X
TAP top app download banner
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้า
เข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • โภชนาการ เเม่ท้อง เเม่ให้นม
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • ตั้งชื่อลูก
  • แม่ผ่าคลอด
    • พัฒนาการเด็กผ่าคลอด
    • เตรียมตัวผ่าคลอด
    • สุขภาพเด็กผ่าคลอด
    • คู่มือคุณแม่ผ่าคลอด
    • การดูแลหลังผ่าคลอด
    • โภชนาการเด็กผ่าคลอด
  • หลังคลอด
    • คลอดธรรมชาติ
    • ผ่าคลอด
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

ทำความเข้าใจ Baby Blue ทำไมหลังคลอด คุณแม่ไม่ร่าเริง

บทความ 3 นาที
ทำความเข้าใจ Baby Blue ทำไมหลังคลอด คุณแม่ไม่ร่าเริง

17หลายคนคงคิดว่าการได้มีลูกสามารถทำให้คุณแม่ทุกคนมีความสุข แต่ในขณะเดียวกัน สำหรับคุณแม่บางส่วนกลับต้องเผชิญกับ ภาวะอารมณ์เศร้าหลังคลอด หรือ Baby Blue ที่ดูคล้ายกับอาการของโรคซึมเศร้าได้เช่นกัน

ทำไมคุณแม่ไม่ร่าเริง

นั่นเพราะในช่วงหลังคลอดได้ไม่นาน ร่างกายของคุณแม่จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหลายอย่าง โดยเฉพาะการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนความเครียดที่สูงขึ้นและฮอร์โมนอื่น ๆ ที่ลดลงจนส่งผลกับอารมณ์ได้โดยตรง นอกจากนี้ การเพิ่มบทบาทของการเป็นแม่เข้ามาในชีวิตก็อาจทำให้เกิดความกังวล ความคาดหวัง หรือความกลัว รวมไปถึงพฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงไปในลักษณะที่มีการดูแลตัวเองลดน้อยลง เช่น นอนน้อย นอนไม่เป็นเวลา กินอาหารได้น้อย ทำกิจวัตรแบบเดิม ๆ ไม่สะดวก สิ่งเหล่านี้ก็ส่งผลต่อการเกิดภาวะอารมณ์ซึมเศร้าของคุณแม่ได้เช่นกัน 

Baby Blue

Advertisement

อาการ Baby Blue เกิดขึ้นได้กับคุณแม่ทุกคนหรือไม่

ภาวะอารมณ์เศร้าหลังคลอด (Baby Blue) อาจพบได้บ่อยเป็นจำนวน 2 ใน 3 หรือ 70-80% ของคุณแม่ที่เพิ่งคลอดลูกได้เพียง 1-7 วัน โดยจะมีอาการตั้งแต่ การมีอารมณ์เศร้า ร้องไห้มากกว่าปกติ สับสน อารมณ์ขึ้น ๆ ลง ๆ หงุดหงิด วิตกกังวล หรือนอนหลับยาก แต่อาการและความรู้สึกเหล่านี้จะค่อย ๆ ดีขึ้นได้เองในช่วง 2 สัปดาห์ อย่างไรก็ตาม คุณแม่ที่มีภาวะเบบี้บลูส์ก็อาจกลายเป็นโรคซึมเศร้าได้ถึง 20% เรียกว่า โรคซึมเศร้าหลังคลอด หรือ Postpartum Depression 

สำหรับ Postpartum Depression จะมีอาการที่กินระยะเวลานานกว่า 2 สัปดาห์ และเป็นอาการที่รุนแรงกว่าภาวะBaby Blue ได้แก่ มีอารมณ์เศร้ามาก ร้องไห้คนเดียวหรือขณะให้นมลูก วิตกกังวลมากหรือกังวลไปทุกเรื่อง นอนไม่หลับ ไม่มีความสุขกับสิ่งเดิม ๆ ที่เคยมีความสุข รู้สึกผิดและโทษตัวเองซ้ำ ๆ รวมทั้งอาจมีความคิดอยากฆ่าตัวตายหรือทำร้ายลูกก็ได้

