างจากถุงลมนิรภัยให้มากที่สุด และไม่ควรให้เด็กนั่งตักขณะขับรถ รวมถึงจักรยานและจักรยานยนต์ด้วย

Read : 8 เรื่องควรรู้ไว้เมื่อใช้คาร์ซีท

แหล่งที่มา : www.ped.md.chula.ac.th

บทความจากพันธมิตร
เพราะการศึกษาลูกเป็นสิ่งสำคัญ เพิ่มความมั่นคงทางการเงินในอนาคต ด้วยประกันสะสมทรัพย์ Saving 20/10
เพราะการศึกษาลูกเป็นสิ่งสำคัญ เพิ่มความมั่นคงทางการเงินในอนาคต ด้วยประกันสะสมทรัพย์ Saving 20/10
อัปเดต แอปพลิเคชันดูแลสุขภาพ  ALive Powered by AIA ใคร ๆ ก็มีไว้ในสมาร์ตโฟน
อัปเดต แอปพลิเคชันดูแลสุขภาพ ALive Powered by AIA ใคร ๆ ก็มีไว้ในสมาร์ตโฟน
5 เคล็ดลับการเลือก รถยนต์อเนกประสงค์สำหรับครอบครัว ปลอดภัย พร้อมไปทุกที่ได้อย่างมั่นใจ
5 เคล็ดลับการเลือก รถยนต์อเนกประสงค์สำหรับครอบครัว ปลอดภัย พร้อมไปทุกที่ได้อย่างมั่นใจ
เผยเคล็ดลับการเรียนออนไลน์ที่จะทำให้ลูกตั้งใจเรียนมากขึ้น!
เผยเคล็ดลับการเรียนออนไลน์ที่จะทำให้ลูกตั้งใจเรียนมากขึ้น!

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :
5 อุบัติเหตุพบบ่อยในลูกวัยเตาะแตะที่ไม่ควรมองข้ามอย่างแรง!
7 สิ่งที่อาจเป็นอันตรายต่อทารกในครรภ์

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

Napatsakorn .R

  • หน้าแรก
  • /
  • ชีวิตครอบครัว
  • /
  • รวมเรื่องอันตรายที่มักเกิดกับลูกวัย 1-2 ขวบ
แชร์ :
  • พัฒนาการลูกวัย 2 ขวบ เด็กวัยเตาะเตะต้องเรียนรู้อะไรบ้าง

    พัฒนาการลูกวัย 2 ขวบ เด็กวัยเตาะเตะต้องเรียนรู้อะไรบ้าง

  • วิธีพูดกับลูกวัยอนุบาล พูดอย่างไรให้ลูกเชื่อฟังไม่ต่อต้าน

    วิธีพูดกับลูกวัยอนุบาล พูดอย่างไรให้ลูกเชื่อฟังไม่ต่อต้าน

  • 12 ท่ายาก ท่ามีเพศสัมพันธ์ คะแนนเยอะ ตามตำรากามสูตร ที่คืนนี้ต้องจัด

    12 ท่ายาก ท่ามีเพศสัมพันธ์ คะแนนเยอะ ตามตำรากามสูตร ที่คืนนี้ต้องจัด

  • ใจสลาย หมอบอกว่าลูกเสียเพราะเกินกำหนดคลอด สายรกเสื่อม

    ใจสลาย หมอบอกว่าลูกเสียเพราะเกินกำหนดคลอด สายรกเสื่อม

app info
get app banner
  • พัฒนาการลูกวัย 2 ขวบ เด็กวัยเตาะเตะต้องเรียนรู้อะไรบ้าง

    พัฒนาการลูกวัย 2 ขวบ เด็กวัยเตาะเตะต้องเรียนรู้อะไรบ้าง

  • วิธีพูดกับลูกวัยอนุบาล พูดอย่างไรให้ลูกเชื่อฟังไม่ต่อต้าน

    วิธีพูดกับลูกวัยอนุบาล พูดอย่างไรให้ลูกเชื่อฟังไม่ต่อต้าน

  • 12 ท่ายาก ท่ามีเพศสัมพันธ์ คะแนนเยอะ ตามตำรากามสูตร ที่คืนนี้ต้องจัด

    12 ท่ายาก ท่ามีเพศสัมพันธ์ คะแนนเยอะ ตามตำรากามสูตร ที่คืนนี้ต้องจัด

  • ใจสลาย หมอบอกว่าลูกเสียเพราะเกินกำหนดคลอด สายรกเสื่อม

    ใจสลาย หมอบอกว่าลูกเสียเพราะเกินกำหนดคลอด สายรกเสื่อม

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
    • ก่อนตั้งครรภ์
    • การคลอด
    • ระยะการตั้งครรภ์
    • การคลอด
  • พัฒนาการลูก
    • ทารก
    • เด็กก่อนเข้าเรียน
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • การวางแผนการเงิน
    • การเลี้ยงลูก
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • นมแม่และนมผง
  • โภชนาการ
    • สินค้าเด็ก
    • นมผง
    • เมนูอาหาร
    • สินค้าแม่
  • เพิ่มเติม
    • TAP สังคมออนไลน์
    • ติดต่อโฆษณา
    • ติดต่อเรา
    • Influencer Marketing (KOL)
    • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Sri-Lanka flag Sri Lanka
  • India flag India
  • Vietnam flag Vietnam
  • Australia flag Australia
  • Japan flag Japan
  • Nigeria flag Nigeria
  • Kenya flag Kenya
© Copyright theAsianparent 2022. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

theAsianparent heart icon
เราต้องการส่งแจ้งเตือนข้อมูลข่าวสารไลฟ์สไตล์ที่น่าสนใจไปให้กับคุณ