ธาตุทองแดง หรือ Copper มีสรรพคุณและประโยชน์อย่างไรบ้าง ถ้าพูดถึงธาตุทองแดง หลายคนคงคิดแล้วคิดอีกว่ามันคืออะไร แล้วมีความจำเป็นอย่างไรต่อร่างกาย วันนี้เราลองมาศึกษาข้อมูลของธาตุทองแดงกันดีกว่า เพราะว่ามีดีกว่าที่คิด
ธาตุทองแดง คือ?
คุณอาจจะคิดว่าทองแดงนั้นจะต้องเกี่ยวข้องกับระบบไฟฟ้า หรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์เป็นแน่ ๆ แต่ในอีกบทบาทหนึ่ง ทองแดงเป็นแร่ธาตุสำคัญอย่างหนึ่งที่เรานำเข้าสู่ร่างกายของเรา ที่จะช่วยเสริมสร้างความแข็งแรง และช่วยในการเจริญเติบโตของคุณตั้งแต่อยู่ในครรภ์ได้ ดังนั้น ธาตุทองแดง จึงสำคัญต่อร่างกายเรามาก ๆ โดยองค์การอนามัยโลก หรือ WHO (World Health Organization) มีข้อกำหนดเกี่ยวกับทองแดงกล่าวว่า โลกของเรานั้นอาจมีภาวะการขาดแคลนของธาตุทองแดงมากกว่าการที่ธาตุทองแดงจะทำพิษต่อร่างกาย ถึงแม้จะเป็นประเทศที่พัฒนาแล้วก็ตามก็มีความเป็นไปได้ที่ประชากรจะขาดธาตุทองแดง ซึ่งอาจนำไปสู่ปัญหาด้านสุขภาพต่าง ๆ มากมาย
ปริมาณธาตุทองแดงที่ร่างกายต้องการ
ธาตุทองแดง เป็นอีกหนึ่งธาตุที่ร่างกายต้องการ โดยร่างกายของคนเราไม่ต้องการเป็นจำนวนมาก แต่ถึงอย่างไรก็ไม่ควรอยู่ในระดับที่ต่ำหรือสูงจนเกินไป ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อร่างกายได้ โดยในแต่ละช่วงวัยต้องการปริมาณธาตุทองแดง ดังนี้
- แรกเกิดถึงอายุ 3 ปี : 200 – 340 ไมโครกรัม (mcg)
- ช่วงอายุ 4-8 ปี : 440 ไมโครกรัม (mcg)
- ช่วงอายุ 9-13 ปี : 700 ไมโครกรัม (mcg)
- อายุ 14-18 ปี : 890 ไมโครกรัม (mcg)
- อายุ 19 ปีขึ้นไป : 900 ไมโครกรัม (mcg)
บทความที่เกี่ยวข้อง : อาหารบำรุงครรภ์คุณแม่ ที่มีประโยชน์มีอะไรบ้าง แม่ท้องควรทานอาหารแบบไหน?
สามารถพบธาตุทองแดงได้จากที่ไหนบ้าง?
- อาหารทะเล (หอยนางรม กุ้งมังกร ปลาหมึก หอยแมลงภู่)
- เครื่องในวัว (ตับ ไต หรือหัวใจ)
- ถั่ว (เม็ดมะม่วงหิมพานต์ อัลมอนด์ พิสตาชิโอ พีแคน ถั่วแมคาเดเมีย ถั่วลิสง ถั่วเลนทิล ถั่วเหลือง ถั่วขาว)
- ช็อกโกแลต หรือโกโก้ที่ไม่หวาน
- ธัญพืช
- ผลไม้และผัก
- กากน้ำตาล (Blackstrap)
- พริกไทยดำ
สัญญาณเตือนว่าขาด หรือเกินของธาตุทองแดงในร่างกาย
การขาดธาตุทองแดงนั้นเป็นเรื่องที่ยากมาก แต่เมื่อร่างกายของคุณกำลังขาดทองแดง ร่างกายจะส่งสัญญาณเตือนคุณว่าต้องการออกมา ซึ่งจะมีอาการต่าง ๆ ดังนี้
- โรคโลหิตจาง
- อุณหภูมิร่างกายต่ำ
- จำนวนเม็ดเลือดขาวต่ำ
- หัวใจเต้นผิดปกติ
- ผิวสีซีด
- ปัญหาต่อมไทรอยด์
การขาดธาตุทองแดงนั้นถือว่าเป็นสาเหตุที่อาจทำให้เกิดโรคและเป็นอันตรายของร่างกายเราได้หลายอย่าง แต่หากคุณมีปริมาณธาตุทองแดงมากเกินไปก็อาจทำให้เกิดอาการ ดังนี้
- คลื่นไส้
- อาเจียนโดยเฉพาะสีดำหรือเป็นเลือด
- อาการปวดท้อง
- ปวดหัว
- เวียนศีรษะ
- ความอ่อนแอ
- ท้องร่วง
- ได้กลิ่นคาวเลือดในปาก
บทความที่เกี่ยวข้อง : แม่ท้องขาดธาตุเหล็ก แย่แน่! โรคโลหิตจางถามหา อันตรายเสี่ยงแท้ง!!
