X
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้าเข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ตั้งครรภ์
    • คำนวณวันคลอด
    • ฉันกำลังตั้งครรภ์
    • ไตรมาสที่ 1
    • ไตรมาสที่ 2
    • ไตรมาสที่ 3
    • Project Sidekicks
    • ตั้งชื่อลูก
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • อีเว้นท์
    • TAP Awards Winners
    • TAP idol
    • TAP x Safari Largest Treasure Hunt
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

ลูกติดแม่มาก ? ลูกงอแงเมื่อเห็นว่าคุณกำลังจะออกไปทำงาน

บทความ 5 นาที
ลูกติดแม่มาก ? ลูกงอแงเมื่อเห็นว่าคุณกำลังจะออกไปทำงาน

ทารกเกือบทุกคนล้วนเจอกับความวิตกกังวลจากการแยกจาก และเป็นเรื่องที่ธรรมดามาก ๆ ที่เด็กมีพัฒนาการทางอารมณ์แบบนี้ อาการนี้เกิดขึ้นเมื่อลูกเริ่มเข้าใจว่ามีสิ่งต่าง ๆ และผู้คนที่มีตัวตนอยู่แม้กระทั่งเมื่อสิ่งเหล่านี้ และคนเหล่านี้ไม่ได้อยู่รอบ ๆ ตัวทารกแล้วก็ตาม เด็กทารกที่กำลังอยู่ในช่วงนี้จะมีอาการกระวนกระวายกับการต้องแยกจากพ่อแม่ จนเป็นคำเรียกว่า “ลูกติดแม่มาก” ลูกจะเริ่ม “เชื่อมโยง” การแยกจากกับสิ่งต่าง ๆ เช่น เมื่อคุณใส่รองเท้า ลูกจะเข้าใจว่าหมายถึงคุณกำลังจะออกจากบ้าน และจากลูกไป ลูกจะมีปฏิกิริยาติดพ่อแม่ขึ้นมา อาการของความวิตกกังวลจากการแยกจากมักพบได้มากที่สุดเมื่อลูกมีอายุระหว่าง 9 ถึง 18 เดือน

 

ทำไมลูกจึงติดแม่มาก ?

  • ผู้ปกครองมีความเป็นห่วงลูกมากเกินไป จนส่งผลกับเด็ก เช่น ห่วงความปลอดภัยในทุกเรื่อง ไม่ยอมปล่อยให้เด็กมีการเรียนรู้ด้วยตนเอง จนเด็กเริ่มชิน และเข้าใจไปเองว่าการอยู่ใกล้พ่อแม่ จะทำให้ตนเองปลอดภัย
  • อาจเป็นเพราะนิสัยของเด็กเอง โดยเฉพาะเด็กที่มีนิสัยขี้อาย ไม่กล้าแสดงออก หรือไม่กล้าเจอคนอื่น ๆ ที่ไม่คุ้น ทำให้หลบหลังพ่อแม่ตลอดเวลา หรือพยายามอยู่กับแค่พ่อแม่เท่านั้น
  • เด็กอาจมีประสบการณ์ที่ถูกพ่อแม่ดุอย่างรุนแรง หรือขู่ว่าจะหนีไป ถ้าทำตัวไม่ดีจะไม่รัก จะเอาไปทิ้ง เป็นต้น คำเหล่านี้ส่งผลต่อจิตใจของลูกมาก ทำให้ลูกกลัวว่าตนเองจะต้องอยู่คนเดียว กลัวไม่ได้เจอพ่อแม่อีก
  • ส่วนหนึ่งอาจได้รับการถ่ายทอดมาทางพันธุกรรม คล้ายกับนิสัยอื่น ๆ เช่น ในตอนวัยเด็กพ่อแม่เองก็อาจเป็นเด็กที่ติดแม่มาก่อนเช่นกัน นิสัยเหล่านี้ก็มีโอกาสถ่ายทอดมาสู่ลูกได้เหมือนกัน

บทความที่เกี่ยวข้อง : ลูกจะติดแม่ตอนกี่เดือน ลูกมักจะใช้เวลาอยู่กับแม่ตลอดเวลาเพราะอะไร?

