แม่ท้องกินเมล็ดทานตะวัน ได้ไหม? มีความเสี่ยง หรือมีผลกับลูกในครรภ์หรือไม่?

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

คุณแม่ท้องหลายคนมักจะมีปัญหาในเรื่องของการทานจุกจิก จนบางครั้งอาจส่งผลให้เกิดภาวะน้ำตาลในเลือดสูง ซึ่งหลายครั้งคุณแม่ก็แยกไม่ออกว่า ที่กินเข้าไปนั้นเป็นเพราะหิว หรือความเหงาปากกันแน่ คุณแม่หลายคนบ้างก็เลือกทานเมล็ดแตงโม หรือเมล็ดทานตะวัน เพราะเชื่อกันว่า ไม่เสี่ยงเบาหวาน แต่จะมีประโยชน์กับคนท้องอย่างเราหรือไม่? แม่ท้องกินเมล็ดทานตะวัน ได้ไหม? เรามีคำตอบค่ะ

 

 

เมล็ดทานตะวัน ของกินเล่น เปี่ยมไปด้วยคุณภาพ

ของทานเล่นที่เป็นธัญพืช กินอร่อย เคี้ยวเพลิน คงหนีไม่พ้นเมล็ดทานตะวัน หรือเม็ดทานตะวัน ที่เรานำมาคั่ว อบ แล้วนำมากะเทาะเปลือกทานเปล่า ๆ หรือนำไปเป็นส่วนประกอบอื่น ๆ ให้ได้ทานกันแบบเพลิน ๆ แล้วคุณหรือไม่ว่า เมล็ดน้อย ๆ อย่างเมล็ดทานตะวัน นั้น มีสรรพคุณทางโภชนาการมากมาย และยังมีประโยชน์กันสุขภาพของคนเรามากอีกด้วย

เมล็ดทานตะวันเป็นของทานเล่นที่อุดมไปด้วย วิตามิน และแร่ธาตุหลายชนิด และสารอาหารที่มีอยู่ในเมล็ดทานตะวันนี้ยังช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน หัวใจ และช่วยลดความเสี่ยงจากปัญหาสุขภาพทั่วไปได้อีกด้วย

เมล็ดทานตะวัน เป็นอาหารที่มีไขมันสูง ดังนั้นโอกาสที่จะเกิดกลิ่นเหม็นหืน จึงง่ายกว่าอาหารประเภทอื่น ๆ คุณควรเก็บเอาไว้ในภาชนะที่มีอากาศถ่ายเท ในตู้เย็น หรือช่องแช่แข็ง เพื่อป้องกันการเกิดกลิ่นที่ไม่พึงประสงค์

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

ประโยชน์ของเมล็ดทานตะวัน

เมล็ดทานตะวันเป็นเมล็ดที่เราจะเก็บเกี่ยวมาจากหัวดอกไม้ของต้นทานตะวัน ตัวเมล็ดจะมีลักษณะเป็นลายขาวสลับดำและแข็ง แต่เมื่อเรากะเทาะออกมา เราจะพบเมล็ดทานตะวันที่มีสีขาวขุ่น และเป็นเมล็ดที่อ่อนนุ่ม ซึ่งเราสามารถนำมารับประทานทั้งแบบดิบ หรือคั่ว หรือนำไปประกอบกับอาหารอื่น ๆ ได้

เมล็ดทานตะวันมีสารอาหารที่จำเป็นมากมายจำพวกกรดไขมันไม่อิ่มตัว (Linoleic Acid) ซึ่งเป็นสารอาหารที่ร่างกายเราไม่สามารถสังเคราะห์ขึ้นเองได้ รวมถึงอุดมไปด้วยสารอาหารต่าง ๆ ประเภทโปรตีน ธาตุเหล็ก แคลเซียม ฟอสฟอรัส วิตามินเอ อี เค บี2 วิตามินดี นอกจากนี้ประโยชน์ที่เราจะได้รับจากการรับประทานเมล็ดทานตะวันได้แก่

