X
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้าเข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ตั้งครรภ์
    • คำนวณวันคลอด
    • ฉันกำลังตั้งครรภ์
    • ไตรมาสที่ 1
    • ไตรมาสที่ 2
    • ไตรมาสที่ 3
    • Project Sidekicks
    • ตั้งชื่อลูก
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • อีเว้นท์
    • TAP Awards Winners
    • TAP idol
    • TAP x Safari Largest Treasure Hunt
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

ลูกน้ำหนักน้อย เกิดจากอะไร ภัยร้ายจากการขาดพลังงานและโปรตีน

บทความ 5 นาที
ลูกน้ำหนักน้อย เกิดจากอะไร ภัยร้ายจากการขาดพลังงานและโปรตีน

ลูกน้ำหนักน้อย เกิดจากอะไร คุณพ่อคุณแม่สงสัยหรือไม่ น้ำหนักต่ำกว่ามาตรฐาน บ่งบอกอะไรได้มากกว่าที่คิด ยิ่งปล่อยไว้จะยิ่งมีความเสี่ยงเพิ่มมากขึ้น และอาจเสี่ยงต่อโรคร้าย เช่น โรคขาดโปรตีนและแคลอรี ซึ่งส่งผลต่อความแข็งแรงของเด็ก และเป็นการเปิดประตูให้โรคอื่น ๆ ตามมา การเพิ่มพลังงาน และโปรตีนให้กับร่างกายของลูกจึงเป็นเรื่องที่มองข้ามไม่ได้

 

เด็กเล็กหนักเท่าไหร่จึงเลือกว่าตามเกณฑ์ ?

จากข้อมูลขององค์การอนามัยโลกให้ใช้ตารางเทียบวัดสากล ที่มีการสำรวจอย่างเหมาะสม โดยกราฟการวัดนั้นจะพบได้ในประวัติสมุดสุขภาพของเด็กทารกแรกเกิด ซึ่งสามารถนำมาเทียบ หรือปรึกษาแพทย์ได้เลย โดยเราจะยกตารางเบื้องต้นของเด็กตั้งแต่แรกเกิดจนถึงอายุ 5 ปี ว่าควรมีน้ำหนักเท่าใด ถึงเรียกว่าปกติ

 

ตารางเทียบน้ำหนักเด็กแรกเกิด – 5 ปี

อายุเด็ก น้ำหนักตามเกณฑ์
แรกเกิด ประมาณ 3 กิโลกรัม
4-5 เดือน 4-5 กิโลกรัม
อายุ 1 ปี ประมาณ 9 กิโลกรัม หรือเพิ่มขึ้น 3 เท่าจากน้ำหนักช่วงวัยแรกเกิด
อายุ 2 ปี ประมาณ 12 กิโลกรัม หรือเพิ่มขึ้น 4 เท่าจากน้ำหนักช่วงวัยแรกเกิด
เด็กเล็ก 2-5 ปี เพิ่มขึ้น 2.3-2.5 กิโลกรัม / ปี โดยประมาณ

 

ลูกน้ำหนักน้อยเกิดจากอะไร ?

เจ้าตัวน้อยอาจเสี่ยงภาวะน้ำหนักตัวน้อย แม้ว่าอาจจะทานอาหารเป็นปกติแล้วก็ตาม ซึ่งปัจจัยที่ทำให้น้ำหนักตัวลูกน้อยต่ำกว่าเกณฑ์ เกิดได้จากหลายปัจจัย ทำให้ร่างกายเสี่ยงต่อการขาดโปรตีน และมีพลังงานไม่เพียงพอต่อความต้องการ โดยมีปัจจัยที่เราสรุปมาให้ คือ ลูกได้รับพลังงานไม่เพียงพอ หรือขาดโปรตีน, พฤติกรรมการทานอาหารน้อย, เกิดจากระบบย่อยอาหารผิดปกติ, ลูกแพ้อาหารจนน้ำหนักลด และโรคร้ายเรื้อรังต่าง ๆ

 

วิดีโอจาก : Nurse Kids

 

1.ลูกได้รับพลังงานไม่เพียงพอ หรือขาดโปรตีน

การได้รับสารอาหารที่มีพลังงานไม่เพียงพอต่อร่างกาย รวมถึง “โปรตีน” ซึ่งถือเป็นสารอาหารหลักอย่างหนึ่งของร่างกาย และมีส่วนสำคัญต่อการเจริญเติบโตของเด็ก หากเด็กได้รับพลังงานจากอาหารไม่เพียงพอ จะทำให้ลูกมีน้ำหนักตัวไม่ได้มาตรฐาน และสามารถส่งผลให้ร่างกายทำงานผิดปกติ ไม่สามารถเผาผลาญอาหาร และนำพลังงานมาใช้ได้ตามปกติ ทำให้ร่างกายอ่อนแอ และมีโรคอื่น ๆ ตามมาได้

