X
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้าเข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ตั้งครรภ์
    • คำนวณวันคลอด
    • ฉันกำลังตั้งครรภ์
    • ไตรมาสที่ 1
    • ไตรมาสที่ 2
    • ไตรมาสที่ 3
    • Project Sidekicks
    • ตั้งชื่อลูก
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • อีเว้นท์
    • TAP Awards Winners
    • TAP idol
    • TAP x Safari Largest Treasure Hunt
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

ลูกในท้องตัวใหญ่ น้ำหนักเกิน เสี่ยงคลอดยาก สุขภาพแย่ ทำอย่างไร

บทความ 3 นาที
ลูกในท้องตัวใหญ่ น้ำหนักเกิน เสี่ยงคลอดยาก สุขภาพแย่ ทำอย่างไร

ลูกในท้องตัวใหญ่ น้ำหนักเกิน มีสาเหตุมาจากอะไร แล้วจะมีวิธีป้องกันอย่างไร

ลูกในท้องตัวใหญ่ น้ำหนักเกิน เสี่ยงคลอดยาก สุขภาพแย่ ทำอย่างไร

คุณแม่ที่ตั้งครรภ์ทุกท่าน ย่อมต้องการให้ลูกที่อยู่ในท้องนั้นคลอดง่าย เกิดมามีสุขภาพที่สมบูรณ์แข็งแรง ซึ่งน้ำหนักของลูกก็เป็นอีกเรื่องหนึ่งที่จะบ่งบอกได้ว่าสุขภาพโดยรวมของลูกน้อยจะเป็นอย่างไร

คุณแม่บางท่านก็คิดว่าการที่ลูกตัวใหญ่ เมื่อเกิดมาก็จะมีสุขภาพแข็งแรง แต่จริงๆแล้วการที่ ลูกในท้องตัวใหญ่ น้ำหนักเกิน ก็อาจเป็นอันตรายได้นะครับ

ลูกในท้องตัวใหญ่

ลูกน้อยในครรภ์ ควรมีน้ำหนักตัวเท่าไหร่

น้ำหนักของทารกในครรภ์แต่ละคนนั้นแตกต่างกันออกไปจากปัจจัยหลายๆอย่าง โดยทั่วไปแล้วในประเทศไทยนั้น น้ำหนักที่เหมาะสมของทารกในครรภ์จะอยู่ที่ประมาณ 2,500 – 4,000 กรัม ซึ่งหากทารกในครรภ์มีน้ำหนักตั้งแต่ 4,000 กรัมขึ้นไปถือว่าเด็กอยู่ในเกณฑ์ที่ตัวใหญ่ แต่อย่างไรก็ตาม การที่ทารกในครรภ์ตัวใหญ่ ก็ไม่ได้หมายความว่าจะต้องเป็นเด็กที่สุขภาพไม่ดีเสมอไปนะครับ เพียงแต่จะมีความเสี่ยงมากกว่าเด็กทั่วไป และทำให้ยากต่อการคลอด และอาจเกิดอันตรายตามมาได้

ปัจจัยทางด้านอาหาร กับน้ำหนักของลูกในท้อง

อาหารที่คุณแม่รับประทานเข้าไปตอนท้องมีผลโดยตรงต่อสุขภาพของลูกน้อยที่อยู่ในครรภ์ แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าแม่ท้องจะต้องกินเพิ่มขึ้นเผื่อลูกในท้องนะครับ เพราะปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อสุขภาพของลูกน้อยนั่นก็คือคุณภาพของอาหารที่แม่ท้องรับประทานเข้าไป ไม่ใช่ปริมาณของอาหาร เพราะหากว่าแม่ท้องกินเพิ่มมากขึ้นจนเกินไป แทนที่จะเป็นผลดีก็อาจกลับกลายเป็นผลเสียที่อาจส่งผลร้ายต่อลูกในท้อง และอาจทำให้ลูกมีปัญหาสุขภาพตอนที่เค้าโตขึ้นได้นะครับ

อีกทั้งแม่ท้องที่มีน้ำหนักเพิ่มขึ้นในระหว่างตั้งครรภ์มากกว่า 24 กิโลกรัม จะมีโอกาสมากเป็น 2 เท่าที่ลูกในครรภ์จะมีน้ำหนักมากกว่า 4 กิโลกรัม