ทั้งนี้ ภาวะBaby Blue และ Postpartum Depression เป็นสิ่งที่สามารถให้ความช่วยเหลือได้จากทั้งคนรอบข้างและผู้เชี่ยวชาญ ได้แก่ จิตแพทย์และนักจิตวิทยา โดยคนรอบข้างสามารถช่วยสังเกตอาการและให้กำลังใจคุณแม่อยู่เสมอ ขณะเดียวกัน การปรึกษาจิตแพทย์และนักจิตวิทยาก็ช่วยให้เกิดการปรับเปลี่ยนมุมมองความคิด จัดการแก้ไขปัญหาบางอย่าง และช่วยจัดการอารมณ์ที่เกิดขึ้นได้ นอกจากนี้ในบางรายก็อาจมีการใช้ยาร่วมด้วย ซึ่งต้องขึ้นอยู่กับการปรึกษาแพทย์ในการรักษาด้วยยาที่เหมาะสม 

บทความที่เกี่ยวข้อง : ภาวะซึมเศร้าหลังหย่านม ปัญหาสุขภาพจิตที่คุณแม่ควรเข้าใจ

 

อาการโรคจิตหลังคลอดเป็นอย่างไร

อีกอาการที่อันตรายแต่พบไม่บ่อยคือ โรคจิตหลังคลอด หรือ Postpartum Psychosis ซึ่งอาจมีโอกาสเกิดขึ้นเพียง 0.1% เท่านั้น โดยจะมีอาการรุนแรงกว่าโรคซึมเศร้าจนถึงขนาดที่ว่ามีความคิดหลงผิด (Delusion) เช่น คิดว่าลูกไม่ใช่ลูกของตน หรือ มีอาการประสาทหลอน (Hallucination) เช่น หูแว่วได้ยินคนสั่งให้ทำร้ายลูกหรือมีคนจะมาทำร้ายลูก เป็นต้น คนรอบข้างจึงต้องคอยหมั่นสังเกตและนำผู้ป่วยเข้ารับการรักษากับแพทย์ในทันที 

นอกจากนี้ คุณพ่อเองก็สามารถเกิดภาวะต่าง ๆ เหล่านี้ได้เช่นกัน โดยอาจเกิดขึ้นจากความเครียดในบทบาทของชีวิตที่เปลี่ยนไป ความกังวลเกี่ยวกับความรับผิดชอบหรือการเงิน ความคาดหวังต่อตัวเอง กิจวัตรประจำวันที่เปลี่ยนแปลงไป รวมไปถึงการซึมซับภาวะอารมณ์ซึมเศร้าของคุณแม่ด้วย แต่อาจมีการแสดงออกที่แตกต่างกัน เช่น เป็นการแสดงอารมณ์ฉุนเฉียว ไม่พอใจ และหงุดหงิดง่าย มากกว่าอารมณ์เศร้า ดังนั้นการรับมือกับภาวะอารมณ์ดังกล่าวจึงต้องเป็นความสัมพันธ์ที่คอยสนับสนุนช่วยเหลือเกื้อกูลกัน และมีการปรึกษากับผู้เชี่ยวชาญร่วมกันเมื่อหาทางออกไม่ได้ด้วย

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

ทำไมแม่หลังคลอดถึงผมร่วง ปัญหาที่คุณแม่ส่วนใหญ่เจอ และวิธีแก้ผมร่วง

กางเกงสเตย์ จำเป็นสำหรับคุณแม่หลังคลอดจริงหรือไม่ ?

