ลูกโตช้า ตัวเล็กกว่าเพื่อน ผิดปกติไหม พ่อแม่สังเกตได้อย่างไร?

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ช่วงวัยเด็ก เป็นวัยที่มีการเปลี่ยนแปลงทางร่างกายมากมาย และมีการเจริญเติบโตอย่างต่อเนื่อง คุณพ่อคุณแม่บางคนอาจสังเกตได้ว่า ลูกตัวเล็กกว่าคนอื่น ลูกโตช้า ตัวเตี้ยกว่าเพื่อน และอาจสงสัยว่าลูกเข้าข่ายภาวะเตี้ยหรือไม่ วันนี้ theAsianparent Thailand จะพาคุณพ่อคุณแม่มารู้จักสาเหตุที่ทำให้ลูกโตช้า พร้อมวิธีการรับมือค่ะ จะเป็นอย่างไรบ้างนั้น พร้อมแล้ว ไปดูกันเลย

 

ภาวะตัวเตี้ย หมายถึงอะไร?

ภาวะตัวเตี้ย คือ ภาวะที่เด็กมีการเจริญเติบโตช้ากว่าค่าเฉลี่ยของเด็กที่อยู่ในวัยเดียวกัน และเพศเดียวกัน อย่างน้อย 2 เท่าของค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน โดยปกตินั้น เด็กที่มีภาวะเตี้ยมักจะมีน้ำหนักตัวที่น้อยกว่าเด็กในเพศเดียวกัน และวัยเดียวกัน รวมทั้งอาจมีความสูง และเส้นรอบศีรษะที่ต่างกันอีกด้วย ทั้งนี้ภาวะเตี้ยอาจเกิดได้จากหลายสาเหตุไม่ว่าจะเป็นกรรมพันธุ์ หรือภาวะขาดฮอร์โมนเจริญเติบโต เป็นต้น ก็อาจส่งผลให้ลูกโตช้ากว่าเด็กทั่วไปได้

 

รู้ได้อย่างไรว่าลูกโตช้ากว่าปกติ?

โดยทั่วไปแล้ว เด็กผู้หญิงจะเริ่มสูงขึ้น และโตเร็วขึ้นเมื่อเข้าสู่วัยรุ่น หรือในช่วงอายุ 10-11 ปี และจะหยุดการเจริญเติบโตที่อายุ 16 ปี ขณะที่เด็กผู้ชายนั้น จะโตช้ากว่าเด็กผู้หญิง กล่าวคือ จะเริ่มสูงขึ้นเมื่อมีอายุ 12-15 ปี และจะหยุดโตเมื่ออายุ 18 ปีนั่นเอง เด็กบางคนอาจมีพัฒนาการช้ากว่าเพื่อนไปจนถึงอายุ 20 ปี ซึ่งจะเห็นได้ว่าเมื่อเข้าสู่ช่วงวัยรุ่นตอนปลาย เด็กผู้ชายจะสูงกว่าเด็กผู้หญิงนั่นเอง ซึ่งการประเมินการเจริญเติบโตของเด็กว่าปกติหรือไม่นั่น จะสามารถทราบโดยการวัดส่วนสูง และนำไปเปรียบเทียบกับมาตรฐานการเจริญเติบโตปกตินั่นเอง หากลูกมีความสูงที่ต่ำกว่ามาตรฐาน ก็อาจกล่าวได้ว่า ลูกโตช้า และเตี้ยกว่าเด็กทั่วไปนั่นเอง

บทความที่เกี่ยวข้อง : ลูกตัวเตี้ย ต้องไปหาหมอเลยหรือ แล้วเตี้ยแค่ไหนถึงเรียกผิดปกติ

 

 

ตารางอัตราการเพิ่มความสูงของเด็กในแต่ละวัย

อัตราการเพิ่มส่วนสูงของเด็ก

อายุ อัตราการเพิ่มความสูง
แรกเกิด – 1 ปี 25 เซนติเมตร/ปี
1-2 ปี 12 เซนติเมตร/ปี
2-3 ปี 7 เซนติเมตร/ปี
4 ปี – ช่วงเข้าสู่วัยรุ่น 5-7 เซนติเมตร/ปี
ช่วงเข้าสู่วัยรุ่น
เด็กหญิง > 8 ปี 8-10 เซนติเมตร/ปี
เด็กชาย > 9 ปี 10-12 เซนติเมตร/ปี

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ลูกโตช้า เกิดจากสาเหตุอะไร?

