X
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้าเข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ตั้งครรภ์
    • คำนวณวันคลอด
    • ฉันกำลังตั้งครรภ์
    • ไตรมาสที่ 1
    • ไตรมาสที่ 2
    • ไตรมาสที่ 3
    • Project Sidekicks
    • ตั้งชื่อลูก
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • อีเว้นท์
    • TAP Awards Winners
    • TAP idol
    • TAP x Safari Largest Treasure Hunt
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

ลูก 6 เดือน ยังไม่คว่ำ พัฒนาการช้าเกินไปไหม ผิดปกติหรือเปล่า

บทความ 3 นาที
ลูก 6 เดือน ยังไม่คว่ำ พัฒนาการช้าเกินไปไหม ผิดปกติหรือเปล่า

ทำไงดี เมื่อลูกอายุ 6 เดือนแล้ว แต่ยังไม่คว่ำ ไม่รู้ว่าลูกมีปัญหาพัฒนาการช้าหรือเปล่า

แม่กังวลใจ ลูก 6 เดือน ยังไม่คว่ำ กลัวว่าลูกพัฒนาการช้า หรือมีอาการผิดปกติหรือเปล่า ซึ่งปกติแล้ว หากลูกน้อยมีอายุ 6 เดือน จะสามารถ พลิกคว่ำ พลิกหงาย ได้แล้ว ทารก 6 เดือนบางคน ชอบที่จะกลิ้งตัวไปมา แถมบางคนยังเริ่มคลานได้แล้วด้วย

พอเห็นแบบนี้ แม่ก็อดกังวลใจไม่ได้ เพราะ ลูก 6 เดือน เข้าไปแล้ว ยังไม่คว่ำ สักที ทั้งนี้ หากจะดูพัฒนาการทารกว่า จะเริ่้มคว่ำได้เมื่อไหร่นั้น ต้องสังเกตก่อนว่า ลูกชันคอได้หรือยัง

 

ลูก 6 เดือน ยังไม่คว่ำ

เมื่อไหร่ลูกจะคว่ำได้

ช่วงแรกเกิด กล้ามเนื้อคอทารกจะยังไม่แข็งแรง ทารกจะเริ่มยกศีรษะได้ช่วง 1 – 2 เดือน แล้วจะคอแข็งจริง ๆ สักอายุ 3 – 4 เดือน

ดังนั้น เมื่อย่างเข้าเดือนที่ 4 ทารกจะสามารถยันตัวขึ้น พลิกตัวได้บ้าง หรือบางคนก็พลิกคว่ำได้แล้ว เพราะในเดือนที่ 4 นั้น กล้ามเนื้อคอ ไหล่ หลัง และสะโพก จะแข็งแรงขึ้น และในช่วงอายุ 5 – 6 เดือน ทารกมักจะพลิกคว่ำ พลิกหงาย ได้บ้างแล้ว เพราะในวัยนี้ จะสามารถใช้มือยันตัวขึ้น โดยที่ข้อศอกเหยียดตรงขณะที่นอนคว่ำ จึงเริ่มพลิกจากท่านอนหงายเป็นท่าพลิกคว่ำได้

แต่เมื่อลูกน้อยอายุได้ 6 เดือน หากเปรียบเทียบกับบ้านอื่น อาจจะเห็นพัฒนาการอื่น ๆ เพิ่มเติม จนคุณแม่กลัวว่า ลูกจะพัฒนาการช้าหรือเปล่า จริง ๆ แล้ว ขึ้นอยู่กับความพร้อมของร่างกาย และสรีระของตัวทารกเอง ถ้าลูกจ้ำม่ำ เจ้าเนื้อ ก็อาจจะคว่ำได้ช้ากว่าเพื่อนในวัยเดียวกัน

 

ลูก 6 เดือน ยังไม่คว่ำ

วิธีที่จะช่วยให้ทารก ฝึกคว่ำได้

อย่างแรกคือ แม่ไม่ควรอุ้มน้องบ่อย ๆ แต่ลองฝึกให้ลูกนอนคว่ำ หรือลองฝึกพัฒนาการทารก ดังนี้

