พ่อแม่ทุกคนหวังที่จะได้พาลูกน้อยแรกเกิดกลับบ้านอย่างปลอดภัย ไม่ว่าจะเป็นการคลอดลูกครั้งแรก หรือครั้งที่เท่าไหร่ก็ตาม
แม้จะมีเด็กแรกคลอดจำนวนไม่น้อยที่ต้องถูกส่งเข้าห้อง NICU แต่คุณแม่อย่าเพิ่งกังวลจนเกินไปนะคะ ถ้าคุณได้รู้จักห้อง NICU และรู้ว่ามีอะไรเกิดขึ้นบ้างในนั้น ซึ่งคุณกำลังจะได้เรียนรู้จากบทความนี้ค่ะ
NICU คือะไร
NICU หรือ หอผู้ป่วยทารกแรกเกิดระยะวิกฤต (Neonatal Intensive Care Unit – NICU) เป็นหน่วยดูแลผู้ป่วยภาวะวิกฤต ที่ได้รับการออกแบบมาโดยเฉพาะสำหรับผู้ป่วยตัวน้อยที่ต้องดูแลเป็นพิเศษ ภายในห้อง NICU มีอุปกรณ์ที่ออกแบบมาเพื่อการนี้ และมีเจ้าหน้าที่มีความชำนาญด้านการดูแลทารกแรกเกิด ดังนั้นคุณสามารถมั่นใจได้ว่าลูกน้อยของคุณจะได้รับการดูแลอย่างดีที่สุด
อย่างไรก็ดีโรงพยาบาลขนาดเล็กบางแห่งไม่ได้มี NICU ทารกที่ต้องดูแลเป็นพิเศษจึงต้องถูกส่งตัวไปยังโรงพยาบาลที่ใหญ่กว่า
ห้อง NICU นั้นแตกต่างจากทารกแรกเกิดปกติ คุณจะสังเกตได้ว่า ทารกที่อยู่ในห้อง NICU นั้นจะตัวเล็กและเงียบกว่า เด็กที่อยู่ในห้องทารกแรกเกิดปกติ
เด็กบางคนอาจจะภายในตู้อบ ขณะที่เด็กคนอื่นอาจจะนอนอยู่ในเตียงเด็กโดยมีไฟส่องเพื่อช่วยควบคุมอุณหภูมิร่างกายให้กับหนูน้อย
คุณอาจสังเกตเห็นหนูน้อยอีกกลุ่มหนึ่งที่ยังคงตัวเล็กแต่มีสุขภาพดีนอนอยู่ในเตียงเด็กอ่อน หนูน้อยเหล่านี้เป็นเด็กที่ได้รับการดูแลจนพร้อมที่จะย้ายไปอยู่ในห้องทารกแรกเกิดปกติ หรือพร้อมที่จะกลับบ้านไปอยู่กับคุณพ่อคุณแม่ได้แล้ว
ลูกน้อยจะอยู่ในห้อง NICU นานแค่ไหน ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของอาการที่พบ และประเภทการรักษาที่เด็กต้องได้รับด้วยค่ะ
ทำไมทารกจึงต้องเข้า NICU
สาเหตุที่พบบ่อยที่สุด ที่ทำให้ทารกต้องเข้าหอผู้ป่วยทารกแรกเกิดภาวะวิกฤตของโรงพยาบาล เป็นเพราะการคลอดก่อนกำหนด คือ คลอดก่อนสัปดาห์ที่ 37 ของการตั้งครรภ์
สำหรับเคสอื่น ๆ ที่อาจได้รับการดูแลใน NICU เนื่องจากคลอดยาก หรือมีเงื่อนไขทางการแพทย์อื่นๆ เช่น ปัญหาสุขภาพ หรือการติดเชื้อ หรือต้องผ่าตัด
อะไรคือปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้ทารกต้องเข้าห้อง NICU หลังคลอด คลิกหน้าถัดไป
ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้ทารกต้องเข้าห้อง NICU หลังคลอด
ปัจจัยจากแม่
ปัจจัยการจากคลอด
- ทารกอยู่ในท่าก้น
- ทารกอยู่ในภาวะเครียด / การเกิดภาวะขาดอากาศหายใจ (เนื่องจากการขาดออกซิเจน)
- การช่วยคลอดโดยใช้คีมทำคลอด หรือการผ่าคลอด
- ภาวะขี้เทา (อุจจาระของทารกแรก) ในน้ำคร่ำ
- สายสะดือพันรอบคอของทารก
ปัจจัยจากตัวเด็ก
- คลอดเมื่ออายุครรภ์น้อยกว่า 37 สัปดาห์หรือมากกว่า 42 สัปดาห์
- น้ำหนักแรกเกิดน้อยกว่า 2,500 กรัมหรือมากกว่า 4,000 กรัม
- ชัก
- ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ
- ได้รับยาหรือการช่วยชีวิตหลังคลอด
- การติดเชื้อ เช่น หนองในเทียม เริม หรือกลุ่มสเตรปโตคอคคัส บี
- พิการแต่กำเนิด