ลูกโตช้าอาจเกิดได้จากหลายสาเหตุ ไม่ว่าจะเป็นกรรมพันธุ์ หรือการได้รับโภชนาการที่เหมาะสม การนอนหลับพักผ่อน และการออกกำลังกาย นอกจากนี้ยังเกี่ยวข้องกับโรคประจำตัวของเด็กอีกด้วย เรามาดูกันดีกว่า ว่าปัจจัยที่ทำให้ลูกโตช้า ตัวเตี้ยนั้นมีอะไรบ้าง

  • ได้รับแคลอรีไม่เพียงพอ

90% ของเด็กที่โตช้า เกิดจากการที่พวกเขาบริโภคแคลอรีที่ไม่เพียงพอ ยิ่งโดยเฉพาะในช่วงวัยเด็ก เป็นวัยที่ร่างกายต้องการพลังงานเพื่อพัฒนาร่างกายให้เจริญเติบโต หากลูกได้รับแคลอรีที่ไม่เพียงพอ ก็ส่งผลต่อการเจริญเติบโตได้ นอกจากนี้เด็กวัยหัดเดินที่ไม่ชอบกินข้าว และเด็กวัยทารกที่ได้รับนมแม่ที่ไม่เพียงพอ ก็ส่งให้เด็กตัวเล็ก โตช้าได้เช่นกัน

 

  • กินข้าวน้อย

การที่ลูกไม่ชอบกินข้าว หรือข้าวน้อยนั้น ส่งผลให้ร่างกายได้รับพลังงาน และแคลอรีที่ไม่เพียงพอ หากลูกเป็นคนเลือกกิน และไม่ชอบกินข้าว คุณพ่อคุณแม่ไม่ควรบังคับให้พวกเขากินนะคะ ให้ลองทำเมนูลูกรัก หรือเมนูอาหารใหม่ ๆ ก็จะช่วยให้ลูกอยากรับประทานอาหารมากยิ่งขึ้น

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

  • มีปัญหาเกี่ยวกับช่องปาก และระบบประสาท

เด็กที่มีปัญหาเกี่ยวกับช่องปาก เช่น การปวดฟัน การเจ็บช่องปาก หรือการกลืน อาจทำให้ลูกไม่ทานอาหาร หรือทานได้น้อยจนส่งผลต่อน้ำหนักตัวได้ รวมทั้งเด็กที่มีปัญหาทางระบบประสาทก็ส่งผลต่อการเจริญเติบโตเช่นกัน เช่น ภาวะสมองพิการ หรือปากแหว่งเพดานโหว่ เป็นต้น

 

  • กรดไหลย้อน

บางครั้งลูกอาจไม่ได้รับอาหารที่เพียงพอ เนื่องจากการอาเจียน หรือกรดไหลย้อนที่รุนแรง รวมทั้งปัญหาทางระบบประสาทบางอย่าง ก็อาจส่งผลให้กล้ามเนื้อต่ำ และความผิดปกติอื่น ๆ ได้ ทั้งนี้เด็กที่เป็นกรดไหลย้อน และอาเจียนบ่อย ๆ ควรรีบไปพบแพทย์เพื่อเข้ารับการรักษาโรค และช่วยให้ลูกกลับมาเจริญเติบโตได้เป็นปกติ

 

  • ตับอ่อน

เด็กที่มีภาวะตับอ่อน ไม่สามารถย่อยอาหารได้เป็นปกติ ซึ่งอาจส่งผลให้น้ำหนักน้อย และส่งผลต่อระบบขับถ่าย ทำให้อุจจาระมีกลิ่นเหม็นรุนแรง หรือเป็นฟองด้วย

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

บทความที่เกี่ยวข้อง : 10 ลักษณะที่ทำให้ลูกโตช้า ตัวไม่โต ขาดโปรตีน พ่อแม่ควรทำอย่างไร ?

 

 

  • ระบบทางเดินอาหารผิดปกติ

เมื่อลูกมีความผิดปกติของระบบทางเดินอาหาร เช่น ความผิดปกติต่อเยื่อบุลำไส้ ก็อาจส่งผลให้เด็กมีน้ำหนักน้อยได้ นอกจากนี้อาจมีอาการอื่น ๆ รวมด้วย เช่น ปวดท้อง แสบร้อนที่หน้าอก ท้องผูก และท้องเสีย เป็นต้น

 

  • ปัญหาต่อมไทรอยด์

ภาวะต่อมไทรอยด์ผิดปกติ ส่งผลให้ร่างกายหลั่งฮอร์โมนไทรอยด์มามากเกินไป จนส่งผลให้อวัยวะทั่วร่างกายมีการเผาผลาญสูงกว่าปกติได้ จึงเป็นสาเหตุให้ลูกน้ำหนักตัวน้อยนั่นเอง อีกทั้งยังมีอาการอื่น ๆ ร่วมด้วยไม่ว่าจะเป็นเหนื่อยง่าย เหงื่อออกมาก หงุดหงิด และนอนไม่หลับ เป็นต้น

 

  • โรคหัวใจ

เด็กที่ป่วยเป็นโรคหัวใจ อาจมีอาการเหนื่อยง่าย เบื่ออาหาร กินข้าวน้อย และอาเจียนบ่อย ๆ ซึ่งอาจส่งผลให้เกิดภาวะหัวใจล้มเหลวได้ นอกจากนี้การรักษาด้วยยา ยังอาจส่งผลให้เกิดภาวะทุพโภชนาการ และน้ำหนักตัวน้อยกว่าเกณฑ์ จนเป็นเหตุให้ลูกโตช้ากว่าเด็กทั่วไปได้