เคล็ดลับ ปรับรูปร่างหลังคลอด และวิธีควบคุมน้ำหนัก หลังหยุดให้นม ฟื้นคืนสุขภาพดีในแบบที่คุณแม่ต้องการ

Baby Blue

บทความจากพันธมิตร
ดูแลทารกแรกเกิดวิกฤติน้ำหนักเพียง 500 กรัมสำเร็จ ด้วยความเชี่ยวชาญระดับสากล ที่ โรงพยาบาลเด็กสมิติเวช อินเตอร์เนชั่นแนล
ดูแลทารกแรกเกิดวิกฤติน้ำหนักเพียง 500 กรัมสำเร็จ ด้วยความเชี่ยวชาญระดับสากล ที่ โรงพยาบาลเด็กสมิติเวช อินเตอร์เนชั่นแนล
เคล็ดลับดูแลครรภ์ และ สร้างภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อย
เคล็ดลับดูแลครรภ์ และ สร้างภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อย
โรคภูมิแพ้ในเด็ก ป้องกันได้ตั้งแต่แรกเกิด ด้วยนมแม่ที่มีคุณสมบัติเป็น H.A. (Hypoallergenic)
โรคภูมิแพ้ในเด็ก ป้องกันได้ตั้งแต่แรกเกิด ด้วยนมแม่ที่มีคุณสมบัติเป็น H.A. (Hypoallergenic)
พ่อแม่ต้องรู้! วิธีป้องกัน RSV ในเด็ก ช่วยลูกไม่ป่วยหนัก
พ่อแม่ต้องรู้! วิธีป้องกัน RSV ในเด็ก ช่วยลูกไม่ป่วยหนัก

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

Nattida Koedrith

  • หน้าแรก
  • /
  • เจ็บป่วย
  • /
  • ทำความเข้าใจ Baby Blue ทำไมหลังคลอด คุณแม่ไม่ร่าเริง
แชร์ :
  • เตือนแม่! อย่ากินอาหารที่ใช้ปากกาเมจิกเขียนบนถุง เสี่ยงมะเร็ง

    เตือนแม่! อย่ากินอาหารที่ใช้ปากกาเมจิกเขียนบนถุง เสี่ยงมะเร็ง

  • ริดสีดวงหลังคลอด สาเหตุ อาการ และวิธีรับมือสำหรับคุณแม่

    ริดสีดวงหลังคลอด สาเหตุ อาการ และวิธีรับมือสำหรับคุณแม่

  • หมอห่วง เด็ก 0-4 ขวบป่วยโควิดเยอะ ป่วยช่วงนี้ เสี่ยงโควิดสูงกว่าไข้หวัดใหญ่

    หมอห่วง เด็ก 0-4 ขวบป่วยโควิดเยอะ ป่วยช่วงนี้ เสี่ยงโควิดสูงกว่าไข้หวัดใหญ่

  • เตือนแม่! อย่ากินอาหารที่ใช้ปากกาเมจิกเขียนบนถุง เสี่ยงมะเร็ง

    เตือนแม่! อย่ากินอาหารที่ใช้ปากกาเมจิกเขียนบนถุง เสี่ยงมะเร็ง

  • ริดสีดวงหลังคลอด สาเหตุ อาการ และวิธีรับมือสำหรับคุณแม่

    ริดสีดวงหลังคลอด สาเหตุ อาการ และวิธีรับมือสำหรับคุณแม่

  • หมอห่วง เด็ก 0-4 ขวบป่วยโควิดเยอะ ป่วยช่วงนี้ เสี่ยงโควิดสูงกว่าไข้หวัดใหญ่

    หมอห่วง เด็ก 0-4 ขวบป่วยโควิดเยอะ ป่วยช่วงนี้ เสี่ยงโควิดสูงกว่าไข้หวัดใหญ่

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • พัฒนาการลูก
  • ชีวิตครอบครัว
  • ระยะการตั้งครรภ์
  • โภชนาการ
  • ไลฟ์สไตล์
  • TAP สังคมออนไลน์
  • ติดต่อโฆษณา
  • ติดต่อเรา
  • Influencer Marketing (KOL)
  • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Vietnam flag Vietnam
© Copyright theAsianparent 2025. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว