เครื่องปั๊มนม ที่ปั๊มนมแม่ แบบไฟฟ้า คุณภาพแน่น ๆ ถูกใจแบบไหน โดนใจดีไซน์ไหน เลือกเลย!
ปัญหาที่เหล่าคุณแม่พบเจอกันคือปัญหา คัดหน้าอก เจ็บหน้าอก จากการที่น้ำนมนั้นออกมาไม่หมดจากเต้าของเรา ซึ่งคุณแม่มือใหม่มักจะประสบกับปัญหาเหล่านี้เป็นจำนวนมาก และแน่นอนว่าอาการดังกล่าวนั้นจะปวดมาก จนบางครั้งก็สงผลกระทบกับการนอนของคุณแม่หลาย ๆ คน เครื่องปั๊มนม แบบไฟฟ้า ที่เหมาะกับคุณแม่ที่มีน้ำนมออกมาอย่างสม่ำเสมอ เนื่องจากว่าการใช้เครื่องแบบไฟฟ้าจะเป็นการปั๊มแบบเป็นรอบซึ่งคุ้มค่าแก่คุณแม่ที่มีน้ำนมออกอย่างสม่ำเสมอ เพราะมีความสามารถหลักในการปั๊มนมที่รวดเร็ว คงที่ และสม่ำเสมอ สามารถตอบโจทย์และรองรับคุณแม่ที่มีน้ำนมเยอะได้ดี สามารถปั๊มออกได้จนเกลี้ยงเต้าในเวลาไม่นาน และยังใช้งานพร้อมกันทั้งสองข้างได้อีกด้วย
แต่ยังไงก็ตามนะคะคุณแม่ ไม่มีเครื่องปั๊มนมรุ่นเทพที่ดีที่สุดสำหรับทุกคน เครื่องปั๊มนมแต่ละรุ่น เหมาะกับแต่ละคนไม่เหมือนกัน เพราะฉะนั้นแล้วการที่มีคนใช้สินค้าตัวนี้แล้วดีก็ไม่ได้หมายความว่าเราจะใช้ได้ผลเหมือนกัน
ทำไมถึงต้องใช้เครื่องปั๊มนม? และเครื่องปั๊มนมไฟฟ้าทำงานอย่างไร?
เครื่องปั๊มนมเป็นอุปกรณ์เลียนแบบการดูดนมของทารกแรกเกิด ที่ถูกผลิตขึ้นมาเพื่อให้ร่างกายของคุณแม่มีความรู้สึกเดียวกันกับตอนที่ทารกกำลังดูดนม ซึ่งจะมีประโยชน์เมื่อไม่สามารถให้นมลูกได้ในสถานการณ์ต่าง ๆ โดยเครื่องปั๊มนมจะทำการเก็บน้ำนมจากเต้านมของคุณแม่โดยตรง จากนั้นคุณแม่จึงจัดเก็บใส่ขวด ถุงเก็บน้ำนม หรือภาชนะที่ถูกออกแบบมาให้รองรับการจัดเก็บน้ำนมสำหรับทารก โดยข้อดีของการใช้เครื่องปั๊มนมและเหตุผลที่คุณแม่มือใหม่ควรใช้เครื่องปั๊มนม มีดังนี้
- ร่างกายไม่สามารถผลิตน้ำนมได้เพียงพอ สำหรับคุณแม่บางคนที่อาจมีปัจจัยทางด้านสุขภาพ ทำให้ร่างกายไม่สามารถผลิตน้ำนมได้เพียงพอต่อความต้องการของลูกในแต่ละมื้อ การใช้เครื่องปั๊มนมจึงเป็นอีกหนึ่งวิธีที่จะช่วยแก้ปัญหาด้านนี้ได้อย่างตรงจุด เนื่องจากจะเป็นอุปกรณ์ที่ช่วยกระตุ้นให้ร่างกายเพิ่มระดับฮอร์โมนในการผลิตน้ำนม ได้แก่ ฮอร์โมนโปรแลคตินและฮอร์โมนออกซิโตตินนั่นเอง
- ป้องกันอาการเต้านมคัด หากร่างกายของคุณแม่ผลิตน้ำนมออกมามาก เครื่องปั๊มนมจะเป็นตัวช่วยสำคัญที่จะช่วยปั๊มออกมาเก็บไว้ เมื่อไม่มีปัญหาเต้านมคัด การให้นมลูกก็จะสบายมากขึ้นทั้งต่อตัวทารกและตัวคุณแม่
- ไม่มีเวลาในการอุ้มลูกเข้าเต้าเพื่อให้นม ในข้อนี้เป็นสาเหตุที่ไม่ได้เกี่ยวข้องโดยตรงกับสภาพร่างกายของคุณแม่ แต่สาเหตุมาจากการทำงาน หรือการทำกิจวัตรอื่น ๆ ซึ่งทำให้ไม่สามารถให้นมลูกผ่านอ้อมอกได้อย่างตรงเวลา การปั๊มนมเพื่อเก็บไว้ในสถานการณ์เหล่านั้นจึงตอบโจทย์ได้อย่างดี ทำให้ลูกได้อิ่มท้องจากน้ำนมแม่ได้ ไม่ว่าคุณแม่จะทำอะไรหรืออยู่ที่ไหนก็ตาม
- ไม่สะดวกที่จะให้นมลูกโดยตรง เนื่องจากมีปัญหาทางสุขภาพ หรือปัญหาที่เกิดขึ้นจากสภาพร่างกายของตนเอง
- ลูกของคุณมีอาการป่วย เช่น ลูกจำเป็นต้องเข้ารับการรักษา จึงไม่สามารถเข้าเต้าได้
- จำเป็นต้องให้คุณพ่อเลี้ยงลูก บางครอบครัวที่ต้องให้คุณพ่อและลูกน้อยใกล้ชิดกันมากยิ่งขึ้น หรือคุณแม่มีธุระ ต้องทำงาน ก็สามารถให้คุณพ่อช่วยเลี้ยงลูกได้ เนื่องจากต้องใช้เวลาในการป้อนนม หากคุณแม่ไม่สะดวก ก็ช่วยส่งไม้ต่อให้คุณพ่อใช้เวลากับลูกน้อย ค่อย ๆ ป้อนนมและสบตา เพื่อกระชับสายสัมพันธ์พ่อลูก
วิธีเลือกเครื่องปั๊มนมไฟฟ้าให้เหมาะกับแม่
ในการเลือกซื้อเครื่องปั๊มนมนั้นมีรายละเอียดที่จะต้องพิจารณาให้ถี่ถ้วนเสียก่อน โดยที่รายละเอียดต่าง ๆ เหล่านั้น จะประกอบไปด้วยหัวข้อสำคัญดังต่อไปนี้
ช่วงเวลาและความถี่ในการปั๊มนมของคุณแม่
ช่วงเวลาการให้นมของคุณแม่แต่ละคนนั้น จะมีความแตกต่างกันออกไปตามระดับฮอร์โมนโปรแลคตินที่จะเพิ่มขึ้นสูงในแต่ละช่วงเวลาของร่างกาย หากคุณแม่กำลังพบเจอปัญหาน้ำนมน้อย และจำเป็นจะต้องปั๊มนมอยู่เป็นประจำในช่วงเวลากลางคืน ที่ต้องการพักผ่อนจากการทำงานและงานบ้าน ก็จำเป็นต้องเลือกเครื่องปั๊มนมแบบไฟฟ้าคู่หรือเครื่องปั๊มนมไฟฟ้าแบบปั๊มคู่ ที่มีระดับเสียงค่อนข้างต่ำ เพื่อเป็นการลดเสียงรบกวนและทำให้คุณแม่ไม่ต้องใช้แรงในการปั๊มมากนัก แต่หากคุณแม่จำเป็นต้องปั๊มนมเป็นประจำในทุกวัน ก็สามารถใช้งานได้ทั้งเครื่องปั๊มน้ำแบบเดี่ยวและแบบคู่ แต่ควรหลีกเลี่ยงรุ่นขนาดเล็กอย่างที่ปั๊มนมมือถือ เพราะประสิทธิภาพอาจไม่เพียงพอได้
เวลาว่างที่คุณแม่ใช้ปั๊มนมและทำความสะอาดเครื่องปั๊มนม
หากคุณแม่ต้องปั๊มนมอย่างเร่งรีบในแต่ละครั้ง คุณแม่อาจจะต้องเลือกใช้งานรุ่นที่ทำงานโดยใช้กำลังไฟฟ้าจากแบตเตอรี่ หรือเครื่องปั๊มที่ช่วยให้คุณแม่ได้ปั๊มนมออกมารวดเร็วมากยิ่งขึ้นในระยะเวลาอันสั้น การใช้งานเครื่องปั๊มนมรุ่นปั๊มคู่ จะทำให้ใช้ระยะเวลาค่อนข้างมาก และทำความสะอาดได้ลำบาก จึงควรเลือกใช้งานรุ่นที่ทำความสะอาดได้ง่ายและปั๊มนมได้อย่างรวดเร็ว
สถานที่ที่คุณแม่ต้องการใช้งานตัวเครื่องปั๊มนมไฟฟ้า
สถานที่ที่คุณใช้งานตัวอุปกรณ์ ก็นับเป็นอีกหนึ่งส่วนสำคัญ ที่มีผลต่อการเลือกซื้อเป็นอย่างมาก เนื่องจากความเหมาะสมในการใช้งานของแต่ละรุ่น จะมีความแตกต่างกันออกไปตามพื้นที่ ที่จะใช้ในการทำงานของเครื่องรุ่นนั้น ๆ เช่น หากคุณแม่ต้องการนำไปใช้งานยังนอกสถานที่ ก็ควรมองหารุ่นที่ทำงานโดยใช้แบตเตอรี่ เนื่องจากใช้งานได้ในทันที โดยไม่จำเป็นจะต้องเสียบสายเข้ากับเต้าเสียบโดยตรง แต่หากต้องการใช้งานอยู่ภายในบ้านหรือห้องคอนโด ก็อาจเลือกรุ่นที่มีความแรงสูง เพื่อให้ประหยัดเวลาในการปั๊มนมลงได้มากยิ่งขึ้น
ความสะดวกสบายในการพกพา
ในกรณีที่จะต้องเคลื่อนย้ายตัวอุปกรณ์ไปรอบบ้านอยู่เป็นประจำ ควรมองหารุ่นที่ถูกออกแบบมาให้มีความเบา เพื่อให้เคลื่อนย้ายการจัดวางได้สะดวกมากยิ่งขึ้น รวมไปถึงยังอาจมองหารุ่นที่ใช้งานแบตเตอรี่ได้ เพื่อจะได้ไม่ต้องเสียบสายไฟในระหว่างการใช้งาน และยังพกพาไปไหนมาไหนได้สะดวกอีกด้วย
ความสะดวกสบายในการตั้งค่าและใช้งานเครื่องปั๊มนมไฟฟ้า
เครื่องปั๊มนมของแต่ละแบรนด์ออกแบบมาให้มีทั้งขนาดและน้ำหนักที่แตกต่างกัน จึงสามารถเลือกซื้อตามรุ่นที่ตอบโจทย์การใช้งานได้อย่างเหมาะสม และยืดหยุ่นสำหรับแต่ละคน ในการเลือกซื้อ คุณแม่ควรเลือกดูจากรุ่นที่มีรูปทรงของกรวยในการปั๊มเข้ากันกับสรีระหน้าอกของคุณแม่มากที่สุด เพื่อให้สามารถใช้งานเข้ากันกับร่างกายของคุณแม่ได้อย่างพอดี จะทำให้คุณแม่มีความสะดวกสบายมากยิ่งขึ้น เมื่อจะต้องปั๊มนมต่อเนื่องเป็นระยะเวลานาน ยิ่งไปกว่านั้นเพื่อให้ปรับตั้งค่าการใช้งานได้หลากหลายมากยิ่งขึ้น ก็อาจเลือกรุ่นที่ปรับระดับความแรงในการใช้ดูดได้หลายระดับ ในกรณีที่ต้องการใช้งานในสถานการณ์ต่าง ๆ ที่แตกต่างกัน
เงื่อนไขของทารกแต่ละคน
บางสถานการณ์คุณแม่อาจต้องเลือกใช้งานเครื่องปั๊มนมคุณภาพสูง ในกรณีที่ทารกคลอดมาก่อนกำหนด, มีอาการป่วย หรือมีการคลอดบุตรพร้อมกันหลายคน เช่น ฝาแฝด ซึ่งอุปกรณ์สำหรับการปั๊มนมอาจมีความแตกต่างจากเครื่องปั๊มแบบปกติอยู่เล็กน้อย นอกจากนี้ หากต้องการกระตุ้นน้ำนม เพื่อให้ได้น้ำนมที่มากขึ้น สำหรับการเลือกใช้งานเครื่องปั๊มระบบไฟฟ้า ก็ถือว่ามีความจำเป็นอยู่ไม่น้อย
คุณสมบัติและส่วนเสริมที่มีประโยชน์
เครื่องปั๊มนมบางรุ่นอาจจะถูกออกแบบมาพร้อมกับชุดป้องกันเต้านม เพื่อให้สามารถรีดนมไปพร้อมกันกับการทำกิจกรรมอื่น ๆ ได้ จึงเป็นหนึ่งในตัวเลือก ที่จะช่วยให้คุณแม่ใช้ชีวิตได้อย่างสะดวกสบายมากยิ่งขึ้น และในการเลือกซื้อก็ควรมองหาผลิตภัณฑ์ ที่ไม่มีส่วนผสมของ BPA เพราะอาจจะเจือปนกับน้ำนมได้ง่าย และค่อนข้างจะมีผลเสียต่อร่างกายของเด็กทารก ที่สำคัญเพื่อความคุ้มค่าและปลอดภัยในการใช้งานที่มากยิ่งขึ้น ควรตรวจสอบถึงระยะเวลาการรับประกันและเงื่อนไขต่าง ๆ ในกรณีที่จะต้องทำการเปลี่ยนหรือคืนสินค้า เมื่อสินค้าเกิดความเสียหาย
คู่มือปั๊มนมสำหรับคุณแม่
บทความ : คู่มือปั๊มนมสำหรับคุณแม่ที่ลูกดูดนมจากเต้า อยากสะสมน้ำนม จะเริ่มปั๊มนมเมื่อไหร่ดี
อยากสะสมน้ำนม แต่ไม่รู้จะเริ่มปั๊มนมเมื่อไหร่ดี
การที่ลูกยอมดูดนมจากเต้า ถือว่าคุณแม่โชคดีมาก เพราะนอกจากอาหารกายสุดวิเศษที่ลูกจะได้รับแล้ว ยังแถมอาหารใจที่ประกอบด้วยความรัก ความอบอุ่น ความรู้สึกปลอดภัยและมั่นคงเข้าไปด้วย แต่เมื่อถึงเวลาที่คุณแม่ต้องกลับไปทำงานหรือไม่ได้อยู่กับลูกตลอดเวลา จำเป็นต้องผละลูกออกจากนม (ชั่วคราว) การปั๊มนมแล้วป้อนด้วยขวดหรือถ้วยดื่มนมเป็นเรื่องจำเป็น คุณแม่ต้องตั้งเป้าไว้เลยว่า ในช่วงเดือนแรกทารกควรได้ดูดนมจากเต้าแม่ล้วน ๆ โดยไม่ใช้ขวดนม หลังจากหนึ่งเดือนจึงหัดให้เบบี๋ได้ดูดนมแม่จากขวดหรือป้อนด้วยวิธีอื่น
บทความที่เกี่ยวข้อง : วิธีปั๊มนม เทคนิคการปั๊มให้เกลี้ยงเต้า เอาใจคุณแม่นักปั๊ม บ้านไหน ลูกไม่ดูดเต้า ปั๊มอย่างเดียว ยิ่งต้องรู้
เริ่มปั๊มนมเมื่อไหร่ดีสำหรับคุณแม่ลูกที่ดูดเต้า
กฎทองแห่งความสำเร็จของการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่คือ 3 ด. ดูดเร็ว ดูดบ่อย ดูดให้ถูกวิธี ภายใน ½-1 ชม.แรกหลังคลอดคุณแม่ควรให้ลูกดูดนมเร็วที่สุด ตอนที่ทารกเริ่มดูดใหม่ ๆ น้ำนมอาจจะยังไม่มาทันที แต่จะเริ่มมาภายใน 2-3 วันแรก ส่วนใหญ่ เวลาที่ทารกดูดนมจะไม่ค่อยนาน เนื่องจาก ยังดูดไม่ค่อยเก่ง คุณแม่ควรเริ่มปั๊มนม เพื่อช่วยกระตุ้นตั้งแต่วันแรก หากต้องการปั๊มนมให้สำเร็จก็ควรใช้กฎ 3 ข้อเช่นกัน คือ ปั๊มเร็ว ปั๊มบ่อย ปั๊มด้วยเครื่องดี ๆ โดยปรับแรงดูดให้เบาที่สุด ปั๊มประมาณ 5-10 นาที ทุก 2-3 ชม. แต่ถ้ารู้สึกเจ็บให้หยุดปั๊มทันที พักสัก 2-3 ชม. ค่อยลองใหม่ หากฝืนทนเจ็บอาจทำให้หัวนมแตกได้ ถ้ายังเจ็บอยู่อาจใช้ปั๊มมือหรือใช้มือบีบแทน วันต่อ ๆ มาอาการเจ็บจะลดลง
บทความที่เกี่ยวข้อง : ทำไมแม่ที่ให้ลูกดูดเต้าถึงปั๊มนมได้น้อย ?
ที่ปั๊มนมแม่
หลังจาก 2-3 วัน เมื่อกลับบ้าน ถ้าเจ้าตัวน้อยดูดนมได้ดี ในตอนกลางวันพยายามหัดให้ลูกดูดข้างนึง และปั๊มนมอีกข้างนึงไปพร้อม ๆ กัน ใช้เวลาปั๊มประมาณ 10 นาที ให้หยุดและเก็บน้ำนมที่ปั๊มได้ เพื่อเป็นนมสต๊อก ไม่ควรทำมาให้ทารกกินทันที และย้ายลูกมาดูดนมข้างที่ปั๊มซ้ำต่ออีกรอบ มื้อต่อไปก็ทำเหมือนเดิมแต่ให้สลับข้าง เริ่มดูดเต้าที่ปั๊มก่อนหน้า และปั๊มข้างที่ดูดไปแล้ว ทำแบบนี้ในตอนกลางวันให้ได้ 3- 5 ครั้ง ส่วนตอนกลางตืนก็ให้ลูกดูดนมจากเต้าโดยไม่ต้องปั๊มก็ได้ เพราะจะทำให้คุณแม่เหนื่อยเกินไป ยกเว้น ถ้าเจ้าตัวน้อยนอนยาว คุณแม่ควรลุกมาปั๊มนมอย่างน้อยหนึ่งครั้งในช่วงกลางคืน
น้ำนมที่คุณแม่ทำเป็นนมสต๊อกในแต่ละวันรวม ๆ กันช่วงแรก ๆ อาจจะได้แค่ 1-2 ออนซ์ อย่าเพิ่งเห็นว่าน้ำนมมาน้อยแล้วท้อนะคะ ให้ทำไปเรื่อย ๆ กลไกการหลั่งน้ำนม ของคุณแม่จะค่อย ๆ เพิ่มขึ้นเอง ถ้ามีน้ำนมส่วนเกินที่ลูกดูดได้ถึงวันละ 10 ออนซ์เมื่อไหร่ ถือว่าประสบความสำเร็จ คุณแม่อาจเพิ่มการปั๊มระหว่างมื้อนมของลูกได้ โดยปั๊มประมาณ 10 นาที พร้อมกันสองข้างหลังจากลูกดูดไปแล้ว 1 ชั่วโมง หรือจะทำเหมือนเดิมคือปั๊มตอนให้นมลูกดูดนมหนึ่งข้างและปั๊มอีกข้างหนึ่งไปพร้อมกันก็ได้
หลักสำคัญคือ ยิ่งปั๊มบ่อยน้ำนมยิ่งเยอะ ทำแบบนี้ทุกวัน เมื่อครบเดือน คุณแม่จะได้น้ำนมสต๊อกพอสมควร เพื่อเริ่มให้ลูกน้อยได้ดูดนมจากขวดหรือถ้วย เพื่อเตรียมพร้อมก่อนที่แม่จะไปทำงาน ที่สำคัญคุณ แม่ไม่ควรขยันปั๊มจนรู้สึกว่าเหนื่อยเกินไป ต้องดูแลร่างกาย เพื่อให้พักผ่อนและกินอาหาร ดื่มน้ำให้เพียงพอ เพราะถ้าร่างกายไม่พร้อมแม้จะปั๊มนมบ่อย ๆ ก็อาจไม่ได้น้ำนมตามที่ตั้งใจไว้
ที่ปั๊มนมแม่
ที่มา : ardothai
บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ
Lazada 8thBirthday 27 มีนาคม เตรียมพบกับโปรโมชั่นสุดคุ้ม อยู่บ้านก็ช้อปได้
10 ของเล่นจาก Frozen โฟรเซ่น ที่ลูกสาวจะต้องรัก ราคาไม่แพง
10 เครื่องครัวที่แม่ต้องมี ของใช้ในครัวอะไรบ้างที่แม่ต้องมี ลดสุด ซื้อเลยแม่