 

วิดีโอจาก : โค้ชเลิศพร สอนแม่และเด็ก

 

สร้างความเข้าใจตั้งแต่แรกเกิด แก้ปัญหาลูกติดแม่ได้ดี

หากคุณพ่อคุณแม่คนไหนที่กำลังจะมีลูก และต้องการศึกษาวิธีทำให้ลูกไม่ติดแม่ ไม่ติดพ่อมากเกินไป การแก้ที่ดี คือ การป้องกันไม่ให้เกิดขึ้น โดยให้ความสำคัญกับการเลี้ยงดูตั้งแต่ยังเล็ก เปิดโอกาสให้ลูกได้กล้าแสดงออก แสดงความคิดเห็น ให้เรียนรู้ด้วยตนเอง เมื่อลูกทำผิดไม่ควรทำโทษด้วยการดุด่าอย่างรุนแรง ไม่ควรขู่ให้ลูกกลัว และสนับสนุนลูกในสิ่งที่เหมาะสมให้เกิดการเรียนรู้ มากกว่าการห้าม จะช่วยให้เด็กมีความกลัว มีความกังวลน้อยลง และมีนิสัยที่กล้าขึ้น ซึ่งเหล่านี้เป็นสิ่งสำคัญที่จะทำให้ลูกน้อยมีนิสัยติดพ่อแม่น้อยลง

บทความที่เกี่ยวข้อง : ลูกขี้อาย ทำไงดี ไม่กล้าแสดงออกเลย ให้ทำอะไรก็ไม่ทำ มีวิธีแก้ไหม

 

วิธีการช่วยแก้ปัญหา ลูกติดแม่มาก สำหรับเด็กทารก

  • ให้ลูกได้รู้จักกับพี่เลี้ยง หรือผู้ดูแลคนใหม่ : หากคุณตั้งครรภ์อยู่ และคิดว่าจะหาพี่เลี้ยงมาช่วยดูแลลูกคนใหม่ ขอให้คุณจ้างพี่เลี้ยงก่อนที่คุณจะมีลูก หรือเมื่อลูกยังแรกเกิดอยู่ การทำเช่นนี้จะช่วยให้ลูกได้มีเวลามากเพียงพอที่จะคุ้นเคยกับผู้ช่วยของคุณ ซึ่งนั่นหมายความว่าเมื่อลูกโตขึ้น ลูกจะไม่ติดแม่มากเกินไป หรือมีความกระวนกระวายมากเกินไปเมื่อคุณจำเป็นต้องปล่อยให้ลูกอยู่บ้านเพื่อไปทำงาน หรือไปทำธุระ
  • ลดการแยกจากให้เหลือน้อยลงที่สุด : เท่าที่จะเป็นไปได้ในช่วงนี้ หากคุณต้องออกไปข้างนอก คุณควรนำลูกไปด้วยเมื่อเป็นไปได้
  • ฝึกซ้อมที่บ้าน : การจัดการกับการแยกจากคุณจะเป็นเรื่องง่ายกว่าหากลูกเป็นผู้เริ่มต้น ให้ลูกคลานไปที่ห้องอื่น (ที่ปลอดภัย) ด้วยตัวเอง และปล่อยให้ลูกอยู่ที่นั่นสักหนึ่งนาทีเองก่อนที่คุณจะตามลูกไป
  • บอกลาเสมอ : จูบ และกอดลูกเมื่อคุณต้องจากลูกไป และบอกลูกว่าคุณกำลังจะไปไหน และคุณจะกลับมาเมื่อไหร่ แต่อย่าให้การบอกลายืดเยื้อนัก พยายามอย่าแอบหนีออกไปเพราะลูกจะยิ่งใจเสียหากลูกคิดว่าคุณหายตัวไปในอากาศเสียเฉย ๆ

 

ลูกติดแม่มาก ทําไงดี

วิธีการแก้ปัญหา ลูกติดแม่มาก ที่โตขึ้นมาหน่อย

อาการติดแม่ของเด็กที่โตขึ้นมาหน่อยเป็นปฏิกิริยาธรรมชาติต่อความรู้สึกกลัว หรือวิตกกังวลเกี่ยวกับอะไรสักอย่าง เด็กมีอาการติดกับอะไรสักอย่างได้เมื่อสิ่งต่าง ๆ อยู่เหนือการคาดเดาเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงสิ่งแวดล้อม เช่น มีทารกคนใหม่ โรงเรียนใหม่ การหย่า หรือมีคนตายในครอบครัว

