X
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้าเข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ตั้งครรภ์
    • คำนวณวันคลอด
    • ฉันกำลังตั้งครรภ์
    • ไตรมาสที่ 1
    • ไตรมาสที่ 2
    • ไตรมาสที่ 3
    • Project Sidekicks
    • ตั้งชื่อลูก
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • อีเว้นท์
    • TAP Awards Winners
    • TAP idol
    • TAP x Safari Largest Treasure Hunt
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

เสริมสร้างพัฒนาการลูกน้อย ด้วย PQ ผ่านการเล่นของลูกน้อย

บทความ 5 นาที
เสริมสร้างพัฒนาการลูกน้อย ด้วย PQ ผ่านการเล่นของลูกน้อย

การเล่นของเด็ก ๆ ไม่ใช่เพียงแค่ความสนุกสนานเท่านั้น แต่คุณพ่อคุณแม่ทราบไหมคะว่า การเล่นยังช่วยเสริมพัฒนาการที่ดีให้กับลูกด้วย การเล่นเป็น 1 ใน 7 คิว ที่เราเรียกว่า PQ (Play Quotient) PQ คืออะไร การเล่นสามารถเสริมพัฒนาการให้ลูกได้อย่างไร เรามีคำตอบ

เสริมสร้างพัฒนาการลูกน้อย ด้วย PQ ผ่านการเล่นของลูกน้อย

เสริมสร้างพัฒนาการลูกน้อย ด้วย PQ ผ่านการเล่นของลูกน้อย

เสริมสร้างพัฒนาการลูกน้อย ด้วย PQ ผ่านการเล่นของลูกน้อย การเล่นของเด็กเป็นสิ่งสำคัญนอกจากความสนุกสนานแล้ว เด็ก ๆ ยังได้เรียนรู้จากการเล่นอีกด้วย

รถหัดเดิน อุบัติเหตุ อันตราย

เสริม PQ ให้ลูกในขวบปีแรก

คุณพ่อคุณแม่คงคุ้นเคยกับคำว่า IQ (Intelligent Quotient) ความฉลาดทางด้านสติปัญญา และ EQ (Emotional Quotient) ความฉลาดทางด้านอารมณ์ แต่ปัจจุบันมีอีกหลายๆ Q ที่น่าสนใจและควรส่งเสริมให้ลูก โดย Q หนึ่งที่น่าสนใจคือ PQ (Play Quotient) หรือความฉลาดที่เกิดจากการเล่น

PQ (Play Quotient) คืออะไร

รถหัดเดิน อุบัติเหตุ อันตราย

Asian baby smiling when parent feed food to him

PQ (Play Quotient)  คือ ความฉลาดที่เกิดจากการเล่น เกิดจากความเชื่อที่ว่าการเล่นพัฒนาความสามารถของเด็กได้หลายด้าน ทั้งพัฒนาการด้านร่างกาย ความเฉลียวฉลาด ความคิดสร้างสรรค์ อารมณ์และสังคม  สิ่งสำคัญอย่างหนึ่งของ PQ คือ เน้น ให้คุณพ่อคุณแม่เล่นกับลูก ถึงกับมีคำพูดที่ว่าพ่อแม่เป็นของเล่นที่ดีที่สุดสำหรับลูก  การเล่น เช่น  ลูกขี่คอ เล่นจ๊ะเอ๋ เล่นซ่อนหา เล่านิทาน สามารถสร้างเสริมพัฒนาลูกได้ดีกว่าของเล่นพัฒนาการแพง ๆ เพราะนอกจากพัฒนาการด้านร่างกายและสติปัญญาที่เกิดขึ้นแล้ว ลูกยังได้รับความรู้สึกอบอุ่น มีความสุขไปพร้อมกับคำสอน หลักคิดต่างๆ ที่สอดแทรกระหว่างที่เล่นด้วย

เสริมสร้างพัฒนาการลูกด้วย PQ ผ่านการเล่น

ดร.จิตรา ดุษฎีเมธา ประธานโครงการศูนย์ให้คำปรึกษาและพัฒนาศักยภาพมนุษย์ และอาจารย์ประจำสังกัดบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒน์ กล่าวถึงความจำเป็นของการเล่นสรุปได้ ดังนี้

1. การเล่นของเด็กมีความสำคัญมาก เพราะเด็กจะได้รับประสบการณ์โดยตรงจากการลงมือทำ

2. การเล่นทำให้เด็กเกิดการคิดวิเคราะห์ ก่อให้เกิดจินตนาการ

3. เมื่อเด็กสามารถทำได้สำเร็จก็จะเกิดความภูมิใจ และเกิดความทรงจำที่ประทับอยู่ในจิต จนเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มองโลกในแง่ดีและมีทัศนะคติที่ดีในอนาคต

4. ในขณะที่เด็กบางคนที่ไม่ได้เล่นของเล่น หรือไม่ได้รับการกระตุ้นด้านการเล่น สมองในส่วนนี้ก็จะไม่ได้รับกระตุ้น พัฒนาการส่วนนี้ก็จะถดถอย ความอยากรู้อยากเห็นก็น้อยลง จึงต้องให้พ่อแม่มาคอยกระตุ้น หรือเรียกว่า ต้องให้พ่อแม่คอยจ้ำจี้จำไชถึงจะลงมือทำ

รถหัดเดิน อุบัติเหตุ อันตราย

การเลือกของเล่นเพื่อเสริมพัฒนาการด้วย PQ

ดร.จิตรา ดุษฎีเมธา แนะนำการเลือกของเล่น  ดังนี้  ของเล่นแต่ละชิ้นที่พ่อแม่ตัดสินใจซื้อให้ลูกเล่น ก็ควรเป็นของเล่นที่ส่งเสริมพัฒนาการของเด็กๆ  ในแต่ละวัยเช่น วัยแรกเกิดยังมองเห็นเลือนราง ของเล่นที่ดีที่สุดสำหรับลูกวัยนี้ คือ ใบหน้าของคุณแม่และการพูดคุยกับลูก

1. วัยแรกเกิดจนถึง 1 ขวบ ควรเป็นของเล่นที่มีเสียงและสีสันอย่างโมบายตุ๊กตา หรือตุ๊กตานุ่ม ๆ หรือพลาสติกที่มีพื้นผิวแตกต่าง เพื่อให้ลูกได้บริหารกล้ามเนื้อมัดเล็ก ที่สำคัญควรเป็นของเล่นที่ปลอดภัย เพราะเด็กวัยนี้จะชอบคว้าสิ่งของเข้าปาก และสนใจค้นหาสิ่งของที่ปิดซ่อน ควรเปิดโอกาสให้เด็กได้ใช้มือและเข่าคลานหาสิ่งของต่าง ๆ ด้วยตัวเอง  นอกจากนี้ เด็กวัยนี้ยังชอบฟังเสียงคำและจังหวะ หาอุปกรณ์ดนตรีให้เด็กได้เคาะ ได้ตี ได้เป่า ก็ช่วยเสริมพัฒนาการด้านอารมณ์และความสามารถด้านดนตรีมากขึ้น

2. วัย 1 – 2 ขวบ  ลูกน้อยสามารถเดินได้เอง แต่ยังไม่มั่นคงนัก ของเล่นจึงควรเป็นประเภทลากจูงได้ เช่น รถไฟ หรือรถลากต่อกันเป็นขบวน เปิดโอกาสให้ลูกได้พัฒนากล้ามเนื้อมัดเล็ก และพัฒนาความรู้สึกการสัมผัส  ด้วยการให้เล่นน้ำ  การเล่นทราย ของเล่นที่ควรหลีกเลี่ยงสำหรับเด็กวัยนี้ คือ ของเล่นที่มีขนาดเล็ก แหลมคม และมีรูเล็กหรือใหญ่กว่านิ้วมือทุกนิ้ว

3. วัย3 ขวบขึ้นไป  ควรเป็นของเล่นที่แยบยลขึ้น เน้นจินตนาการเป็นเป็นนามธรรมมากยิ่งขึ้น เช่น อุปกรณ์ทำอาหาร แต่งตัวตุ๊กตา ต่อจิ๊กซอว์ เลโก้ เพื่อฝึกประสาทสัมผัส นอกจากนั้น  ควรเพิ่มของเล่นที่ฝึกกล้ามเนื้อมัดใหญ่อย่าง จักรยาน เตะขว้างลูกบอล

เด็กออทิสติกเรียนร่วมกับเด็กปกติ

คุณหมอยืนยัน  การเล่นเสริมพัฒนาการให้เด็กได้จริง

นายแพทย์จอม ชุมช่วย จิตแพทย์เด็กและวัยรุ่น โรงพยาบาลมนารมย์ เผยว่า PQ หมายถึง ความฉลาดในการเล่น เด็กที่มีPQ ดี จะสามารถประยุกต์ใช้กับประสบการณ์ส่วนตัว ความรู้ และจินตนาการผสมผสานกับการเล่นได้เป็นอย่างดี  ดังนั้น การให้เด็กได้มีโอกาสเล่นของเล่นจึงมีความสำคัญ

การเล่นเป็นการทำงานของเด็กโดยเฉพาะในเด็กเล็ก ส่งเสริมการพัฒนาสมอง และเพิ่มประสิทธิภาพและศักยภาพสมอง และ เป็นการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพมากสุดของเด็กโดยเฉพาะถ้าพ่อแม่เล่นกับลูก พ่อแม่เป็นของเล่นที่ดีที่สุดสำหรับลูก ยิ่งเล่นมากยิ่งฉลาดมาก มี PQ สูง  แต่ปัจจุบันผู้ปกครองบางคนที่ไม่เข้าใจและขาดความรู้ด้านพัฒนาการเด็ก และมีทัศนคติที่ไม่ถูกต้อง มีการให้เด็กเรียน ความรู้  วิชาการ มากมาย เรียกว่า over program ซึ่งไม่มีเวลาทำอย่างอื่น เด็กมีความกดดัน และขาดทักษะชีวิต จริง ๆแล้ว ควรจะมีเวลาพักผ่อน ใช้ชีวิตวัยเด็กให้สมดุล ซึ่งจะทำให้เด็กเรียนรู้ การปรับตัว การช่วยเหลือกัน, การเข้ากับผู้อื่น ใช้ชีวิตในสังคม, มีวุฒิภาวะเพิ่มขึ้น

จากที่ได้อ่านมา  ทำให้คุณพ่อคุณแม่ทราบแล้วนะคะว่า  การเล่นนั้นมีประโยชน์ต่อเด็กจริง ๆ และยังเป็นพื้นฐานที่ดีในเรื่องพัฒนาการทั้งด้านร่างกาย  อารมณ์  สังคมและสติปัญญา  อยากเชิญชวนให้คุณพ่อคุณแม่มาเล่นกับลูกกันเถอะค่ะ

การพัฒนา IQ และ EQ

ที่มา : 1

บทความจากพันธมิตร
LPR โพรไบโอติก เกรด A กระตุ้นภูมิคุ้มกันให้ลูกรักแข็งแรงพร้อมเรียนรู้
LPR โพรไบโอติก เกรด A กระตุ้นภูมิคุ้มกันให้ลูกรักแข็งแรงพร้อมเรียนรู้
แม่รู้ไหม? พัฒนาการสมอง ของลูกเกิดขึ้นได้ทั้งกลางวันและกลางคืน เสริมด้วย สารอาหารสมอง และการนอนอย่างมีคุณภาพ
แม่รู้ไหม? พัฒนาการสมอง ของลูกเกิดขึ้นได้ทั้งกลางวันและกลางคืน เสริมด้วย สารอาหารสมอง และการนอนอย่างมีคุณภาพ
มารู้จักกับ Phenomenon-Based Learning กระบวนการเรียนรู้ที่เน้นการศึกษานอกห้องเรียนมากกว่าการท่องจำ
มารู้จักกับ Phenomenon-Based Learning กระบวนการเรียนรู้ที่เน้นการศึกษานอกห้องเรียนมากกว่าการท่องจำ
น้องนดลต์ และน้องนภนต์ ฝาแฝดที่สูญเสียการได้ยินระดับรุนแรง กับโอกาสสำคัญที่พลิกชีวิตสมาชิกทั้งครอบครัว
น้องนดลต์ และน้องนภนต์ ฝาแฝดที่สูญเสียการได้ยินระดับรุนแรง กับโอกาสสำคัญที่พลิกชีวิตสมาชิกทั้งครอบครัว

บทความอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง

เลือกของเล่นให้ลูกที่ได้มากกว่าความสนุก

ความปลอดภัยกับของเล่นเด็ก ที่พ่อแม่ควรรู้

https://family.mthai.com

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

มิ่งขวัญ ลิรุจประภากร

  • หน้าแรก
  • /
  • พัฒนาการลูก
  • /
  • เสริมสร้างพัฒนาการลูกน้อย ด้วย PQ ผ่านการเล่นของลูกน้อย
แชร์ :
  • เสริมสร้างพัฒนาการให้ลูกน้อยด้วยการเล่น

    เสริมสร้างพัฒนาการให้ลูกน้อยด้วยการเล่น

  • แนะนำ 10 ของเล่น6-12เดือน เสริมสร้างพัฒนาการสำหรับลูกน้อย

    แนะนำ 10 ของเล่น6-12เดือน เสริมสร้างพัฒนาการสำหรับลูกน้อย

  • 8 วิธีง่าย ๆ อยากให้ลูกเก่งภาษาอังกฤษ พ่อแม่ไม่เก่งก็ฝึกลูกได้

    8 วิธีง่าย ๆ อยากให้ลูกเก่งภาษาอังกฤษ พ่อแม่ไม่เก่งก็ฝึกลูกได้

  • ลูกเหงื่อออกตอนนอน สัญญาณโรคร้ายที่พ่อแม่ต้องระวัง

    ลูกเหงื่อออกตอนนอน สัญญาณโรคร้ายที่พ่อแม่ต้องระวัง

  • เสริมสร้างพัฒนาการให้ลูกน้อยด้วยการเล่น

    เสริมสร้างพัฒนาการให้ลูกน้อยด้วยการเล่น

  • แนะนำ 10 ของเล่น6-12เดือน เสริมสร้างพัฒนาการสำหรับลูกน้อย

    แนะนำ 10 ของเล่น6-12เดือน เสริมสร้างพัฒนาการสำหรับลูกน้อย

  • 8 วิธีง่าย ๆ อยากให้ลูกเก่งภาษาอังกฤษ พ่อแม่ไม่เก่งก็ฝึกลูกได้

    8 วิธีง่าย ๆ อยากให้ลูกเก่งภาษาอังกฤษ พ่อแม่ไม่เก่งก็ฝึกลูกได้

  • ลูกเหงื่อออกตอนนอน สัญญาณโรคร้ายที่พ่อแม่ต้องระวัง

    ลูกเหงื่อออกตอนนอน สัญญาณโรคร้ายที่พ่อแม่ต้องระวัง

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
    • ก่อนตั้งครรภ์
    • การคลอด
    • ระยะการตั้งครรภ์
    • การคลอด
  • พัฒนาการลูก
    • ทารก
    • เด็กก่อนเข้าเรียน
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • การวางแผนการเงิน
    • การเลี้ยงลูก
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • นมแม่และนมผง
  • โภชนาการ
    • สินค้าเด็ก
    • นมผง
    • เมนูอาหาร
    • สินค้าแม่
  • เพิ่มเติม
    • TAP สังคมออนไลน์
    • ติดต่อโฆษณา
    • ติดต่อเรา
    • Influencer Marketing (KOL)
    • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Sri-Lanka flag Sri Lanka
  • India flag India
  • Vietnam flag Vietnam
  • Australia flag Australia
  • Japan flag Japan
  • Nigeria flag Nigeria
  • Kenya flag Kenya
© Copyright theAsianparent 2023. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

theAsianparent heart icon
เราต้องการส่งแจ้งเตือนข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการดูแลทารกและสุขภาพไปให้กับคุณ