หรือแม้แต่การสะสมของ ธาตุทองแดง ในร่างกายมากเกินไป จะส่งผลทำให้ธาตุทองแดงกลายเป็นพิษต่อร่างกายในทันที ซึ่งเป็นภาวะที่เกิดขึ้นได้แต่ แต่อย่างไรก็ตามอาการของการเป็นพิษนั้นทำให้เกิดอันตรายถึงชีวิตได้ ดังนี้
- หัวใจล้มเหลว
- ไตล้มเหลว
- ตับถูกทำลาย
- ผิวเหลือง
- โรคสมอง
ประโยชน์ของ ธาตุทองแดง
1. ลดริ้วรอย ธาตุทองแดงถือเป็นสารต้านอนุมูลอิสระตัวหนึ่งที่ช่วยปรับปรุงซ่อมแซมสภาพผิวของคุณ และป้องกันเยื่อหุ้มเซลล์ของคุณจากอนุมูลอิสระ อีกทั้งยังช่วยให้ผิวหนัง และข้อต่อของคุณผลิตคอลลาเจนและอีลาสติน ที่ช่วยเรื่องการป้องกันริ้วรอยก่อนวัยอันควร และสร้างความยืดหยุ่นให้กับผิวได้เป็นอย่างดี
2. สุขภาพผิวที่ดี ธาตุทองแดงเป็นส่วนประกอบหนึ่งของเมลานิน ซึ่งเป็นเม็ดสีที่ช่วยป้องกันผิว เส้นผม และดวงตามของคุณจากแสงแดดนั่นเอง นอกจากนี้ยังช่วยในการผลิตเซลล์ใหม่ขึ้นมาเติมเต็มเซลล์เดิมของคุณ ทำให้ผิวของคุณนั้นดูเนียนใสได้อีกด้วย
3. ต้านเชื้อแบคทีเรีย สำนักงานป้องกันสิ่งแวดล้อม หรือ EPA (Environmental Protection Agency) ของสหรัฐอเมริกากล่าวว่า ทองแดงเป็นวัสดุชนิดเดียวที่สามารถฆ่าเชื้อแบคทีเรียที่เป็นภัยต่อร่างกายของมนุษย์ได้ โดยธาตุทองแดงนั้นจะไปยับยั้งการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์ แบคทีเรีย รวมถึงอีโคไลได้
4. กระตุ้นสมอง ธาตุทองแดงสามารถช่วยกระตุ้นสมองได้ โดยเป็นการเปิดเส้นประสาท กระตุ้นความคิดสร้างสรรค์ และการทำงานของสมองให้ดีมากยิ่งขึ้น ถึงแม้ว่าจะไม่สามารถใช้ได้ในระยะยาว แต่ในระยะเวลาสั้น ๆ นั้นก็สามารถทำให้สมองของคุณทำงานได้เร็วและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
5. บรรเทาการอักเสบ ธาตุทองแดงมีคุณสมบัติอีกอย่างหนึ่งคือด้านการเสริมสร้างกระดูกและระบบภูมิคุ้มกัน ดังนั้นจึงสามารถใช้ธาตุทองแดงในการช่วยบรรเทาอาการอักเสบที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติได้ ไม่ว่าจะเป็น อาการปวดเมื่อยเนื้อตัว ข้ออักเสบ เป็นต้น
6. ชะลอการเสื่อมของกระดูก เมื่อเราอายุมากขึ้นร่างกายของเรานั้นย่อมเสื่อมลงเป็นเรื่องธรรมชาติ คุณจึงจำเป็นจะต้องทานอาหารเสริมเพื่อให้ร่างกายของคุณยังคงความแข็งแรง หรือช่วยชะลออาการเหล่านั้นให้เกิดขึ้นช้าที่สุด ซึ่งธาตุทองแดงนั้นมีคุณสมบัติช่วยสร้างคอลลาเจน กระตุ้นให้กระดูกและเนื้อเยื่อเกี่ยวพันกันแข็งแรงมากขึ้น ดังนั้นนอกจากจะช่วยชะลอการเสื่อมของกระดูกได้แล้วยังช่วยลดอัตราการเกิดโรคกระดูกพรุนได้อีกด้วย
