4 อาการบาดเจ็บของทารกแรกเกิด จากการคลอด
อาการบาดเจ็บของทารกแรกเกิด ส่วนใหญ่เกิดจากจากการคลอดทางช่องคลอด แต่ถึงอย่างไรการผ่าตัดก็ทำให้ทารกบาดเจ็บได้เช่นกัน มาดูกันว่า บาดเจ็บของทารกแรกเกิดจากการคลอด มีอาการอะไรบ้าง
กับ 4 อาการบาดเจ็บของทารกแรกเกิด ที่มักพบเจอได้
1. ทารกแรกเกิดบาดเจ็บจากการคลอด : ก้อนเลือดใต้หนังศีรษะ
1. ระหว่างการคลอดทางช่องคลอด การบีบตัวของมดลูกจะดันศีรษะของทารกเข้ากับกระดูกเชิงกรานของคุณแม่ แรงดันเบียดศีรษะของทารกแรกเกิดให้เกิดก้อนนุ่มนูนปูดขึ้นมา ซึ่งอาการดังกล่าวเกิดจากเลือดสะสมในเนื้อเยื่ออ่อน และเกิดการฟกช้ำในหนังศีรษะ
2. ปกติแล้วก้อนเลือดใต้หนังศีรษะของทารกจากการคลอดจะเกิดขึ้นด้านหลังศีรษะข้างใดข้างหนึ่งหรือทั้งสองข้างก็ได้ แต่จะไม่คร่อมเส้นกลางซึ่งจะไม่ทำให้กระทบเนื้อเยื่อจนฟกช้ำ อาการนี้เมื่อคลอดออกมาแล้วก้อนเลือดนูนปูดดังกล่าวจะค่อย ๆ เล็กลงและศีรษะจะแข็งขึ้นตามลำดับ
3. อาการดังกล่าวมีส่วนทำให้เกิดอาการดีซ่านในทารกได้ เพราะก้อนเลือดเต็มไปด้วยเม็ดเลือดแดงที่ต้องถูกทำลาย ส่วนใหญ่ก้อนเลือดจะหายไปหมด แต่บางครั้งเมื่อคุณแม่จสัมผัสดูอาจจะมีหลงเหลืออยู่บ้างแต่จะค่อย ๆ หายไปในที่สุด
2. ทารกแรกเกิดบาดเจ็บจากการคลอด : กระดูกไหปลาร้าหัก
1. ระหว่างการคลอดผ่านทางช่องคลอดของทารก ทารกที่มีขนาดตัวใหญ่มากจะมีความเสี่ยงต่อกระดูกไหปลาร้าหัก
2. อาการกระดูกไหปลาร้าหักคุณหมอจะสามารถวินิจฉัยได้หลังจากคลอดแล้วในวันถัดไป เมื่อผิวหนังที่คลุมไหปลาร้าดูบวมหรือฟกช้ำ
3. การบาดเจ็บนี้ไม่เป็นอันตรายร้ายแรงใด ๆ และสามารถหายได้เองโดยไม่ต้องทำการรักษา แต่ทารกที่มีอาการกระดูกไหปลาร้าหัก เจ้าหนูจะมีอาการลังเลที่จะยกแขนขึ้นเหนือศีรษะแม้จะขยับทางอื่นได้ตามปกติ
4. สำหรับสิ่งที่ผิดปกติที่อาจเกิดขึ้นกรณีทารกแรกเกิดกระดูกไหปลาร้าหักระหว่างการคลอด คือ เส้นประสาทจากไขสันหลังของทารกไปยังต้นแขนจะบาดเจ็บได้เพราะผ่านจากบริเวณใต้กระดูกไหปลาร้าไปต้นแขน ทารกที่ไหปลาร้าหักจะขยับแขนหรือไหล่ได้ไม่ดี และแขนจะวางปวกเปียกอยู่ข้างตัว แต่อาการบาดเจ็บนี้จะหายไปในเวลาไม่กี่สัปดาห์ค่ะ
3. ทารกแรกเกิดบาดเจ็บจากการคลอด : ผนังกั้นจมูกเบี่ยง
1. ขณะที่คลอดผ่านช่องคลอดแรงกดที่มีปริมาณมาก กดทับลงบนจมูกทารกในขณะที่ยังอยู่ในมดลูกหรือระหว่างการคลอด ผนังกั้นจมูกซึ่งแบ่งออกเป็นจมูกข้างซ้ายและข้างขวาจะถูกดันให้เบี่ยงได้ เมื่อคลอดออกมาจมูกของทารกจะดูโค้งงอ คือ ปลายจมูกจะไม่อยู่ตรงกลางและรูจมูกมีขนาดแตกต่างกัน ข้างหนึ่งใหญ่ ข้างหนึ่งเล็ก
2. เมื่อคุณหมอตรวจพบว่า ผนังกั้นจมูกของทารกเบี่ยง การรักษาสามารถนำผนังกั้นที่เบี่ยงกลับเข้าที่ได้ค่อนข้างง่ายค่ะ โดยคุณหมอทางด้านโสต ศอ นาสิกจะเป็นผู้ดำเนินการแก้ไขจนเป็นปกติก่อนจะพาทารกน้อยกลับบ้าน