 

  • ไตผิดปกติ

หากลูกมีภาวะไตผิดปกติ และไตวาย ก็จะส่งผลต่อการเพิ่มของน้ำหนัก และส่วนสูง ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้ลูกโตช้าได้

 

  • พันธุกรรม

สาเหตุสุดท้ายที่ทำให้ลูกโตช้า ตัวเล็ก ตัวเตี้ย อาจเกิดจากความผิดปกติของพันธุกรรม ซึ่งส่งผลต่อการเพิ่มของน้ำหนัก และส่วนสูงนั่นเอง ทั้งนี้การประเมินความผิดปกติของพันธุกรรมนั้น อาจต้องเข้ารับการตรวจกับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญโดยตรง

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

การวินิจฉัยภาวะโตช้า

การวินิจฉัยภาวะโตช้านั้น แพทย์จะดูการอัตราการเจริญเติบโต ร่วมกับกราฟการเจริญเติบโต หากคุณพ่อคุณแม่สงสัยว่าลูกมีภาวะตัวเตี้ยหรือไม่ ควรไปตรวจเพิ่มเติมกับกุมารแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านต่อมไร้ท่อต่อไปค่ะ โดยข้อมูลหลัก ๆ ที่แพทย์จะประเมินว่าลูกมีภาวะโตช้านั้น มีดังนี้

  • ประวัติของลูก และครอบครัว เช่น ประวัติการตั้งครรภ์ การคลอด น้ำหนัก และความยาวแรกเกิด อาหารที่ได้รับ พัฒนาการของลูก และความสูงของคุณพ่อคุณแม่ พี่น้อง เป็นต้น
  • ตรวจร่างกาย โดยการชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง ความยาวของแขน ขา และเส้นรอบศีรษะ
  • ตรวจอายุกระดูก เพื่อประเมินดูการเจริญเติบโตของกระดูกลูก
  • ตรวจอื่น ๆ เพื่อดูความผิดปกติของฮอร์โมน

บทความที่เกี่ยวข้อง : ลูกน้ำหนักน้อย เกิดจากอะไร ภัยร้ายจากการขาดพลังงานและโปรตีน

 

 

วิธีรับมือเมื่อลูกโตช้า

สิ่งสำคัญที่คุณพ่อคุณแม่ควรให้ความสำคัญนั้น คือ เรื่องอาหารการกิน เพราะเป็นปัจจัยที่ส่งผลต่อการเจริญเติบโตโดยตรง และยังช่วยให้ลูกมีสุขภาพที่ดีอีกด้วย โดยวิธีรับเมื่อลูกโตช้านั้น คุณพ่อคุณแม่สามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการรับประทานอาหารของลูก ดังต่อไปนี้

  • รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่
  • หลีกเลี่ยงอาหารที่มีมันมากเกินไป
  • หลีกเลี่ยงการดื่มน้ำอัดลม ของขนมขบเคี้ยวต่าง ๆ
  • ดื่มนมวันละ 2-3 แก้ว เพื่อให้ร่างกายได้รับแคลเซียม
  • รับประทานผัก และผลไม้เป็นประจำ เพื่อให้ร่างกายได้รับใยอาหาร
  • หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารที่มีรสหวานจัด และอาหารที่มีน้ำตาลมาก ๆ
  • รับประทานอาหารที่มีธาตุเหล็กสูงเป็นประจำ เช่น เนื้อสัตว์ ไข่แดง ตับ และผักใบเขียว

 

หากคุณพ่อคุณแม่สงสัยว่าลูกมีภาวะเตี้ย ลูกโตช้า ก็ควรไปปรึกษาแพทย์เพื่อเข้ารับคำแนะนำ และการรักษาต่อไป เพราะการรักษาตั้งแต่เด็ก ๆ นั้น จะช่วยให้ลูกเจริญเติบโตได้ง่าย นอกจากนี้คุณพ่อคุณแม่ยังสามารถส่งเสริมให้ลูกรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ ออกกำลังกายเป็นประจำ และนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ ก็จะช่วยให้ลูกน้อยเติบโตขึ้นได้ตามเกณฑ์อย่างแน่นอนค่ะ

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

ประโยชน์ของโปรตีน สำหรับเด็กน้ำหนักน้อย ที่พ่อแม่ต้องรู้!

วิธีรับมือ ลูกกินยาก ลูกไม่ยอมดื่มนม ปัญหาชวนปวดหัวของแม่ๆ

ลูกในครรภ์น้ำหนักน้อยกว่าเกณฑ์ อันตรายไหม ทำอย่างไรให้เพิ่มน้ำหนักลูกในท้อง

ที่มา : Phyathai, health.clevelandclinic., Paolohospital, Samitivejhospitals.

บทความโดย

Sittikorn Klanarong