ลูกผิวไหม้แดด รักษาอย่างไร ให้ลูกทาครีมกันแดดได้ไหม?

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ในช่วงอากาศร้อน ๆ คุณพ่อคุณแม่หลายคนมักจะพาลูกไปเที่ยวทะเล หรือทำกิจกรรมกลางแจ้งกันใช่ไหมคะ แน่นอนว่าแดดในประเทศไทยค่อนข้างร้อน และแดดจ้ามาก ๆ หากปล่อยให้ลูกเล่นอยู่ข้างนอกตลอดเวลาก็อาจส่งผลให้เกิดผิวไหม้แดดได้ วันนี้ theAsianparent Thailand จะพามาดูกันว่าหาก ลูกผิวไหม้แดด ควรรักษาอย่างไร และมีวิธีป้องกันลูกผิวไหม้แดดอย่างไรบ้าง ไปติดตามกันค่ะ

 

อาการ ลูกผิวไหม้แดด

ผิวไหม้แดด (Sunburn) มักเกิดจากการที่ลูกเล่นอยู่ท่ามกลางแดดจัดเป็นเวลานาน ทำให้ผิวได้รับผลกระทบจากแสง UV โดยตรง แม้จะเพียง 15 นาที ก็สามารถทำให้ผิวลูกน้อยไหมแดดได้ อย่างไรก็ตาม ไม่เพียงแค่ในช่วงที่แดดแรงจัดเท่านั้น แต่แสงแดดในช่วง 9 โมง ถึงบ่าย 3 โมง ก็เป็นอันตรายแก่ผิวของลูกน้อยเช่นกัน หากลูกอยู่กลางแดดบ่อย ๆ ก็ทำให้แสง UV สะสม จนอาจทำให้ลูกเป็นโรคมะเร็งผิวหนังได้ โดยอาการเมื่อลูกผิวไหม้แดด มีดังนี้

  • แสบผิว : หากลูกอยู่กลางแดดจัด ก็อาจทำให้รู้สึกแสบผิว ไม่สบายตัว จนเกิดอาการงอแงได้
  • ผื่นแดงไหม้ : เด็กบางคนอาจเริ่มมีผื่นแดงไหม้ตามผิวหนัง และมีอาการคันร่วมด้วย ทำให้ลูกอาจรู้สึกร้อนผิว แสบผิว และไม่สบายผิวอยู่ตลอดเวลา
  • ผิวแดง บวม พอง : หากลูกมีอาการผิวไหม้แดด แล้วคุณพ่อคุณแม่ปล่อยไว้นาน ๆ ก็จะทำให้ผิวของลูกมีอาการแดง และบวมพอง ซึ่งอาจทำให้ผิวหนังอักเสบ และเกิดการติดเชื้อได้ เพราะฉะนั้นหากคุณพ่อคุณแม่พบว่าลูกมีผิวพองเป็นตุ่มน้ำ พยายามไม่แกะ หรือเจาะเป็นอันขาด เพราะเมื่อผ่านไป 2-3 วันนั้น ผิวของลูกจะค่อย ๆ ลอกเป็นแผ่น และทำให้สีผิวไม่สม่ำเสมอเอง

บทความที่เกี่ยวข้อง : ผิวไหม้เสียจากแดดดูแลอย่างไรให้กลับมามีสุขภาพดี

 

 

ผิวไหม้แดดใช้เวลาฟื้นฟูนานเท่าไหร่

ผิวไหม้แดดอาจใช้ระยะในการฟื้นฟูตามอาการของเด็กแต่ละคน โดยระยะเวลาในการฟื้นฟูผิวเองนั้น สามารถแบ่งออกได้ดังนี้

  • ผิวไหม้แดดที่ไม่รุนแรง : หากลูกมีอาการผิวไหม้ไม่รุนแรง ก็จะมีอาการปวด และแดดประมาณ 3-5 วัน และอาจมีผิวลอกในช่วงวันสุดท้าย เพราะมีการผลัดเซลล์ผิวเพื่อสร้างเซลล์ผิวใหม่ขึ้นมานั่นเอง
  • ผิวไหม้แดดรุนแรงปานกลาง : เด็กอาจจะมีอาการเจ็บ และรู้สึกปวดมากกว่าปกติ เพราะผิวหนังบวมแดง และรู้สึกแสบร้อนเมื่อสัมผัส ทั้งนี้ผิวไหม้แดดระดับนี้ จะใช้เวลาฟื้นฟูประมาณ 1 สัปดาห์ และอาจจะมีผิวลอกหลังหายเป็นปกติประมาณ 2-3 วัน
  • ผิวไหม้แดดรุนแรงมาก : สำหรับเด็กที่โดนแดดไหม้อย่างรุนแรง จะมีผิวแดงมาก และมีตุ่มน้ำที่รู้สึกแสบร้อน ซึ่งอาจต้องไปพบแพทย์เพื่อรักษาในโรงพยาบาล หรือรักษาตัวที่บ้าน โดยอาจต้องใช้เวลาในการฟื้นฟูถึง 2 สัปดาห์จนกว่าผิวจะกลับมาฟื้นฟูเป็นปกติ

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

วิธีรับมือเมื่อ ลูกผิวไหม้แดด

หากลูกน้อยถูกผิวไหม้แดด คุณพ่อคุณแม่ไม่ต้องกังวลใจไปนะคะ สามารถทำตามขั้นตอนดังต่อไปนี้ เพื่อช่วยบำรุงผิวของลูกให้กลับมาดีเหมือนเดิมได้ค่ะ

  • ประคบเย็น : หากลูกน้อยมีอาการผิวไหม้แดด คุณพ่อคุณแม่สามารถใช้ผ้าขนหนูชุบน้ำเย็นเพื่อประคบผิวของลูกบริเวณที่ไหม้แดด และลดอาการแสบร้อนให้ลูกได้
  • แช่น้ำเย็น : การแช่น้ำเย็น สามารถช่วยลดอาการอักเสบจากการโดนผิวไหม้ได้เป็นอย่างดี โดยคุณพ่อคุณแม่อาจให้ลูกลองแช่น้ำในอ่างอาบน้ำเพื่อบรรเทาอาการดังกล่าวได้ ทั้งนี้ควรหลีกเลี่ยงการให้ลูกใช้สระว่ายน้ำที่มีสารคลอรีนไปก่อน เพราะอาจทำให้ผิวลูกเกิดการระคายเคืองได้
  • อาบน้ำเย็น : นอกจากการแช่น้ำเย็นแล้ว การอาบน้ำเย็นก็สามารถช่วยลดความร้อนในผิวหนังของลูกได้เช่นกัน เมื่อลูกอาบน้ำเสร็จ คุณพ่อคุณแม่ก็ลองประคบเย็นอีกครั้ง ก็จะช่วยให้ผิวของลูกดีขึ้น
  • ทาครีมบำรุงผิว : การทาครีมบำรุงผิว ช่วยลดอาการแสบร้อน และอาการคันผิวหนังได้ดี คุณพ่อคุณแม่สามารถเลือกโลชั่นที่มี pH 5.5 เพื่อช่วยฟื้นฟูผิวลูกน้อย และช่วยรักษาสมดุลในชั้นผิวหนังลูกได้ หากคุณพ่อคุณแม่เลือกโลชั่นที่อ่อนโยนต่อผิวลูก ก็จะช่วยกักเก็บน้ำไว้ใต้ชั้นผิว และช่วยเสริมวิตามินให้แก่ผิวของลูกให้นุ่ม และแข็งแรงมากขึ้น
  • ใช้ว่านหางจระเข้ : นอกจากครีมบำรุงผิว คุณพ่อคุณแม่สามารถใช้ว่านหางจระเข้ทาบนผิวลูกเพื่อลดอาการอักเสบได้ โดยให้ปอกเปลือกด้านนอกออก แล้วใช้วุ่นว่านหางจระเข้ทาบริเวณที่ลูกผิวไหม้ ก็จะช่วยลดอาการแสบ และทำให้ผิวลูกเย็นลงได้
  • ดื่มน้ำมาก ๆ : การดื่มน้ำบ่อย ๆ ช่วยเพิ่มความชุ่มชื่น และฟื้นบำรุงผิวได้ โดยอาจให้ลูกดื่มน้ำอย่างน้อยวันละ 8 แก้ว เพื่อให้ร่างกายได้ฟื้นฟูสภาพผิว นอกจากนี้ คุณพ่อคุณแม่ควรให้ลูกงดดื่มน้ำอัดลม หรือเครื่องดื่มประเภทโซดาไปก่อน เพราะอาจทำให้ร่างกายสูญเสียน้ำได้
  • สวมเสื้อผ้าหลวม ๆ : หลังจากที่ลูกเกิดอาการผิวไหม้แดดแล้ว ควรให้ลูกใส่เสื้อผ้าหลวม ๆ ที่ไม่รัดผิวมากเกินไป เพื่อให้ผิวหนังได้ฟื้นฟูสภาพผิวอย่างเต็มที่ ไม่เกิดการระคายเคืองจากการเสียดสี

บทความที่เกี่ยวข้อง : 10 ครีมกันแดดคนท้อง ท้าแดดอย่างไรให้ปลอดภัยกับลูกน้อย !

