ระวัง! ใช้ตะเกียบคีบเนื้อดิบ โดยไม่เปลี่ยนอัน เสี่ยงหูหนวกถาวร
แพทย์ออกโรงเตือนแล้ว ระวัง! ใช้ตะเกียบคีบเนื้อดิบ โดยไม่เปลี่ยนอัน เสี่ยงหูหนวกถาวร เมื่อการใช้ตะเกียบคีบเนื้อดิบ อาจเสี่ยงทำให้เป็นโรคหูหนวกถาวรได้
แพทย์ออกเตือนคนชอบกินหมูกะทะ ปิ้งย่าง ชาบู สุกี้ หรือจิ้มจุ่ม อาจะเสี่ยงต่อการเกิดโรคต่าง ๆ ตามมาได้
คนส่วนใหญ่เวลารับประทานอาหารประเภทตามที่กล่าวมา ก็มักจะเคยชินกับการใช้ตะเกียบคีบเนื้อดิบลงหม้อ หรือลงเตา จากนั้น ก็ใช้ตะเกียบอันเดิมนี่แหละ คีบเข้าปาก หารู้ไม่ว่าพฤติกรรมดังกล่าว อาจจะนำไปสู่อันตรายถึงแก่ชีวิตได้ นั่นเป็นเพราะเชื้อโรค หรือพยาธิต่าง ๆ นั้น มักจะติดมากับตะเกียบหรือภาชนะอื่น ๆ และเข้าสู่ร่างกายของมนุษย์อย่างเรา ๆ
และเมื่อรับประทานเนื้อหมูดิบหรือปรุงไม่สุข ก็จะมีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อต่าง ๆ ยกตัวอย่างเช่น การติดเชื้อพยาธิ ทำให้เกิดอาการปวดท้อง ท้องเสีย รวมถึงมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคติดเชื้อเยื่อหุ้มสมองอักเสบชนิดหนึ่งที่เราเรียกว่า โรคไข้หูดับ นั่นเอง
โรคไข้หูดับคืออะไร
โรคไข้หูดับ หรือ โรคติดเชื้อสเตรปโตคอกคัส ซูอิส (Streptococcus suis) เป็นโรคติดต่อจากสัตว์สู่คน (Zoonotic infectious disease) ซึ่งในโรคนี้เป็นการติดต่อจากหมู/สุกรสู่คน โรคไข้หูดับเป็นโรคที่พบได้ประปรายทั่วโลก โดยมักพบในประเทศที่มีการเลี้ยงหมูเป็นอุตสาหกรรม และในปี พ.ศ. 2548 พบมีการระบาดครั้งใหญ่ในประเทศจีน มีผู้ติดเชื้อทั้งหมดประมาณ 100 คน ซึ่งในชั้นต้นของการระบาดครั้งนี้ มีการเสียชีวิตมากกว่า 20 คน
โรคไข้หูดับ พบได้ในทุกกลุ่มอายุ ตั้งแต่เด็กจนถึงผู้สูงอายุแต่ทั้งนี้ เกือบทั้งหมดจะพบโรคเกิดในผู้ ใหญ่ โดยพบในเพศชายสูงกว่าในเพศหญิง อาจเพราะเพศชายทำงานสัมผัสกับหมูมากกว่าเพศหญิง
ในประเทศไทยมีรายงานโรคนี้ครั้งแรกในผู้ป่วย 2 คนในปี พ.ศ. 2530 และยังมีรายงานพบโรคไข้หูดับในอายุน้อยที่สุด คือ ในเด็กอายุ 1 เดือน 1 ราย และพบว่า ประมาณ 88% ของผู้ป่วย ดื่มสุราร่วมด้วย ซึ่งอาจเกี่ยวกับคนดื่มสุรามักกินหมูสุกๆดิบๆซึ่งเป็นปัจจัยเสี่ยงหนึ่งต่อการติดเชื้อโรคนี้
การติดเชื้อสู่คน
วิธีรักษาอาการปวดหัว
การติดเชื้อไข้หูดับไม่ได้เกิดจากระบบการหายใจ แต่เป็นการติดเชื้อผ่านบาดแผลตามร่างกาย (บางครั้งเราอาจไม่รู้ตัวว่ามีบาดแผลก็ได้) หรือเข้าทางเยื่อบุตา ผู้ที่ติดเชื้อมักมีอาชีพเกี่ยวกับการเลี้ยงหมู ทำงานในโรงงานชำแหละหมู หรือผู้สัมผัสกับสารคัดหลั่งของหมู เช่น น้ำมูก น้ำลาย และผู้ที่มีความเสี่ยง หมายรวมถึงผู้จำหน่าย หรือผู้ที่รับประทานเนื้อหมูดิบ หรือดิบๆสุกๆ
โรคนี้ระบาดอยู่ในหลายประเทศที่มีการเลี้ยงหมูรวมทั้งประเทศไทย มักพบในชุมชนที่มีการเลี้ยงหมู ในภาคเหนือ เช่น เชียงใหม่ แพร่ และน่าน
มีรายงานความเสี่ยงการติดโรคนี้มากขึ้น ในผู้ที่มีภูมิคุ้มกันต้านทานโรคของร่างกายอ่อนแอ เช่น ผู้ที่เคยตัดม้ามออก ผู้ป่วยโรคเบาหวาน ผู้ป่วยติดสุราเรื้อรัง ผู้ป่วยโรคมะเร็ง หรือโรคหัวใจ
จากรายงานที่มีการรวบรวมทั่วโลกพบว่า การติดเชื้อพบในผู้ใหญ่เกือบทั้งสิ้น อายุที่พบจากการศึกษาในประเทศไทย เฉพาะในปี พ.ศ. 2554 พบว่าเกิดโรคอยู่ระหว่างอายุ 29-82 ปี
อาการของโรค
ผู้ป่วยโรคนี้ จะมีอาการไข้สูง และมีอาการเยื้อหุ้มสมองอักเสบ ได้แก่ ปวดศรีษะอย่างรุนแรง คอแข็งเกร็ง ระดับความรู้สึกตัวลดลง บางรายอาจมีอาการติดเชื้อที่เยื่อบุหัวใจ การติดเชื้อในข้อ รวมถึงการติดเชื้อในกระแสโลหิต ซึ่งอาจทำให้เป็นอันตรายถึงแก่ชีวิตได้
นอกจากนี้ ผู้ป่วยส่วนใหญ่นั้นก็มักจะมีภาวะแทรกซ้อนจากการติดเชื้อเส้นประสาทหู ทำให้สูญเสียการได้ยินหรือหูดับ รวมถึงมีปัญหาทางทรงตัวด้วย
ดังนั้น หากพบว่าตัวเองหรือลูกหลานมีอาการดังกล่าว หลังจากที่สัมผัสหมูหรือมีประวัติชอบรับประทานเนื้อหมูแบบสุก ๆ ดิบ ๆ ก็ควรรีบพบแพทย์ เพื่อเข้ารับการตรวจวินิจฉัยโดยเร็ว เพราะถ้าหากได้รับการรักษาได้ทันท่วงที ก็จะสามารถหายขาดได้ แต่ถ้าหากรักษาล่าช้า ก็อาจเป็นอันตรายถึงแก่ชีวิตหรือเกิดภาวะแทรกซ้อนได้ ทั้งนี้แม้ว่าผู้ป่วยจะได้จากการเป็นโรคหูดับแล้ว แต่อาหารหูดับ ก็อาจจะยังคงอยู่ ทำให้เกิดอาการหูหนวกถาวรได้
เพื่อสุขภาพที่ดีของทุกคนในครอบครัว อย่าลืมที่จะรับประทานอาหารที่ปรุงสุกอยู่เสมอนะคะ และหลีกเลี่ยงการใช้อุปกรณ์ที่คีบอาหารและนำอาหารเข้าปากร่วมกัน ยกตัวอย่างเช่น ตะเกียบ เป็นต้นนะคะ
วิธีการรักษา
การรักษาไข้หูดับ คือการให้ยาปฏิชีวนะในกลุ่มยาเพนนิซิลลิน (Penicillin) หรือยาเซฟไตร อะโซน (Ceftriaxone) เข้าหลอดเลือดดำ ในรายที่แพ้ยาดังกล่าวอาจใช้ยา แวนโคมัยซิน (Van comycin) ทั้งนี้เชื้อมักดื้อต่อยา อีรีโทรมัยซิน (Erythromycin) หรือยาซัลฟา(Sulfa-group)
แต่อย่างไรก็ตาม ผู้ป่วยบางคนที่รอดชีวิตมา ยังอาจมีความผิดปกติหลงเหลืออยู่ เช่น ความผิดปกติในการทรงตัว เนื่องจากเชื้อได้เข้าไปทำลายเยื่อหุ้มสมอง หรือหากเชื้อเข้าปลายระบบประสาทตา จะทำให้ม่านตาอักเสบ ลูกตาฝ่อ หรือตาบอดได้ นอกจากนี้ผู้ป่วยบางคนยังอาจเป็นอัมพาตครึ่งซีกได้เช่นกัน
วิธีการป้องกัน
อาหาร สำหรับคนท้อง อาหาร บํารุงครรภ์ไตรมาส2 อาหาร ที่แม่ท้องควรกิน!
การป้องกันไข้หูดับทำได้โดย
1. สวมรองเท้าบู๊ต สวมถุงมือ สวมเสื้อผ้าที่รัดกุม ระหว่างปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับหมู/สุกรทุกขั้นตอน จะป้องกันการแพร่เชื้อจากสุกรมาสู่คนได้
2. ล้างมือ ล้างเท้า ล้างตัวให้สะอาดหลังการสัมผัสสุกร และเนื้อสุกร
3. เมื่อเกิดแผลต้องระวังในการสัมผัสสุกร
4. กำจัดเชื้อจากฟาร์ม โดยการเลี้ยงหมูตามคำแนะนำของสัตวแพทย์ เพื่อป้องกันการติดเชื้อของหมู
5. ไม่รับระทานเนื้อหมูที่ไม่สุกดี เช่น จิ้มจุ่มที่ต้มไม่สุกพอ หรือ ลาบสุกๆดิบๆ เป็นต้น
6. ไม่กินหมูที่ป่วย หรือหมูตายจากโรค
ที่มา: 1
บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ:
ใช้เครื่องสำอางอย่างไรให้ปลอดภัยทั้งแม่และลูกในท้อง
ภัยเงียบมะเร็งปากมดลูกอันตรายใกล้ตัวคุณ
https://www.hiso.or.th
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!