X
TAP top app download banner
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้า
เข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • โภชนาการ เเม่ท้อง เเม่ให้นม
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • ตั้งชื่อลูก
  • แม่ผ่าคลอด
    • พัฒนาการเด็กผ่าคลอด
    • เตรียมตัวผ่าคลอด
    • สุขภาพเด็กผ่าคลอด
    • คู่มือคุณแม่ผ่าคลอด
    • การดูแลหลังผ่าคลอด
    • โภชนาการเด็กผ่าคลอด
  • หลังคลอด
    • คลอดธรรมชาติ
    • ผ่าคลอด
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

ฝังยาคุม กับ กินยาคุม ต่างกันอย่างไร ? มีผลข้างเคียงอะไรบ้าง

บทความ 5 นาที
ฝังยาคุม กับ กินยาคุม ต่างกันอย่างไร ? มีผลข้างเคียงอะไรบ้าง

หลายคนสงสัย การฝังยาคุม แตกต่างจากการกินยาคุมอย่างไร แบบไหนได้ผลดีกว่ากัน การฝังยาคุมและการกินยาคุมมีผลข้างเคียงอะไรบ้าง ไปดูกันเลย

การกินยาคุมกำเนิด หรือ ฝังยาคุม คงเป็นตัวเลือกสำหรับสาว ๆ หลาย ๆ คน อาจจะด้วยปัจจัยหลายอย่างทำให้การกินยาคุม หรือฝังยาคุมจำเป็นในชีวิตประจำวัน แต่เมื่อไหร่ที่พร้อมแล้ว หากหยุดกินยาคุมหรือเอาเข็มคุมกำเนิดออก ต้องรอนานแค่ไหนถึงจะท้อง และการฝังยาคุมกับกินยาคุมมันต่างกันมากน้อยแค่ไหน วันนี้เราได้รวบรวมข้อมูลมาฝากสาว ๆ กันแล้ว ไปดูกันเลย

 

ยาฝังคุมกำเนิด คืออะไร ?

ฝังยาคุม

ฝังยาคุม

การฝังยาคุม คือการคุมกำเนิดแบบชั่วคราว โดยใช้ฮอร์โมนเดี่ยวบรรจุไว้ภายในแท่งพลาสติก แล้วนำไปฝังที่ใต้ท้องแขน เมื่อตัวฮอร์โมนทำปฏิกิริยากับร่างกาย ก็จะทำให้ไม่มีการตกไข่ ซึ่งจะช่วยป้องกันการตั้งครรภ์ได้

 

ผลข้างเคียงของการฝังยาคุมกำเนิด มีอะไรบ้าง

Advertisement
  • ประจำเดือนมาไม่สม่ำเสมอ มาแบบกะปริดกะปรอย หรือมีตกขาวมาก บางรายอาจมีประจำเดือนติดต่อกันหลายวัน หรือในบางรายอาจจะไม่มีประจำเดือนเลย
  • ในบางรายมีอาการปวดท้องประจำเดือน ในช่วง 2 – 3 เดือนแรก
  • มีอาการปวดแขนบริเวณที่ฝังยาคุม
  • แผลที่ฝังยาคุมอาจเกิดรอยแผลเป็นหรือเกิดอาการอักเสบได้
  • มีอารมณ์แปรปรวน เจ็บเต้านม
  • มีน้ำหนักตัวที่เพิ่มขึ้น
  • เกิดภาวะลิ่มเลือดในหลอดเลือดต่ำ

 

ข้อเสียของการฝังยาคุมกำเนิด

  • การฝัง หรือการถอดยาคุมจะต้องทำโดยแพทย์เท่านั้น ไม่สามารถใส่หรือถอดเองได้
  • ประจำเดือนจะมาแบบกะปริดกะปรอย ซึ่งอาจทำให้เป็นปัญหาของหลาย ๆ คน แต่เมื่อผ่านระยะ 1 ปีไปแล้ว ปัญหาแบบนี้ก็จะลดลง
  • อาจพบภาวะแทรกซ้อนจากการฝังยาคุมได้ เช่น มีก้อนเลือดคลั่งบริเวณที่กรีด
  • อาจพบตำแหน่งแท่งยาที่แตกต่างไปจากเดิม แต่กรณีแบบนี้พบได้น้อย

 

ยาคุมแบบกินมีแบบไหนบ้าง ?

ยาคุมแบบกิน เป็นยาที่ใช้เพื่อป้องกันการตั้งครรภ์แบบชั่วคราว แบ่งเป็น 2 ชนิดคือ ชนิดฮอร์โมนเดี่ยว ที่มีส่วนประกอบของฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนเพียงอย่างเดียว กับชนิดฮอร์โมนรวม ที่มีกลุ่มเอสโตรเจนผสมกับฮอร์โมนในกลุ่มโพสเจสติน ซึ่งมีแบบ 21 เม็ด และ 28 เม็ด ซึ่งมีข้อแตกต่างกันดังนี้

บทความที่เกี่ยวข้อง : 100 สิ่งที่คุณแม่หลังคลอดต้องรู้ ตอนที่ 28 ยาคุมกำเนิดแบบไหน แม่ให้นมบุตรกินได้ ?

 

  • ยาคุมแบบ 21 เม็ด

ทุกเม็ดที่กินเข้าไปไม่มีแป้ง กินยาในเวลาเดียวกันทุกวัน วันละ 1 เม็ด จนหมดแผงแล้วหยุดกินยาเป็นเวลา 7 วัน ก่อนเริ่มแผงใหม่ และในช่วงระยะเวลาที่หยุดยานั้น ประมาณ 1 – 3 วัน ประจำเดือนก็จะมา

 

  • ยาคุมแบบ 28 เม็ด

มีตัวยาที่เป็นฮอร์โมน 21 เม็ด และแป้งอีก 7 เม็ด กินยาในเวลาเดียวกัน วันละ 1 เม็ด จนหมดแผงแล้วต่อแผงใหม่ ซึ่งในช่วงที่กินเม็ดแป้งประมาณเม็ดที่ 1 – 3 ประจำเดือนก็จะมา

 

  • ยาคุมฉุกเฉิน

การใช้ยาคุมฉุกเฉินใช้กรณีฉุกเฉิน หรือมีความผิดพลาดเท่านั้น เนื่องจากการใช้ยาคุมฉุกเฉินระยะยาว อาจทำให้เกิดความผิดปกติต่อระบบสืบพันธุ์ในอนาคตได้

บทความที่เกี่ยวข้อง : ยาคุมฉุกเฉิน ใช้อย่างไร วิธีกินที่ถูกต้อง ยาคุมฉุกเฉินป้องกันการท้องได้จริงหรือ?

 

ผลข้างเคียงของการกินยาคุมแบบเม็ดมีอะไรบ้าง

  • คลื่นไส้ อาเจียน
  • มีเลือดออกผิดปกติ
  • อารมณ์แปรปรวน
  • มีหลอดเลือดอุดตัน
  • หากลืมกินจะทำให้ประสิทธิภาพของตัวยาลดลง

 

ฝังยาคุม กับ กินยาคุม แตกต่างกันอย่างไร ?

  • การฝังยาคุมจะมีประสิทธิภาพในการคุมกำเนิดสูงกว่าชนิดเม็ด เนื่องจากสามารถฝังได้นาน 3 – 5 ปี แล้วแต่ชนิดของตัวยา
  • ไม่ต้องกินยาเม็ดทุกวัน ลดโอกาสเสี่ยงในการลืมกินยา
  • การฝังยาคุม มีฮอร์โมนโปรเจสตินเพียงอย่างเดียว ต่างกับยาคุมแบบเม็ดที่บางยี่ห้อจะมีฮอร์โมนผสม ทำให้ผู้ที่ฝังยาคุม ไม่มีผลข้างเคียง เช่น คลื่นไส้ อาเจียน เป็นฝ้า
  • ใช้ได้ดีในแม่ให้นมลูก เนื่องจากตัวยาไม่มีผลต่อการหลั่งน้ำนม
  • การฝังยาคุมไม่ทำให้การทำงานของตับเปลี่ยนแปลง ผู้ที่กินยาคุมแบบเม็ดในระยะเวลานานมีโอกาสทำให้การทำงานของตับเปลี่ยนแปลงได้

 

ฝังยาคุมแล้ว ถุงยางยังจำเป็นอยู่ไหม ?

ฝังยาคุม

ฝังยาคุมต่างจากยาคุมแบบกินอย่างไร

แม้ว่าการฝังยาคุม จะเป็นทางเลือกในการคุมกำเนิด ที่ได้ประสิทธิภาพดีที่สุดกว่ายาคุมชนิดอื่น ๆ แต่การใส่ถุงยางอนามัย ก็ยังเป็นสิ่งสำคัญ ในการป้องกัน และยังช่วยป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ได้ แต่การใส่ถุงยางก็ไม่ได้ช่วยป้องกันโรคได้ทุกโรคเสมอไป มีโรคบางโรคที่ถุงยางไม่สามารถป้องกันได้ เช่น โลน เริม หิด หูดหงอนไก่ และหูดข้าวสุก เป็นต้น

 

อยากตั้งครรภ์ ควรหยุดคุมกำเนิดตอนไหน ?

