เด็ก ๆ วัยอนุบาลมีระบบภูมิคุ้มกันที่ยังไม่แข็งแรง ประกอบกับใช้เวลากับเพื่อน ๆ ในโรงเรียนอนุบาลอยู่เป็นเวลานาน ส่งผลให้มีโอกาสติดเชื้อง่าย โดยวันนี้ทาง theAsianparent ได้รวบรวม 5 โรคที่ลูกมักติดจากโรงเรียนอนุบาล ที่คุณพ่อคุณแม่ต้องระวังเป็นอย่างมากมาให้แล้ว ไปดูกัน
โรคที่ลูกมักติดจากโรงเรียนอนุบาล ติดง่าย เป็นง่าย ต้องระวัง!
1. โรคไข้หวัดธรรมดา (Common cold)
เป็นโรคที่พบบ่อยมาก โดยเฉพาะเด็กเล็ก ซึ่งมักพบเป็นหวัดได้บ่อยถึงปีละ 6 – 8 ครั้ง เพราะเด็กมีภูมิคุ้มกันต้านทานโรคต่ำกว่าผู้ใหญ่ โดยเฉพาะเด็กอนุบาล ในห้องเรียนมีเด็กอยู่กัน 20-30 คน แต่ละคนอาจมีเชื้อไวรัสไข้หวัดคนละชนิด รวม ๆ กันแล้วในห้องนั้นอาจมีเชื้อไวรัสที่ไม่ซ้ำกันถึง 10-20 ชนิด เด็กในห้องนั้นก็จะหมุนเวียนกันติดเชื้อไวรัสที่ไม่ซ้ำกันจนครบ ซึ่งอาจใช้เวลา 3 – 4 เดือน เรียกว่าตลอดทั้งเทอม จึงผลัดกันเป็นไข้หวัดอยู่บ่อย ๆ เมื่อรับเชื้อจนครบ ร่างกายจะมีภูมิต้านทานต่อไวรัสทุกตัวที่มีอยู่ในห้องนั้น เด็กก็จะห่างหายจากไข้หวัดไปในที่สุด โดยโรคหวัดจะพบได้บ่อยในช่วง 2-3 ปีแรกที่เข้าโรงเรียนใหม่ ๆ ส่วนใหญ่เป็นเด็กวัยอนุบาล เมื่ออายุเกิน 6 ปี ก็จะเป็นหวัดน้อยลงเหลือเพียงปีละ 2 -3 ครั้ง เชื้อที่เป็นสาเหตุของหวัดส่วนใหญ่เป็นเชื้อไวรัส
อาการไข้หวัดในเด็กอนุบาล
- น้ำมูกใส ไหล จาม คัดจมูก
- บางคนครั่นเนื้อครั่นตัว ไอ
- ไข้ไม่สูงมาก ไม่เกิน 3 วัน
- อาการมักหายเองภายใน 3-4 วัน หรือไม่เกิน 7 วัน
การป้องกันไข้หวัด
- ล้างมือบ่อย ๆ ด้วยน้ำและสบู่
- สอนให้เด็กไอหรือจามใส่ทิชชู่ หรือข้อศอก
- หลีกเลี่ยงการสัมผัสใกล้ชิดกับผู้ป่วย
- ทำความสะอาดของเล่นและพื้นผิวที่สัมผัสบ่อย ๆ
การรักษาไข้หวัด
- ให้ยาแก้ไข้แก้หวัดชนิดน้ำเชื่อม เช้า-เย็น 3-4 วัน
- เมื่ออาการดีขึ้น หยุดยา
- ให้เด็กดื่มน้ำมาก ๆ พักผ่อนให้เพียงพอ
- ทานอาหารที่มีประโยชน์
- ถ้าอาการไม่ดี หรือไข้สูงมาก พบแพทย์
บทความที่น่าสนใจ: เตรียมพร้อม รับมือไข้หวัดใหญ่ ฝันร้ายของเด็กวัยเรียน
2. ทอนซิลอักเสบ (Tonsillitis)
ต่อมทอนซิลอักเสบ หมายถึงภาวะที่ต่อมทอนซิลเกิดการอักเสบ มักเกิดจากการติดเชื้อไวรัสหรือแบคทีเรีย โดยต่อมทอนซิล คือต่อมน้ำเหลืองสองก้อนที่อยู่ด้านหลังลำคอ ต่อมทอนซิลมีหน้าที่ช่วยต่อสู้กับเชื้อโรคที่เข้าสู่ร่างกายผ่านปากและจมูกนั่นเอง
สาเหตุของต่อมทอนซิลอักเสบ
