เด็กปวดฟัน มักมีสาเหตุเพียงไม่กี่อย่าง แต่อาการปวดลูกน้อย ขณะปวดฟันนั้นอาจส่งผลทำให้พวกเขารู้สึกทรมานเป็นอย่างมาก และส่งผลทำให้พวกเขาร้องไห้งอแงตลอดเวลา และจะมีวิธีใดบ้างที่จะช่วยบรรเทาอาการปวดฟันของลูกน้อยได้บ้าง วันนี้เรามีเทคนิคดี ๆ มาฝากกันครับ
สาเหตุที่ทำให้เด็กปวดฟัน ?
คุณพ่อคุณแม่หลายคนอาจจะอยากทราบถึงสาเหตุ ว่าอะไรคือสาเหตุที่ทำให้ลูกของเรานั้นปวดฟัน และสิ่งที่เขาเป็นอยู่ในตอนนี้เกิดจากสาเหตุอะไรได้บ้าง เรามาคลายข้อสงสัยไปพร้อม ๆ กันเลยครับ
1. ชอบดูดนิ้วโป้ง
เชื่อไหมว่าการที่ลูกน้อยชอบดูดนิ้วโป้ง สิ่งนี้มันอาจเป็นอีกหนึ่งสาเหตุที่จะทำให้รู้สึกปวดฟันขึ้นมาได้เช่นกัน จากการเคลือ่นตัวของฟันที่ยื่นออกมา แน่นอนว่าช่วงแรก ๆ อาจจะยังไม่เป็นอะไร แต่เมื่อเราปล่อยให้ลูกดูดนิ้วไปเรื่อย ๆเป็นระยะเวลานาน สิ่งนี้อาจจะทำให้ฟันของเขานั้นถูกดันให้ยื่นออกมาออกมา หรือมีการเรียงตำแหน่งของฟันที่ผิดปกติ รวมถึงมีการเจริญเติบโตของขากรรไกรที่ผิดปกติขึ้นมาได้ เพราะฉะนั้นหากลูกของเราชอบดูดนิ้วตั้งแต่เด็ก คุณพ่อคุณแม่อาจจะต้องพยายามทำให้หยุดดูดนิ้วจะดีที่สุด เช่น การหากิจกรรมอย่างอื่นดึงดูดความสนใจ รวมถึง คอยเอามือลูกออกตอนลูกดูดนิ้วและชวนทำอย่างอื่นที่ต้องใช้มือไปด้วย เป็นต้น
2. ชอบกัดฟัน
อีกหนึ่งสาเหตุที่จะทำให้ปวดฟันขึ้นมา นั่นก็คือการที่ลูกชอบกัดฟัน ซึ่งถือเป็นอีกหนึ่งเรื่องสำคัญที่ควรได้รับการรดูแลรักษา เพราะถ้าหากมีพฤติกรรมเหล่านี้อยู่บ่อย ๆ สิ่งเหล่านี้จะส่งผลทำให้ฟันเกิดการสึกกร่อน รู้สึกปวดกราม ปวดกล้ามเนื้อ รู้สึกปวดฟันขึ้นมา รวมถึงส่งผลเสียต่อพัฒนาการได้ ดังนั้นหากคุณพ่อคุณแม่ได้ยินเสียงและทราบว่า ลูกน้อยชอบนอนกัดฟัน คุณพ่อคุณแม่ควรต้องรีบพาลูกไปปรึกษาหรือขอคำแนะนำจากคุณหมอจะดีที่สุด เพราะเมื่อไหร่ที่ปล่อยปละละเลยเรื่องเหล่านี้ไป สิ่งนี้ก็อาจจะส่งผลเสียต่อสุขภาพฟัน สุขภาพร่างกาย และการพัฒนาการอื่นๆของลูกน้อยตามมาได้
3. ฟันน้ำนมผุ
เชื่อว่าสิ่งนี้น่าจะเป็นสิ่งที่คุณพ่อคุณแม่รู้จักกันดี เพราะเป็นสาเหตุหลักที่ต้องกังวลมากที่สุด ถึงอาการที่จะนำไปสู่การปวดฟันของลูก ฉะนั้นหากใครที่ไม่อยากให้ลูกฟันผุ หรือมีอาการเหล่านี้ จึงไม่ควรที่จะปล่อยให้ลูกทานขนมหวานในปริมาณมาก และบ่อยจนเกินไป ที่สำคัญที่สุดอาจจะต้องดูแลรักษาความสะอาดของช่องปากของลูกน้อยอยู่เสมอ เพียงเท่านี้ก็จะไม่ทำให้ลูกน้อยฟันผุได้ แต่ถ้าปล่อยให้เขาทานขนมตามใจชอบ และไม่หมั่นดูแลช่องปาก สิ่งนี้ก็อาจจะทำให้เขารู้สึกปวดฟันและมีฟันผุขึ้นมาได้
4. โรคเกี่ยวกับเหงือก
อีกหนึ่งปัจจัยที่มักพบในเด็กที่ชอบปวดฟันอยู่บ่อย ๆ นั้นคือเด็กมักเป็นโรคเกี่ยวกับเหงือก หรือ เหงือกอักเสบ แปรงฟันแล้วมีเลือดออก ซึ่งโดยส่วนใหญ่แล้วมักจะเกิดขึ้นกับเด็กที่ดูแลความสะอาดช่องปากไม่เพียงพอ ดังนั้นหากคุณพ่อคุณแม่คนไหนที่ไม่อยากให้ลูกมีอาการปวดอยู่บ่อย ๆ จะต้องหมั่นดูแลช่องปากของลูกอยู่เสมอ ด้วยการแปรงฟันให้สะอาดอย่าให้มีคราบหลงเหลืออยู่ และเมื่อเขาโตขึ้นมาหน่อย อาจจะต้องสอนให้เขาดูแลและทำความสะอาดช่องปากของตัวเองมากขึ้นนั่นเอง
5. ปวดฟันที่กำลังจะขึ้น
ตอนฟันที่กำลังจะขึ้น ซี่ฟันจะดันเหงือกขึ้นมาจนอาจมีอาการของเหงือกอักเสบบวมแดง จนถึงเป็นไข้ได้ในบางครั้ง จนทำให้มีอาการเหมือนการปวดฟันได้ หากคุณพ่อคุณแม่สงสัยว่าอาการปวดฟันมาจากอะไร เพื่อความแน่ใจสามารถ พบทันตแพทย์เพื่อหาคำตอบการวินิฉัยที่ชัดเจนได้ หรือ หากทราบว่าอาการปวดฟันนั้นมาจากฟันขึ้นจริง สามารถให้ลูกอมน้ำเย็น หรือ เจลแช่เย็นกัดประคบเพื่อบรรเทาเอาการปวด หรือ หากอาการไม่ดีขึ้น ก็สามารถรับประทานยาแก้ปวดได้ แต่ควรได้รับการยืนยันจากทันตแพทย์ว่าอาการปวดฟันนั้นมาจากฟันขึ้นจริง ไม่ใช่ปวดฟันจากฟันผุซี่อื่นในปากที่จำเป็นต้องได้รับการรักษา
6. ปวดฟันจากการโดนกระทบกระเทือน
ในวัยเด็กเป็นวัยที่รักในการเล่นสนุก จนบางครั้งเล่นผาดโผนเกินไป หรือ ไม่ได้ระมัดระวังมากพอ ทำให้อาจเกิดอุบัติเหตุ หกล้ม หรือวิ่งชน สิ่งต่างๆรอบตัว และมีโอกาสที่ฟันกระแทกกับของแข็ง จนทำให้ปวดฟันตอนที่โดนกระแทกขึ้นมาทันที หรือ อาจจะยังไม่ปวดในวันนั้น แต่กลายเป็นฟันตาย เป็นหนอง และปวดฟันตามมาภายหลังได้ คุณพ่อคุณแม่ต้องหมั่นคอยระมัดระวัง การเล่นของลูกๆให้ดี หรือ อาจจะมีการหุ้ม ตามขอบ ตามหัวมุม ของ โต๊ะ,เตียง และตู้ ชั้นวางของต่างๆ ด้วยวัสดุที่มีความนิ่ม เช่น โฟม ยาง ซิลิโคน เพื่อป้องกันอุบัติเหตุการกระแทกของเด็กว่าจะวิ่งเข้ามาชนได้
บทความที่เกี่ยวข้อง : แปรงลิ้น ตอนแปรงฟันดีอย่างไร? สอนลูกแปรงลิ้น จำเป็นหรือไม่
9 เคล็ดลับ บรรเทาอาการปวดฟันของลูกน้อย
หากคุณแม่ท่านไหนที่มีลูกอายุระหว่าง 3 เดือนถึง 12 ปี ละก็ มีวิธีรับมือกับ อาการปวดฟัน ลูก กันอย่างไรบ้างครับ ปวดฟันทําอย่างไรหาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเด็กเล็ก ที่ยังไม่สามารถบอกเราได้ว่า เด็กปวดฟัน หรือเขารู้สึกปวดหรือเจ็บฟัน แต่คุณพ่อคุณแม่ไม่ต้องเป็นห่วงนะครับ เพราะในเด็กเล็ก คุณพ่อคุณแม่สามารถสังเกตอาการดังกล่าวได้จาก การที่ลูกมีน้ำลายไหลเยอะ หรือลูกมีอาการหงุดหงิด ร้องไห้งอแงมากโดยเฉพาะในตอนกลางคืน และทานอาหารได้น้อยลง เป็นต้น และวันนี้เรามี 8 เคล็ดลับที่จะมาช่วยบรรเทาอาการปวดฟันของลูกได้ มาฝากกันครับ
1. ใช้ผ้าเย็น
คุณแม่ลองเอาผ้าขนหนูที่สะอาด ชุบน้ำต้มสุกที่เย็นแล้ว นำไปแช่เย็น นำมาพันนิ้ว และนวดเหงือกรอบๆส่วนที่อักเสบปวดอยู่ให้ลูก เพียงเท่านี้ก็ปล่อยให้เป็นหน้าที่ของความเย็นที่จะไปช่วยบรรเทา อาการปวดฟัน ของลูกให้รู้สึกปวดน้อยลงได้
2. ไอศกรีมทำเอง
คุณแม่ลองหาน้ำผลไม้มาแช่แข็งทำเป็นไอศกรีม และให้ลูกถือกัดเล่น นอกจากจะอร่อยแล้วยังช่วยลดอาการปวดของลูกได้อีกด้วย หรือถ้าคุณแม่ต้องการเปลี่ยนรสชาติละก็สามารถลองใช้น้ำนมแม่มาทำดูได้รับรองลูกจะต้องติดใจแน่ ๆ แต่ต้องอย่าลืมแปรงฟันก่อนนอน ให้สะอาดด้วยนะครับ เพราะ ในน้ำผลไม้ก็มีน้ำตาลอยู่มากเช่นกัน
3. แปรงฟัน
การแปรงฟันนอกจากจะช่วยให้ความสดชื่น บรรเทาอาการปวดฟันของลูกได้แล้วนั้น ยังช่วยในการนวดเหงือกของลูกได้อีกด้วย รวมถึงยาสีฟันบางยี่ห้อ ก็มีสารที่ช่วยในการลดการอักเสบของเหงือกได้ในตัวอีกด้วย แต่ต้องเลือกยาสีฟันที่เหมาะสมกับอาการ และมั่นใจว่าแปรงที่ว่านี้นั้น สะอาดและไม่แข็งจนเกินไป เพราะหากแปรงแข็งจนเกินไป จากเดิมที่เหงือกอักเสบอยู่แล้วจะทำให้อักเสบมากขึ้นได้
บทความที่เกี่ยวข้อง : ทำยังไงให้ลูกแปรงฟัน? บอกลูกยังไงดีให้ลูกแปรงฟังทุกครั้งที่จำเป็น
4. ใช้ขวดนมแช่แข็ง
หลังจากที่คุณแม่ล้างขวดนมสะอาดแล้ว ลองนำไปแช่เย็น โดยหลังจากที่ขวดนม และจุกนมยางเย็นแล้วก็ให้นำมาให้ลูกถือกัดจุกยางเล่น มั่นใจว่าลูกต้องร้องขออีกแน่ ๆ