 

2.พฤติกรรมการทานอาหารน้อย

เป็นพฤติกรรมที่เกิดจากการที่เด็กทานอาหารได้น้อยลง โดยอาจเกิดจากการเบื่ออาหาร หรือทานอาหารที่ไม่ชอบ ไปจนถึงการอดทานอาหารที่ตนเองชอบ เป็นต้น พฤติกรรมเหล่านี้ส่วนมากจะเกิดจากการได้รับอาหารที่ไม่หลากหลายพอ เพราะอาหารเพื่อสุขภาพ หรือเสริมพัฒนาการของลูกน้อย บางเมนูอาจมีรสชาติที่หนูน้อยไม่ชอบ จึงเป็นหน้าที่ของคุณพ่อคุณแม่ที่ต้องหาตรงกลางระหว่างความอร่อยที่เด็ก ๆ ชอบ และประโยชน์ที่เด็กควรจะได้รับควบคู่ไปด้วย

 

ดูแลลูกรักให้มีพัฒนาการดี เติบโตสมวัย สูงสมส่วน มีน้ำหนักตามเกณฑ์

รับฟรี พีเดียชัวร์ ขนาดทดลอง คลิกที่นี่

ลูกน้ำหนักน้อย เกิดจากอะไร ภัยร้ายจากการขาดพลังงานและโปรตีน

3.เกิดจากระบบย่อยอาหารผิดปกติ

การทำงานที่ผิดพลาดของระบบย่อยอาหาร ส่งผลให้ร่างกายได้สารอาหาร และพลังงานไม่ครบถ้วนตามที่ลูกทานเข้าไป จนส่งผลให้น้ำหนักลดลงต่ำกว่าเกณฑ์ ซึ่งเกิดได้จากภาวะผิดปกติ หรือโรคที่ส่งผลต่อระบบย่อยอาหาร เช่น  โรคตับเรื้อรัง,  ภาวะกรดไหลย้อน, โรคซิสติกไฟโบรซิส, โรคท้องร่วงเรื้อรัง โรคเซลิแอค และโรคทางพันธุกรรมต่าง ๆ ที่ยากจะหลีกเลี่ยง นอกจากนี้หากร่างกายมีการติดเชื้อเกิดขึ้น จะทำให้ร่างกายต้องใช้พลังงานอย่างมาก เพื่อต่อสู้กับอาการติดเชื้อ ทำให้เกิดอาการไม่อยากอาหาร ซึ่งเป็นผลข้างเคียงอย่างหนึ่งเช่นกัน

 

4.ลูกแพ้อาหารจนน้ำหนักลด

การไม่สามารถทานอาหารบางประเภทได้เหมือนกับเด็กคนอื่น สามารถส่งผลกระทบต่อน้ำหนักของลูกได้เช่นกัน เนื่องจากต้องทานอาหารประเภทอื่นทดแทน ซึ่งอาจไม่ได้พลังงาน หรือสารอาหารเท่ากับเมนูที่เด็กแพ้ โดยเฉพาะการแพ้โปรตีนบางชนิด เช่น โปรตีนจากนม เป็นต้น แน่นอนว่าการทานนมกล่องสำหรับลูกน้อยที่หย่านมแม่ไปแล้ว การหาสารอาหารอื่นเพื่อทดแทนโปรตีนจากนม อาจหาได้ยากและมีราคาที่สูงกว่า หากเลือกไม่ถูกต้อง เป็นต้น

 

5.โรคร้ายเรื้อรังต่าง ๆ

โรคใดก็ตามที่ส่งผลต่อการทำงานของอวัยวะสำคัญ ที่สามารถส่งผลต่อน้ำหนักของลูกน้อยได้ เช่น หัวใจ, ปอด และต่อมไร้ท่อ เป็นต้น เนื่องจากอวัยวะเหล่านี้หากเกิดความผิดปกติ หรือมีโรคเรื้อรัง จะทำให้อวัยวะต้องการพลังงานมากกว่าปกติ เพราะจะใช้พลังงานมากขึ้นกว่าเดิม จะยิ่งทำให้เด็กที่ทานอาหารไม่เพียงพอ หรือทานอาหารเท่าเดิม อาจไม่สามารถสร้างพลังงานได้มากพอต่ออวัยวะเหล่านี้นั่นเอง