- ไวรัส เป็นสาเหตุที่พบบ่อยที่สุดของต่อมทอนซิลอักเสบ เชื้อไวรัสที่ทำให้เกิดต่อมทอนซิลอักเสบได้แก่ เชื้อไวรัสไข้หวัด (adenovirus), เชื้อไวรัสโคแซคซี (coxsackievirus), เชื้อไวรัสอิปสติน-บาร์ (Epstein-Barr virus)
- แบคทีเรีย เชื้อแบคทีเรียที่ทำให้เกิดต่อมทอนซิลอักเสบได้แก่ เชื้อแบคทีเรียสเตร็ปโตคอกคัส (Streptococcus pyogenes)
อาการของต่อมทอนซิลอักเสบ
- เจ็บคอ โดยเฉพาะเมื่อกลืนน้ำลาย
- ไข้
- หนาวสั่น
- ปวดศีรษะ
- ปวดหู
- ต่อมทอนซิลแดงและบวม
- มีหนองบนต่อมทอนซิล
- กลืนลำบาก
- เสียงแหบ
- ไอ
- เบื่ออาหาร
- ต่อมน้ำเหลืองที่คอโต
การรักษาต่อมทอนซิลอักเสบ
การรักษาต่อมทอนซิลอักเสบจะขึ้นอยู่กับสาเหตุของโรค
- ต่อมทอนซิลอักเสบจากไวรัส มักไม่จำเป็นต้องใช้ยา ส่วนใหญ่ร่างกายสามารถต่อสู้กับเชื้อไวรัสได้เอง แพทย์อาจแนะนำให้พักผ่อนให้เพียงพอ ดื่มน้ำมากๆ ทานอาหารอ่อนๆ และใช้ยาแก้ปวดเพื่อบรรเทาอาการ
- ต่อมทอนซิลอักเสบจากแบคทีเรีย แพทย์จะสั่งยาปฏิชีวนะเพื่อฆ่าเชื้อแบคทีเรีย ผู้ป่วยต้องทานยาให้ครบตามที่แพทย์สั่ง แม้ว่าจะรู้สึกดีขึ้นแล้วก็ตาม
บทความที่น่าสนใจ: สังเกตได้ยังไงว่าลูกเป็น ต่อมทอนซิลอักเสบในเด็ก
3. ไวรัสลงกระเพาะ (Viral Gastroenteritis)
ไวรัสลงกระเพาะ หรือ โรคกระเพาะอาหารและลำไส้เล็กอักเสบจากไวรัส (Viral Gastroenteritis) เป็นการติดเชื้อในระบบทางเดินอาหารที่เกิดจากเชื้อไวรัส มักพบได้บ่อยในเด็กเล็ก ผู้สูงอายุ และผู้ที่มีระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอ เป็นภาวะติดเชื้อไวรัสในระบบทางเดินอาหาร โดยไวรัสที่เป็นสาเหตุของโรคนี้มีหลายชนิด เช่น
- โรต้าไวรัส (Rotavirus) พบได้บ่อยในเด็กเล็ก
- โนโรไวรัส (Norovirus) มักเป็นสาเหตุของโรคอาหารเป็นพิษบนเรือสำราญ
- อะดีโนไวรัส (Adenovirus) พบได้บ่อยในเด็กเล็ก
- ซาลโมเนลลา (Salmonella) มักปนเปื้อนในอาหาร
อาการไวรัสลงกระเพาะ
- คลื่นไส้อาเจียน
- ถ่ายเป็นน้ำ
- ปวดท้อง
- เป็นไข้
- หนาวสั่น
- ปวดศีรษะ
- เบื่ออาหาร
- น้ำหนักลด
วิธีการรักษาไวรัสลงกระเพาะ
- ทั่วไปร่างกายจะสามารถกำจัดเชื้อไวรัสออกเองได้ภายใน 1-2 สัปดาห์
- การรักษาจึงมุ่งเน้นไปที่การรักษาตามอาการ เช่น
- ดื่มน้ำเกลือแร่ หรือ ORS เพื่อป้องกันการขาดน้ำ
- รับประทานอาหารอ่อน ย่อยง่าย เช่น ข้าวต้ม โจ๊ก ซุป
- งดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และคาเฟอีน