- ต้องให้ออกซิเจน หรือเฝ้าระวัง ต้องให้ยา หรือฉีดยาเข้าหลอดเลือดดำ
- ต้องการกระบวนการพิเศษ เช่น การถ่ายเลือด
ใครจะเป็นผู้ดูแลลูกน้อยของคุณใน NICU
แผนก NICU จะมีทีมงานผู้เชี่ยวชาญที่เกี่ยวข้องในการดูแลทารกแรกเกิด ทีมนี้อาจรวมถึง:
- แพทย์ผู้เชี่ยวชาญทารกแรกเกิด ซึ่งเป็นกุมารแพทย์ผู้เชี่ยวชาญในการดูแลทารกป่วยและคลอดก่อนกำหนด
- ผู้เชี่ยวชาญด้านระบบหายใจ
- นักกิจกรรมบำบัด
- นักกำหนดอาหาร
- ที่ปรึกษาการให้นมแม่
- เภสัชกร
- นักสังคมสงเคราะห์
รับมืออย่างไรเมื่อลูกน้อยต้องอยู่ในห้อง NICU คลิกหน้าถัดไป
รับมืออย่างไรเมื่อลูกน้อยต้องอยู่ใน NICU
คุณแม่อาจทำใจไม่ได้และเป็นกังวลตลอดเวลา อารมณ์ของคุณในตอนนี้อาจเหมือนรถไฟเหาะตีลังกา ที่เดี๋ยวขึ้นเดี๋ยวลง คิดฟุ้งซ่าน และรู้สึกอ่อนแอ สิ่งสำคัญที่สุด คือ คุณจะต้องไม่โทษตัวเอง แต่ควรคิดถึงความสุขวันในที่คุณจะได้กลับบ้านพร้อมลูกน้อยของคุณมากกว่า
- เตรียมตัวปั๊มนมให้ลูกน้อย
ทารกคลอดก่อนกำหนดจำนวนมากไม่แข็งแรงพอที่จะดูดนมจากเต้าได้โดยตรง แต่ลูกน้อยยังสามารถได้รับประโยชน์อย่างมากมายจากนมแม่ที่คุณปั๊มออกมา การปั๊มนมยังทำให้คุณรู้สึกมีพลังเพิ่มขึ้น ที่คุณสามารถทำบางสิ่งบางอย่างที่จะช่วยลูกน้อยของคุณได้
บทความแนะนำ 7 เทคนิคปั๊มนมอย่างไรให้สำเร็จเมื่อให้นมจากเต้าไม่ได้
ลูกน้อยของคุณอาจตัวเล็กจิ๋วและบอบบาง แต่รู้ไหมว่าในช่วงเวลานั้น เขาต้องการคุณมากกว่าเดิม โดยเฉพาะอย่างยิ่งการสัมผัสจากคุณด้วยวิธี “การดูแลแบบจิงโจ้” หรือ Kangaroo care
Kangaroo care ถูกนำมาใช้ในการดูแลทารกแรกเกิดใน NICU ช่วยในการบำบัดรักษาผ่านการสัมผัสแบบเนื้อแนบเนื้อระหว่างทารกและอกแม่ เพื่อสร้างความผูกพันต่อลูกน้อย และทำให้คุณมีโอกาสในการช่วยลูกน้อยให้ฟื้นตัวเร็วขึ้นเช่นเดียวกับการปั๊มนม
บทความแนะนำ ดูแลอย่างไร เมื่อลูกน้อยคลอดก่อนกำหนด
NICU ให้ความรู้สึกเหมือนเป็นสถานที่โดดเดี่ยวมากสำหรับคนเป็นพ่อแม่ ดังนั้น การได้พูดคุยกับพ่อแม่คนอื่น ๆ ที่ลูกน้อยต้องเข้าห้อง NICU เหมือนกัน จะช่วยให้คุณไม่รู้สึกโดดเดี่ยว ได้รับกำลังใจและความเข้าใจจากคนอีกไม่น้อยที่กำลังอยู่ในสถานการณ์เดียวกันกับคุณ
- ดูแลคนข้างๆ และดูแลตัวเองด้วย
ตอนนี้ลูกน้อยของคุณอยู่ในการดูแลจากทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญแล้ว ปล่อยให้เป็นหน้าที่ของหมอที่จะดูแลลูกน้อยของคุณ ส่วนตัวคุณก็ควรให้เวลาตัวเองได้พักผ่อนร่างกายและจิตใจบ้าง รวมถึงดูแลอารมณ์และความรู้สึกของคนข้างๆ คุณด้วย การให้กำลังใจซึ่งกันและกันจะช่วยให้คุณเข้มแข็งและก้าวผ่านช่วงเวลาที่ยากลำบากนี้ไปได้ในที่สุด
TheAsianparent ขอเป็นกำลังใจให้ลูกน้อยของคุณพ่อคุณแม่ทุกคนสุขภาพแข็งแรงและได้กลับบ้านไปอยู่พร้อมหน้าพร้อมตากันสมกับการรอคอยในเร็ววันนะคะ
ที่มา sg.theasianparent.com
บทความที่น่าสนใจอื่นๆ
งานวิจัยเผย เสียงของแม่ ช่วยให้ทารกคลอดก่อนกำหนดแข็งแรงเร็วขึ้น
ทำจี๊ด!!ช่วยแม่กระตุ้นน้ำนมไหลมาเทมา
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!