  • ฝึกลูกน้อยด้วยการอุ้มทารกมานั่งตัก โดยจับลูกให้นั่งห่างจากแม่เล็กน้อย เพื่อึกให้กล้ามเนื้อคอ และหลังแข็งแรงขึ้น
  • อุ้มท่าอุ้มแบบหิ้วมือเดียว โดยใช้มือข้างหนึ่งของคุณแม่หิ้วประคองตรงช่วงหน้าอกลูกไว้
  • จัดบริเวณ หรือทำคอกกั้นให้ลูกได้หัดพลิกคว่ำ เลี่ยงการใช้เปลผ้าห่อหุ้มทารก เพราะลูกจะไม่สามารถพลิกตัวได้
  • ในบริเวณที่ปลอดภัย ซึ่งแม่ได้จัดไว้นั้น ลองหาลูกบอลสีสด ๆ กลิ้งไปกลิ้งมา หรือหา กรุ๋งกริ่ง มาเล่นกับลูก ฝึกให้ลูกหันมองตาม สลับไปสลับมา ลูกจะได้ฝึกการใช้กล้ามเนื้อคอ
  • แขวนของเล่นหรือโมบาย ห่างจากลูกราว 1 ฟุต ให้ลูกมองตาม
  • แม่ต้องเล่น และพูดคุยกับลูก ทำเสียงต่าง ๆ ดึงดูดความสนใจ หรือร้องเพลงให้ลูกฟัง เพื่อฝึกให้ทารกน้อยหันคอไปมา

 

ลูก 6 เดือน ยังไม่คว่ำ

สัญญาณที่บ่งบอกว่าทารกวัย 6 เดือนมีพัฒนาการผิดปกติ

บทความ : อยากรู้ว่าพัฒนาการทารกผิดปกติ! เช็กได้จากสัญญาณเหล่านี้

  • ไม่พลิกคว่ำหงาย อาจมีปัญหาที่ระบบประสาทหรือกล้ามเนื้อ
  • ยังยันตัวเองขึ้นจากท่านอนคว่ำไม่ได้
  • ใช้ท่านั่งเป็นรูป W มีขาเหยียดเกร็ง เวลาคืบคลาน อาจเกิดปัญหา กล้ามเนื้อเกร็งผิดปกติ
  • ยังไม่คว้าของเล่น หรือเอื้อมมือหยิบจับ อาจส่งผลให้มีความผิดปกติ ในการมองเห็น การเรียนรู้ และด้านกล้ามเนื้อมัดเล็กตามมาได้
  • ยังไม่หันตามเสียงเรียก หรือสนใจมองตามฟังเสียงคนพูด อาจมีความผิดปกติในการได้ยิน และความเข้าใจด้านภาษา
  • ยังไม่ส่งเสียงอ้อแอ้ ไม่ยิ้ม ไม่หัวเราะ อาจมีปัญหาด้านการมองเห็น
  • ยังไม่มีอาการกลัวคนแปลกหน้า ซึ่งเป็นไปได้ว่า อาจเกิดจากการมีคนเลี้ยงหลายคน ทำให้ไม่เกิดความผูกพันใกล้ชิดกับแม่ หรือคนที่เลี้ยงคนใดเพียงคนเดียว

หากกังวลว่าลูกจะมีพัฒนาการช้า หรือแม้กระทั่งรู้สึกไม่สบายใจ คุณแม่สามารถปรึกษา กุมารแพทย์ระบบประสาท กุมารแพทย์พัฒนาการและพฤติกรรม หรือนักกายภาพบำบัดที่เชี่ยวชาญในเด็ก เพื่อที่จะหาคำตอบได้อย่างถูกต้องที่สุด และพัฒนาลูกให้เติบโตได้อย่างสมวัย

 

อ้างอิง

babyscience.info

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

ทารกคอแข็งกี่เดือน ไขข้อข้องใจ? เมื่อใดทารกเริ่มชันคอ

พัฒนาการทารก ทารกแรกเกิด 1 เดือนถึง 1 ปี มีพัฒนาการอะไรบ้าง

ลูกไม่พลิกคว่ำ อาจเป็นโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง SMA