- ทานยาแก้ปวดลดไข้ ยาแก้คลื่นไส้อาเจียน (หากจำเป็น)
การป้องกันไวรัสลงกระเพาะ
- ล้างมือบ่อย ๆ ด้วยน้ำและสบู่ โดยเฉพาะก่อนรับประทานอาหาร
- หลีกเลี่ยงการสัมผัสกับผู้ป่วย
- ทำความสะอาดพื้นผิวที่ปนเปื้อนด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อ
- รับประทานอาหารปรุงสุก ร้อน สะอาด
- ดื่มน้ำสะอาด
- ล้างผักผลไม้ให้สะอาดก่อนรับประทาน
- เด็กเล็กควรได้รับวัคซีนป้องกันไวรัสโรต้า
บทความที่น่าสนใจ: ลูกปวดท้อง แบบไหนเป็นสัญญาณของ 4 โรคร้าย ที่พ่อแม่ต้องระวัง
4. โรคมือ เท้า ปาก (Hand Foot and Mouth disease)
โรคมือ เท้า ปาก เกิดจากการติดเชื้อไวรัส Enterovirus สายพันธุ์ Coxsackievirus A16 หรือ Enterovirus 71 มักพบในเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี แต่ก็สามารถติดต่อผู้ใหญ่ได้เช่นกัน
การติดต่อของโรคมือ เท้า ปาก
- การสัมผัสโดยตรงกับน้ำลาย เสมหะ หรืออุจจาระของผู้ป่วย
- การสัมผัสกับพื้นผิวที่ปนเปื้อน เช่น โต๊ะ เก้าอี้ ของเล่น
- การไอ จาม หรือพูดใกล้ชิดกับผู้ป่วย
อาการโรคมือ เท้า ปาก
- ไข้สูง
- ปวดศีรษะ
- เบื่ออาหาร
- เจ็บคอ
- แผลในปาก ลักษณะเป็นตุ่มใส สีแดง
- แผลตุ่มใสที่ฝ่ามือ ฝ่าเท้า ลำตัว
การรักษาของโรคมือ เท้า ปาก
- รักษาตามอาการ เช่น เช็ดตัวเพื่อลดไข้ ให้ยาพาราเซตามอล ยาแก้ไอ ยาแก้เจ็บคอ
- รักษาความสะอาด ล้างมือบ่อยๆ
- งดการไปโรงเรียน หรือสถานรับเลี้ยงเด็ก
- แยกผู้ป่วยออกจากผู้อื่น
คำแนะนำของคุณหมอเกี่ยวกับโรคมือ เท้า ปาก
ในกรณีที่มีการติดเชื้อโรคมือเท้าปากเปื่อยชนิดที่มีอาการรุนแรงโดยเฉพาะมีการเสียชีวิต เช่น เชื้อเอนเทอโรไวรัส 71 สถานรับเลี้ยงเด็กหรือโรงเรียนอนุบาลอาจจำเป็นต้องใช้มาตรการการป้องกันที่เข้มข้นขึ้น เช่น
- การปิดทั้งโรงเรียนเป็นเวลาอย่างน้อย 2 สัปดาห์ ทำความสะอาดห้องเรียนและของเล่นต่าง ๆ
- การคัดแยกเด็กป่วยออกตั้งแต่เดินเข้าที่หน้าประตูโรงเรียน
- การหมั่นล้างมือ เช็ดถูทำความสะอาดห้องเรียนและของเล่นต่าง ๆ
บทความที่น่าสนใจ: โรคมือ เท้า ปาก ระบาดหนักในเด็กช่วงฤดูฝน พบมากในทารกและเด็กเล็ก
5. โรคตาแดง (Pink eye หรือ Conjunctivitis)
โรคตาแดง หรือ เยื่อบุตาอักเสบ เป็นโรคที่พบได้บ่อยในเด็ก มักเกิดจากสาเหตุดังต่อไปนี้
- ไวรัส: เป็นสาเหตุที่พบบ่อยที่สุด มักติดต่อจากการสัมผัสกับผู้ป่วยโดยตรง หรือการใช้ของร่วมกัน เช่น ผ้าเช็ดหน้า ผ้าขนหนู