5. ให้ลูกดูดนมแม่
อย่างที่ทราบกันดีว่านมแม่ชนะทุกสิ่ง ด้วยความรักและความอบอุ่นของแม่ หากคุณแม่เห็นลูกร้องงอแงละก็ ลองอุ้มลูกเข้าเต้าดูครับไม่เกิน 5 วินาที ลูกจะเงียบ สงบนิ่ง ลืมทุกความปวดไปได้เลย
6. กัดเจลกัดของเด็กแช่เย็น
ให้คุณแม่นำเจลกัดของเด็กเล่น ไปแช่เย็นช่องฟรีซ สักสองถึงสามชั่วโมง หลังจากนั้นก็นำไปให้ลูกถือ นอกจากลูกจะเอาไว้กัดเล่นได้แล้ว ยังรู้สึกสบายเหงือกของพวกเขาอีกด้วย แต่คุณแม่ต้องมั่นใจนะคะว่า ได้ล้างเจลอย่างสะอาดเพียงพอแล้ว
7. อาบน้ำ
อีกหนึ่งสิ่งที่จะช่วยให้ลูกลืมอาการปวดฟันได้ดีอีกวิธีหนึ่งก็คือ การให้ลูกลงเล่นน้ำหรือพาลูกไปอาบน้ำ เพราะนอกจากจะช่วยเบี่ยงเบนความสนใจให้กับลูกแล้ว ยังช่วยลูกรู้สึกสนุกสนานจนลืมความปวดไปได้อีกด้วย หรือสามารถชวนเล่นกิจกรรมอื่นๆที่ลูกชอบเพื่อให้ลืมความเจ็บปวดไปได้เหมือนกัน
8. ให้ลูกทานยาแก้ปวด
หากลูกมีอาการปวดมาก ร้องงอแงตลอด หรือ ปวดทรมานจนมีไข้ขึ้นได้ คุณแม่สามารถให้ลูกทานยาแก้ปวดได้ โดยให้ทานยาแก้ปวดสำหรับเด็ก
9. อาบน้ำ
อีกหนึ่งสิ่งที่จะช่วยให้ลูกลืมอาการปวดฟันได้ดีอีกวิธีหนึ่งก็คือ การให้ลูกลงเล่นน้ำหรือพาลูกไปอาบน้ำ เพราะนอกจากจะช่วยเบี่ยงเบนความสนใจให้กับลูกแล้ว ยังช่วยลูกรู้สึกสนุกสนานจนลืมความปวดไปได้อีกด้วย
ทั้งนี้ อาการปวดฟันสามารถเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ ทางที่ดีที่สุด หากเด็กมีอาการปวดฟันขึ้นมา ควรรีบพาไปพบหมอฟันให้เร็วที่สุดเพื่อให้คุณหมอวินิฉัย หาสาเหตุของการปวดฟันที่แท้จริง เพื่อจะได้ทำการรักษาได้อย่างถูกทาง ถูกต้องเหมาะสม ให้ลูกได้หายจากอาการปวดฟันได้เร็วที่สุด รวมถึงสามารถวางแผน ป้องกันการลุกลาม หรือการปวดฟันจากซี่อื่นๆที่สามารถตามมาได้ ในอนาคตอีกด้วย เพราะคุณพ่อคุณแม่ทุกคนรักลูก เมื่อต้องเห็นลูกทุกข์ทรมาณจากการปวดฟันขึ้นมาสักครั้งหนึ่ง เชื่อว่าก็คงไม่อยากเห็นลูกต้องกลับมาปวดทรมาณแบบนี้อีกแล้วทุกคนแน่นอน
บทความที่เกี่ยวข้อง : ลูกไม่ชอบอาบน้ำ ทำอย่างไรดี เทคนิคปราบหนูน้อยด้วยของเล่นอาบน้ำ!!
ลูกปวดฟันช่วง Covid-19 จะทำอย่างไรดี ยาแก้ปวดฟันเด็ก ช่วยได้ไหม?
