หลังตั้งครรภ์ เมื่อคลอดแล้วคุณแม่ลูกอ่อนต้องเลี้ยงลูกด้วยน้ำนม ดังนั้นทั้งคุณแม่และลูกน้อยจึงจำเป็นที่จะต้องได้รับสารอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการ และต้องระมัดระวังเรื่องอาหารการกินให้มากเป็นพิเศษ เพราะสารอาหารจากอาหารที่คุณแม่ทานไปนั้นจะส่งถึงลูกน้อยผ่านน้ำนมแม่ค่ะ ให้นมลูกกินส้มได้ไหม เพราะมีวิตามินต่างๆ ซึ่งมีประโยชน์ต่อร่างกาย นอกจากนี้ยังมีใยอาหารที่ช่วยในระบบขับถ่ายอีกด้วย เพราะแม่บางคนมักจะท้องผูก จึงเป็นคำถามที่หลายคนสงสัย เพื่อสุขภาพที่ดีของทั้งคุณแม่และลูกน้อย วันนี้เรามีคำตอบดี ๆ เกี่ยวกับเรื่อง แม่ให้นมกินอะไรได้บ้าง ห้ามกินอะไรบ้าง มาฝากกันค่ะ
ให้นมลูกกินส้มได้ไหม ?
เป็นคำถามที่แม่ๆ ที่อยู่ในช่วงให้นมลูกอยากรู้เป็นอันดับต้นๆ เลยก็ว่าได้ ให้นมลูกกินส้มได้ไหม ส้มเป็นผลไม้ที่มีวิตามินซีสูง ซึ่งจำเป็นต่อการเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน แต่ในขณะเดียวกัน ส้มก็มีกรดธรรมชาติที่อาจส่งผลต่อระบบทางเดินอาหารของลูกน้อยได้ และนอกจากส้มแล้วในผลไม้ที่มีรสเปรี้ยวบางชนิด เช่น มะนาว กีวี สตรอว์เบอร์รี ที่อาจจะส่งผลทำให้ลูกน้อยเกิดอาการระคายเคืองได้เช่นกัน เมื่อคุณแม่กินอาหารหรือผลไม้ที่มีรสเปรี้ยว ก็จะส่งผลถึงลูกน้อยผ่านทางน้ำนมแม่ ซึ่งกรดจากรสเปรี้ยวนี้ ส่งผลทำให้เกิดการระคายเคืองต่อระบบทางเดินอาหาร เพราะอวัยวะของลูกน้อยยังไม่พร้อมที่จะรับรสชาติอาหารหรือผลไม้เหล่านี้ จึงทำให้ลูกน้อยมีอาการปวดท้องหรือท้องเสียได้ค่ะ
ส้มส่งผลต่อลูกน้อยอย่างไร ?
เมื่อคุณแม่กินส้มเข้าไป จะส่งผลกับลูกน้อยผ่านทางน้ำนมแม่ โดยอาการที่พบคือ
- อาการท้องเสีย กรดในส้มอาจทำให้ลูกน้อยท้องเสียได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในลูกน้อยที่ระบบย่อยอาหารยังไม่แข็งแรง
- ผื่นแดง บางรายอาจแพ้ส้ม ทำให้ลูกน้อยเกิดผื่นแดงหรืออาการแพ้อื่นๆ
- ก๊าซในกระเพาะอาหาร ส้มอาจทำให้เกิดก๊าซในกระเพาะอาหารของลูกน้อยมากขึ้น ทำให้ลูกน้อยปวดท้องและร้องไห้โยเย
- รสชาติของน้ำนม รสชาติของน้ำนมอาจเปลี่ยนไป เนื่องจากกลิ่นและรสชาติของส้มจะส่งผ่านไปยังน้ำนม ทำให้ลูกน้อยไม่ยอมกินนม
จริงๆ แล้ว ให้นมลูกกินส้มได้ไหม ไม่ได้เป็นสิ่งที่ต้องห้ามค่ะ หากคุณแม่ต้องการลองกินส้ม ควรเริ่มต้นด้วยปริมาณน้อยๆ ก่อน และเลือกส้มที่สุกกำลังดีจะมีรสชาติที่หวานอมเปรี้ยว ไม่เปรี้ยวจัดเกินไป และสามารถกินร่วมกับอย่างอื่นได้ เช่น โยเกิร์ต หรือซีเรียล จะช่วยลดความเปรี้ยวของส้มได้ เมื่อคุณแม่กินแล้วต้องสังเกตอาการของลูกน้อยอย่างใกล้ชิดด้วยนะคะ ว่ามีอาการตามที่กล่าวไปข้างต้นหรือไม่ แต่หากเป็นไปได้ในช่วงที่ให้นมลูกน้อยอยู่ ก็ควรหลีกเลี่ยงอาหารหรือผลไม้ที่มีรสเปรี้ยวไปก่อนเลยดีกว่าค่ะ
8 ผลไม้ที่คุณแม่มักถาม ให้นมแม่กินผลไม้อะไรได้บ้าง
นอกจาก ส้ม ที่กล่าวไปข้างต้นแล้ว ยังมีผลไม้อื่นๆ ที่คุณแม่บางคนสงสัยกินได้หรือไม่ได้ คลิกไปอ่านต่อกันได้เลย
- ให้นมลูกกินฝรั่งได้ไหม
- ให้นมลูกกินองุ่นได้ไหม
- ให้นมลูกกินเงาะได้ไหม
- ให้นมลูกกินมังคุดได้ไหม
- ให้นมลูกกินทุเรียนได้ไหม
- ให้นมลูกกินขนุนได้ไหม
- ให้นมลูกกินแตงโมได้ไหม
- ให้นมลูกกินกล้วยได้ไหม
9 เช็คลิสต์ รู้ไหม? แม่ให้นมลูก ห้ามกินอาหารอะไรบ้าง
นอกจากอาหารหรือผลไม้รสเปรี้ยว ให้นมลูกกินส้มได้ไหม ที่ได้กล่าวไปข้างต้นแล้วนั้น ช่วงให้นมลูก คุณแม่จะต้องใส่ใจกับการเลือกรับประทานอาหารมากเป็นพิเศษ โดยนอกจากเลือกทานอาหารที่ช่วยบำรุงน้ำนมแล้ว ก็ต้องรู้ด้วยว่ามีอาหารอะไรบ้างที่แม่ให้นมลูกไม่ควรทาน
1.ให้นมลูก กินอาหารทะเลได้ไหม ?
การกินอาหารทะเลในช่วงให้นมลูกอาจเป็นอันตรายได้ เนื่องจากกุ้ง หอย ปู ปลาบางชนิดมีสารเคมีปนเปื้อนสูง ซึ่งอาจส่งผลเสียต่อพัฒนาการของลูกน้อยได้ค่ะ หากคุณแม่อยากกินอาหารทะเล แนะนำให้เลือกปลาที่มีประโยชน์ เช่น ปลาซาร์ดีน ปลาแซลมอน และปลาทูน่า เพราะมีโอเมก้า 3 สูง ซึ่งดีต่อพัฒนาการของลูกน้อย สรุปว่าแม่ให้นมควรหลีกเลี่ยงอาหารทะเลก่อนจะดีกว่าในช่วงที่ยังให้นมลูกอยู
2.อาหารอุ่น อาหารสุกๆ ดิบๆ ให้นมลูกกินได้ไหม ?
เพื่อสุขภาพที่ดีของทั้งคุณแม่และลูกน้อยในช่วงให้นมลูก ควรหลีกเลี่ยงอาหารดิบหรืออาหารสุกๆ ดิบๆ อาหารค้างคืน และอาหารที่ปรุงนานเกินไป เนื่องจากอาหารเหล่านี้เสี่ยงต่อการปนเปื้อนของเชื้อโรค ซึ่งอาจทำให้คุณแม่ท้องเสียและส่งผลกระทบต่อสุขภาพของลูกน้อยได้ค่ะ การเลือกกินอาหารที่ปรุงสุกใหม่ จะช่วยให้ร่างกายได้รับสารอาหารครบถ้วน ซึ่งจำเป็นต่อการสร้างน้ำนมที่มีคุณภาพให้ลูกน้อย
3.ให้นมลูกกินเบียร์ได้ไหม ?
ไม่แนะนำให้ดื่มแอลกอฮอล์ขณะให้นมลูกค่ะ แม้ว่าจะมีข้อมูลบางส่วนที่ระบุว่าการดื่มในปริมาณน้อยและเว้นระยะห่างในการให้นมอาจทำได้ แต่การดื่มแอลกอฮอล์ แม้เพียงเล็กน้อย ก็สามารถเข้าสู่ร่างกายของลูกน้อยผ่านน้ำนมได้ และส่งผลเสียต่อพัฒนาการของลูกน้อย โดยเฉพาะอย่างยิ่งต่อสมอง และอาจทำให้ลูกน้อยหลับยาก ตื่นบ่อย และมีปัญหาในการนอนหลับ อีกทั้งยังไปลดการผลิตน้ำนม และทำให้รสชาติของน้ำนมเปลี่ยนไป ทำให้ลูกน้อยไม่ยอมกินนม การเลือกรับประทานอาหารและเครื่องดื่มที่ดีต่อสุขภาพจึงเป็นสิ่งจำเป็น การหลีกเลี่ยงแอลกอฮอล์ในช่วงนี้ จะช่วยให้ลูกน้อยได้รับสารอาหารที่ดีที่สุด และเติบโตอย่างแข็งแรงนะคะ
4.ให้นมลูกกินถั่ว กินข้าวโพดได้ไหม ?
คุณแม่ที่กำลังให้นมลูกควรหลีกเลี่ยงอาหารบางชนิดเพื่อป้องกันอาการแพ้ในลูกน้อย โดยเฉพาะอาหารที่มีโปรตีนจากถั่วเหลือง ข้าวสาลี ข้าวโพด และถั่วต่างๆ เช่น ถั่วลิสง เพราะโปรตีนเหล่านี้อาจผ่านเข้าสู่ร่างกายของลูกน้อยผ่านน้ำนมแม่ และทำให้เกิดอาการแพ้ได้ เช่น ผื่นคัน หายใจขัด ท้องอืด ท้องเสีย หรืออาการรุนแรงอื่นๆ ได้ค่ะ หากหลีกเลี่ยงได้ควรทำเป็นอย่างยิ่งเลยค่ะ
5.ให้นมลูกกินกาแฟได้ไหม ?
เครื่องดื่มและอาหารที่มีคาเฟอีน เช่น กาแฟ ชา น้ำอัดลม ช็อกโกแลต และไอศกรีม เมื่อคุณแม่กินเข้าไป อาจส่งผลเสียต่อพัฒนาการของทารกได้ เนื่องจากคาเฟอีนสามารถผ่านน้ำนมไปสู่ลูกน้อยได้ และยังคงอยู่ในร่างกายของลูกน้อยได้นานหลายชั่วโมง ซึ่งอาจทำให้ลูกมีอาการกระวนกระวาย นอนไม่หลับ และมีน้ำมูกไหลได้ ดังนั้นคุณแม่ควรระมัดระวังในการกินเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนนี้ด้วยนะคะ เพื่อสุขภาพของลูกน้อยค่ะ
6.ให้นมลูกกินเผ็ดได้ไหม ?
การที่คุณแม่กินอาหารรสเผ็ด รสชาติของน้ำนมจะเปลี่ยนไปตามอาหารที่คุณแม่กิน เมื่อคุณแม่กินอาหารรสจัดในช่วงที่กำลังให้นมก็จะส่งผลในเรื่องของอารมณ์ของลูกน้อย สังเกตได้ว่าลูกจะมีอาการหงุดหงิดง่าย ร้องไห้ไม่หยุด นอนหลับน้อย และตื่นขึ้นมาภายในระยะเวลาอันรวดเร็ว หรือเด็กบางคนอาจมีอาการปวดท้อง และท้องเสียได้ แต่หากคุณแม่ชอบกินรสจัด ก็สามารถกินพวกพริกไทย ขิง ข่า กระเพรา ที่มีฤทธิ์ร้อนแทนได้ ซึ่งจะช่วยบำรุงน้ำนม และปรับสมดุลร่างกายคุณแม่โดยไม่ส่งผลกระทบต่อลูกน้อยอีกด้วยค่ะ
7.ให้นมลูก แม่ดื่มนมได้ไหม ?
การที่คุณแม่ดื่มนมในช่วงที่ให้นมลูกอยู่อย่างนมวัว อาจทำให้ลูกน้อยเกิดอาการแพ้โปรตีนนมวัวได้ ซึ่งส่งผลต่อสุขภาพของลูกน้อยหลายประการ เช่น ท้องเสีย ท้องผูก หรือมีเลือดปนในอุจจาระ ทำให้ลูกน้อยกินนมได้น้อยลง รวมถึงทำให้ลูกน้อยเกิดกรดไหลย้อนได้ค่ะ ดังนั้นควรหลีกเลี่ยงก่อนนะคะ
8.ให้นมลูกกินกะหล่ำปลีได้ไหม ?
ผักตระกูลกะหล่ำ เช่น กะหล่ำปลี กะหล่ำดอก และผักกาดหอม เป็นผักที่ก่อให้เกิดแก๊ส เช่น อาจส่งผลต่อน้ำนมของคุณแม่ ทำให้ลูกน้อยมีอาการปวดท้อง ร้องไห้ เนื่องจากแก๊สในลำไส้มากเกินไป ดังนั้น คุณแม่ที่ให้นมลูกจึงควรหลีกเลี่ยงผักชนิดนี้เพื่อสุขภาพของลูกน้อย รวมถึงผลไม้บางประเภท เช่น กล้วยหอม สตรอว์เบอร์รี เชอร์รีและลูกพรุนที่เต็มไปด้วยแก๊ส ที่อาจส่งผลทำให้ทารกมีลมในกระเพาะอาหาร มีอาการแน่นท้อง ท้องอืด และไม่สบายตัวได้ค่ะ คุณแม่ควรหลีกเลี่ยงก่อนนะคะ
9.ให้นมลูกกินยาสมุนไพรได้ไหม ?
ยาสมุนไพรส่วนใหญ่ที่มักใช้บำรุงน้ำนม เจริญอาหาร หรือช่วยเรื่องระบบขับถ่าย อาจส่งผลต่อลูกน้อยที่กินนมแม่ได้ เนื่องจากสารสำคัญในยาสมุนไพรเหล่านี้สามารถผ่านเข้าไปในน้ำนมได้ ทำให้ลูกน้อยอาจมีอาการท้องเสีย หรือได้รับผลกระทบต่อสุขภาพอื่นๆ รวมไปถึงยาดองเหล้า ควรหลีกเลี่ยงอย่างเด็ดขาด เนื่องจากแอลกอฮอล์ในยาดองเหล่านี้สามารถส่งผลต่อพัฒนาการทางสมองของลูกน้อยได้อย่างรุนแรงค่ะ
ผัก 5 ชนิด บำรุงน้ำนมส่งต่อคุณค่าจากแม่สู่ลูก
“นมแม่” เป็นอาหารที่ดีที่สุดสำหรับลูกน้อย ช่วยพัฒนาสมองและการเจริญเติบโตได้อย่างสมบูรณ์ ลูกน้อยได้รับภูมิคุ้มกัน มีอารมณ์ดี และพร้อมเรียนรู้ หัวใจสำคัญคือคุณแม่ต้องได้รับโภชนาการที่ดีครบ 5 หมู่ เพราะถ้าคุณแม่ได้กินอาหารที่เพียงพอ และมีคุณค่าทางโภชนาการ ก็จะมีน้ำนมที่มีคุณภาพส่งไปถึงตัวลูกน้อยค่ะ โดยเฉพาะผัก 5 ชนิดนี้ หากคุณแม่ได้กินเป็นประจำ ก็จะช่วยเพิ่มปริมาณน้ำนมให้มีทั้งปริมาณและคุณภาพ
- หัวปลี ผักเพิ่มน้ำนม มีธาตุเหล็ก แคลเซียม ฟอสฟอรัส ช่วยบำรุงน้ำนมได้ดี
- ขิง ผักเพิ่มน้ำนม อุดมด้วยแคลเซียม วิตามินเอ วิตามินบี ช่วยขับเหงื่อ ขับลม แก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ ช่วยให้เจริญอาหาร
- ใบกะเพรา ผักเพิ่มน้ำนม มีแคลเซียม และฟอสฟอรัส แก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ ขับลม
- ฟักทอง ผักเพิ่มน้ำนม อุดมไปด้วยวิตามินเอ ฟอสฟอรัส และเบต้าแคโรทีน
- กุยช่าย สามารถใช้ได้ทั้งต้นและใบ ช่วยบำรุงน้ำนม
ช่วงให้นมลูกเป็นช่วงเวลาสำคัญที่ลูกน้อยต้องการสารอาหารจากน้ำนมแม่มากที่สุด การที่คุณแม่เลือกทานอาหารที่มีประโยชน์จะส่งผลดีต่อคุณภาพของน้ำนมค่ะ และส่งผลโดยตรงต่อพัฒนาการของลูกน้อยค่ะ การนอนหลับพักผ่อนอย่างเพียงพอจะช่วยให้ร่างกายผลิตฮอร์โมนที่ช่วยกระตุ้นการผลิตน้ำนม รวมถึงการดื่มน้ำอย่างเพียงพอจะช่วยให้ร่างกายมีน้ำนมผลิตออกมาได้มากขึ้น อย่าลืมนำคำแนะนำของเราไปทำตามกันนะคะ เพื่อพัฒนาการของลูกรักและโภชนาการ สุขภาพของคุณแม่ให้นมที่ดี
ที่มา : แผนกโภชนาการ รพ.นวเวช , โรงพยาบาลวิชัยเวช อินเตอร์แนชั่นแนล อ้อมน้อย
บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ
แม่ให้นมกินทุเรียนได้ไหม ให้นมลูกอยู่กินทุเรียน ลูกจะเหม็นไหม กินทุเรียนได้หรือเปล่า
5 เครื่องดื่มคุณแม่หลังคลอด ฟื้นฟูร่างกาย บำรุงน้ำนมเพื่อลูกน้อย
น้ำนมหด ? อย่าเพิ่งท้อ! คู่มือกู้คืนน้ำนมสำหรับคุณแม่