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา
  • ป้องกันการเกาะตัวของเกล็ดเลือด
  • ป้องกันและต่อต้านสารเคมีที่เป็นพิษ อันเป็นสาเหตุที่ก่อให้เกิดมะเร็งในปาก
  • เพิ่มการไหลเวียนของโลหิตให้ดีขึ้น
  • ช่วยต่อต้านริ้วรอย ชะลออายุของเซลล์ผิว ทำให้ผิวสดใส เต่งตึง ดูอ่อนวัย
  • ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด
  • ลดการอักเสบของกล้ามเนื้อ
  • ช่วยเสริมระบบภูมิคุ้มกันในร่างกาย
  • ส่งเสริม และบำรุงสุขภาพหัวใจ เช่น ยับยั้งการเกิดภาวะหลอดเลือดตีบตัน เป็นต้น

บทความที่เกี่ยวข้อง : 10 อาหารแหล่ง ไขมันดี อร่อยได้ เป็นมิตรต่อสุขภาพด้วย สายเฮลตี้ห้ามพลาด !!

 

 

แม่ท้องกินเมล็ดทานตะวัน ได้ไหม?

สำหรับคุณแม่ที่กำลังตั้งครรภ์อยู่นั้น ก็ต้องบอกว่า เมล็ดทานตะวันเป็นอาหารทานเล่นที่เหมาะกับคุณเป็นอย่างมาก เพราะเมล็ดทานตะวันนั้นเป็นแหล่งของสังกะสี และโฟเลต ที่เหล่าคุณแม่ที่กำลังตั้งครรภ์นั้นมีความต้องการอย่างสูง ในขณะที่วิตามินอีที่มีอยู่ในเมล็ดทานตะวัน ก็ยังเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับสุขภาพของคุณแม่ก่อนคลอดอีกด้วย

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

สารอาหารต่าง ๆ ที่มีอยู่ในเมล็ดทานตะวันนั้น มีส่วนช่วยเสริมสร้างพัฒนาการต่าง ๆ ของทารกในครรภ์ ไม่ว่าจะเป็นเซลล์เม็ดเลือดแดง และกล้ามเนื้อ อีกทั้ง โฟเลตยังช่วยป้องกันภาวะบกพร่องของกระดูกไขสันหลัง (Spina Bifida) ที่มักจะเป็นปัญหาสำหรับคนท้อง สังกะสีจะช่วยสร้างอินซูลิน และเอนไซม์ ทำให้คุณแม่ที่ตั้งครรภ์ จะได้รับการปกป้องจากภาวะเบาหวาน หรือน้ำตาลได้เลือดสูงอีกด้วย

 

 

ข้อเสียของการทานเมล็ดทานตะวัน

เช่นเดียวกันกับอาหารทุกประเภท แม้ว่าจะมีประโยชน์มากมายเพียงใดก็ตาม ย่อมมีข้อเสียในตัวของมันเองอีกด้วย เรามาดูกันว่า ข้อเสียของการทานเมล็ดทานตะวันนั้นมีอะไรบ้าง

 

  • มีปริมาณแคลอรี่ที่สูง

เมล็ดทานตะวันที่อุดมไปด้วยสารอาหารชนิดต่าง ๆ ในขณะเดียวกัน ก็มีแคลอรี่ที่สูงมากอีกด้วย คุณเชื่อหรือไม่ว่า เมล็ดทานตะวันอบเพียงแค่ 30 กรัมนั้น กลับให้พลังงานที่มากถึง 175 แคลอรี่ ซึ่งเทียบเท่า หรือมากกว่าไข่ดาว 1 ฟองเลยทีเดียว ดังนั้นการกินเมล็ดทานตะวันที่เราจำเป็นจะต้องแกะเปลือก หรือกะเทาะเปลือกออกในแต่ละเม็ด ก็เป็นการช่วยชะลอจังหวะการกิน และช่วยลดปริมาณแคลอรี่ได้อีกทางหนึ่ง ถึงอย่างไรก็ตาม เราก็ไม่ควรรับประทานในปริมาณที่มากจนเกินไป

 

  • มีปริมาณโซเดียมสูง

แม้ว่าขั้นตอนการแปรรูป จะไม่มีการใส่ส่วนผสมใด ๆ เข้าไป แต่เมล็ดทานตะวันบางชนิด จะคายความเค็มออกมาในช่วงระหว่างการแปรรูปอาหาร หรือบางครั้งผู้ผลิตต้องการให้เมล็ดทานตะวันมีรสชาติกลมกล่อม ก็มักจะนำไปอบกับเกลือ จึงทำให้ปริมาณโซเดียมจากการทานเมล็ดทานตะวันนั้นมีสูงพอสมควร

คาดว่าจากปริมาณเมล็ดทานตะวัน 30 กรัม จะมีปริมาณโซเดียมสูงถึง 174 มิลลิกรัม ซึ่งในแต่ละวัน ร่างกายคนเราควรรับปริมาณของโซเดียมไม่เกิน 1,500 มิลลิกรัมต่อวัน ดังนั้นหากคุณเลือกทานเมล็ดทานตะวัน ควรหลีกเลี่ยงจากแปรรูปที่มีการใส่เกลือเข้าไปเพิ่ม เพราะตัวของเมล็ด มีโซเดียมมากเพียงพอกับความต้องการแล้วนั่นเอง

 

  • แคดเมียมหรือโลหะหนัก

ในเมล็ดทานตะวันนั้น จะมีปริมาณของแคดเมียม หรือโลหะหนักที่มีอันตรายต่อไต ซึ่งสารตัวนี้ถูกดูดซึมมาจากดินที่ปลูก โดยทานตะวันจะนำสารที่เป็นโลหะหนักมาเก็บสะสมเอาไว้ที่เมล็ดของมัน ทำให้มีปริมาณที่ค่อนข้างสูงกว่าอาหารประเภทอื่น ๆ ซึ่งองค์กร WHO ได้แนะนำให้จำกัดปริมาณของแคดเมียมเอาไว้ที่ 490 ไมโครกรัม ต่อสัปดาห์ สำหรับผู้ใหญ่ที่มีน้ำหนัก 70 กิโลกรัม ดังนั้น หากคุณมีน้ำหนักที่ต่อกว่า ปริมาณแคดเมียมที่จำกัด ก็จะต้องลดลงตามไปด้วยเช่นกัน

การทานเมล็ดทานตะวันอย่างต่อเนื่อง จะทำให้ร่างกายของเราได้รับสารแคดเมียมในปริมาณที่มาก เนื่องจากเกิดการสะสมที่ไต ดังนั้น นอกจากเราจะต้องจำกัดปริมาณที่ควรรับประทานต่อวันแล้ว เราก็ยังไม่ควรที่จะทานอย่างต่อเนื่องอีกเช่นกัน

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

อย่างไรก็ตาม แม่ว่าเมล็ดทานตะวันจะมีประโยชน์มากเพียงใดก็ตาม แต่การรับประทานในปริมาณที่พอเหมาะ นั่นก็คือไม่ควรเกินวันละ 30 กรัม หรือประมาณ 1 อุ้งมือ และไม่ควรทานติดต่อกันยาวนานมากจนเกินไป เพื่อสุขภาพที่ดีของคุณนั่นเองค่ะ

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

เมนูต้นอ่อนทานตะวัน ทำง่ายหลายเมนู ประโยชน์เยอะ เด็กทานได้ ดีต่อสุขภาพ

น้ำมันดอกทานตะวัน ทำมาจากอะไรและดีต่อสุขภาพจริงหรือไม่? 

ธัญพืช อาหารเพื่อสุขภาพ อาหารสำหรับคนท้อง ที่ไม่ควรมองข้าม

ที่มา : 1, 2

บทความโดย

Arunsri Karnmana