แจกตาราง พัฒนาการเด็ก เช็คพัฒนาการลูกน้อย ตารางพัฒนาการตามวัย ทางกระทรวงสาธารณสุข ได้จัดทำขึ้นมาจากการสำรวจเรื่องพัฒนาการของเด็ก พบว่า เด็กไทยมีพัฒนาการล่าช้าประมาณ 30% จากตรงนี้เอง ทางกระทรวงได้เห็นถึงความสำคัญของการเลี้ยงดูลูกของพ่อแม่ เพื่อให้เด็กๆ ได้เติบโตอย่างมีคุณภาพ โดยที่พ่อแม่ทุกคนสามารถทำได้ เพียงใช้สิ่งเล็กๆ รอบตัวนั่นเอง ก่อนอื่นพ่อแม่ต้องพยายามปรับแนวคิดของตนเองที่เกี่ยวข้องกับลูก คอยเฝ้าระวัง และส่งเสริมพัฒนาการของลูกเองในแต่ละช่วยงวัย ให้มีพัฒนาการที่สมวัย โดยดูได้จากตาราง ดังต่อไปนี้
ตารางพัฒนาการตามวัย พัฒนาการเด็ก พัฒนาการเด็กแต่ละช่วงวัย
ดาวน์โหลดภาพใหญ่
ตารางพัฒนาการตามวัย ถ้าดูในตารางคุณพ่อคุณแม่คงจะเห็นว่า ช่วงอายุ 9, 18, 30 และ 42 เดือน จะมีเครื่องหมาย * นี้อยู่ แสดงว่า ช่วงเด็กวัยนี้มีความสำคัญเป็นอย่างมาก หากลูกถึงวัยดังกล่าวควรพาลูกน้อยเข้ารับการคัดกรองพัฒนาการเด็ก โดยเจ้าหน้าที่สาธารณสุขใกล้บ้านของคุณแม่ค่ะ ตัวอย่างแบบประเมินตามรูปด้านล่าง ซึ่งอาจจะมีการเปลี่ยนแปลงหรือเหมือนเดิมก็ได้
บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ : 5 สถานที่เสริมพัฒนาการเด็ก พัฒนาสมองผ่านการเล่นกิจกรรม
ตารางพัฒนาการลูกดีอย่างไร พัฒนาการเด็กแต่ละวัย
- เกิดผลดีต่อการเรียนรู้เวลาที่ลูกเข้าเรียน ด้านพัฒนาการด้านจิตสังคมของเด็ก คุณภาพชีวิต และด้านสติปัญญา
- ทารกน้อยมีการเรียนรู้แล้วตั้งแต่เกิดที่ได้จากการมองเห็น ได้ยิน และได้กลิ่น ถ้าพ่อแม่ได้สังเกตพัฒนาการลูกจะรู้ได้ทันทีว่าลูกเรามีพัฒนาการดีหรือไม่จากตาราง และผู้เชี่ยวชาญ
- แนะนำวิธีการเล่นและการส่งเสริมพัฒนาการลูกจากสิ่งแวดล้อมรอบๆ ตัว ที่เหมาะสมกับวัย
- เมื่อรู้ว่าลูกเราทำกิจกรรมใดไม่ได้ แสดงว่าลูกน้อยควรจะเพิ่มการส่งเสริมด้านในเข้าไป ซึ่งจะะช่วยให้เด็กเตรียมพร้อมก่อนเข้าเรียนได้
บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ : พ่อแม่ต้องรู้! วิธี เสริมพัฒนาการเด็ก 3 เดือน เด็กวัยนี้ต้องมีพัฒนาการอะไรบ้าง?
ตารางเล่นกับลูกในแต่ละวัย พัฒนาการเด็ก
หลังจากดูตารางแนะนำพัฒนาการของเด็กในแต่ละวัยแล้ว พ่อแม่คนไหนอยากจะเล่นหรือพูดคุยกับลูก แต่ไม่รู้ว่าเด็กวัยนี้ควรเล่นอะไร และสอนอะไร เรามีตัวช่วยค่ะ ดูได้จากตารางเล่นของลูกได้เลย
|
ช่วงวัยของเด็ก |
วิธีเล่นกับลูก |
วิธีคุยกับลูก พัฒนาการเด็ก |
แรกเกิด – 1 สัปดาห์ |
- ให้โอกาสเด็กมอง ฟัง และขยับแขนขาตามใจชอบ กอดเด็กและอุ้มเด็กบ่อยๆ
- อย่าห่อเด็กแน่นเกินไป จนเด็กขยับตัวไม่ได้
|
- สบตา ยิ้ม พูดคุยกับเด็กบ่อยๆ ไม่ว่าจะเป็นช่วงเด็กดูดนมแม่ หรือช่วงเปลี่ยนเสื้อผ้าเด็ก
|
1 สัปดาห์ – 6 เดือน |
- เด็กยังชอบมอง ฟัง และขยับแขนขาตามใจชอบ กอดเด็กและอุ้มเด็กบ่อยๆ
- ให้เด็กดูของสีสดใส หรือ
กรุ๊งกริ๊ง เด็กจะได้ฝึกมองตาม ฟังเสียง และคว้าของ
- เด็กชอบอมของ เพราะเด็กอยากรู้ว่ามันนิ่มหรือแข็ง อุ่นหรือเย็น
- เด็กชอบเล่นข้าวของในบ้านที่สดใส แต่สะอาด ปลอดภัย ไม่ต้องซื้อของเล่นแพงๆให้เด็ก