7. ลดคอเลสเตอรอล ธาตุทองแดงสามารถลดระดับไขมันที่มีความหนาแน่นต่ำ หรือไขมันชนิดไม่ดี (Low Density Lipoprotein : LDL) และ ระดับไตรกลีเซอไรด์ (Triglycerides) ที่เป็นสาเหตุของโรคหัวใจและหลอดเลือด หัวใจวาย และโรคหลอดเลือดสมองได้ นอกจากนี้ยังช่วยเพิ่ม ไขมันที่มีความหนาแน่นสูง หรือไขมันดี (High Density Lipoprotein : HDL) อีกด้วย
8. ช่วยเพิ่มการไหลเวียนของเลือด ธาตุทองแดงสามารถควบคุมการไหลเวียนของเลือดและเพิ่มการไหลเวียนของเลือดในร่างกายของเราได้ โดยช่วยในการดูดซึมธาตุเหล็ก ที่ได้รับจากการรับประทานอาหาร และปล่อยออกมาตามความจำเป็นของอวัยวะเท่านั้น ซึ่งทำให้ร่างกายของคุณสามารถรักษาจำนวนของเม็ดเลือดแดงให้แข็งแรงได้ นอกจากนี้ยังช่วยเพิ่มออกซิเดชัน (Oxidation) ให้เพียงพอสำหรับร่างกายของคุณอีกด้วย
9. ซ่อมแซมระบบการย่อยอาหาร ธาตุทองแดงจะช่วยปรับให้ระบบย่อยอาหารสลายไขมัน และเผาผลาญได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น และช่วยในการทำลายแบคทีเรียที่เป็นอันตรายต่อร่างกายที่ปะปนมากับอาหาร หรือน้ำที่เรารับประทาน ซึ่งอาจเป็นสาเหตุให้กระเพาะอาหารอักเสบนั่นเอง
10. ต้านมะเร็ง สมาคมโรคมะเร็งแห่งสหรัฐอเมริกา (American Cancer Society) พบว่า ธาตุทองแดง มีฤทธิ์ต้านมะเร็งได้ เพราะมีคุณสมบัติต้านอนุมูลอิสระที่ต้านอนุมูลอิสระ ซึ่งเป็นสาเหตุของโรคมะเร็ง
ธาตุทองแดง ถือว่าเป็นธาตุที่ร่างกายของเราต้องการเป็นอย่างมาก ดังนั้นจึงควรรับประทานอาหารที่มีธาตุทองแดงบ่อย ๆ เพื่อให้ร่างกายได้รับปริมาณเท่าที่ต้องการ อย่างไรก็ตาม การรับประทานธาตุทองแดงที่มากเกินไปอาจส่งผลเสียต่อร่างกายได้ ทางที่ดีควรรับประทานให้ครบ 5 หมู่ เพียงเท่านี้ก็ปลอดภัยต่อร่างกายแล้วค่ะ
บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :
วิตามินบี 1 ขาดแล้วอาจเสียชีวิตจริงไหม แล้วดีต่อแม่ท้องอย่างไร ?
ทำความรู้จัก กรดอะมิโนจำเป็น คืออะไร? อาหารชนิดไหนมีอะมิโนอยู่บ้าง?
ประโยชน์ของแมกนีเซียม ดีต่อคนท้องอย่างไร? ส่งผลต่อทารกอย่างไรบ้าง
แชร์ประสบการณ์หรือ เรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับประโยชน์ของธาตุทองแดง ได้ที่นี่!
ทองแดง ประโยชน์ มีอะไรบ้างคะ หาได้จากที่ไหนบ้างคะ
ที่มา : webmd, copperalliance, yogiapproved