คนท้องกินแกงเขียวหวานได้ไหม กินบ่อยรู้ไหมว่าพริกแกงอันตราย ?

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

เมนูยอดฮิตของคนไทย ที่ทุกคนต้องเคยลองอย่าง “แกงเขียวหวาน” แต่สงสัยไหมว่า คนท้องกินแกงเขียวหวานได้ไหม หลายคนอาจมองว่ากินไปเถอะ เพราะกินมาตลอด ถ้าคิดแบบนั้นแม่ท้องพลาดแล้ว เพราะปัจจัยที่ทำให้เกิดอันตรายโดยไม่รู้ตัว คือ การปนเปื้อนของพริกแกงที่นำมาใช้

 

คนท้องกินแกงเขียวหวานได้ไหม

เมนูแกงเขียวหวานเป็นเมนูที่คนไทยรู้จักเป็นอย่างดี เป็นของโปรดของใครหลายคน และมีชื่อเสียงโด่งดังไปทั่วโลก สำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์ที่เป็นกังวลเรื่องโภชนาการ ไม่มั่นใจว่า ท้องแล้วกินแกงเขียวหวานได้ไหม คำตอบคือ ได้ แกงเขียวหวานเดิมทีมีประโยชน์จากผัก และเครื่องเทศอยู่แล้ว หากยิ่งทำทานเองที่บ้าน และปรับวัตถุเพื่อให้ได้โภชนาการมากขึ้นก็จะยิ่งดี แต่ก็ยังมีเรื่องที่ควรระวังอยู่ด้วย นั่นก็คือ หากใช้พริกแกงควรเลือกซื้อที่ได้มาตรฐาน มากกว่าซื้อตามตลาดสดทั่วไป เพราะเสี่ยงต่อการมีโลหะหนัก และเชื้อบาซิลลัส ซีเรียส นอกจากนี้แกงเขียวหวานยังเป็นเมนูที่ให้พลังงานพอสมควรเมื่อทานกับข้าวสวย จึงต้องระวังปริมาณ และทานผลไม้ร่วมด้วย เพื่อสารอาหารที่ครบถ้วน

บทความที่เกี่ยวข้อง : คนท้องกินหม่าล่าได้ไหม เคยถูกพบเชื้อ ลำไส้อาจไม่ปลอดภัย

 

 

สารอาหารจากแกงเขียวหวานที่คนท้องจะได้รับ

การกินเมนูแกงเขียวหวานที่ได้รับความนิยมมากที่สุดอย่าง “แกงเขียวหวานหมู” โดยเราจะอิงจากเมนูนี้การทานในปริมาณพื้นฐานที่ใช้วัดปริมาณพลังงาน 100 กรัม มีพลังงานทั้งหมด 90 กิโลแคลอรี หรือเทียบ 1 ถ้วย จะให้พลังงาน 240 กิโลแคลอรี ประกอบกับการทานข้าวสวยด้วยนั้น แน่นอนว่าคนท้องจะได้รับพลังงานพอสมควรในมื้อนี้อย่างแน่นอน ในส่วนของสารอาหารนั้น แกงเขียวหมูก็มีความหลากหลายเช่นกัน ไม่ว่าจะเป็นคาร์โบไฮเดรต, โปรตีน, แคลเซียม, วิตามิน A และฟอสฟอรัส เป็นต้น

นอกจากสารอาหารที่เราได้กล่าวไปแล้ว รูปแบบของสารอาหารที่มีประโยชน์กับร่างกายยังเพิ่มขึ้นได้ กรณีที่คุณแม่ทำทานเอง สามารถควบคุมวัตถุดิบได้ เช่น การลดปริมาณเนื้อ และเพิ่มปริมาณของผักเข้ามาแทน เมนูแกงเขียวหวานก็จะยิ่งให้คุณค่าทางอาหารกับคุณแม่ท้องมากขึ้นกว่าเดิม

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ประโยชน์ของแกงเขียวหวาน

แกงเขียวหวานจะมีประโยชน์มากน้อยก็ขึ้นอยู่กับวัตถุดิบ โดยเฉพาะการเลือกใช้ผักต่าง ๆ ไปจนถึงการปรับเปลี่ยนรูปแบบของเนื้อสัตว์ที่ใส่ลงไปในแกงด้วย ตัวอย่างเช่น

 

  • ผักต่าง ๆ : ผักที่นำมาใส่ในเมนูแกงเขียวหวาน มักจะมีผักที่แทบจะใช้ในทุกสูตร เช่น มะเขือพวง และมะเขือเปราะ ซึ่งผักตระกูลมะเขือนี้ ซึ่งมีส่วนช่วยในระบบขับถ่าย ช่วยป้องกันอาหารไม่ย่อย, ปวดท้อง และท้องเสีย นอกจากนี้ยังช่วยบำรุงผิวให้ชุ่มชื้น ลดความเสี่ยงการเกิดมะเร็งผิวหนัง และช่วยทำให้ความดันโลหิตเป็นปกติ อีกทั้งยังช่วยลดความเสี่ยงในการเป็นเบาหวานด้วย
  • ลูกชิ้นปลากราย : สำหรับการปรับเนื้อสัตว์ลงในแกงเขียวหวาน การเลือกใช้ลูกชิ้นปลากรายเป็นทางเลือกที่ดีที่สุด เพราะเป็นวัตถุดิบที่มีไขมันต่ำ คุณแม่สามารถทานได้อย่างสบายใจ เช่นเดียวกับการทานเนื้อไก่ หากต้องการควบคุมน้ำหนักคุณแม่ควรเลี่ยงเนื้อหมูที่มักใช้กันในแกงเขียวหวานทั่ว ๆ ไป

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

วิดีโอจาก : TidReview ชีวิตติดรีวิว

 

2 เชื้ออันตรายที่มากับพริกแกงเขียวหวาน

หากจะบอกว่าแกงเขียวหวานมีส่วนไหนที่จะเป็นอันตรายต่อร่างกายมากที่สุด ความเสี่ยงหลายอย่างคงตกไปอยู่ที่ “พริกแกง” เพราะเป็นส่วนที่ใช้วัตถุหลากหลายในการปรุง และเป็นส่วนผสมที่มักหาซื้อตามตลาดสดทั่วไป ที่อาจไม่ได้รับการตรวจสอบ หรือรองรับด้านความสะอาด โดยเชื้อหรือสารร้ายที่ว่านี้ คือ โลหะหนัก และเชื้อบาซิลลัส ซีเรียส

 

1. เชื้อบาซิลลัส ซีเรียส (Bacillus Cereus)

เนื่องจากการใช้พริกแกงสำเร็จรูปตามท้องตลาดทั่วไป สามารถช่วยให้เหล่าพ่อค้าแม่ค้าประหยัดเวลาในการปรุงอาหารได้มาก เพราะไม่ต้องมานั่งทำพริกแกงด้วยตนเอง ปัญหา คือ พริกแกงที่ทำมาจากคนทั่วไป อาจมีปัญหาต่อการปนเปื้อนเชื้อโรคได้ ต่างจากพริกแกงตามร้านสะดวกซื้อ หรือห้างสรรพสินค้าที่การผลิตมักมีการตรวจสอบมาตรฐานเสมอ โดยเชื้อที่อาจพบเจอในพริกแกงตามตลาดสด คือ “บาซิลลัส ซีเรียส (Bacillus Cereus)” ที่ปนเปื้อนจากการไม่รักษาสุขอนามัยของผู้ที่ทำการผลิต หรือปนเปื้อนมาจากวัตถุดิบที่ไม่สะอาด เช่น เครื่องเทศต่าง ๆ เป็นต้น

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

หากแม่ท้องรับเชื้อชนิดนี้เข้าไป จะทำให้เกิดผลเสียตามมาหลายอย่างไม่ว่าจะเป็นอาหารเป็นพิษ หรือมีอาการอาเจียน เป็นต้น อย่างไรก็ตามกระทรวงสาธารณสุขไทยก็ได้ออกมากำหนดว่าในอาหารที่ถือว่าปลอดภัยไม่ควรมีเชื้อบาซิลลัส ซีเรียส มากกว่า 1,000 กรัม ซึ่งเป็นจุดที่อาจเกิดการสะสมในร่างกายจนเกิดอันตรายได้ แต่การสุ่มตรวจพริกแกงจากตลาด 5 ร้าน ปรากฏว่าทั้ง 5 ตัวอย่างมีการปนเปื้อนเชื้อชนิดนี้หมด และมีถึง 3 ตัวอย่างที่มีปริมาณเชื้อเกิน 1,000 กรัมอีกด้วย

 

 

2. โลหะหนัก

โลหะหนักที่ว่านี้หลายชนิดที่เป็นอันตรายต่อร่างกาย เช่น สารหนู ตะกั่ว และปรอท เป็นต้น แม่ท้องอาจสงสัยว่าทำไมโลหะหนักถึงมาปนเปื้อนในพริกแกงได้ เรื่องนี้ไม่ได้ซับซ้อน เนื่องจากโลหะหนักอาจมาในรูปแบบของการใช้สารเคมีกับวัตถุดิบชนิดพืชผัก ไปจนถึงการมีพื้นที่เพาะปลูกในดินที่ใกล้กับแหล่งการทำเหมือง เป็นต้น การรับสารโลหะหนักนี้ไม่ใช่เรื่องไกลตัว เพราะนอกจากพริกแกงจากเมนูแกงที่คนไทยชอบทานแล้ว ยังปนเปื้อนมากับร่างกายจนเกิดการส่งต่อกันโดยไม่รู้ตัวอีกด้วย ดังนั้นการจะเลี่ยงคงทำได้ยาก เพียงแต่แม่ท้องจะต้องระวังไม่ให้เกิดการสะสมในร่างกายมากเกินไป

กรณีที่มีโลหะหนักสะสมอยู่ในร่างกายของแม่ท้อง จะทำให้เกิดความเสี่ยงโรคร้ายได้ เช่น โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCDs) และโรคมะเร็ง เป็นต้น และด้วยการปนเปื้อนที่ค่อนข้างง่ายเจอสารเหล่านี้ได้ทั่วไป สถาบันอาหารจึงทำการสุ่มตรวจพริกแกงจาก 5 แหล่ง พบว่าทุกแหล่งมีการปนเปื้อนโลหะหนักทั้งหมด ส่วนมากจะเป็นแคดเมียม ทองแดง และสังกะสี แต่อยู่ในปริมาณที่น้อยมาก ถือว่าไม่เกินเกณฑ์ของกระทรวงสาธารณสุขไทย หากแม่ท้องเป็นกังวลก็สามารถรับการตรวจสุขภาพหาสารเหล่านี้ได้เช่นกัน ซึ่งก็มีหลายโรงพยาบาลที่ให้บริการในด้านนี้

 

การทานอาหารของแม่ท้องต้องระวัง เมนูที่เราวางใจ อาจไม่ได้ปลอดภัยอย่างที่เราคิด การปนเปื้อนสาร หรือเชื้อต่าง ๆ เป็นอันตรายที่พบได้บ่อยในอาหารไม่ว่าจะเป็นเมนูไหนก็ตาม

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

คนท้องกินน้ำซุปตามร้านอาหารได้ไหม ระวังอันตรายจากของฟรี !

คนท้องกินข้าวญี่ปุ่นได้ไหม ควรเลือกกินข้าวแบบไหนให้ได้ประโยชน์

คนท้องกินแกงส้มได้ไหม เมนูบ้าน ๆ แบบนี้ต้องเลี่ยงหรือกินได้เลย ?

ที่มา : thairath, foodnetworksolution, hellokhunmor

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

บทความโดย

Sutthilak Keawon