|
- สบตา ยิ้ม หัวเราะ พูดคุยกับเด็กบ่อยๆแล้วเด็กจะคุยด้วย
- เลียนเสียงเด็ก และเล่นกับเด็ก ทําให้เด็กสนุกและมีความสุข
- อ่านและเล่าเรื่องจากหนังสือที่มีภาพ
- สวยๆ และสดใส ให้เด็กฟังบ่อยๆ เด็กชอบมาก
- ถึงแม้ว่าเด็กจะพูดไม่ได้แต่เด็กรู้ว่าคุณแม่-คุณพ่อเข้าใจเสียงอู-อาของเด็กว่าเด็กต้องการอะไร
|
6 เดือน – 9 เดือน |
- เด็กชอบเล่นข้าวของในบ้านที่สีสันสดใส แต่สะอาด ปลอดภัย เด็กจะเอามาเขย่า ตีเคาะ ทําเสียงต่างๆ หรือปล่อยลงพื้น คุณแม่-คุณพ่ออย่าดุเด็กนะเพราะเด็กกําลังเรียนรู้
|
- พูดคุยกับเด็กเมื่อเด็กทําเสียงต่างๆ หรือเรียกชื่อเด็ก เด็กจะได้จําชื่อตัวเองได้
- เด็กอยากให้คุณแม่-คุณพ่อ อ่านหนังสือภาพให้เด็กฟังทุกวัน
|
9 เดือน – 12 เดือน |
- เล่นซ่อนของกับเด็ก เด็กอยากรู้ว่ามันหายไปไหน
- เด็กชอบของเล่นจ๊ะเอ๋มาก ทําให้เด็กหัวเราะ และมีความสุข
|
- เด็กกําลังจดจําคําต่างๆสอนเด็กเรียกชื่อสิ่งต่างๆรอบตัวเด็กด้วย
- สอนเด็กให้สวัสดีและบ๊ายบาย
- เด็กชอบเสียงอ่าน และเล่านิทานของ
- คุณแม่-คุณพ่อมาก อ่านหนังสือภาพให้เด็กฟังทุกวัน
- อย่าทิ้งเด็กอยู่คนเดียว เด็กกลัว เด็กจะรู้สึกปลอดภัย หากได้เห็นหรือได้ยินเสียงคุณแม่คุณพ่อ
|
12 เดือน – 2 ปี |
- เด็กชอบเล่นซ้อนของขนาดต่างๆ กันซ้อนกันเอาออก เด็กเรียนรู้เรื่องขนาด รูปร่าง และสีต่างๆ ไปด้วยกัน
- คุณแม่คุณพ่อใช้ของเล่นในบ้านที่สะอาดและปลอดภัยให้เด็กเล่นได้ไม่ต้องซื้อของเล่นที่แพงๆ ให้เด็ก
- เด็กกําลังหัดเดิน วิ่ง ฝึกสิ่งใหม่ๆ ช่วยสอนเด็กด้วยและให้กําลังใจเด็ก
|
- เด็กพูดได้แล้ว คุณแม่คุณพ่อคุยกับเด็กบ่อยๆ สอนคําต่างๆ ให้เด็กเรียนรู้จากสิ่งรอบๆ ตัวเด็ก
- ขณะเล่นกับเด็ก พูดคุยและสอนคําต่างๆ ให้เด็กด้วย
- อ่านหนังสือภาพให้เด็กทุกวัน เพราะเด็กชอบมาก
|
2 ปีขึ้นไป |
- สอนเด็กนับหนึ่ง สอง สาม
- สอนเด็กเรียนรู้เรื่องขนาด รูปร่าง และสีของสิ่งต่างๆ และเปรียบเทียบกัน
- เด็กชอบของเล่นที่คุณแม่คุณพ่อทําให้มากที่สุด
|
- เด็กพูดได้เยอะแยะแล้ว และเด็กชอบถาม อย่ารําคาญเด็ก เพราะเด็กกําลังอยากรู้สิ่งต่างๆ รอบตัวเด็ก
- พูดคุย เล่านิทาน ร้องเพลง และเล่นกับเด็กบ่อยๆ
- หากเด็กทําผิดพลาดอย่าซ้ําเติมเด็กให้กําลังใจเด็กแทน และสอนเด็กว่าอะไรถูก อะไรไม่เหมาะสม
- เด็กชอบเลียนแบบ ดังนั้นผู้ใหญ่ทั้งหลายต้องเป็นตัวอย่างที่ดีให้เด็กด้วย
|
เป็นยังไงบ้างค่ะ อ่านเสร็จแล้วอย่าลืมเช็คพัฒนาการของลูกกับตารางข้างต้นนะคะ และถ้าลูกน้อยอายุถึงเกณฑ์แล้วอย่าลืมพาน้องไปตรวจคัดกรองพัฒนาการกับเจ้าหน้าที่สาธารณสุขด้วยใกล้บ้าน เพื่อลูกน้อยจะได้เติบโตแข็งแรงสมวัย
ที่มา: สสส. กระทรวงสาธารณสุข
บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ :
ลูกชอบตีหัวตัวเอง เอาหัวโขกพื้น จะเป็นอันตรายไหม?
เลี้ยงลูกวัย 4 ขวบอย่างไร ให้ถูกวิธี และเสริมพัฒนาการลูกน้อย
ลูกกินน้ำได้เท่าไหร่ต่อวัน แม่สงสัยกันไหม (อายุ 6 เดือน – 4 ปี)
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!