 

ลูกน้ำหนักน้อย เกิดจากอะไร

 

ลูกน้ำหนักน้อยอาจเสี่ยงโรคขาดโปรตีน และแคลอรี

เมื่อลูกมีน้ำหนักน้อย สิ่งหนึ่งที่แน่นอนคือ ความเสี่ยงต่อภาวะร้าย หรือโรคต่าง ๆ ที่จะตามมามากยิ่งขึ้นอย่างปฏิเสธไม่ได้ ซึ่งเราคงเคยได้ยิน เกี่ยวกับการขาดสารอาหารในเด็ก แต่อีกโรคที่คุณพ่อคุณแม่หลายคนอาจจะยังไม่รู้จัก คือ “โรคขาดโปรตีน และแคลอรี” ซึ่งเป็นผลกระทบจากที่ร่างกายขาดสารอาหารโปรตีน และร่างกายมีพลังงานไม่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย สามารถพบได้บ่อยในเด็กอายุไม่เกิน 6 ปี ซึ่งมีอยู่ 2 ชนิด ได้แก่

 

  • ควาชิออร์กอร์ (Kwashiorkor) : ประเภทที่มีการขาดโปรตีนอย่างมาก เด็กมีอาการบวมที่ขา, เส้นผมมีบางหลุดง่าย, มีอาการซึม, ผิวบางลอกหลุด และตับโต
  • มาราสมัส (Marasmus) : ประเภทที่ขาดทั้งพลังงาน และโปรตีน เด็กจะมีแขนขาลีบ เพราะไขมัน และกล้ามเนื้อ ถูกเผาผลาญมาใช้แทนเป็นพลังงาน จนมีหนังหุ้มกระดูก ผิวหนังเหี่ยวย่น จะไม่มีอาการบวมแบบ และตับไม่โตเหมือน ควาชิออร์กอร์ (Kwashiorkor)

 

โรคร้ายนี้ส่งผลให้ลูกน้อยมีภูมิคุ้มกันของร่างกายที่ต่ำ เสี่ยงต่อการติดเชื้อต่าง ๆ เพิ่มมากขึ้นไปด้วย ซึ่งสามารถป้องกันโรคนี้ได้ด้วยการให้ลูกทานอาหารตามโภชนาการ ให้ความสำคัญกับสุขอนามัยของอาหาร นอกจากนี้ยังสามารถใช้ “นมเสริมโปรตีน” เพื่อช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคร้ายนี้ด้วย

บทความจากพันธมิตร
รวม 5 ที่เรียนภาษาอังกฤษระดับแนวหน้า ตอบโจทย์ทุกช่วงวัย พร้อมเทคนิคเรียนดีที่ไม่ควรพลาด!
รวม 5 ที่เรียนภาษาอังกฤษระดับแนวหน้า ตอบโจทย์ทุกช่วงวัย พร้อมเทคนิคเรียนดีที่ไม่ควรพลาด!
เปิดโอกาสให้ลูกได้ค้นหาตัวเอง ด้วยเทคนิคการเรียนแบบ Home School
เปิดโอกาสให้ลูกได้ค้นหาตัวเอง ด้วยเทคนิคการเรียนแบบ Home School
LPR โพรไบโอติก เกรด A กระตุ้นภูมิคุ้มกันให้ลูกรักแข็งแรงพร้อมเรียนรู้
LPR โพรไบโอติก เกรด A กระตุ้นภูมิคุ้มกันให้ลูกรักแข็งแรงพร้อมเรียนรู้
แม่รู้ไหม? พัฒนาการสมอง ของลูกเกิดขึ้นได้ทั้งกลางวันและกลางคืน เสริมด้วย สารอาหารสมอง และการนอนอย่างมีคุณภาพ
แม่รู้ไหม? พัฒนาการสมอง ของลูกเกิดขึ้นได้ทั้งกลางวันและกลางคืน เสริมด้วย สารอาหารสมอง และการนอนอย่างมีคุณภาพ

 

ลูกน้ำหนักน้อย เกิดจากอะไร ตอนนี้เราคงรู้แล้ว ปัญหานี้สามารถแก้ไขได้ และไม่ควรนิ่งนอนใจ เพราะการให้ทานอาหารมากขึ้นเพียงอย่างเดียว อาจเป็นการแก้ไขที่ไม่ตรงจุด การเลือกนมที่เหมาะกับเด็กมีโปรตีนที่เพียงพอ ประกอบกับการรักษาโรคที่ส่งผลต่อระบบย่อยอาหาร รวมไปถึงการทำเมนูอาหารที่หลากหลายขึ้น อาจเป็นทางออกที่คุณพ่อคุณแม่กำลังมองหา

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

ตารางน้ำหนักและขนาดของทารกในครรภ์ ที่จะบอกว่าลูกในท้องแข็งแรงดีแค่ไหน

ทำความเข้าใจเรื่อง “น้ำหนักส่วนสูงเด็ก” ก่อนลูกเข้าเรียนอนุบาล

กินอะไรเพิ่มน้ำหนักลูกในท้อง กินอะไรลูกในท้องถึงตัวใหญ่ คลอดมาแข็งแรง

 

ที่มาข้อมูล : 1 2 3

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

Sutthilak Keawon

  • หน้าแรก
  • /
  • พัฒนาการลูก
  • /
  • ลูกน้ำหนักน้อย เกิดจากอะไร ภัยร้ายจากการขาดพลังงานและโปรตีน
แชร์ :
  • รวม 5 ที่เรียนภาษาอังกฤษระดับแนวหน้า ตอบโจทย์ทุกช่วงวัย พร้อมเทคนิคเรียนดีที่ไม่ควรพลาด!
    บทความจากพันธมิตร

    รวม 5 ที่เรียนภาษาอังกฤษระดับแนวหน้า ตอบโจทย์ทุกช่วงวัย พร้อมเทคนิคเรียนดีที่ไม่ควรพลาด!

  • เปิดโอกาสให้ลูกได้ค้นหาตัวเอง ด้วยเทคนิคการเรียนแบบ Home School
    บทความจากพันธมิตร

    เปิดโอกาสให้ลูกได้ค้นหาตัวเอง ด้วยเทคนิคการเรียนแบบ Home School

  • คู่มือคุณพ่อ – คุณแม่ ! วิธีเลือกโลชั่นเด็ก เลือกอย่างไรให้เหมาะสมและปลอดภัย

    คู่มือคุณพ่อ – คุณแม่ ! วิธีเลือกโลชั่นเด็ก เลือกอย่างไรให้เหมาะสมและปลอดภัย

  • รวม 5 ที่เรียนภาษาอังกฤษระดับแนวหน้า ตอบโจทย์ทุกช่วงวัย พร้อมเทคนิคเรียนดีที่ไม่ควรพลาด!
    บทความจากพันธมิตร

    รวม 5 ที่เรียนภาษาอังกฤษระดับแนวหน้า ตอบโจทย์ทุกช่วงวัย พร้อมเทคนิคเรียนดีที่ไม่ควรพลาด!

  • เปิดโอกาสให้ลูกได้ค้นหาตัวเอง ด้วยเทคนิคการเรียนแบบ Home School
    บทความจากพันธมิตร

    เปิดโอกาสให้ลูกได้ค้นหาตัวเอง ด้วยเทคนิคการเรียนแบบ Home School

  • คู่มือคุณพ่อ – คุณแม่ ! วิธีเลือกโลชั่นเด็ก เลือกอย่างไรให้เหมาะสมและปลอดภัย

    คู่มือคุณพ่อ – คุณแม่ ! วิธีเลือกโลชั่นเด็ก เลือกอย่างไรให้เหมาะสมและปลอดภัย

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
    • ก่อนตั้งครรภ์
    • การคลอด
    • ระยะการตั้งครรภ์
    • การคลอด
  • พัฒนาการลูก
    • ทารก
    • เด็กก่อนเข้าเรียน
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • การวางแผนการเงิน
    • การเลี้ยงลูก
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • นมแม่และนมผง
  • โภชนาการ
    • สินค้าเด็ก
    • นมผง
    • เมนูอาหาร
    • สินค้าแม่
  • เพิ่มเติม
    • TAP สังคมออนไลน์
    • ติดต่อโฆษณา
    • ติดต่อเรา
    • Influencer Marketing (KOL)
    • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Sri-Lanka flag Sri Lanka
  • India flag India
  • Vietnam flag Vietnam
  • Australia flag Australia
  • Japan flag Japan
  • Nigeria flag Nigeria
  • Kenya flag Kenya
© Copyright theAsianparent 2023. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

theAsianparent heart icon
เราต้องการส่งแจ้งเตือนข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการดูแลทารกและสุขภาพไปให้กับคุณ