อย่ามองข้าม หรือทำโทษเด็กที่มีอาการนี้ เมื่อเด็กมีอาการติดแม่ อาการนี้เป็นสัญญาณแง่ดีที่ว่าลูกรู้สึกปลอดภัย และมั่นใจที่อยู่ใกล้ ๆ คุณ ลูกรู้ว่ารู้สึกปลอดภัยเมื่ออยู่กับคุณเวลาที่ลูกรู้สึกไม่มีความสุข หรือกระวนกระวาย หากคุณลงโทษ หรือละเลยพฤติกรรมนี้ ลูกอาจเลิกเข้าหาคุณเมื่อรู้สึกกลัว หรืออ่อนแอในที่สุด ซึ่งอาจทำให้เกิดปัญหาต่าง ๆ รวมทั้งความห่างเหินเมื่อลูกเริ่มเข้าสู่วัยรุ่น

 

  • ให้ลูกเป็นตัวของตัวเอง และเป็นอิสระ : เด็กจะได้ความมั่นใจผ่านการเรียนรู้ทักษะใหม่ ๆ และรู้สึกว่าตัวเองมีประโยชน์ต่อคุณ หรือผู้อื่น ดังนั้นให้ลูกทำอะไรง่าย ๆ เพื่อช่วยให้ลูกมั่นใจในตัวเอง คุณสามารถให้ลูกช่วยคุณทำอาหาร ให้ลูกทำความสะอาดห้องตัวเอง หรือช่วยจัดโต๊ะกินข้าว อย่าลืมชมลูกเมื่อลูกทำสิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ได้ด้วยตัวเอง ยิ่งลูกมั่นใจในตัวเองมากขึ้นเท่าไร ลูกก็จะรู้สึกมั่นคงกับสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ มากขึ้นเท่านั้น
  • เพิ่มกิจกรรมทางสังคมให้ลูก : การได้เล่นกับเด็กวัยเดียวกันจะช่วยให้ลูกของคุณสร้างมิตรภาพกับเพื่อน ๆ ซึ่งจะช่วยให้ลูกได้พัฒนาทักษะทางสังคมที่จำเป็นในการมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่นนอกครอบครัวของคุณ ลองจัดให้มีวันเล่นกับเพื่อน ๆ ที่โรงเรียน หรือเพื่อนบ้านดูสิ
  • จัดช่วงเวลาอยู่กับลูกโดยไม่ให้ถูกรบกวน : เด็กติดแม่บางคนต้องการความสนใจตลอดเวลาเพราะลูกเป็นกังวลว่าคุณจะให้ความสนใจกับลูกได้เมื่อไร  หรือคุณจะให้ความสนใจกับลูกได้ไหม ดังนั้นจัดเวลาสัก 30 นาที หรือ 1 ชั่วโมงทุกวันเพื่อให้คุณได้ให้ความสนใจกับลูกได้อย่างเต็มที่ คุณอาจใช้ช่วงเวลานี้อ่านหนังสือด้วยกัน เล่นกับลูก หรือคุยกับลูก แล้วแต่คุณเลย

 

ลูกติดแม่มาก เป็นปัญหาที่เกิดขึ้น โดยมีสาเหตุมาจากการเลี้ยงดูในช่วงเด็กเล็ก ประกอบกับนิสัยของตัวเด็กเองด้วย การแก้ปัญหาจึงสำคัญ เพื่อให้เด็กสามารถเข้าสังคมได้อย่างปกติ ไม่เป็นอุปสรรคในอนาคต

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

บทความจากพันธมิตร
เคล็ดลับเนรมิตห้องครัวให้เรียบหรู ทันสมัย และถูกใจคนใช้งานจริง
เคล็ดลับเนรมิตห้องครัวให้เรียบหรู ทันสมัย และถูกใจคนใช้งานจริง
ชี้เป้า ประกันสุขภาพลูก ลดภาระทางการเงินเมื่อลูกเจ็บป่วย ช่วยให้ได้รับการรักษาอย่างดีที่สุด
ชี้เป้า ประกันสุขภาพลูก ลดภาระทางการเงินเมื่อลูกเจ็บป่วย ช่วยให้ได้รับการรักษาอย่างดีที่สุด
ประกันสำหรับเด็ก เลือกแบบไหนดี มีไว้อุ่นใจ คุ้มครองครบ มีทุนสำรองเพื่ออนาคตของลูกรัก
ประกันสำหรับเด็ก เลือกแบบไหนดี มีไว้อุ่นใจ คุ้มครองครบ มีทุนสำรองเพื่ออนาคตของลูกรัก
เพราะการศึกษาลูกเป็นสิ่งสำคัญ เพิ่มความมั่นคงทางการเงินในอนาคต ด้วยประกันสะสมทรัพย์ Saving 20/10
เพราะการศึกษาลูกเป็นสิ่งสำคัญ เพิ่มความมั่นคงทางการเงินในอนาคต ด้วยประกันสะสมทรัพย์ Saving 20/10

9 วิธีเลี้ยงลูกให้ สนิทกับลูก อยากสนิทกับลูกทำยังไงดี ? วิธีเลี้ยงลูกให้สนิทกับแม่

ลูกร้องไห้ไม่หยุด ลูกร้องแบบนี้บอกอะไร พ่อแม่ต้องทำยังไง ?

10 วิธี การเลี้ยงลูกให้ฉลาด อยากให้ลูกฉลาดเติบโตเป็นคนเก่ง ต้องอ่าน !!

ที่มาข้อมูล : 1 , 2

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

theAsianparent Editorial Team

  • หน้าแรก
  • /
  • ชีวิตครอบครัว
  • /
  • ลูกติดแม่มาก ? ลูกงอแงเมื่อเห็นว่าคุณกำลังจะออกไปทำงาน
แชร์ :
  • 7 สัญญาณเตือน ให้คุณแม่ทราบว่า ลูกน้อยกำลังติดแม่!!

    7 สัญญาณเตือน ให้คุณแม่ทราบว่า ลูกน้อยกำลังติดแม่!!

  • ลูกติดแม่ตามแม่ไปทุกที่ แม่ไปห้องน้ำก็ตามไปเฝ้า อาการแบบนี้เกิดจากอะไร?

    ลูกติดแม่ตามแม่ไปทุกที่ แม่ไปห้องน้ำก็ตามไปเฝ้า อาการแบบนี้เกิดจากอะไร?

  • กรุ๊ปเลือดแม่-ลูกไม่ตรงกัน มีผลกับสุขภาพลูกด้วยหรือ?

    กรุ๊ปเลือดแม่-ลูกไม่ตรงกัน มีผลกับสุขภาพลูกด้วยหรือ?

  • ลูกเหงื่อออกตอนนอน สัญญาณโรคร้ายที่พ่อแม่ต้องระวัง

    ลูกเหงื่อออกตอนนอน สัญญาณโรคร้ายที่พ่อแม่ต้องระวัง

  • 7 สัญญาณเตือน ให้คุณแม่ทราบว่า ลูกน้อยกำลังติดแม่!!

    7 สัญญาณเตือน ให้คุณแม่ทราบว่า ลูกน้อยกำลังติดแม่!!

  • ลูกติดแม่ตามแม่ไปทุกที่ แม่ไปห้องน้ำก็ตามไปเฝ้า อาการแบบนี้เกิดจากอะไร?

    ลูกติดแม่ตามแม่ไปทุกที่ แม่ไปห้องน้ำก็ตามไปเฝ้า อาการแบบนี้เกิดจากอะไร?

  • กรุ๊ปเลือดแม่-ลูกไม่ตรงกัน มีผลกับสุขภาพลูกด้วยหรือ?

    กรุ๊ปเลือดแม่-ลูกไม่ตรงกัน มีผลกับสุขภาพลูกด้วยหรือ?

  • ลูกเหงื่อออกตอนนอน สัญญาณโรคร้ายที่พ่อแม่ต้องระวัง

    ลูกเหงื่อออกตอนนอน สัญญาณโรคร้ายที่พ่อแม่ต้องระวัง

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
    • ก่อนตั้งครรภ์
    • การคลอด
    • ระยะการตั้งครรภ์
    • การคลอด
  • พัฒนาการลูก
    • ทารก
    • เด็กก่อนเข้าเรียน
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • การวางแผนการเงิน
    • การเลี้ยงลูก
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • นมแม่และนมผง
  • โภชนาการ
    • สินค้าเด็ก
    • นมผง
    • เมนูอาหาร
    • สินค้าแม่
  • เพิ่มเติม
    • TAP สังคมออนไลน์
    • ติดต่อโฆษณา
    • ติดต่อเรา
    • Influencer Marketing (KOL)
    • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Sri-Lanka flag Sri Lanka
  • India flag India
  • Vietnam flag Vietnam
  • Australia flag Australia
  • Japan flag Japan
  • Nigeria flag Nigeria
  • Kenya flag Kenya
© Copyright theAsianparent 2023. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

theAsianparent heart icon
เราต้องการส่งแจ้งเตือนข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการดูแลทารกและสุขภาพไปให้กับคุณ