สำหรับคุณพ่อคุณแม่มือใหม่ที่กำลังวางแผนต้อนรับสมาชิกตัวน้อยในปี 2568 การรู้ข้อมูลเกี่ยวกับ ค่าคลอดโรงพยาบาลรัฐ สิทธิประกันสังคม 2568 เป็นเรื่องสำคัญมาก โดยเฉพาะคุณพ่อคุณแม่ที่เป็นผู้ประกันตน เพราะสิทธิประโยชน์เหล่านี้ช่วยแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายในการคลอดบุตรได้ไม่น้อยเลยทีเดียว มาดูกันว่าข้อมูลเกี่ยวกับค่าคลอดในโรงพยาบาลรัฐและสิทธิประกันสังคมสำหรับคุณแม่ในปี 2568 มีอะไรบ้าง เพื่อให้คุณพ่อคุณแม่ได้วางแผนการเงินอย่างรอบคอบค่ะ

คลอดลูกในโรงพยาบาลรัฐ ดียังไง?
การคลอดลูกในโรงพยาบาลรัฐเป็นทางเลือกที่ได้รับความนิยมในประเทศไทยค่ะ เนื่องจากมีข้อดีหลายประการที่ตอบสนองความต้องการของคุณแม่จำนวนมาก โดยเฉพาะในเรื่อง ค่าคลอดโรงพยาบาลรัฐ สามารถใช้ สิทธิประกันสังคม ได้ รวมถึงข้อดีต่างๆ ดังนี้
- ประหยัดกว่าโรงพยาบาลเอกชน ค่าคลอดโรงพยาบาลรัฐ โดยทั่วไปจะมีค่าใช้จ่ายถูกกว่าอย่างเห็นได้ชัดเมื่อเทียบกับโรงพยาบาลเอกชน ทำให้เป็นทางเลือกที่ช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายให้กับครอบครัวได้
- สิทธิการรักษา คุณแม่ที่มีสิทธิสวัสดิการต่างๆ เช่น บัตรทอง หรือ สิทธิประกันสังคม จะสามารถเบิกค่าใช้จ่ายในการคลอดจากภาครัฐ/สำนักงานประกันสังคม ได้ เป็นการเพื่อลดภาระค่าใช้จ่ายได้ส่วนหนึ่ง
อย่างไรก็ตาม มีข้อจำกัดบางประการเช่นกันในการคลอดลูกในโรงพยาบาลรัฐ เช่น ความแออัดจากการมีผู้ใช้บริการจำนวนมาก อาจทำให้รอคิวนาน หรือไม่ได้รับความสะดวกสบายเท่าโรงพยาบาลเอกชน รวมถึงห้องพักและสิ่งอำนวยความสะดวกก็อาจแตกต่างจากโรงพยาบาลเอกชนด้วย

ค่าคลอดโรงพยาบาลรัฐ สิทธิประกันสังคม เบิกยังไง ได้เท่าไร
ค่าคลอดโรงพยาบาลรัฐ สิทธิประกันสังคม 2568 สำหรับผู้ประกันตนจะครอบคลุมค่าคลอดในรูปแบบของ “เงินเหมาจ่าย” รวมถึงได้รับสิทธิประโยชน์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้องด้วย เช่น การฝากครรภ์ การลาคลอด
-
ค่าคลอดโรงพยาบาลรัฐ ราคาประมาณเท่าไร
โดยทั่วไป ค่าคลอดโรงพยาบาลรัฐจะมีค่าใช้จ่ายเฉลี่ยจะอยู่ที่ประมาณ 3,000 – 15,000 บาท ซึ่งอาจแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับปัจจัยต่างๆ ดังนี้
- ประเภทการคลอด
- คลอดธรรมชาติ มักมีค่าใช้จ่ายน้อยกว่า อาจอยู่ที่ประมาณ 3,000 – 7,000 บาท
- ผ่าคลอด จะมีขั้นตอนการผ่าตัดและพักฟื้นนานกว่า จึงทำให้ค่าใช้จ่ายการคลอดขยับสูงขึ้นกว่าการคลอดธรรมชาติ ซึ่งค่าคลอดในโรงพยาบาลรัฐอาจอยู่ที่ประมาณ 10,000 – 15,000 บาท
- ภาวะแทรกซ้อน หากมีภาวะแทรกซ้อนระหว่างการคลอด หรือต้องได้รับการดูแลเป็นพิเศษ ค่าใช้จ่ายการคลอดก็จะเพิ่มขึ้น
- ค่าใช้จ่ายอื่นๆ เช่น ค่าห้อง ค่าอาหาร ค่าทำคลอดพิเศษ (เช่น การใช้ยาชาเฉพาะจุด) อาจมีราคาแตกต่างกันไปในโรงพยาบาลแต่ละแห่ง