เมื่อเด็กๆ มีอาการปวดฟันหรือเสียวฟัน สิ่งที่คุณพ่อคุณแม่จะช่วยเหลือเบื้องต้นได้คือการลดปริมาณ หรืองดขนมหวานต่าง ๆ แปรงฟันช่วงเช้า และช่วงเย็นให้สะอาดอยู่เสมอ หรือ ทางที่ดีที่สุด หากปวดขึ้นมา ก็ควรพาไปพบทันตแพทย์เพื่อทำการวินิฉัยและรักษาให้เร็วที่สุด แต่ในวิกฤตของ Covid-19 นั้นเรามักจะเล็งเห็นถึงปัญหาในการออกไปยังภายนอกบ้าน ต้องระวังทั้งโรคและระวังทั้งค่าฝุ่นที่ยังไม่เสถียร ดังนั้นสิ่งที่ดูจะเป็นปัญหาของคุณพ่อคุณแม่จะต้องพบเจอก็คือ การพาลูกไปพบหมอฟันหรือทันตแพทย์ ซึ่งโดยปกติ นอกจากเด็กๆ จะไม่ยอมไปหาเพราะกลัวแล้ว คราวนี้กลับกลายเป็นว่า ไม่สามารถพาไปได้เพราะ กังวลเรื่องการติดเชื้อ Covid -19 ทำให้ยุ่งกันเข้าไปใหญ่เพราะฉะนั้นเราจะมาดูกันว่า หากปวดฟันจะพอช่วยอะไรกับเด็กในบ้านได้บ้าง ในช่วงที่ไปหาหมอฟันไม่ได้มาสังเกตอาการไปทีละข้อ ดังต่อไปนี้
1. บางครั้งหากเจ้าตัวเล็กมีอาการปวดฟันแต่ไม่ได้เป็นตลอด ไม่มีอาการบวมหรือเสียวฟันมาก ๆ อาจเกิดจากเศษอาหารที่ติดตามซอกฟันหรือเพียงเคี้ยวอะไรนาน ๆ จนทำให้ปวดฟันขึ้นมาได้ วิธีแก้ทำได้ดังต่อไปนี้ค่ะ
- แปรงฟันให้สะอาด
- บ้วนปากด้วยน้ำสะอาดแรง ๆ
- มองหาเศษอาหารแล้วใช้ไหมขัดฟันขัดออก หรือ แปรงออก ทันทีที่เห็นเศษอาหารติดฟัน
2. ในกรณีที่มีอาการปวดเรื้อรัง ทำอย่างไรก็ไม่หาย นั่นอาจแปลได้ว่าเกิดอาการเหงือกอักเสบ หรือ ฟันผุลงไปลึกมากแล้ว เบื้องต้น สามารถแก้ไข้ได้ดังนี้
- ทานยาแก้อักเสบหรือยาแก้ปวด แต่ต้องดูตามขนาดที่เหมาะสมกับ น้ำหนักและอายุของเด็กที่สามารถทานได้ อย่างเคร่งครัด
- ดื่มน้ำสะอาดให้มาก ๆ
- งดทานอาหารที่เคี้ยวยาก แข็ง หรือ เหนียว
- งดขนมหวาน ลูกกวาดต่าง ๆ
- หากพบว่านอกจากอาการปวดแล้วยังมีอาการบวมจนแก้มนูนลงไปที่ใต้คาง หรืออาจบวมขึ้นตา หรือ เกิดอุบัติเหตุจนฟันหักหรือแตก ควรรีบนำไปพบทันตแพทย์ทันที เพราะอาการดังกล่าวไม่สามารถทานยาแล้วหาย รวมไปถึงการแปรงฟันเองก็เช่นกัน
ฉะนั้นแล้วหากเกิดอาการบวมมาก หรือเกิดการฟันหักแตก นั้นถือเป็นกรณีเร่งด่วนที่ต้องพบทันตแพทย์แล้วจริง ๆ ซึ่งการเดินทางไปพบนั้น ควรสวมหน้ากากอนามัย พกสเปรย์แอลกอฮอล์ไว้ฉีด ทำความสะอาด ลดการสัมผัสราวกับหรือสิ่งของต่าง ๆ และ มีระยะห่างกับบุคคลรอบข้างเพื่อลดความเสี่ยงในการติดเชื้อ Covid-19 ได้ด้วย รวมถึงให้ปฏิบัติตามข้อกำหนดของการพบทันตแพทย์ได้ดังนี้
- ทำการติดต่อล่วงหน้าก่อนจะเข้าตรวจซึ่งจะมีการสอบถามอาการ ซักประวัติ แจ้งกำหนดนัดหมาย เพื่อลดการแออัด นั่งรอที่ร้าน
- สวมใส่หน้ากากอนามัยอยู่ตลอดระยะเวลาจนถึงเวลาเข้ารับการรักษา ทั้งผู้ปกครองและเด็ก
- อุณหภูมิร่างกายในการเข้ารักษาต้องไม่เกิน 37.5 องศาเซลเซียส
- ล้างมือและไม่สัมผัสบริเวณดวงตา ปาก และจมูกหลังการสัมผัส ถอดอุปกรณ์ในช่องปาก
- หลีกเลี่ยงการจับหรือสัมผัสใบหน้าในระหว่างการรอเข้าทำการรักษา
- ต้องบ้วนน้ำยาฆ่าเชื้อก่อนลงมือทำฟัน ในกรณีตั้งครรภ์อยู่หรือมีอาการแพ้ใด ๆ โปรดแจ้ง
เป็นอย่างไรกันบ้างครับกับ 9 วิธีที่ช่วยบรรเทาอาการของเด็ก ๆ ได้ มีใครเคยนำไปใช้แล้วได้ผลบ้าง แต่ถึงอย่างไรก็ตามการดูแลสุขภาพช่องปากนั้นเป็นเรื่องที่สำคัญ คุณพ่อคุณแม่ควรสอนเรื่องการทำความสะอาดและการดูแลสุขภาพช่องปากให้เด็ก ๆ เพื่อที่ลูกน้อยจะได้มีสุขภาพฟันที่แข็งแรง และไม่มีอาการปวดฟัน หรือฝันผุเกิดขึ้นนะครับ
บทความที่เกี่ยวข้อง : พาลูกหาหมอฟันครั้งแรก พาลูกไปหาหมอ แม่ต้องเตรียมตัวอย่างไร
ฉะนั้นอาการบวมหรือเกิดการหักถือเป็นกรณีเร่งด่วนที่ต้องพบทันตแพทย์แล้วจริง ๆ ซึ่งการไปพบนั้นสามารถป้องกันการติดเชื้อ Covid-19 ได้ด้วยการให้หน้ากากอนามัย พกสเปรย์แอลกอฮอล์ไว้ฉีด ทำความสะอาด ลดการสัมผัสราวกับหรือสิ่งของต่างๆ และ มีระยะห่างกับบุคคลรอบข้างเพื่อลดความเสี่ยงในการติดเชื้อและปฏิบัติตามข้อกำหนดของการพบทันตแพทย์ได้ดังนี้
- ทำการติดต่อล่วงหน้าก่อนจะเข้าตรวจซึ่งจะมีการสอบถามอาการ ซักประวัติ แจ้งกำหนดนัดหมาย
- สวมใส่หน้ากากอนามัยอยู่ตลอดระยะเวลาการเข้ารักษา รวมถึงผู้ติดตาม
- อุณหภูมิร่างกายในการเข้ารักษาต้องไม่เกิน 37.5 องศาเซลเซียส
- ล้างมือและไม่สัมผัสบริเวณดวงตา ปาก และจมูกหลังการสัมผัส ถอดอุปกรณ์ในช่องปาก
- หลีกเลี่ยงการจับหรือสัมผัสใบหน้าในระหว่างการรอเข้าทำการรักษา
- ต้องบ้วนน้ำยาฆ่าเชื้อก่อนลงมือทำฟัน ในกรณีตั้งครรภ์อยู่หรือมีอาการแพ้ใดๆ โปรดแจ้ง
เป็นอย่างไรกันบ้างคะกับ 9 วิธีที่ช่วยบรรเทาอาการของเด็ก ๆ มีใครเคยนำไปใช้แล้วได้ผลบ้าง แต่ถึงอย่างไรก็ตามการดูแลสุขภาพช่องปากเป็นเรื่องที่สำคัญคุณควรสอนเรื่องการทำความสะอาดและการดูแลสุขภาพช่องปากให้เด็ก ๆ เพื่อที่ลูกน้อยของเราจะมีสุขภาพฟันที่แข็งแรง และไม่มีอาการปวดฟันครับ
บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :
ฟันผุในเด็ก ฝันร้ายของเด็ก ๆ ที่ไม่อยากไปหาหมอฟันอีกเลย
เหงือกอักเสบ ลูกเหงือกอักเสบทำไงดี รักษาเบื้องต้นยังไงได้บ้าง
อาหารที่เด็กกินแล้วเสี่ยงฟันผุ ! คุณแม่ควรพึงระวัง เพื่อไม่ให้เด็กสูญเสียฟัน !
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!