บทความจากพันธมิตร
รวม 5 ที่เรียนภาษาอังกฤษระดับแนวหน้า ตอบโจทย์ทุกช่วงวัย พร้อมเทคนิคเรียนดีที่ไม่ควรพลาด!
รวม 5 ที่เรียนภาษาอังกฤษระดับแนวหน้า ตอบโจทย์ทุกช่วงวัย พร้อมเทคนิคเรียนดีที่ไม่ควรพลาด!
เปิดโอกาสให้ลูกได้ค้นหาตัวเอง ด้วยเทคนิคการเรียนแบบ Home School
เปิดโอกาสให้ลูกได้ค้นหาตัวเอง ด้วยเทคนิคการเรียนแบบ Home School
LPR โพรไบโอติก เกรด A กระตุ้นภูมิคุ้มกันให้ลูกรักแข็งแรงพร้อมเรียนรู้
LPR โพรไบโอติก เกรด A กระตุ้นภูมิคุ้มกันให้ลูกรักแข็งแรงพร้อมเรียนรู้
แม่รู้ไหม? พัฒนาการสมอง ของลูกเกิดขึ้นได้ทั้งกลางวันและกลางคืน เสริมด้วย สารอาหารสมอง และการนอนอย่างมีคุณภาพ
แม่รู้ไหม? พัฒนาการสมอง ของลูกเกิดขึ้นได้ทั้งกลางวันและกลางคืน เสริมด้วย สารอาหารสมอง และการนอนอย่างมีคุณภาพ

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

Tulya

  • หน้าแรก
  • /
  • พัฒนาการลูก
  • /
  • ลูก 6 เดือน ยังไม่คว่ำ พัฒนาการช้าเกินไปไหม ผิดปกติหรือเปล่า
แชร์ :
  • เกิดอะไรขึ้นบ้าง เมื่อลูกอายุ 6 เดือน

    เกิดอะไรขึ้นบ้าง เมื่อลูกอายุ 6 เดือน

  • ป้อนอาหารทารก ต่ำกว่า 6 เดือน ความเชื่อโบราณที่แม่ไม่ควรเสี่ยง

    ป้อนอาหารทารก ต่ำกว่า 6 เดือน ความเชื่อโบราณที่แม่ไม่ควรเสี่ยง

  • 8 วิธีง่าย ๆ อยากให้ลูกเก่งภาษาอังกฤษ พ่อแม่ไม่เก่งก็ฝึกลูกได้

    8 วิธีง่าย ๆ อยากให้ลูกเก่งภาษาอังกฤษ พ่อแม่ไม่เก่งก็ฝึกลูกได้

  • ลูกเหงื่อออกตอนนอน สัญญาณโรคร้ายที่พ่อแม่ต้องระวัง

    ลูกเหงื่อออกตอนนอน สัญญาณโรคร้ายที่พ่อแม่ต้องระวัง

  • เกิดอะไรขึ้นบ้าง เมื่อลูกอายุ 6 เดือน

    เกิดอะไรขึ้นบ้าง เมื่อลูกอายุ 6 เดือน

  • ป้อนอาหารทารก ต่ำกว่า 6 เดือน ความเชื่อโบราณที่แม่ไม่ควรเสี่ยง

    ป้อนอาหารทารก ต่ำกว่า 6 เดือน ความเชื่อโบราณที่แม่ไม่ควรเสี่ยง

  • 8 วิธีง่าย ๆ อยากให้ลูกเก่งภาษาอังกฤษ พ่อแม่ไม่เก่งก็ฝึกลูกได้

    8 วิธีง่าย ๆ อยากให้ลูกเก่งภาษาอังกฤษ พ่อแม่ไม่เก่งก็ฝึกลูกได้

  • ลูกเหงื่อออกตอนนอน สัญญาณโรคร้ายที่พ่อแม่ต้องระวัง

    ลูกเหงื่อออกตอนนอน สัญญาณโรคร้ายที่พ่อแม่ต้องระวัง

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
    • ก่อนตั้งครรภ์
    • การคลอด
    • ระยะการตั้งครรภ์
    • การคลอด
  • พัฒนาการลูก
    • ทารก
    • เด็กก่อนเข้าเรียน
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • การวางแผนการเงิน
    • การเลี้ยงลูก
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • นมแม่และนมผง
  • โภชนาการ
    • สินค้าเด็ก
    • นมผง
    • เมนูอาหาร
    • สินค้าแม่
  • เพิ่มเติม
    • TAP สังคมออนไลน์
    • ติดต่อโฆษณา
    • ติดต่อเรา
    • Influencer Marketing (KOL)
    • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Sri-Lanka flag Sri Lanka
  • India flag India
  • Vietnam flag Vietnam
  • Australia flag Australia
  • Japan flag Japan
  • Nigeria flag Nigeria
  • Kenya flag Kenya
© Copyright theAsianparent 2023. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

theAsianparent heart icon
เราต้องการส่งแจ้งเตือนข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการดูแลทารกและสุขภาพไปให้กับคุณ