-
ค่าคลอดโรงพยาบาลรัฐ สิทธิประกันสังคม เบิกได้เท่าไหร่
หากคุณแม่เป็นผู้ประกันตนตามสิทธิประกันสังคม จะได้รับสิทธิประโยชน์ดังนี้
- เงินเหมาจ่ายค่าคลอดบุตร ได้รับเงินเหมาจ่ายจำนวน 15,000 บาท ต่อการคลอด 1 ครั้ง ไม่ว่าจะคลอดธรรมชาติหรือผ่าคลอด ไม่จำกัดจำนวนครั้งในการคลอด โดยสิทธิประกันสังคมที่คุณแม่สามารถเบิกได้คือค่าคลอดแบบเหมาจ่าย 15,000 บาท อาจไม่รวมถึงค่าห้องหลังคลอด และค่าใช้จ่ายอื่นๆ ซึ่งโดยปกติแล้วคุณพ่อคุณแม่ต้องสำรองจ่ายค่าคลอดไปก่อนแล้วค่อยไปเบิกกับประกันสังคมในภายหลังค่ะ
|
ตัวอย่าง ค่าคลอดโรงพยาบาลรัฐ สิทธิประกันสังคม โรงพยาบาลรามาธิบดี
|
คลอดทางช่องคลอด
(คลอดธรรมชาติ) |
- ราคา 13,000 – 20,000 บาท
- นอนโรงพยาบาล 2-3 วัน
|
คลอดทางช่องคลอด + ทำหมันหลังคลอด |
- ราคา 15,000 – 25,000 บาท
- นอนโรงพยาบาล 3-4 วัน
|
ผ่าคลอด |
- ราคา 25,000 – 40,000 บาท
- นอนโรงพยาบาล 3-4 วัน
|
ผ่าคลอด + ทำหมันหลังคลอด |
- ราคา 55,000 – 45,000 บาท
- นอนโรงพยาบาล 3-4 วัน
|
ค่าห้องหลังคลอด (ต่อวัน) |
- เตียงธรรมดา+อาหาร ราคา 500 บาท
- เตียงธรรมดา+อาหารพิเศษ ราคา 860 บาท
- เตียงพิเศษเดี่ยว+อาหารพิเศษ ราคา 2,360-2,860 บาท
|
ทั้งนี้ มีตัวอย่างค่าใช้จ่ายการคลอดในโรงพยาบาลรัฐอื่นๆ เช่น
- โรงพยาบาลกลาง คลอดธรรมชาติ ประมาณ 4,600-5,000 บาท (ไม่รวมค่าใช้จ่ายอื่นๆ)
- โรงพยาบาลภูมิพล คลอดธรรมชาติ ประมาณ 8,000 บาท (ไม่รวมค่าใช้จ่ายอื่นๆ)
- วชิรพยาบาล คลอดธรรมชาติ ประมาณ 7,000-15,000 บาท (ไม่รวมค่าใช้จ่ายอื่นๆ)
- โรงพยาบาลตำรวจ คลอดธรรมชาติ ประมาณ 5,500-6,000 บาท (ไม่รวมค่าใช้จ่ายอื่นๆ)
ฯลฯ
- ค่าฝากครรภ์ คุณแม่ที่เป็นผู้ประกันตนสามารถเบิกค่าฝากครรภ์ได้ตามจริง แต่ไม่เกิน 1,500 บาท โดยแบ่งเป็น 5 ครั้ง คือ
- ครั้งแรก อายุครรภ์ไม่เกิน 12 สัปดาห์ เบิกได้ไม่เกิน 500 บาท
- ครั้งที่ 2 อายุครรภ์ 12-20 สัปดาห์ เบิกได้ไม่เกิน 300 บาท
- ครั้งที่ 3 อายุครรภ์ 20-28 สัปดาห์ เบิกได้ไม่เกิน 300 บาท
- ครั้งที่ 4 อายุครรภ์ 28-32 สัปดาห์ เบิกได้ไม่เกิน 200 บาท
- ครั้งที่ 5 อายุครรภ์ 32-40 สัปดาห์ขึ้นไป เบิกได้ไม่เกิน 200 บาท
- เงินสงเคราะห์การหยุดงานเพื่อคลอดบุตร คุณแม่ที่เป็นผู้ประกันตนมาตรา 33 สามารถลาคลอดได้ 90 วัน โดยได้รับเงินทดแทน 50% ของค่าจ้างเฉลี่ย (สูงสุดไม่เกิน 15,000 บาท/เดือน) โดยสามารถเบิกได้สูงสุด 2 ครั้ง ตลอดระยะเวลาการเป็นผู้ประกันตน เช่น เงินเดือน 15,000 บาท ได้รับเงินทดแทน 50% คือ 7,500 บาท เป็นเวลา 90 วัน (3 เดือน) รวมเป็นเงินทดแทนที่เบิกจากประกันสังคมได้ 22,500 บาท เป็นต้น
- เงินสงเคราะห์บุตร เบิกได้ 1,000 บาทต่อเดือน ตั้งแต่แรกเกิดจนถึง 6 ปี

ค่าคลอดโรงพยาบาลรัฐ สิทธิประกันสังคม เบิกยังไง?
กระบวนการเบิกค่าคลอดจะเป็นไปอย่างราบรื่นหากคุณแม่เตรียมเอกสารที่จำเป็นให้พร้อม ดังนี้
- แบบคำขอรับประโยชน์ทดแทน (แบบ สปส. 2-01)
- สำเนาสูติบัตรของบุตร ในกรณีคลอดบุตรแฝด ให้แนบสำเนาสูติบัตรของบุตรแฝดทุกคน
- สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้ยื่นคำขอ
- สำเนาสมุดบัญชีเงินฝากธนาคาร หน้าแรก ที่มีชื่อและเลขที่บัญชีของผู้ยื่นคำขอ (ต้องเป็นบัญชีออมทรัพย์เท่านั้น)
- ใบเสร็จรับเงินค่าฝากครรภ์ (ถ้ามี)
- สำเนาทะเบียนสมรส (กรณีคุณพ่อซึ่งเป็นผู้ประกันตน เป็นผู้ยื่นขอรับสิทธิ)
- หนังสือรับรองการเป็นบิดาที่ชอบด้วยกฎหมายของเด็ก (กรณีไม่ได้จดทะเบียนสมรส)
เมื่อเตรียมเอกสารครบถ้วนแล้ว ก็เข้าสู่ขั้นตอนการยื่นเรื่องขอรับสิทธิ ค่าคลอดโรงพยาบาลรัฐ สิทธิประกันสังคม ดังนี้
- กรอกแบบคำขอรับประโยชน์ทดแทน (แบบ สปส. 2-01) ให้ครบถ้วน และลงลายมือชื่อ
- รวบรวมเอกสารประกอบการยื่นคำขอทั้งหมด ยื่นที่ สำนักงานประกันสังคมในพื้นที่ที่สะดวก หรือยื่นผ่านไปรษณีย์
- รอการพิจารณาและอนุมัติจากสำนักงานประกันสังคม
- เมื่อได้รับการอนุมัติ เงินจะถูกโอนเข้าบัญชีธนาคารที่ระบุไว้ในแบบคำขอ โดยปกติจะใช้เวลาประมาณ 5-7 วันทำการหลังเอกสารได้รับการอนุมัติ

ใช้สิทธิประกันสังคม คลอดโรงพยาบาลรัฐ อย่าลืม! วางแผนค่าใช้จ่าย
แม้ว่าสิทธิประกันสังคมจะช่วยแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายในการคลอดได้ แต่คุณแม่ควรสอบถามรายละเอียดจากโรงพยาบาลที่ต้องการคลอดเกี่ยวกับค่าใช้จ่ายในการคลอดและสิทธิประโยชน์ต่างๆ อีกครั้ง รวมทั้งตรวจสอบสิทธิประกันสังคมกับสำนักงานประกันสังคม เพื่อให้แน่ใจว่าตนเองมีสิทธิในการเบิกจ่าย รวมถึงทราบถึงรายละเอียดเงื่อนไขต่างๆ เพื่อเตรียมงบประมาณเผื่อสำหรับค่าใช้จ่ายอื่นๆ ที่อาจเกิดขึ้นด้วยนะคะ เช่น
- ค่าฝากครรภ์และตรวจสุขภาพ ซึ่งแม้ประกันสังคมอาจช่วยจ่ายบางส่วน แต่บางบริการอาจต้องจ่ายเอง
- ค่าวัคซีนและการตรวจเพิ่มเติมสำหรับลูกน้อย โดยเฉพาะวัคซีนทางเลือก
- ค่าอุปกรณ์สำหรับเด็กแรกเกิด เช่น เตียงเด็ก ผ้าอ้อม หรือขวดนม
- ค่าใช้จ่ายในการพักฟื้น ค่าเดินทางไปโรงพยาบาล ค่าใช้จ่ายในการดูแลตนเองหลังคลอด
ที่มา : pmghospital.in.th , policywatch.thaipbs.or.th
บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ
ฤกษ์มงคล ฤกษ์ผ่าคลอด 2568 ครึ่งปีแรก ให้ลูกน้อยรับพลังบวกตั้งแต่เกิด
ผ่าคลอดกี่วันถึงจะขับรถได้ คำแนะนำสำหรับคุณแม่มือใหม่
ท้องลด ใกล้คลอดดูยังไง แม่ต้องรู้ อาการใกล้คลอดมีอะไรบ้าง?
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!