  • ยาคุมแบบเม็ด

ในกรณีที่เป็นฮอร์โมนผสม หลังจากการหยุดยา ภายใน 1 – 3 เดือน หรือนานถึง 1 ปี เนื่องจากร่างกายต้องปรับตัว หากเป็นฮอร์โมนเดี่ยว สามารถตั้งครรภ์หลังจากหยุดยาภายใน 1 สัปดาห์

 

  • แผ่นแปะยาคุมกำเนิด

สามารถตั้งครรภ์ได้ภายใน 3 เดือน

บทความจากพันธมิตร
ซีรีแล็ค จูเนียร์ โจ๊ก อร่อย ได้ประโยชน์ ตัวช่วยแม่ยุคใหม่
ซีรีแล็ค จูเนียร์ โจ๊ก อร่อย ได้ประโยชน์ ตัวช่วยแม่ยุคใหม่
เคล็ดลับดูแลครรภ์ และ สร้างภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อย
เคล็ดลับดูแลครรภ์ และ สร้างภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อย
MFGM จากนมแม่กุญแจสำคัญ สู่ IQ และทักษะสมองเพื่อความสำเร็จ EF ที่เหนือกว่าของเด็ก Gen ใหม่
MFGM จากนมแม่กุญแจสำคัญ สู่ IQ และทักษะสมองเพื่อความสำเร็จ EF ที่เหนือกว่าของเด็ก Gen ใหม่
4 อาการคนท้อง  ยอดฮิตของแม่ตั้งครรภ์ เลี่ยงยาก แต่ป้องกันได้
4 อาการคนท้อง ยอดฮิตของแม่ตั้งครรภ์ เลี่ยงยาก แต่ป้องกันได้

 

  • วงแหวนคุมกำเนิด

หลังจากนำวงแหวนออก สามารถตั้งครรภ์ภายใน 3 เดือน

 

  • ห่วงยาคุมกำเนิด

สามารถตั้งครรภ์ได้ภายในระยะเวลา 1 ปี

 

ฝังยาคุม

การฝังยาคุมกำเนิด

 

  • ยาฝังคุมกำเนิด

จะสามารถกลับมามีลูกได้ ภายในระยะเวลา 1 ปี นับตั้งแต่นำยาคุมกำเนิดแบบฝังออกจากแขน

 

  • ยาฉีดยาคุมกำเนิด

สามารถตั้งครรภ์ อย่างน้อยภายใน 10 เดือน หรือนานที่สุด 18 เดือน สำหรับผู้ที่ใช้วิธีการฉีดยาคุม หากต้องการวางแผนในการมีบุตร ควรพบแพทย์เพื่อปรึกษาในขั้นตอนของการมีบุตร

 

บทความที่เกี่ยวข้อง : 

กินยาคุมนานๆ ข้อเสียของการกินยาคุม ผลตกค้างของยาเม็ดคุมกำเนิด ที่สาวๆ ต้องรู้

100 สิ่งแม่ท้องต้องรู้ ตอนที่ 36 การกินยาคุมช่วงตั้งครรภ์ อันตรายไหม?

ลืมกินยาคุม 1 วัน จะเป็นอะไรไหม ต้องทำอย่างไร วิธีกินยาที่ถูกต้อง

 

ที่มา : worldwideivf , medthai , thematter

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
ddc-calendar
เตรียมความพร้อมสำหรับลูกน้อย โดยใส่วันครบกำหนดคลอดของคุณ
หรือ
คำนวณวันครบกำหนดคลอด
img
บทความโดย

Nanticha Phothatanapong

  • หน้าแรก
  • /
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • /
  • ฝังยาคุม กับ กินยาคุม ต่างกันอย่างไร ? มีผลข้างเคียงอะไรบ้าง
แชร์ :
  • คนท้องนอนไม่หลับ ควรนอนต่อไหม? หรือควรทำอะไรดี?

    คนท้องนอนไม่หลับ ควรนอนต่อไหม? หรือควรทำอะไรดี?

  • ริดสีดวงหลังคลอด สาเหตุ อาการ และวิธีรับมือสำหรับคุณแม่

    ริดสีดวงหลังคลอด สาเหตุ อาการ และวิธีรับมือสำหรับคุณแม่

  • ไขข้อข้องใจ แพ้ท้องอยากกินของแปลก เพราะอะไร ปกติหรือเปล่า?

    ไขข้อข้องใจ แพ้ท้องอยากกินของแปลก เพราะอะไร ปกติหรือเปล่า?

  • คนท้องนอนไม่หลับ ควรนอนต่อไหม? หรือควรทำอะไรดี?

    คนท้องนอนไม่หลับ ควรนอนต่อไหม? หรือควรทำอะไรดี?

  • ริดสีดวงหลังคลอด สาเหตุ อาการ และวิธีรับมือสำหรับคุณแม่

    ริดสีดวงหลังคลอด สาเหตุ อาการ และวิธีรับมือสำหรับคุณแม่

  • ไขข้อข้องใจ แพ้ท้องอยากกินของแปลก เพราะอะไร ปกติหรือเปล่า?

    ไขข้อข้องใจ แพ้ท้องอยากกินของแปลก เพราะอะไร ปกติหรือเปล่า?

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • พัฒนาการลูก
  • ชีวิตครอบครัว
  • ระยะการตั้งครรภ์
  • โภชนาการ
  • ไลฟ์สไตล์
  • TAP สังคมออนไลน์
  • ติดต่อโฆษณา
  • ติดต่อเรา
  • Influencer Marketing (KOL)
  • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Vietnam flag Vietnam
© Copyright theAsianparent 2025. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว