X
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
  • อยากท้อง
  • ตั้งครรภ์
    • คำนวณวันคลอด
    • ฉันกำลังตั้งครรภ์
    • ไตรมาสที่ 1
    • ไตรมาสที่ 2
    • ไตรมาสที่ 3
    • Project Sidekicks
    • ตั้งชื่อลูก
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • พัฒนาการลูก
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • การศึกษา
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • อีเว้นท์
    • TAP Awards Winners
    • TAP idol
    • TAP x Safari Largest Treasure Hunt
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

ให้ลูกกินนมเยอะเกินไป ระวังลูกเป็นโรคอ้วน อย่า Overfeeding ลูก ไม่ดี

บทความ 5 นาที
ให้ลูกกินนมเยอะเกินไป ระวังลูกเป็นโรคอ้วน อย่า Overfeeding ลูก ไม่ดีให้ลูกกินนมเยอะเกินไป ระวังลูกเป็นโรคอ้วน อย่า Overfeeding ลูก ไม่ดี

ในช่วง 3 เดือนแรกหลังคลอด เป็นช่วงที่คุณแม่กับเจ้าตัวน้อย ค่อย ๆ ทำความรู้จักรู้ใจกัน คอยสังเกตว่าที่หนูร้องนี้ เพราะสาเหตุอะไร คุณแม่อาจคิดว่าลูกหิวตลอด จึงให้นมทุกครั้งที่ลูกร้อง หากลูกเริ่มแสดงอาการเหล่านี้ แสดงว่า ลูกถูก Overfeeding คือกินนมมากเกินไปแล้ว

เด็กแรกเกิดยังพูดจาบอกความต้องการไม่ได้ สิ่งเดียวที่เด็กแสดงออก คือ การร้องไห้ ซึ่งนี่อาจทำให้คุณพ่อคุณแม่มือใหม่ที่ยังอ่อนด้อยประสบการณ์เข้าใจว่าลูกร้องเพราะหิว เวลาลูกร้องก็จับเข้าเต้า หรือยัดขวดนมใส่ปากลูกทุกครั้ง กลายเป็นการให้ลูกกินนมมากเกินความต้องการของเด็ก จนอาจเป็นการ overfeeding

 

Overfeedingคืออะไร

พญ.สุธีรา  เอื้อไพโรจน์กิจ  กุมารแพทย์ทารกแรกเกิด โรงพยาบาลบีเอ็นเอช ได้อธิบายถึงการ Overfeedingไว้ว่า Overfeedingคือการที่ลูกกินนมเยอะเกินไป หรือกินนมจนล้นกระเพาะ จนแสดงอาการดังต่อไปนี้

 

  1. นอนร้องเสียงเป็นแพะ เป็นแกะ แอะ ๆ แอะ ๆ
  2. บิดตัวเยอะ ร้องเสียงเอี๊ยดอ๊าด คล้ายเสียงประตูไม่หยอดน้ำมัน
  3. มีเสียงครืดคราดในคอ คล้ายเสมหะในคอ แต่เป็นเสียงของนมที่ล้นขึ้นมาที่คอหอยแล้ว
  4. แหวะนม อาเจียนบ่อย ออกมาทางปากหรือจมูก
  5. พุงกางเป็นทรงน้ำเต้าตลอดเวลา

 

นอกจากนี้ คุณแม่สามารถสังเกตเจ้าตัวน้อยได้จากน้ำหนักตัวที่เพิ่มขึ้นมากเกินไป ซึ่งน้ำหนักของทารกปกติในแต่ละเดือนควรเพิ่มขึ้น ดังนี้

 

  • 0-3 เดือน  น้ำหนักควรเพิ่มขึ้น 600-900 กรัม/เดือน
  • 4-6 เดือน น้ำหนักควรเพิ่มขึ้น 450-600 กรัม/เดือน
  •  7-12 เดือน น้ำหนักควรเพิ่มขึ้น 300 กรัม/เดือน

 

หากเจ้าตัวน้อยของคุณแม่น้ำหนักเพิ่มมากกว่า 35 กรัมต่อวัน หรือ เกิน 1 กิโลกรัม/เดือน แสดงว่าถูก Overfeeding ซึ่งเด็กจะอึดอัด ปวดท้อง โยเย ร้องไห้ตลอดเวลา แต่ไม่ใช่เพราะหิว หากคุณแม่ยังให้ลูกกินนมอีก เขาก็จะอาเจียนออกมา เพราะว่านมมันล้นกระเพาะของเด็กแล้ว

บทความที่น่าสนใจอื่น ๆ : นมแรกสำหรับลูกสำคัญที่สุด วิธีเลือกนมผงแรกให้ลูก ต่อจากนมแม่ ต้องเลือกอย่างไรให้ดีกับลูกน้อยที่สุด

 

อย่า Overfeeding ลูก ไม่ดี

อย่าป้อนนมเด็กเยอะ เพราะเด็ก อาจโตไปเป็นโรคอ้วน จะเข้าใจผิดว่าต้องแก้ปัญหาทุกอย่างโดยการกิน

 

Overfeedingอันตรายอย่างไร

การที่เด็ก ๆ ถูกOverfeeding นั้น ความจริงไม่เป็นอันตราย แต่ลูกจะรู้สึกอึดอัด ไม่สบายตัว ซึ่งการปล่อยให้เด็กกินนมมากเกินไป อาจทำให้เกิดเสียงครืดคราดในลำคอเด็ก จนทำให้เด็กแหวะนม หรืออ้วกนมออกมาทางจมูกและปาก รวมทั้ง หลังจากเด็กอ้วก กรดในกระเพาะของเด็กจะไหลย้อนขึ้นมาที่หลอดลม และทางเดินอาหาร ทำให้เด็ก ๆ รู้สึกแสบร้อนท้องและกลางอก หากอ้วกบ่อย กรดน้ำย่อยในกระเพาะก็จะกัดหลอดลม และหลอดอาหารเด็กจนเป็นแผล ทำให้ลูกไม่สบายตัว งอแง นอกจากนี้ หากลูกกินนมผงอยู่ นอกจากลูกจะอึดอัด ไม่สบายตัว และอาเจียนบ่อยแล้ว ยังอาจทำให้ลูกมีพฤติกรรมกินจุ และนำไปสู่โรคอ้วนได้ในอนาคต

 

อีกอาการหนึ่ง ที่เกิดจากการที่เด็กกินนมมากเกินไป คือ ท้องกาง ซึ่งเป็นภาวะที่เด็กอิ่มเกินไป จนทำให้ปวดท้อง หากทิ้งไว้นาน จะทำให้ลำไส้ทำงานหนักมากจนย่อยนมแม่ไม่ได้ และไม่สามารถดูดซึมสารอาหารไปเลี้ยงร่างกายได้ สุดท้ายเด็ก ๆ อาจอาเจียนหนักจนอาจถึงขั้นเข้าโรงพยาบาลได้

 

หากคุณพ่อคุณแม่ เคยชินกับการป้อนนมลูกเมื่อลูกร้องไห้ หรือว่างอแง ทำจนเป็นนิสัย เมื่อลูกโตขึ้น ลูกอาจเข้าใจว่าปัญหาทุกอย่างแก้ไขได้ด้วยการกิน เครียดก็กิน เศร้าก็กิน เหงาก็กิน อิ่มหรือยังไม่รู้ รู้แต่ว่าต้องฟาดให้เรียบแล้วปัญหาทุกอย่างจะคลี่คลาย ซึ่งพฤติกรรมต่าง ๆ เหล่านี้ อาจทำให้เด็ก ๆ กลายเป็นโรคอ้วนได้ในที่สุด

บทความที่เกี่ยวข้อง : ลูกนอนดึก เสี่ยงเป็น โรคอ้วนในเด็ก ภัยเงียบจากกการนอนดึก

 

อย่า Overfeeding ลูก ไม่ดี 2

อาการOverfeeding คือเด็กมักจะอาเจียน หากเป็นบ่อย ๆ อาจทำให้เป็นแผล ในกระเพาะได้

 

บทความจากพันธมิตร
เผยเคล็ดลับการเรียนออนไลน์ที่จะทำให้ลูกตั้งใจเรียนมากขึ้น!
เผยเคล็ดลับการเรียนออนไลน์ที่จะทำให้ลูกตั้งใจเรียนมากขึ้น!
แจกเคล็ดลับการเรียนออนไลน์ที่จะช่วยให้คุณลูกไม่ปวดตา
แจกเคล็ดลับการเรียนออนไลน์ที่จะช่วยให้คุณลูกไม่ปวดตา
ผื่น แดง คัน ที่หน้าลูก ปัญหาผิวลูกที่ป้องกันได้ คุณแม่ต้องรู้สาเหตุและวิธีดูแลผื่น แดง คัน ที่ถูกต้อง
ผื่น แดง คัน ที่หน้าลูก ปัญหาผิวลูกที่ป้องกันได้ คุณแม่ต้องรู้สาเหตุและวิธีดูแลผื่น แดง คัน ที่ถูกต้อง
ระบบประสาท ของคนเป็นอย่างไร ช่วยทำอะไรได้บ้าง และมีโรคอะไรที่ต้องระวัง
ระบบประสาท ของคนเป็นอย่างไร ช่วยทำอะไรได้บ้าง และมีโรคอะไรที่ต้องระวัง

วิธีป้องกันการOverfeeding

  1. อย่าให้ลูกกินนมเยอะเกินไป ควรให้นมเด็กชั่วโมงละ 1 ออนซ์ก็พอ
  2. ให้ดูว่าลูกอึครบ 2 ครั้งหรือยัง โดยในละครั้ง อึของลูกควรมีขนาดกว้างเท่ากับแกนกระดาษทิชชู่
  3. ดูว่าเด็กฉี่ครบ 6 ครั้ง หรือยัง หากฉี่ครบ 6 ครั้งแล้วแสดงว่าลูกได้รับนมปริมาณที่เพียงพอแล้ว
  4. การที่ลูกไม่ยอมหลับไม่ยอมนอน หรือทำท่าขยับปากอยากดูดตลอดเวลา ไม่ได้เป็นเพราะว่าเด็กหิวเสมอไป ถ้าเห็นลูกพุงกางเป็นน้ำเต้าแล้ว ให้เบี่ยงเบนความสนใจลูกไปที่อื่น เช่น เล่นกับลูก อุ้มลูกเดิน ให้ลูกดูดจุกหลอก เป็นต้น
  5. หากลูกงอแงจะดูดเต้าให้ได้ ควรปั๊มนมออกก่อน เพื่อที่ลูกจะได้ไม่กินนมเข้าไปเยอะเกิน และควรกะเวลาให้ลูกกินนมประมาณ 20 นาทีก็พอ
  6. อย่าเข้าใจผิดว่าเด็กอ่อนต้องน้ำหนักขึ้นเดือนละ 1 กิโลกรัมจนต้องป้อนนมลูกตลอด

 

ที่มา : 1 , 2

บทความที่น่าสนใจอื่น ๆ :
ถ้าไม่อยากดราม่า รู้ไว้ก่อนนำนมแม่ขึ้นเครื่อง
สำลักนมในเด็กเล็กอันตรายที่คาดไม่ถึง
ไวท์ดอท เรื่องที่ทำแม่ให้นมต้องนอนร้องไห้ เช็คหัวนมด่วน มีจุดขาวไหม

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

สิริลักษณ์ อุทยารัตน์

  • หน้าแรก
  • /
  • การเลี้ยงลูก
  • /
  • ให้ลูกกินนมเยอะเกินไป ระวังลูกเป็นโรคอ้วน อย่า Overfeeding ลูก ไม่ดี
แชร์ :
  • Over Feeding กินนมเยอะเกินไป น้ำนมเยอะเกินไป น้ำนมน้อยเกินไป แบบไหนอันตราย?

    Over Feeding กินนมเยอะเกินไป น้ำนมเยอะเกินไป น้ำนมน้อยเกินไป แบบไหนอันตราย?

  • คุณแม่รู้รึเปล่า ลูกกินนมแม่มากเกินไป ก็มีโทษเหมือนกันนะ

    คุณแม่รู้รึเปล่า ลูกกินนมแม่มากเกินไป ก็มีโทษเหมือนกันนะ

  • ฝีดาษลิง เสี่ยงเสียชีวิตสูงในกลุ่มเด็กเล็ก ป้องกันได้อย่างไร ?

    ฝีดาษลิง เสี่ยงเสียชีวิตสูงในกลุ่มเด็กเล็ก ป้องกันได้อย่างไร ?

  • 10 ท่วงท่าสู่จุดสุดยอด Woman On Top ท่าเซ็ก ผู้หญิงอยู่บน 10 ท่ายาก จัดเต็ม

    10 ท่วงท่าสู่จุดสุดยอด Woman On Top ท่าเซ็ก ผู้หญิงอยู่บน 10 ท่ายาก จัดเต็ม

app info
get app banner
  • Over Feeding กินนมเยอะเกินไป น้ำนมเยอะเกินไป น้ำนมน้อยเกินไป แบบไหนอันตราย?

    Over Feeding กินนมเยอะเกินไป น้ำนมเยอะเกินไป น้ำนมน้อยเกินไป แบบไหนอันตราย?

  • คุณแม่รู้รึเปล่า ลูกกินนมแม่มากเกินไป ก็มีโทษเหมือนกันนะ

    คุณแม่รู้รึเปล่า ลูกกินนมแม่มากเกินไป ก็มีโทษเหมือนกันนะ

  • ฝีดาษลิง เสี่ยงเสียชีวิตสูงในกลุ่มเด็กเล็ก ป้องกันได้อย่างไร ?

    ฝีดาษลิง เสี่ยงเสียชีวิตสูงในกลุ่มเด็กเล็ก ป้องกันได้อย่างไร ?

  • 10 ท่วงท่าสู่จุดสุดยอด Woman On Top ท่าเซ็ก ผู้หญิงอยู่บน 10 ท่ายาก จัดเต็ม

    10 ท่วงท่าสู่จุดสุดยอด Woman On Top ท่าเซ็ก ผู้หญิงอยู่บน 10 ท่ายาก จัดเต็ม

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
    • ก่อนตั้งครรภ์
    • การคลอด
    • ระยะการตั้งครรภ์
    • การคลอด
  • พัฒนาการลูก
    • ทารก
    • เด็กก่อนเข้าเรียน
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • การวางแผนการเงิน
    • การเลี้ยงลูก
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • นมแม่และนมผง
  • โภชนาการ
    • สินค้าเด็ก
    • นมผง
    • เมนูอาหาร
    • สินค้าแม่
  • เพิ่มเติม
    • TAP สังคมออนไลน์
    • ติดต่อโฆษณา
    • ติดต่อเรา
    • Influencer Marketing (KOL)
    • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Sri-Lanka flag Sri Lanka
  • India flag India
  • Vietnam flag Vietnam
  • Australia flag Australia
  • Japan flag Japan
  • Nigeria flag Nigeria
  • Kenya flag Kenya
© Copyright theAsianparent 2022. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

theAsianparent heart icon
เราต้องการส่งแจ้งเตือนข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการดูแลทารกและสุขภาพไปให้กับคุณ