- แบคทีเรีย: มักมีขี้ตาสีเหลืองหรือเขียว
- ภูมิแพ้: มักมีอาการคันตา น้ำตาไหล
- สารระคายเคือง: เช่น ควัน ฝุ่น คลอรีน
อาการของโรคตาแดงในเด็ก
หากลูกของคุณเป็นโรคตาแดง สังเกตอาการเหล่านี้ได้
- ขี้ตา: เด็กที่เป็นโรคตาแดงจะมีขี้ตาจำนวนมาก โดยเฉพาะในตอนเช้า ขี้ตาอาจเป็นสีเหลือง ขาว หรือเขียว
- น้ำตาไหล: เด็กอาจมีน้ำตาไหลมากกว่าปกติ
- เจ็บตา: เด็กอาจรู้สึกเจ็บตา
- เคืองตาหรือแสบตา: เด็กอาจรู้สึกเคืองตาหรือแสบตา
- ตุ่ม: ตุ่มเล็ก ๆ อาจปรากฏขึ้นบริเวณเปลือกตาหรือเยื่อบุตา
- ตาแดง: เยื่อบุตาขาวอาจมีสีแดงจัด
- อาการอื่น ๆ: เด็กที่เป็นโรคตาแดงมักมีอาการไข้หวัดนำมาก่อน เช่น เจ็บคอ มีไข้ เพราะเกิดจากเชื้อไวรัสตัวเดียวกัน
การรักษาโรคตาแดงในเด็ก
- เมื่อคุณแม่รู้ว่าลูกน้อยเป็นตาแดง ก็ควรพาลูกไปพบคุณหมอ ไม่ควรซื้อยาทาหรือยาหยอดตาเอง
- ส่วนเด็กที่ยังเล็กมาก การหยอดยาอาจทำได้ลำบาก คุณหมออาจให้ยาป้ายตาเพียงอย่างเดียว
- วิธีการหยอดตาหรือป้ายตานั้น ให้คุณแม่ดึงเปลือกตาล่างลงมาพร้อมกับให้ลูกเหลือบตา มองขึ้นด้านบน ก็จะมีช่องพอที่จะให้คุณแม่หยอดยาหรือป้ายยาลูกได้ถนัดขึ้น ในเด็กเล็กอาจต้องมีคนช่วยจับศีรษะ หรือหาของเล่นมาล่อ ให้ลูกเหลือกตาขึ้นด้านบนกันลูกดิ้น
- ถ้ามีอาการไม่สบายตาหรือตาบวมมาก คุณแม่ก็สามารถใช้น้ำแข็งประคบบริเวณรอบดวงตาให้ลูกได้ และถ้ามีขี้ตามาก ควรทำความสะอาดเปลือกตาหรือขอบตาด้วยสำลีชุบน้ำสะอาด
บทความที่น่าสนใจ: ตาแดง โรคตาแดงมีอาการเป็นอย่างไร สาเหตุการเกิดโรคตาแดงมาจากอะไร พร้อมวิธีรักษา
ได้ทราบกันแล้วนะคะ สำหรับ 5 โรคที่ลูกมักติดจากโรงเรียนอนุบาล คุณแม่ควรสอนให้ลูกใช้ของใช้ส่วนตัวของตนเอง บอกลูกไม่ควรใช้แก้วน้ำ ผ้ากันเปื้อน ผ้าเช็ดหน้า หมอน ผ้าห่มของเพื่อน แม้จะห้ามยากแต่ก็ควรสอนไว้ก่อนค่ะ แต่ถ้าเกิดเจ็บป่วยขึ้นมาซึ่งหลีกเลี่ยงได้ยากก็รักษาตามอาการก่อน หากมีอาการไม่น่าไว้วางใจต้องไปพบคุณหมอโดยด่วนนะคะ
ที่มา: www.childrenhospital.go.th, www.bumrungrad.com
บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ:
ทำไมลูกป่วยบ่อย เริ่มไปเนอร์สเซอร์รี่หรืออนุบาลเมื่อไหร่ ป่วย ติดไข้ ติดหวัดติดโรคมาทุกที
โรคติดต่อ RSV เด็กไทยป่วยเพิ่มขึ้น ป่วยซ้ำเกือบทุกปี ควรป้องกันอย่างไร ?
อาการมือเท้าปาก แผลร้อนใน ในเด็กโรคยอดฮิตของเด็กทุกวัยหน้าตาเป็นยังไง?
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!