X
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้าเข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ตั้งครรภ์
    • คำนวณวันคลอด
    • ฉันกำลังตั้งครรภ์
    • ไตรมาสที่ 1
    • ไตรมาสที่ 2
    • ไตรมาสที่ 3
    • Project Sidekicks
    • ตั้งชื่อลูก
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • อีเว้นท์
    • TAP Awards Winners
    • TAP idol
    • TAP x Safari Largest Treasure Hunt
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

ลูก ฉีดบาดทะยัก ปวดแขน ทำไงดี มีวิธีบรรเทาอาการปวดหรือไม่ ?

บทความ 5 นาที
ลูก ฉีดบาดทะยัก ปวดแขน ทำไงดี มีวิธีบรรเทาอาการปวดหรือไม่ ?

น้องลูกตาล อายุ 4 ปี มาฉีดวัคซีนป้องกันโรคคอตีบ-บาดทะยัก-ไอกรน แล้วมีอาการแขนบวม แดง ปวดมากๆ ยกแขนลำบาก หลังฉีด 1 วัน คุณพ่อจึงพามาโรงพยาบาล เมื่อตรวจดูอาการ ร่วมกับประวัติการฉีดวัคซีนมาก่อน หมอจึงบอกกับคุณพ่อว่าลูกตาล มีอาการแพ้วัคซีนเฉพาะที่แบบเกิดช้า ซึ่งเรียกว่า “Arthus reaction” ค่ะ

มาฉีดวัคซีนป้องกันโรคคอตีบ บาดทะยัก ไอกรน และมีอาการแขนบวมหลังฉีดวัคซีน ฉีดบาดทะยัก ปวดแขน อาการเช่นนี้เกิดจากอะไร และควรทำอย่างไรเมื่อ ลูกแขนบวมหลังฉีดวัคซีน

 

อาการแขนบวมหลังฉีดวัคซีนเกิดจากสาเหตุใด ได้บ้าง?

ลูกแขนบวมหลังฉีดวัคซีน ฉีดบาดทะยัก ปวดแขน

ฉีดบาดทะยัก ปวดแขน

อาการแขนบวมหลังฉีดวัคซีน อาจเกิดจากปฏิกริยาการแพ้เฉพาะที่แบบเฉียบพลัน คือมีอาการปวด บวม แดง ร้อน หลังฉีดในเวลา ไม่เกิน 1 – 3 ชั่วโมง หรือ เกิดปฏิกริยาการแพ้เฉพาะที่แบบเกิดช้า ซึ่งจะมีอาการปวด บวม แดง ร้อน หลังฉีดวัคซีนในเวลา 4 – 12 ชั่วโมง และมีอาการมากที่สุด ประมาณ 24 ชั่วโมงหลังฉีดได้

ซึ่งในกรณีของน้องลูกตาล มีอาการชัดเจน หลังจากฉีดวัคซีน 1 วัน จึงน่าจะเป็นปฏิกริยาแบบเกิดช้ามากกว่าค่ะ ซึ่งปฏิกริยาแบบนี้เรียกว่า “Arthus reaction” เป็น ปฏิกิริยารุนแรงเฉพาะที่ เกิดขึ้นตรงบริเวณที่ฉีดวัคซีนนั่นเอง

บทความแนะนำ รับมืออย่างไร เมื่อลูกน้อยแพ้วัคซีน

 

Arthus reaction เกิดจากอะไร?

Arthus reaction เป็นปฏิกิริยาการแพ้ชนิดหนึ่ง แสดงอาการตรงบริเวณที่ฉีด อาการดูค่อนข้างรุนแรงเฉพาะที่ คือ มีอาการบวมมาก แดง ร้อน ปวด หลังฉีดวัคซีนในเวลา 4 – 12 ชั่วโมง เกิดจากการจับตัวกันของภูมิคุ้มกันของร่างกาย (antibody) ที่เกิดจากการได้รับวัคซีนนั้นมาในอดีต กับ โปรตีนของวัคซีน ที่เป็นเสมือนสารก่อภูมิต้านทาน (antigen) กลายเป็น สารประกอบเชิงซ้อนทางอิมมูน (immune complex) ไปเกาะยังผนังของเส้นเลือด และเกิดปฏิกริยาการอักเสบขึ้น มีการทำลายเส้นเลือด และเนื้อเยื่อบริเวณรอบๆ มีเซลล์อักเสบมากมาย จึงเกิดอาการบวมแดงอยู่ได้นานหลายวัน

 

วัคซีนที่ทำให้เกิด arthus reaction ได้บ่อย คืออะไร?

ฉีดบาดทะยัก ปวดแขน

ฉีดบาดทะยัก ปวดแขน

วัคซีนที่มีรายงานว่า ทำให้เกิดปฏิกริยานี้ได้บ่อย คือ วัคซีนป้องกันโรค คอตีบ และบาดทะยัก ในผู้ที่ได้รับวัคซีนประเภทนี้หลายครั้งไม่ว่าเด็กหรือผู้ใหญ่ จะมีปฏิกริยาปวดบวมแดงได้มากกว่าปกติ ซึ่งเป็นสิ่งที่บ่งชี้ว่ามีภูมิคุ้มกันสูงมากๆ แล้ว

 

การรักษา arthus reaction ทำได้อย่างไร?

อาการแพ้เฉพาะที่แบบนี้ แม้จะดูน่ากลัว เพราะบวมแดงมากและนาน แต่ก็ไม่ได้เป็นอันตรายร้ายแรง ถึงแก่ชีวิต แบบการแพ้รุนแรง และมักจะหายได้เอง ภายในเวลา 3-5 วัน แต่หากอาการดูหายช้า หรือมีปวด บวม มาก จนไม่สามารถทำกิจวัตรประจำวัน หรือไปโรงเรียนได้ตามปกติ คุณพ่อคุณแม่สามารถให้ลูกทานยาแก้ปวด เช่น พาราเซตามอล ถ้ามีอาการคันมาก ก็อาจทานยาแก้แพ้ แต่หากมีอาการมากจนดูรุนแรง ลองไปปรึกษาคุณหมอดูนะคะ

คุณหมออาจให้การรักษาเพิ่มเติมด้วย ยาทานต้านอักเสบชนิดไม่ใช่สเตียรอยด์ และยาทากลุ่มสเตียรอยด์ เพิ่มขึ้นมา เพื่อช่วยลดอาการปวด แดง ร้อน ร่วมด้วยค่ะ

 

ฉีดบาดทะยักอยู่ได้กี่ปี ?

ฉีดบาดทะยัก ปวดแขน

ฉีดบาดทะยัก ปวดแขน

หากได้รับวัคซีนเข็มสุดท้าย มาไม่เกิน 10 ปี ไม่ต้องฉีดวัคซีน แต่หากเกิน 10 ปีแล้ว ควรฉีดวัคซีนกระตุ้น 1 เข็ม หากแผลใหญ่ และฉีดเข็มสุดท้ายไม่เกิน 5 ปี ไม่ต้องฉีดซ้ำ หากเกิน 10 ปีแล้ว ควรฉีดกระตุ้น 1 เข็ม หากในเด็กในเด็กที่ฉีดไม่ครบตามกำหนด ต้องฉีด คอตีบ – บาดทะยัก 1 เข็ม และฉีดอีก 2 เข็ม ใน 1 เดือน และ 6 เดือน เพื่อให้วัคซีนป้องกันได้ถึง 10 ปี

 

ฉีดบาดทะยัก อาการข้างเคียง

  • มีอาการปวด แดง หรือบวมบริเวณที่ฉีดวัคซีน
  • มีไข้อ่อน ๆ และมีอาการหนาวสั่นร่วมด้วย
  • ปวดศีรษะ เมื่อยตามร่างกาย อ่อนเพลีย
  • อาเจียน ปวดท้อง ท้องเสีย
  • ไม่อยากอาหาร
  • ร้องไห้ งอแง กรณีที่เป็นเด็กเล็ก

 

บทความที่น่าสนใจอื่นๆ

บทความจากพันธมิตร
ว่าด้วยเรื่อง ลูกเป็นภูมิแพ้ กับ ฝุ่น PM2.5 อันตรายใกล้ตัว ที่พ่อแม่ต้องระวัง
ว่าด้วยเรื่อง ลูกเป็นภูมิแพ้ กับ ฝุ่น PM2.5 อันตรายใกล้ตัว ที่พ่อแม่ต้องระวัง
รู้หรือไม่? มลพิษทางอากาศ และ ฝุ่น PM 2.5 เข้าปอดลูกได้แม้อยู่ในครรภ์แม่
รู้หรือไม่? มลพิษทางอากาศ และ ฝุ่น PM 2.5 เข้าปอดลูกได้แม้อยู่ในครรภ์แม่
5 วิธี เสริมภูมิคุ้มกัน กุญแจสำคัญที่ทำให้ลูกรักแข็งแรง พร้อมเรียนรู้ได้เต็มศักยภาพ
5 วิธี เสริมภูมิคุ้มกัน กุญแจสำคัญที่ทำให้ลูกรักแข็งแรง พร้อมเรียนรู้ได้เต็มศักยภาพ
ป้องกัน ลูกแพ้น้ำยาซักผ้า ฉบับคุณแม่มือโปร ด้วย Breeze Baby
ป้องกัน ลูกแพ้น้ำยาซักผ้า ฉบับคุณแม่มือโปร ด้วย Breeze Baby

ทำไมเด็กๆ จึงควรได้รับวัคซีน

เมื่อลูกไม่สบายจะพาไปฉีดวัคซีนดีไหม?

วัคซีนป้องกันบาดทะยักสำคัญอย่างไรเมื่อตั้งครรภ์

TAP mobile app

 

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

รศ. พญ. รวีรัตน์ สิชฌรังษี

  • หน้าแรก
  • /
  • สุขภาพ
  • /
  • ลูก ฉีดบาดทะยัก ปวดแขน ทำไงดี มีวิธีบรรเทาอาการปวดหรือไม่ ?
แชร์ :
  • ฉีดวัคซีนลูก คำถามเรื่องวัคซีนที่แม่สงสัย ลูกมีไข้ฉีดวัคซีนได้ไหม ฉีดวัคซีนไม่ตรงนัด อาการหลังฉีด

    ฉีดวัคซีนลูก คำถามเรื่องวัคซีนที่แม่สงสัย ลูกมีไข้ฉีดวัคซีนได้ไหม ฉีดวัคซีนไม่ตรงนัด อาการหลังฉีด

  • ใจแทบขาด ลูกมีไข้หลังฉีดวัคซีนและพ่อเมาเผลอหลับไป

    ใจแทบขาด ลูกมีไข้หลังฉีดวัคซีนและพ่อเมาเผลอหลับไป

  • ลูกเหงื่อออกตอนนอน สัญญาณโรคร้ายที่พ่อแม่ต้องระวัง

    ลูกเหงื่อออกตอนนอน สัญญาณโรคร้ายที่พ่อแม่ต้องระวัง

  • โอ้ละพ่อ! เด็ก ป.1 หายตัวปริศนา แจ้งตามหากันให้วุ่น สรุปสุดท้าย อยู่ในห้องเรียนนั่นแหละ !

    โอ้ละพ่อ! เด็ก ป.1 หายตัวปริศนา แจ้งตามหากันให้วุ่น สรุปสุดท้าย อยู่ในห้องเรียนนั่นแหละ !

  • ฉีดวัคซีนลูก คำถามเรื่องวัคซีนที่แม่สงสัย ลูกมีไข้ฉีดวัคซีนได้ไหม ฉีดวัคซีนไม่ตรงนัด อาการหลังฉีด

    ฉีดวัคซีนลูก คำถามเรื่องวัคซีนที่แม่สงสัย ลูกมีไข้ฉีดวัคซีนได้ไหม ฉีดวัคซีนไม่ตรงนัด อาการหลังฉีด

  • ใจแทบขาด ลูกมีไข้หลังฉีดวัคซีนและพ่อเมาเผลอหลับไป

    ใจแทบขาด ลูกมีไข้หลังฉีดวัคซีนและพ่อเมาเผลอหลับไป

  • ลูกเหงื่อออกตอนนอน สัญญาณโรคร้ายที่พ่อแม่ต้องระวัง

    ลูกเหงื่อออกตอนนอน สัญญาณโรคร้ายที่พ่อแม่ต้องระวัง

  • โอ้ละพ่อ! เด็ก ป.1 หายตัวปริศนา แจ้งตามหากันให้วุ่น สรุปสุดท้าย อยู่ในห้องเรียนนั่นแหละ !

    โอ้ละพ่อ! เด็ก ป.1 หายตัวปริศนา แจ้งตามหากันให้วุ่น สรุปสุดท้าย อยู่ในห้องเรียนนั่นแหละ !

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
    • ก่อนตั้งครรภ์
    • การคลอด
    • ระยะการตั้งครรภ์
    • การคลอด
  • พัฒนาการลูก
    • ทารก
    • เด็กก่อนเข้าเรียน
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • การวางแผนการเงิน
    • การเลี้ยงลูก
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • นมแม่และนมผง
  • โภชนาการ
    • สินค้าเด็ก
    • นมผง
    • เมนูอาหาร
    • สินค้าแม่
  • เพิ่มเติม
    • TAP สังคมออนไลน์
    • ติดต่อโฆษณา
    • ติดต่อเรา
    • Influencer Marketing (KOL)
    • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Sri-Lanka flag Sri Lanka
  • India flag India
  • Vietnam flag Vietnam
  • Australia flag Australia
  • Japan flag Japan
  • Nigeria flag Nigeria
  • Kenya flag Kenya
© Copyright theAsianparent 2023. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

theAsianparent heart icon
เราต้องการส่งแจ้งเตือนข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการดูแลทารกและสุขภาพไปให้กับคุณ