หนึ่งในคำถาม ที่พบบ่อยมากที่สุด เกี่ยวกับการ บริจาคอวัยวะกับบริจาคร่างกาย ต่างกันยังไง ? เพราะฟังดูแล้ว เหมือนจะไม่ต่างอะไรกันเลย ที่จริงแล้วการบริจาคอวัยวะ และ การบริจากร่างกาย ต่างกันอย่างสิ้นเชิง วันนี้เราจะพาไปดูว่า การบริจาคอวัยวะกับการบริจาคร่างกาย มีความแตกต่างกันยังไง และ การบริจาคทั้งสองแบบนี้ สามารถนำไปใช้ประโยชน์กับอะไรได้บ้าง
บริจาคอวัยวะกับบริจาคร่างกาย ต่างกันอย่างไร ?
การบริจาคอวัยวะ คืออะไร ?
การบริจาคอวัยวะ คือ การยินยอมให้นำอวัยวะของเรา ไปให้แก่ผู้ป่วย ที่รอรับการปลูกถ่ายอวัยวะ เนื่องจากเจ็บป่วย และไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ด้วยวิธีการอื่น ๆ โดยผู้บริจาค จะต้องถูกวินิจฉัยแล้ว ว่าอยู่ในสภาะวะ สมองตาย หรืออาจมีการบริจาค แบบเปลี่ยนถ่าย อวัยวะ ขณะยังมีชีวิตอยู่ (ขึ้นอยู่กับการวินิจฉัย ของแพทย์)
สามารถบริจาคอวัยวะอะไรได้บ้าง ?
อวัยวะที่ปลูกถ่ายได้ ได้แก่
- ไต 2 ข้าง
- ปอด 2 ข้าง
- หัวใจ, ตับ
- ตับอ่อน
นอกจากนี้ยังมีเนื้อเยื่อที่ปลูกถ่ายได้ ได้แก่
- ลิ้นหัวใจ
- หลอดเลือด
- ผิวหนัง
- กระดูก
- เส้นเอ็น
- กระจกตา
บริจาคอวัยวะกับบริจาคร่างกาย คืออะไร?
การบริจาคร่างกาย คืออะไร ?
การบริจาคร่างกาย คือ การอุทิศร่างกาย หลังจากเสียชีวิตแล้ว ด้วยความสมัครใจ ยินยอม ให้นำร่างกายของเรา ไปใช้เพื่อการศึกษา ทางการแพทย์ โดยร่างกาย จะต้องมีครบและสมบูรณ์ เหมือนที่หลาย ๆ คน รู้จัก และเรียกกันว่า “อาจารย์ใหญ่”
การบริจาคร่างกาย สามารถนำไปทำอะไรได้บ้าง ?
- เพื่อการศึกษา ของนิสิตย์แพทย์ รวมถึงแพทย์ประจำบ้าน
- เพื่อการฝึกอบรม เกี่ยวกับหัตถการต่าง ๆ และ งานวิจัยของแพทย์
- เพื่อเป็นการศึกษา ของนักศึกษา ด้านการแพทย์ และ สาธารณสุขอื่น ๆ
- เพื่อเก็บเนื้อเยื่อบางส่วน สำหรับทางการแพทย์
- เพื่อให้แพทย์เฉพาะทาง ได้ทำการฝึก การผ่าตัด
- เพื่อเก็บโครงกระดูก สำหรับการศึกษา ต่อไป
บริจาคอวัยวะกับบริจาคร่างกาย ต่างกันยังไง ?
การบริจาคอวัยวะ กับ การบริจาคร่างกาย แตกต่างกันอย่างไร ?
การบริจาคอวัยวะ เป็นการนำอวัยวะ ที่ยังสามารถใช้งานได้ และ อยู่ในภาพสมบูรณ์ของผู้บริจาค ที่อาจเสียชีวิตจากภาวะสมองตาย หรือ บริจาคทั้งที่ยังมีชีวิตอยู่ (ขึ้นอยู่กับแพทย์พิจารณาเท่านั้น) เช่น หัวใจ ปอด ไต ตับ เป็นต้น เพื่อนำไปปลูกถ่ายให้แก่ ผู้ป่วยระยะสุดท้าย ที่ไม่สามารถรักษาด้วยวิธีอื่นได้
สำหรับการบริจาคร่างกายนั้น คือ การอุทิศ ร่างกายของเรา เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ ในทางการศึกษา การวิจัย และ การฝึกทำหัตถการต่าง ๆ ของนักศึกษาแพทย์ และแพทย์ประจำบ้าน จะถูกนำไปใช้ศึกษา ที่รู้จักกันในนาม “อาจารย์ใหญ่” เป็นเวลาประมาณ 2-3 ปี จากนั้น จะได้รับการพระราชทานเพลิงศพ หรือบางกรณี อาจมีการเก็บโครงกระดูกไว้ เพื่อนำมาศึกษาต่อไป
อยากบริจาคทั้งสองอย่าง พร้อมกันได้หรือไม่ ?
การบริจาคอวัยวะ และ การบริจาคร่างกาย อาจมีจุดประสงค์ที่แตกต่างกัน แต่ผู้ที่สนใจจะบริจาค สามารถแจ้งความจำนง ที่จะบริจาค พร้อมกันทั้งอวัยวะ และ ร่างกาย ได้ โดยภายหลังจากที่เราเสียชีวิต จะมีทางเจ้าหน้าที่ รวมถึงญาติของผู้บริจาค เป็นฝ่ายพิจารณา ตัดสินใจร่วมกัน ว่าจะทำร่างกายของผู้บริจาค ไปใช้ประโยชน์ในด้านใด หากสามารถนำอวัยวะไปปลูกถ่ายได้ ก็จะไม่สามารถนำร่างกาย ไปบริจาคเพื่อการศึกษาได้
แต่ในกรณีที่ผู้บริจาคร่างกาย ได้แสดงความจำนงจะบริจาคดวงตา และได้นำกระจกตา ไปปลูกถ่ายแล้ว ยังสามารถนำร่างกาย ไปใช้ เพื่อการศึกษาต่อได้ ทั้งนี้ จะขึ้นอยู่กับดุลพินิจ ของแพทย์ผู้ดูแล
การ บริจาคอวัยวะกับบริจาคร่างกาย จะเป็นไปตามความยินยอม ของผู้บริจาค ถ้าถามว่าบริจาคแล้ว เราจะได้อะไรมั้ย คำตอบคือ “ได้เป็นผู้ให้” ทั้งการให้ชีวิต ต่อชีวิต ให้กับผู้ที่รอรับอวัยวะ และ เป็นผู้ให้ กับนักศึกษาแพทย์ ได้ศึกษา เรียนรู้ ที่จะพัฒนาศักยภาพ เพื่ออนาคต แพทย์ ที่จะนำความสามารถ และศักยภาพ ความรู้ มาใช้รักษาผู้ป่วยต่อไป นับว่าเป็นการให้ที่ยิ่งใหญ่ จะหาที่ไหน ก็คงไม่ได้อีกแล้ว
ที่มาข้อมูล : hd , organdonate , redcross
บทความที่เกี่ยวข้อง :
การบริจาคอวัยวะ การให้ที่ยิ่งใหญ่ ต่อลมหายใจได้มากถึง 8 ชีวิต
บริจาคร่างกาย ขั้นตอนสู่การเป็น “อาจารย์ใหญ่” ผู้ให้ กับกุศลอันยิ่งใหญ่
การบริจาคเลือด ข้อควรรู้ ควรเตรียมตัว และตรียมใจยังไงไปบ้าง
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!