 

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

การป้องกันลูกผิวไหม้แดด

ถ้าคุณพ่อคุณแม่จะพาลูกน้อยไปเที่ยวทะเล ทำกิจกรรมกลางแจ้ง หรือต้องออกแดดเป็นเวลานาน ๆ ก็ควรเตรียมวิธีรับมือกับอาการผิวไหม้แดดไว้ด้วย โดยวิธีป้องกันลูกผิวไหม้แดดนั้น มีดังนี้

  • ทาครีมกันแดด : คุณพ่อคุณแม่สามารถทาครีมกันแดดให้ลูกได้นะคะ โดยให้เลือกครีมกันแดดที่มี SPF50+++ เพื่อปกป้องผิวลูกน้อยจากแสง UV และควรทาให้ลูกก่อนออกแดดทุกครั้ง และทาซ้ำทุก ๆ 1 ชั่วโมง ทั่วใบหน้า และลำตัว ก็จะช่วยปกป้องผิวจากผิวไหม้แดดได้ค่ะ
  • สวมเสื้อผ้ามิดชิด : ให้ลูกสวมเสื้อผ้าที่ปกคลุมผิว เสื้อแขนยาว กางเกงขายาว เพื่อป้องกันผิวลูกน้อยจากแสง UV โดยตรง แต่ก็ควรเลือกเนื้อผ้าที่ใส่สบาย ระบายอากาศได้ เพราะไม่เช่นนั้นอาจทำให้ลูกรู้สึกอึดอัด และเกิดผื่นอับตามมาได้
  • ทาเจลว่านหางจระเข้ : เพื่อปกป้องผิวของลูกน้อย คุณพ่อคุณแม่สามารถทาเจลว่านหางจระเข้ก่อนออกแดด และหลังออกแดดได้ เพื่อป้องกันลูกผิวไหม้ และช่วยปรับให้ผิวเนียนนุ่ม ชุ่มชื้น และยังช่วยเติมน้ำให้แก่ผิวได้ด้วย
  • ให้ลูกดื่มน้ำบ่อย : ในช่วงที่ลูกเล่นอยู่กลางแจ้ง คุณพ่อคุณแม่อาจให้ลูกวิ่งมาดื่มน้ำบ่อย ๆ เพราะการอยู่ท่ามกลางแดดจัดนั้น อาจทำให้ลูกอ่อนเพลีย และร่างกายสูญเสียน้ำ รวมทั้งอาจทำให้ผิวลูกแห้งไหม้ได้
  • เลือกช่วงเวลาในการออกแดด : แสงแดดในช่วง 10 โมงเช้า ถึง 4 โมงเย็น เป็นช่วงเวลาที่มีแดดแรง ดังนั้นคุณพ่อคุณแม่ควรหลีกเลี่ยงให้ลูกออกแดดในช่วงเวลาดังกล่าว หากจำเป็นต้องออกจริง ๆ ก็ควรทาครีมกันแดด และพกร่มทุกครั้ง

บทความที่เกี่ยวข้อง : ครีมกันแดด มีประโยชน์อย่างไร เลือกครีมกันแดดแบบไหนถึงจะป้องกันรังสีได้ดี

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

เมื่อไหร่ที่ต้องไปพบแพทย์

หากลูกมีอาการผิวไหม้ที่รุนแรงมาก และมีอาการอื่น ๆ ต่อไปนี้ร่วมด้วย ควรรีบไปพบแพทย์เพื่อเข้ารับการรักษาทันที

  • เป็นไข้
  • หนาวสั่น
  • หน้าบวม
  • ปวดท้อง
  • ปวดศีรษะ
  • เกิดภาวะขาดน้ำ
  • สับสน รู้สึกมึนงง
  • เวียนศีรษะ หน้ามืด
  • รู้สึกเจ็บปวด และมีผิวหนังพุพอง

 

เพื่อป้องกัน ลูกผิวไหม้แดด คุณพ่อคุณแม่ควรทาครีมกันแดดให้ลูกทุกครั้ง ก่อนออกไปทำกิจกรรมกลางแจ้ง รวมถึงควรให้ลูกใส่เสื้อผ้าที่ปกปิดผิวจากแสงแดด เพราะหากลูกยืนอยู่บริเวณแดดจัดเป็นเวลานาน ๆ ก็อาจส่งผลให้ผิวไหม้ ร่างกายขาดน้ำ และอาจก่อให้เกิดการสะสมของแสง UV ที่มีส่วนให้เกิดโรคมะเร็งผิวหนังได้อีกด้วย

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

ลูกต้องออกแดด ครีมกันแดดตัวไหน ยี่ห้อไหนดี?

“แสงแดดยามเช้า” ดีกับทารกอย่างไร ทารกไม่ควรตากแดดจริงหรือ?

วิธีเลือกครีมกันแดด เลือกแบบไหนให้เหมาะกับผิว ครีมกันแดด SPF สูง ดีจริงหรือไม่!?

ที่มา : regagar, pobpad

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

บทความโดย

Sittikorn Klanarong