ลูกในท้องตัวใหญ่ส่งผลอย่างไร

  • มีโอกาสคลอดก่อนกำหนด
  • มีความเสี่ยงที่ทารกจะเสียชีวิตในครรภ์สูงกว่าปกติ 3 – 8 เท่า
  • อาจทำให้ลูกมีรูปร่างผิดปกติตั้งแต่เกิด
  • มีความเสี่ยงเสียชีวิตหลังคลอดเนื่องจากความบอบช้ำที่เกิดจากการคลอดยาก
  • มีโอกาสที่เด็กจะเป็นเบาหวานมากกว่าเด็กปกติ

ลูกในท้องตัวใหญ่ น้ำหนักเกิน

ปัจจัยอื่นๆที่ทำให้ลูกในท้องน้ำหนักเกิน

ปัจจัยอื่นๆนอกเหนือจากการรับประทานอาหารของแม่ท้อง ที่มีผลต่อน้ำหนักตัวของลูกน้อยในครรภ์มีดังนี้

1.อายุของแม่ท้อง

ผู้หญิงที่ตั้งครรภ์หลังอายุ 35 ไปแล้วมักจะมีโอกาสมากที่จะมีลูกตัวใหญ่  แต่ในทางตรงกันข้าม ผู้หญิงที่ตั้งครรภ์ในขณะที่อายุยังน้อยก็มักจะมีลูกตัวเล็กและมีน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์ที่กำหนด

2.โรคประจำตัว

คุณแม่ที่มีอาการของโรคหัวใจ โรคเบาหวาน และโรคโลหิตจาง มาตั้งแต่ก่อนที่จะตั้งครรภ์ มักจะมีโอกาสที่ลูกจะมีน้ำหนักมากกว่าเกณ์ที่กำหนดได้เช่นกัน

3.น้ำหนักของคุณแม่ก่อนตั้งครรภ์

ผู้หญิงที่มีน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์ เมื่อตั้งครรภ์ มักจะมีความเสี่ยงที่จะมีลูกตัวเล็กน้ำหนักน้อย ในขณะที่ผู้หญิงที่มีน้ำหนักมาก เมื่อตั้งครรภ์แล้วก็มักจะมีลูกที่ตัวใหญ่กว่าปกติ

4.พันธุกรรม

ยีนจากคุณพ่อและคุณแม่นั้นส่งผลโดยตรงต่อขนาดของทารกในครรภ์ได้เช่นกัน

ป้องกันไม่ให้ลูกในครรภ์ตัวใหญ่ น้ำหนักเกิน ได้อย่างไร

คุณแม่ไม่จำเป็นต้องกินเพิ่มเพียงเพราะเห็นว่ามีอีกหนึ่งชีวิตอยู่ในท้องนะครับ และต้องให้ความสำคัญกับน้ำหนักตัวระหว่างตั้งครรภ์ให้มากๆ โดยทั่วไปแล้ว น้ำหนักตัวของแม่ท้องตลอดการตั้งครรภ์ควรเพิ่มขึ้นประมาณ 10 – 12 กิโลกรัม คุณแม่ท้องจึงควรรับประทานอาหารให้พอเหมาะแต่ได้สารอาหารอย่างครบถ้วน งดอาหารหวานจัด หรือเค็ม เผ็ด เปรี้ยวจัด เพื่อควบคุมน้ำหนักไม่ให้เพิ่มเกินสัปดาห์ละครึ่งกิโลกรัม เพื่อให้ลูกน้อยมีน้ำหนักตัวที่เหมาะสม ส่งผลให้คลอดง่าย และไม่มีปัญหาสุขภาพตามมาภายหลังได้ครับ


ที่มา momjunction.com

parenttown

บทความจากพันธมิตร
แม่ท้องอย่ามองข้าม อาการท้องผูก ในระหว่างตั้งครรภ์เสี่ยงต่อการแท้งได้จริง?
แม่ท้องอย่ามองข้าม อาการท้องผูก ในระหว่างตั้งครรภ์เสี่ยงต่อการแท้งได้จริง?
Attitude Mom รุ่น Galaxy II เครื่องปั๊มนม ที่คุณแม่วางใจ ส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างมีประสิทธิภาพ
Attitude Mom รุ่น Galaxy II เครื่องปั๊มนม ที่คุณแม่วางใจ ส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างมีประสิทธิภาพ
รีวิว IMANI i2 Plus อันดับ 1 เครื่องปั๊มนมไร้สายสุดพรีเมียม ผู้ช่วยของคุณแม่ยุคใหม่ที่ทำให้การปั๊มนมเป็นเรื่องง่าย
รีวิว IMANI i2 Plus อันดับ 1 เครื่องปั๊มนมไร้สายสุดพรีเมียม ผู้ช่วยของคุณแม่ยุคใหม่ที่ทำให้การปั๊มนมเป็นเรื่องง่าย
เตรียมความพร้อมก่อนกลับไปทำงานของคุณแม่นักปั๊มฉบับ Working Mom
เตรียมความพร้อมก่อนกลับไปทำงานของคุณแม่นักปั๊มฉบับ Working Mom

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
ddc-calendar
เตรียมความพร้อมสำหรับลูกน้อย โดยใส่วันครบกำหนดคลอดของคุณ
หรือ
คำนวณวันครบกำหนดคลอด
img
บทความโดย

P.Veerasedtakul

  • หน้าแรก
  • /
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • /
  • ลูกในท้องตัวใหญ่ น้ำหนักเกิน เสี่ยงคลอดยาก สุขภาพแย่ ทำอย่างไร
แชร์ :
  • ลูกตัวใหญ่คลอดเองได้ไหม มาอ่านประสบการณ์ แม่ตั้งครรภ์ลูกน้ำหนักเกินเกณฑ์

    ลูกตัวใหญ่คลอดเองได้ไหม มาอ่านประสบการณ์ แม่ตั้งครรภ์ลูกน้ำหนักเกินเกณฑ์

  • ลูกในท้องตัวเล็กหรือตัวใหญ่ จะรู้ได้อย่างไร แข็งแรงแค่ไหน พิการหรือเปล่า

    ลูกในท้องตัวเล็กหรือตัวใหญ่ จะรู้ได้อย่างไร แข็งแรงแค่ไหน พิการหรือเปล่า

  • ลูกไม่ยอมพูด เป็นเพราะอะไร จะเป็นเด็กพัฒนาการช้าไหม ทำอย่างไรให้ลูกพูด

    ลูกไม่ยอมพูด เป็นเพราะอะไร จะเป็นเด็กพัฒนาการช้าไหม ทำอย่างไรให้ลูกพูด

  • ลูกตัวใหญ่คลอดเองได้ไหม มาอ่านประสบการณ์ แม่ตั้งครรภ์ลูกน้ำหนักเกินเกณฑ์

    ลูกตัวใหญ่คลอดเองได้ไหม มาอ่านประสบการณ์ แม่ตั้งครรภ์ลูกน้ำหนักเกินเกณฑ์

  • ลูกในท้องตัวเล็กหรือตัวใหญ่ จะรู้ได้อย่างไร แข็งแรงแค่ไหน พิการหรือเปล่า

    ลูกในท้องตัวเล็กหรือตัวใหญ่ จะรู้ได้อย่างไร แข็งแรงแค่ไหน พิการหรือเปล่า

  • ลูกไม่ยอมพูด เป็นเพราะอะไร จะเป็นเด็กพัฒนาการช้าไหม ทำอย่างไรให้ลูกพูด

    ลูกไม่ยอมพูด เป็นเพราะอะไร จะเป็นเด็กพัฒนาการช้าไหม ทำอย่างไรให้ลูกพูด

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
    • ก่อนตั้งครรภ์
    • การคลอด
    • ระยะการตั้งครรภ์
    • การคลอด
  • พัฒนาการลูก
    • ทารก
    • เด็กก่อนเข้าเรียน
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • การวางแผนการเงิน
    • การเลี้ยงลูก
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • นมแม่และนมผง
  • โภชนาการ
    • สินค้าเด็ก
    • นมผง
    • เมนูอาหาร
    • สินค้าแม่
  • เพิ่มเติม
    • TAP สังคมออนไลน์
    • ติดต่อโฆษณา
    • ติดต่อเรา
    • Influencer Marketing (KOL)
    • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Sri-Lanka flag Sri Lanka
  • India flag India
  • Vietnam flag Vietnam
  • Australia flag Australia
  • Japan flag Japan
  • Nigeria flag Nigeria
  • Kenya flag Kenya
© Copyright theAsianparent 2023. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

theAsianparent heart icon
เราต้องการส่งแจ้งเตือนข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการดูแลตัวเองระหว่างตั้งครรภ์ไปให้กับคุณ