X
TAP top app download banner
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้า
เข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • โภชนาการ เเม่ท้อง เเม่ให้นม
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • ตั้งชื่อลูก
  • แม่ผ่าคลอด
    • พัฒนาการเด็กผ่าคลอด
    • เตรียมตัวผ่าคลอด
    • สุขภาพเด็กผ่าคลอด
    • คู่มือคุณแม่ผ่าคลอด
    • การดูแลหลังผ่าคลอด
    • โภชนาการเด็กผ่าคลอด
  • หลังคลอด
    • คลอดธรรมชาติ
    • ผ่าคลอด
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

5 เรื่องความปลอดภัยของเบบี๋ที่แม่ต้องระวัง

บทความ 3 นาที
5 เรื่องความปลอดภัยของเบบี๋ที่แม่ต้องระวัง

คุณอาจคิดว่าเจ้าตัวน้อยอยู่ในห้องที่ปลอดภัยที่สุดแล้ว แต่ยังมีอันตรายบางอย่างที่คุณอาจมองข้ามไป เรามีวิธีง่ายๆ ในการตรวจสอบความปลอดภัยในบ้านของเบบี๋ตัวน้อยมาฝากค่ะ

ความปลอดภัยของทารก ที่แม่ต้องระวัง

เบาะกันกระแทก

  1. เบาะกันกระแทก

เบาะกันกระแทกดูเหมือนจะเป็นอุปกรณ์ที่ดีที่ช่วยป้องกันเจ้าตัวน้อยไม่ให้เจ็บตัวจากการกลิ้งหรือดิ้นไปกระแทกกับเตียงนอนเด็กใช่ไหมคะ แต่ทางสมาคมกุมารแพทย์อเมริกันกลับเตือนให้พ่อแม่หลีกเลี่ยงการใช้เบาะกันกระแทกค่ะ เพราะว่ามันอันตรายเกินไป หากเบบี๋กลิ้งไปแล้วหน้าไปซุกอยู่กับเบาะกันกระแทก ทำให้ขาดอากาศหายใจและเสียชีวิตได้

Advertisement

บทความแนะนำ เบาะกันกระแทก ภัยเงียบคร่าชีวิตเด็กทารก

  1. พัดลม

แม้ว่าการเปิดพัดลมในห้องนอนสามารถช่วยลดความเสี่ยงจากภาวะหลับไม่ตื่นในเด็กทารก (SIDS) แต่พัดลมสามารถก่อให้เกิดอันตรายแก่เจ้าตัวน้อยได้ ดังนั้น คุณแม่ควรพิจารณาตรวจสอบความปลอดภัยเหล่านี้

  • วางพัดลมให้พ้นมือเด็ก ไม่วางบนโต๊ะที่อาจล้มลงมาทับลูกได้ หรือลูกอาจพยายามปีนขึ้นไปจับพัดลมได้
  • ถ้าพัดลมตั้งอยู่บนพื้น ให้ถอดปลั๊กทุกครั้งเมื่อไม่ใช้ และปิดด้วยที่อุดรูปลั๊กเพื่อป้องกันลูกเอานิ้วจิ้มรูเสียบปลั๊กไฟเล่น
  • ทำความสะอาดพัดลมเป็นประจำเพื่อป้องกันสิ่งสกปรกจากการหมุนเวียนอากาศภายในห้องของลูก
  • ใช้ตาข่ายครอบพัดลม เพื่อป้องกันลูกเอานิ้วแหย่เข้าไปในพัดลม

บทความแนะนำ ระวัง 16 จุดอันตรายในบ้าน ทำลูกเกิดอุบัติเหตุถึงตาย !

  1. โต๊ะเปลี่ยนผ้าอ้อม

โต๊ะเปลี่ยนผ้าอ้อมอาจช่วยให้การเปลี่ยนผ้าอ้อมทำได้สะดวกขึ้น แต่มันก็มีความเสี่ยงเช่นกัน เพราะหากเพียงคุณหันหลังให้ เจ้าตัวน้อยก็มีโอกาสกลิ้งตกลงมาได้รับบาดเจ็บได้ ดังนั้น ขอให้คุณแม่คิดให้ดี พิจารณาข้อดีและข้อเสียของโต๊ะเปลี่ยนผ้าอ้อมก่อนตัดสินใจซื้อค่ะ

อันตรายในบ้าน

  1. ตู้ลิ้นชัก

เรื่องนี้เป็นอันตรายที่มักถูกมองข้าม แต่เป็นเรื่องที่สำคัญมากค่ะ เนื่องจากเคยมีเหตุการณ์ทารกเสียชีวิตบ่อยครั้งเนื่องจากถูกตู้ลิ้นชักล้มทับ ด้วยความอยากรู้ของเด็กๆ จึงปีนป่ายไปบนตู้ลิ้นชักและทำให้ตู้ที่ทั้งใหญ่และหนักล้มลงมาทับเป็นเหตุให้เสียชีวิตหรือไม่รับบาดเจ็บรุนแรงได้ โดยเฉพาะเมื่อลูกมีความสามารถในการดึงเปิดลิ้นชักเองได้ หรือคุณแม่เผลอลืมเปิดตู้ลิ้นชักทิ้งไว้ ก็เป็นความเสี่ยงที่ต้องระวังให้มาก

คุณแม่สามารถเพิ่มความปลอดภัยให้กับเจ้าตัวน้อยได้โดยการใช้ตัวยึดตู้ลิ้นชัก หรือชั้นวางทีวีเข้ากับผนังบ้าน ไม่วางโทรทัศน์หรือสิ่งของหนักๆ ไว้บนตู้ลิ้นชักหรือเฟอร์นิเจอร์อื่นๆ ที่ไม่ได้ออกแบบมาเพื่อใช้วางโทรทัศน์โดยเฉพาะ และเก็บของหนักไว้ในลิ้นชักล่างสุดเสมอ รวมถึงการดูแลเจ้าตัวน้อยไม่ให้ปีนป่ายหรือห้อยโหนลิ้นชัก บานตู้ หรือชั้นวางค่ะ

บทความแนะนำ เตือนภัย! ตู้ลิ้นชักล้มทับ อันตรายในบ้านสำหรับเด็กเล็กวัยปีนป่าย

  1. ฟูกสำหรับเตียงเด็ก

จากการศึกษาของมหาวิทยาลัยเท็กซัสพบว่า ฟูกสำหรับเตียงเด็กสามารถปล่อยสารพิษขึ้นสู่อากาศได้เช่นเดียวกับผลิตภัณฑ์ทำความสะอาด ในขณะที่ลูกนอนหลับ ซึ่งทำให้ 1) ความร้อนในร่างกายสูงขึ้นเมื่อสารเคมีถูกปล่อยออกมาในระดับที่สูงขึ้น 2) สารเคมีที่ถูกปล่อยออกมาจะเข้าสู่ระบบทางเดินหายใจของลูกโดยตรง เนื่องจากศีรษะของลูกสัมผัสกับที่นอนโดยตรง 3) ฟูกรุ่นใหม่ๆ ยิ่งมีสารพิษมากขึ้น นักวิจัยพบสารเคมี เช่น สารฟีนอล กรดนีโอดีคาโนอิค ไลนาโลออล และสารไลโมนีน

แม้ว่ายังไม่ทราบแน่ชัดถึงผลกระทบของสารเคมีเหล่านี้ที่มีต่อสุขภาพทารก แต่มันก็เป็นหนึ่งในความเสี่ยงที่คุณแม่ควรพิจารณา เนื่องจากผลวิจัยชี้ให้เห็นว่า ทารกสูดหายใจเอาอากาศเข้าไปมากกว่าผู้ใหญ่ จึงมีความเสี่ยงที่จะหายใจเอาสารพิษเข้าไปได้มากกว่า

เพื่อให้ลูกน้อยปลอดภัยห่างไกลสารเคมีจากฟูกสำหรับเตียงเด็ก ควรมองหาฟูกที่เป็นผลิตภัณฑ์ออร์แกนิก รวมถึงการหลีกเลี่ยงการใช้สารเคมีเมื่อต้องเลี้ยงดูทารกค่ะ

บทความจากพันธมิตร
การมีสติ ฉบับเด็ก ๆ เป็นอย่างไร ฝึกลูกให้มีสติ ท่ามกลางโลกที่วุ่นวาย
การมีสติ ฉบับเด็ก ๆ เป็นอย่างไร ฝึกลูกให้มีสติ ท่ามกลางโลกที่วุ่นวาย
ส่งเสริมพัฒนาการเด็กยุคใหม่ด้วย ทักษะ Executive Function
ส่งเสริมพัฒนาการเด็กยุคใหม่ด้วย ทักษะ Executive Function
ปี 2567 เด็กป่วยด้วยโรคอะไร? LUMA แบ่งปันสถิติให้เข้าใจมากขึ้น
ปี 2567 เด็กป่วยด้วยโรคอะไร? LUMA แบ่งปันสถิติให้เข้าใจมากขึ้น
Value Health (Kids) ประกันสุขภาพสำหรับลูกน้อย เจ้าของรางวัล Most Promising จากเวที TAP Awards 2023
Value Health (Kids) ประกันสุขภาพสำหรับลูกน้อย เจ้าของรางวัล Most Promising จากเวที TAP Awards 2023

ที่มา www.verywell.com

บทความที่น่าสนใจอื่นๆ

5 วิธี ดูแลลูกให้ปลอดภัยเมื่ออยู่บ้าน

9 ของใช้เด็กอ่อนที่ควรหลีกเลี่ยง

theAsianparent Community

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

สิริลักษณ์ อุทยารัตน์

  • หน้าแรก
  • /
  • ชีวิตครอบครัว
  • /
  • 5 เรื่องความปลอดภัยของเบบี๋ที่แม่ต้องระวัง
แชร์ :
  • ชีวิตที่มีลูก เข้าแล้วออกไม่ได้ : บริหารเวลายังไง ให้ชีวิตแม่มีความสุข

    ชีวิตที่มีลูก เข้าแล้วออกไม่ได้ : บริหารเวลายังไง ให้ชีวิตแม่มีความสุข

  • อาถรรพ์ 7 ปี ทำไมคู่รักมักเลิกกัน: อาถรรพ์ ความเชื่อ หรือแค่การเปลี่ยนแปลงตามกาลเวลา

    อาถรรพ์ 7 ปี ทำไมคู่รักมักเลิกกัน: อาถรรพ์ ความเชื่อ หรือแค่การเปลี่ยนแปลงตามกาลเวลา

  • MBTI กับการเลี้ยงลูก: เมื่อบุคลิกภาพกำหนดสไตล์การเลี้ยงดู

    MBTI กับการเลี้ยงลูก: เมื่อบุคลิกภาพกำหนดสไตล์การเลี้ยงดู

  • ชีวิตที่มีลูก เข้าแล้วออกไม่ได้ : บริหารเวลายังไง ให้ชีวิตแม่มีความสุข

    ชีวิตที่มีลูก เข้าแล้วออกไม่ได้ : บริหารเวลายังไง ให้ชีวิตแม่มีความสุข

  • อาถรรพ์ 7 ปี ทำไมคู่รักมักเลิกกัน: อาถรรพ์ ความเชื่อ หรือแค่การเปลี่ยนแปลงตามกาลเวลา

    อาถรรพ์ 7 ปี ทำไมคู่รักมักเลิกกัน: อาถรรพ์ ความเชื่อ หรือแค่การเปลี่ยนแปลงตามกาลเวลา

  • MBTI กับการเลี้ยงลูก: เมื่อบุคลิกภาพกำหนดสไตล์การเลี้ยงดู

    MBTI กับการเลี้ยงลูก: เมื่อบุคลิกภาพกำหนดสไตล์การเลี้ยงดู

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • พัฒนาการลูก
  • ชีวิตครอบครัว
  • ระยะการตั้งครรภ์
  • โภชนาการ
  • ไลฟ์สไตล์
  • TAP สังคมออนไลน์
  • ติดต่อโฆษณา
  • ติดต่อเรา
  • Influencer Marketing (KOL)
  • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Vietnam flag Vietnam
© Copyright theAsianparent 2025. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว