ท่าทารกในการคลอด
ช่วงก่อนคลอดคุณหมอจะนัดตรวจครรภ์ของคุณแม่ การตรวจหน้าท้องเพื่อคลำดูว่า ส่วนนำของทารกมาเป็นส่วนไหน หลังของทารกอยู่ด้านใด พอปากมดลูกเปิด คุณหมอก็จะตรวจภายในโดยวิธีการใช้นิ้วแหย่เข้าไป เพื่อดูว่ากะโหลกศีรษะเป็นหน้า หรือเป็นก้น เป็นต้น เพื่อให้แน่ใจว่า ท่าทารกในการคลอดน่าจะอยู่ในท่าใด
1. ท่าศีรษะ
1. ท่าทารกในการคลอดส่วนมากจะอยู่ในท่าศีรษะและก้มหน้าลง
2. เป็นท่าที่สบายตามปกติของทารกทั่วไป ช่วยให้การคลอดธรรมชาติทางช่องคลอดสามารถคลอดได้ง่าย
3. แต่ถ้าคลอดออกมาโดยทารกเงยหน้าหรือใบหน้าอยู่ด้านบน อันมีสาเหตุจากอุ้งเชิงกรานแคบหรือเป็นรูปสามเหลี่ยม ทำให้ศีรษะของทารกหมุนคว่ำลงไม่ได้ จึงคลอดออกมาทั้ง ๆ ที่เงยหน้า ทำให้คลอดยากกว่าและไม่สามารถใช้เครื่องดูดสุญญากาศได้ เพราะอาจจะโดนหน้าโดนตาทารกน้อย คีมคีบอาจช่วยได้บ้างแต่ต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ กรณีนี้ต้องอาศัยแรงเบ่งของคุณแม่แล้วค่ะ
4. แต่ถ้าอุ้งเชิงกรานแคบและทารกค่อนข้างตัวใหญ่ คือ มากกว่า 3,000 กรัม คุณหมอมักจะให้ผ่าคลอดซึ่งอยู่ในดุลพินิจของคุณหมอในขณะนั้น
บทความแนะนำ เรื่องน่ารู้!!! ช่วยแม่คลอดด้วยการคีบและดูด
2. ท่าก้น
1. ท่าทารกในการคลอดท่าก้น พบว่า ทารกคลอดท่าก้นในกรณีที่มดลูกของคุณแม่มีเนื้องอก มีรกเกาะต่ำ ทารกศีรษะโตมาก หรือมีอะไรอย่างอื่นที่ขวางทางอยู่
2. ท่าคลอดทารกท่าก้นนี้ หากเป็นท้องแรกคุณหมอจะแนะนำให้ผ่าคลอด หากเป็นท้องหลัง ๆ คุณแม่อาจจะคลอดเองได้
3. นอกจากท่าก้น ยังมีท่าทารกในการคลอด คือ ท่าเท้า โดยทารกเอาเท้าเป็นส่วนนำออกมาก่อน ท่าคลอดทารก ท่าเข่า คือ ทารกเอาเข่าออกมาก่อน ท่าทารกในการคลอด ท่าขัดสมาธิ คือ ทารกขัดสมาธิ ท่าเหล่านี้ไม่ว่าจะเป็นท้องแรก หรือท้องหลังก็ตามคุณหมอจะแนะนำให้คุณแม่ผ่าคลอดเพื่อความปลอดภัยขอแม่และทารกในครรภ์ค่ะ
3. ท่าขวางหรือท่าเอียง
1. ท่าทารกในการคลอด ท่าขวางมดลูก พบว่า มักมีสาเหตุมาจากมดลูกมีอะไรสักอย่างมาขวางไม่ให้ทารกหมุนตัว เช่น รกเกาะต่ำ มีเนื้องอกในมดลูกมาขวาง หรือทารกเองมีเนื้องอก กรณีนี้มักจะพบในคุณแม่ทั้งตั้งครรภ์ท้องหลัง ๆ เพราะมดลูกถูกยืดมาก่อนจากครรภ์ครั้งแรกแล้ว
2. หากท่าทารกในการคลอดอยู่ในท่าขวาง คุณหมอมักจะทำการผ่าตัดทุกราย เพราะยากที่คุณแม่จะคลอดเองได้
3. จากสถิติพบว่า หากเป็นเด็กที่คลอดครบกำหนด จะคลอดในท่าศีรษะร้อยละ 95 และจะอยู่ในท่าก้นประมาณร้อยละ 3 ส่วนท่าขวางจะพบน้อยมากคือ ร้อยละ 1
4. หาเป็นทารกคลอดก่อนกำหนด จะคลอดในท่าผิดปกติเพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อย คือ คลอดท่าศีรษะร้อยละ 80 คลอดท่าก้นประมาณร้อยละ 10 ส่วนคลอดในท่าขวางจะพบประมาณร้อยละ 1
หลากหลายวิธีการคลอดสำหรับแม่และทารกในครรภ์
1. การคลอดแบบธรรมชาติ
– กรณีคลอดแบบธรมชาติสำหรับคุณแม่และทารกที่มีสุขภาพข็งแรง ทากรอยู่ในท่าคลอดที่เหมาะสม คือ ท่าศีรษะ การคลอดแบบธรรมชาติเป็นวิธีการคลอดที่ง่ายและปลอดภัยที่สุดสำหรับคุณแม่และลูกน้อย โดยคุณหมอจะตรวจดูช่วงใกล้ถึงกำหนดคลอด ว่าทารกอยู่ในท่าศีรษะลงสู่อุ้งเชิงกรานหรือไม่
– การคลอดแบบธรรมชาตินั้นคุณแม่จะรู้สึกเจ็บครรภ์อย่างมาก ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่ต้องใช้ความอดทนสูงจริง ๆ ค่ะ คุณหมออาจฉีดยาแก้ปวดเข้าทางเส้นเลือด หรือฉีดยาชาเข้าทางไขสันหลังเพื่อช่วยบรรเทาอาการเจ็บปวดให้คุณแม่ได้
2. การผ่าคลอด
– สำหรับคุณแม่บางคน คุณหมอจะแนะนำให้ผ่าคลอด เช่น คุณแม่มีโรคประจำตัว มีลูกเมื่ออายุมากแล้ว หรือศีรษะของทารกไม่อยู่ในอุ้งเชิงกราน แต่อยู่ในท่าก้น ท่าขวาง เป็นต้น ในเวลาที่ครบกำหนดคลอด แต่การผ่าตัดจะทำให้คุณแม่เสียเลือดมากกว่าการคลอดแบบธรรมชาติถึง 2 เท่าและจะเจ็บแผลนานกว่า คุณหมอมักจะแนะนำให้ผ่าตัดคลอดเฉพาะกรณีที่จำเป็นเท่านั้น
– ปัจจุบันเพื่อลดความเจ็บปวดและทำการผ่าตัดอย่างได้ผลคุณหมอจะแนะนำให้คุณแม่ดมยาสลบหรือฉีดยาเข้าไขสันหลัง โดยคุณแม่จะไม่รู้สึกเจ็บระหว่างการผ่าตัด แต่การดมยาสลบ คุณแม่จะไม่มีส่วนร่วมในการคลอด ไม่เห็นหน้าลูกทันทีที่คลอดออกมา เพราะคุณแม่จะหลับไม่รู้ตัวและจะฟื้นอีกทีหลังคลอด
– คุณแม่ส่วนใหญ่จึงไม่เลือกวิธีดมยาสลบ เพราะยาสลบจะมีผลต่อทารก เช่น ลูกคลอดออกมาแล้วไม่ร้อง ไม่ค่อยหายใจ เพราะเขาได้รับยาสลบตามแม่ไปด้วย
– สาวนการฉีดยาเข้าไขสันหลัง หรือการบล็อกหลังนั้น ลูกน้อยจะไม่ได้รับผลกระทบแต่อย่างใด เพราะไม่ได้ดูดซึมเข้ากระแสเลือด เพียงแต่ทำให้ส่วนล่างของคุณแม่ชา ไม่มีความรู้สึกเจ็บปวด แต่คุณแม่จะรับรู้เหตุการณ์ระหว่างคลอดทุกอย่าง พร้อมทั้งได้ยินเสียงลูก เห็นหน้าลูกทันทีที่ลูกคลอดออกมา
– การผ่าคลอดจะมีอาการเจ็บแผลนานกว่าการคลอดแบบธรรมชาติ
3. การคลอดในน้ำ
– การคลอดในน้ำเป็นอีกวิธีการหนึ่งที่เริ่มได้รับความนิยมในต่างประเทศ เพราะช่วยลดความเจ็บปวดในการคลอดแต่ในประเทศไทยยังไม่แพร่หลายมากนัก
– การคลอดในน้ำต้องขึ้นอยู่กับความพร้อมด้านสุขภาพของคุณแม่ ต้องไม่มีภาวะแทรกซ้อนระหว่างตั้งครรภ์ เพราะการคลอดในน้ำจะไม่ใช้เครื่องฟังเสียงหัวใจลูก
– แต่แท้ที่จริงแล้วการคลอดในน้ำไม่น่ากังวลอย่างที่หลาย ๆ คนคิด หากคุณแม่มีความพร้อมและมีสุขภาพครรภ์ที่แข็งแรงคุณหมอก็พร้อมจะให้การดูแลเต็มที่
– การคลอดในน้ำไม่จำเป็นต้องใช้ยาแก้ปวดหรือฉีดยาระงับปวดใด ๆ และเมื่อศีรษะของทารกพ้นจากช่องคลอดแล้ว ก็สามารถลอยตัวอยู่ในน้ำที่ช่วยรองรับแรงกระแทก ป้องกันไม่ให้เกิดอันตราย รวมถึงคุณแม่ก็จะรู้สึกเบาสบายไม่เจ็บปวดมากนัก
ร่วมบอกเล่าและแชร์ประสบการณ์ในช่วงตั้งครรภ์ คลอดบุตร รวมถึงการเลี้ยงดูทารกน้อย เพื่อเป็นประโยชน์ต่อครอบครัวอื่น ๆ กันนะคะ หากมีคำถามหรือข้อสงสัย ทางทีมงานจะหาคำตอบมาให้คุณ
อ้างอิงข้อมูลจาก
หนังสือ เตรียมคลอดให้ปลอดภัย พ.ญ.ภักษร เมธากูล ผู้เขียน
บทความอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
7 สาเหตุที่ทำให้แม่ท้องคลอดยาก
อุ้งเชิงกรานแคบ คนท้องคลอดเองได้ไหม
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!