4. ทารกแรกเกิดบาดเจ็บจากการคลอด : รอยคีม
1. ปัญหานี้มักพบได้บ่อย ๆ เกิดจากการคลอดที่ใช้อุปกรณ์ช่วยคลอดโดยใช้คีม จะเกิดการฟกช้ำที่ผิวหน้าใต้ตำแหน่งที่ใช้เครื่องมือโดยตรง
บทความแนะนำ เรื่องน่ารู้!!! ช่วยแม่คลอดด้วยการคีบและดูด
2. รอยโค้งมักจะมีสีดำหรือสีน้ำเงิน รอยเหล่านี้จะค่อย ๆ จางลงและหายไปภายใน 2 – 3 วัน อย่างไรก็ตาม หลังจากนั้น 1 สัปดาห์ หลังจากที่รอยคีมหายไปแล้ว คุณแม่อาจจะสัมผัสได้ถึงก้อนแข็งขนาดเท่าเมล็ดถั่วลิสงใต้ผิวแก้มของทารกเกิดขึ้นได้ นั่นคือ เกิดจากคีมทำให้ชั้นไขมันของผิวหนังทารกเกิดการบาดเจ็บ แต่อาการดังกล่าวจะค่อย ๆ หดหายไปอย่างช้า ๆ
3. นาน ๆ ครั้งแรงกดของคีมจะทำให้เส้นประสาทบนใบหน้าของทารกที่ควบคุมกล้ามเนื้อปากบาดเจ็บ เมื่อทารกแรกเกิดร้องไห้ คุณแม่จะสังเกตว่ารูปร่างของปากไม่สมดุลกัน แต่การบาดเจ็บเช่นนี้จะหายไปในช่วง 2 – 3 สัปดาห์ค่ะและไม่มีอันตรายใด ๆ
เพื่อไม่ให้ลูกน้อยเกิดอุบัติเหตุระหว่างคลอด วันนี้เรามีหลากหลายวิธีการคลอดให้ คุณแม่ดูเป็แนวทางในการเตรียมตัวคลอดอีกด้วยค่ะ
หลากหลายวิธีการคลอดสำหรับแม่และทารกในครรภ์
1. การคลอดแบบธรรมชาติ
– กรณีคลอดแบบธรมชาติสำหรับคุณแม่และทารกที่มีสุขภาพข็งแรง ทากรอยู่ในท่าคลอดที่เหมาะสม คือ ท่าศีรษะ การคลอดแบบธรรมชาติเป็นวิธีการคลอดที่ง่ายและปลอดภัยที่สุดสำหรับคุณแม่และลูกน้อย โดยคุณหมอจะตรวจดูช่วงใกล้ถึงกำหนดคลอด ว่าทารกอยู่ในท่าศีรษะลงสู่อุ้งเชิงกรานหรือไม่
– การคลอดแบบธรรมชาตินั้นคุณแม่จะรู้สึกเจ็บครรภ์อย่างมาก ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่ต้องใช้ความอดทนสูงจริง ๆ ค่ะ คุณหมออาจฉีดยาแก้ปวดเข้าทางเส้นเลือด หรือฉีดยาชาเข้าทางไขสันหลังเพื่อช่วยบรรเทาอาการเจ็บปวดให้คุณแม่ได้
2. การผ่าคลอด
– สำหรับคุณแม่บางคน คุณหมอจะแนะนำให้ผ่าคลอด เช่น คุณแม่มีโรคประจำตัว มีลูกเมื่ออายุมากแล้ว หรือศีรษะของทารกไม่อยู่ในอุ้งเชิงกราน แต่อยู่ในท่าก้น ท่าขวาง เป็นต้น ในเวลาที่ครบกำหนดคลอด แต่การผ่าตัดจะทำให้คุณแม่เสียเลือดมากกว่าการคลอดแบบธรรมชาติถึง 2 เท่าและจะเจ็บแผลนานกว่า คุณหมอมักจะแนะนำให้ผ่าตัดคลอดเฉพาะกรณีที่จำเป็นเท่านั้น
– ปัจจุบันเพื่อลดความเจ็บปวดและทำการผ่าตัดอย่างได้ผลคุณหมอจะแนะนำให้คุณแม่ดมยาสลบหรือฉีดยาเข้าไขสันหลัง โดยคุณแม่จะไม่รู้สึกเจ็บระหว่างการผ่าตัด แต่การดมยาสลบ คุณแม่จะไม่มีส่วนร่วมในการคลอด ไม่เห็นหน้าลูกทันทีที่คลอดออกมา เพราะคุณแม่จะหลับไม่รู้ตัวและจะฟื้นอีกทีหลังคลอด
– คุณแม่ส่วนใหญ่จึงไม่เลือกวิธีดมยาสลบ เพราะยาสลบจะมีผลต่อทารก เช่น ลูกคลอดออกมาแล้วไม่ร้อง ไม่ค่อยหายใจ เพราะเขาได้รับยาสลบตามแม่ไปด้วย
– สาวนการฉีดยาเข้าไขสันหลัง หรือการบล็อกหลังนั้น ลูกน้อยจะไม่ได้รับผลกระทบแต่อย่างใด เพราะไม่ได้ดูดซึมเข้ากระแสเลือด เพียงแต่ทำให้ส่วนล่างของคุณแม่ชา ไม่มีความรู้สึกเจ็บปวด แต่คุณแม่จะรับรู้เหตุการณ์ระหว่างคลอดทุกอย่าง พร้อมทั้งได้ยินเสียงลูก เห็นหน้าลูกทันทีที่ลูกคลอดออกมา
– การผ่าคลอดจะมีอาการเจ็บแผลนานกว่าการคลอดแบบธรรมชาติ
3. การคลอดในน้ำ
– การคลอดในน้ำเป็นอีกวิธีการหนึ่งที่เริ่มได้รับความนิยมในต่างประเทศ เพราะช่วยลดความเจ็บปวดในการคลอดแต่ในประเทศไทยยังไม่แพร่หลายมากนัก
– การคลอดในน้ำต้องขึ้นอยู่กับความพร้อมด้านสุขภาพของคุณแม่ ต้องไม่มีภาวะแทรกซ้อนระหว่างตั้งครรภ์ เพราะการคลอดในน้ำจะไม่ใช้เครื่องฟังเสียงหัวใจลูก
– แต่แท้ที่จริงแล้วการคลอดในน้ำไม่น่ากังวลอย่างที่หลาย ๆ คนคิด หากคุณแม่มีความพร้อมและมีสุขภาพครรภ์ที่แข็งแรงคุณหมอก็พร้อมจะให้การดูแลเต็มที่
– การคลอดในน้ำไม่จำเป็นต้องใช้ยาแก้ปวดหรือฉีดยาระงับปวดใด ๆ และเมื่อศีรษะของทารกพ้นจากช่องคลอดแล้ว ก็สามารถลอยตัวอยู่ในน้ำที่ช่วยรองรับแรงกระแทก ป้องกันไม่ให้เกิดอันตราย รวมถึงคุณแม่ก็จะรู้สึกเบาสบายไม่เจ็บปวดมากนัก
อ้างอิงข้อมูลจาก
หนังสือ คัมภีร์การดูแลทารกและเด็กเล็ก ฉบับสมบูรณ์ ผศ.ดร.อรกัญญ์ ภูมิโคกรักษ์ ผู้แปล
Source: Birth Injury
The Asianparent Thailand เว็บไซต์ข้อมูลคุณภาพและสังคมคุณแม่ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศและเอเชีย เรามีผู้เชี่ยวชาญด้านกุมารแพทย์ แหล่งความรู้แม่และเด็ก รวมถึงแอพพลิเคชั่น The Asianparent ที่ติดตามการตั้งครรภ์ให้คุณแม่ได้ลงทะเบียนใช้งาน เพื่อติดตามพัฒนาการทารกตั้งแต่ตั้งครรภ์ จนถึงติดตามหลังคลอดที่ครอบคลุมที่สุดและผู้ใช้งานสูงสุดในประเทศไทย นอกจากความรู้ยังมีไลฟ์สไตล์และสื่อมัลติมีเดียหลากหลาย ไม่ว่าสุขภาพแม่และเด็ก โภชนาการแม่และเด็ก กิจกรรมสำหรับครอบครัว
การวางแผนครอบครัวไปจนถึง การดูแลลูก การศึกษา และจิตวิทยาเด็ก The Asianparent เราพร้อมสนับสนุนพ่อแม่ทุกท่าน ให้มีความรู้และมีสุขภาพกายใจเข้มแข็ง เพื่อเสริมสร้างครอบครัวอย่างแข็งแรง
เพราะเราเชื่อว่า “พ่อแม่เข้มแข็ง ครอบครัวแข็งแรง”
บทความอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
รู้รอบขอบเตียงกรรมวิธี “ผ่าคลอด”แบบเจาะลึก
ท่าทารกในการคลอด
สะเทือนใจ ทารกตาย จากการคลอดก่อนกำหนด เนื่องจากแม่ท้องติดโควิด-19
ภาพทารกคลอดก่อนกำหนดที่สร้างแรงบันดาลใจไปทั่วโลก
ทารกคลอดธรรมชาติแข็งแรงด้วยภูมิคุ้มกันโพรไบโอติก
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!