หลาย ๆ คนอาจจะคิดว่ายา 2 ชนิดนี้เหมือนกัน แต่ความจริงแล้วไม่ใช่อย่างนั้น ยาแก้แพ้ กับ ยาลดน้ำมูก ยาไรโนแท็ป ยาลดน้ํามูก ต่างกันยังไง ยาลดน้ำมูกไม่ง่วง มีหรือไม่ ติดตามอ่านได้ที่นี่
ยาลดน้ำมูกในเด็ก ยาแก้แพ้อากาศ ยาลดน้ำมูก 7-11 ยาลดน้ำมูก
แม่ : พ่อจ๊ะ วันนี้ที่พ่อพาลูกไปหาหมอๆว่ายังไงบ้าง ได้ยาอะไรมาบ้างจ๊ะ เฮ้อ! เปิดเทอมปุ๊บติดหวัดเพื่อนมาปั๊บเลยลูกแม่
พ่อ : หมอบอกว่าลูกไม่เป็นอะไรมากจ้า แค่เป็นหวัดมีน้ำมูกนิดหน่อย เลยสั่งยาลดน้ำมูกมาให้
แม่ : เอ! งงจัง แต่ตอนเป็นหวัดช่วงอากาศเย็นคราวที่แล้วหมอเค้าให้ยาแก้แพ้มา มันเหมือนกันไหมพ่อ
ยาแก้แพ้ ลดน้ำมูก ยาแก้แพ้อากาศ ยาไรโนแท็ป เยาลดน้ำมูก 7-11 หมือนกันไหม?
ขอยกมือตอบให้แทนคุณพ่อว่าไม่เหมือนกันซะทีเดียวค่ะ สาเหตุที่ทำให้น้ำมูกไหลส่วนใหญ่จะมีได้ 2 สาเหตุ คือ
“โรคหวัดจากการติดเชื้อไวรัส” ซึ่งมักมีอาการ
ไข้ ตัวร้อน ปวดหัว อ่อนเพลีย ครั่นเนื้อครั่นตัว เบื่ออาหาร ร่วมกับอาการหวัด คือ อาการน้ำมูกไหล คัดจมูก และจาม กับอีกสาเหตุคือ
“โรคจมูกอักเสบจากภูมิแพ้” ซึ่งเกิดจากการสัมผัสกับสารที่ทำให้เกิดการแพ้ เช่น ฝุ่นละออง เกสรดอกไม้ หรือสัมผัสอากาศเย็น เป็นต้น ร่างกายจึงตอบสนองด้วยการหลั่งฮีสตามีน (histamine) ทำให้เกิดอาการต่างๆ เช่น มีผื่นคัน หายใจลำบาก คันจมูก รวมทั้งน้ำมูกไหล มักมีอาการเป็นๆ หาย ๆ
ยาในการรักษาอาการน้ำมูกไหล หรือคนทั่วไปเรียกกันสั้นๆ ว่า “ยาลดน้ำมูก” นั้น มี 2 กลุ่มใหญ่
1. ยาต้านฮีสตามีน (antihistamines)
2. ยาลดการคั่งของน้ำมูก (decongestants)
โดย “ยาแก้แพ้” ที่มักเรียกกัน ก็จะหมายถึงยาต้านฮีสตามีนนั่นเอง
ยาแก้แพ้ลดน้ำมูกยาลดน้ำมูกในเด็ก ยาต้านฮีสตามีน (antihistamines)
เป็นยาที่ยับยั้งการออกฤทธิ์ของฮีสตามีนซึ่งหลั่งเมื่อเกิดอาการแพ้ โดยในปัจจุบันมีอยู่หลายชนิด ซึ่งแบ่งได้เป็น 2 รุ่น คือ รุ่นเก่า ที่มีผลข้างเคียงทำให้ง่วง และ รุ่นใหม่ ที่ไม่ทำให้ง่วงนอนหรือทำให้ง่วงน้อยลงมาก
ยาลดน้ำมูก สำหรับยาแก้แพ้รุ่นเก่า ยาแก้หวัดยี่ห้อไหนดี
ยาลดน้ำมูก ยกตัวอย่างเช่น คลอเฟนิรามีน บรอมเฟนิรามีน นอกจากจะสามารถยับยั้งการทำงานของฮิสตามีนแล้ว ยังมีฤทธิ์ยับยั้งการทำงานของสารสื่อประสาทอะเซทิลโคลีนที่ทำให้ต่อมภายในโพรงจมูกหลั่งน้ำมูก (ฤทธิ์ต้านโคลิเนอร์จิก) ทำให้น้ำมูกลดลง จึงสามารถใช้บรรเทาอาการน้ำมูกไหลจากทั้งสาเหตุไข้หวัดและอาการแพ้ได้ และเนื่องจากยาในกลุ่มนี้สามารถผ่านเข้าสู่สมองไปกดระบบประสาท ทำให้เกิดผลข้างเคียงที่สำคัญ คือมีอาการง่วงซึม และอาจพบอาการข้างเคียงอื่นๆ ได้อีก เช่น ปากแห้ง คอแห้ง ตาพร่า ท้องผูก ปัสสาวะคั่ง
คู่มือการใช้ยาอย่างสมเหตุสมผลตามบัญชียาหลักแห่งชาติจึงไม่แนะนําให้นำยารุ่นนี้มาใช้บรรเทาอาการหวัดในเด็กทั่วไปเพราะไม่มีหลักฐานว่าได้ผลและยังมีผลข้างเคียงอื่น ๆ เช่น ซึม ชัก เป็นต้น นอกจากนี้ยังทำให้เสมหะข้นเหนียวขึ้นซึ่งอาจอุดกั้นทางเดินหายใจได้ ซึ่งปัจจุบันองค์การด้านยาของประเทศต่าง ๆ หลายประเทศได้ออกประกาศยกเลิกการใช้ยากลุ่มนี้กับเด็กอายุต่ำกว่า 2 ขวบ (สหรัฐอเมริกา) หรือ 6 ขวบ (แคนาดา อังกฤษ นิวซีแลนด์ และออสเตรเลีย) ด้วยเหตุผลว่าไม่เป็นประโยชน์ในเด็กเล็กแต่อาจเกิดโทษซึ่งอาจเป็นอันตรายร้ายแรงได้
บทความที่น่าสนใจ : เผยเกร็ด เคล็ดลับ ล้างจมูก ลูก Happy (มีคลิป)
ส่วนยาแก้แพ้รุ่นใหม่ ยาลดน้ำมูก ยาแก้หวัดยี่ห้อไหนดี
ยกตัวอย่างเช่น ลอราทาดีน เซทิริซีน จะออกฤทธิ์ยับยั้งการทำงานของฮิสตามีนโดยไม่มีฤทธิ์ต้านโคลิเนอร์จิก ทำให้ใช้บรรเทาอาการน้ำมูกไหลจากภูมิแพ้ได้ดี และพบว่ามีผลข้างเคียงต่ำกว่ากลุ่มดั้งเดิม อันได้แก่ อาการปากแห้ง คอแห้ง ตาพร่า ท้องผูก และปัสสาวะคั่ง รวมทั้งยาในกลุ่มนี้สามารถผ่านเข้าสู่สมองได้น้อยกว่าจึงทำให้เกิดผลข้างเคียงง่วงซึมได้น้อยกว่าอีกด้วย อย่างไรก็ตามจากการที่ผลของยาต่อการลดน้ำมูกในโรคหวัดสัมพันธ์กับฤทธิ์ต้านโคลิเนอร์จิกของยา ดังนั้นขณะที่ยาต้านฮิสตามีนรุ่นเก่าสามารถลดน้ำมูกในโรคหวัดลงได้ร้อยละ 25-30 แต่ยาต้านฮิสตามีนรุ่นใหม่นี้ไม่มีผลต่อการบรรเทาอาการของโรคหวัด
อ่านบทความนี้แล้วคงจะช่วยให้คุณพ่อคุณแม่แยกเข้าใจยากลุ่มนี้ได้มากขึ้นและเห็นข้อดีข้อเสียของยาทั้ง 2 กลุ่ม ซึ่งการที่คุณหมอจะสั่งยาตัวใดในกลุ่มนี้ให้ก็จะพิจารณาแต่ละครั้ง ว่าเกิดจากสาเหตุใด บางครั้งอาจเป็นโรคจมูกอักเสบจากภูมิแพ้ บางครั้งอาจเกิดจากเป็นหวัดติดเชื้อไวรัสก็ได้ ถ้าอาการมีน้ำมูกของลูกน้อยไม่ได้รุนแรงมากนักอยากแนะนำให้แก้ไขปัญหาอาการหวัดได้ด้วยการดูแลรักษาเบื้องต้นดังนี้ก่อนค่ะ
– ในเด็กเล็กที่มีน้ำมูกมาก แนะนำให้ผู้ปกครองช่วยดูดออก หรือใช้ไม้พันสำลี หรือผ้านุ่มที่ม้วนปลายแหลมสอดเข้าไปซับน้ำมูก หรือดูดออกโดยใช้ลูกยางแดง ส่วนในเด็กโตสอนให้สั่งน้ำมูกเอง
– หากเด็กคัดจมูกหรือมีน้ำมูกข้นเหนียวแห้งกรังในรูจมูกจนหายใจลำบาก ให้หยอดด้วย น้ำเกลือ(0.9% Normal Saline) ข้างละ 1 – 2 หยด หรือใช้ไม้พันสำลี หรือผ้านุ่มที่ม้วนปลายแหลมชุบน้ำอุ่น หรือน้ำเกลือสอดเข้ารูจมูก เพื่อให้น้ำมูกเปียกและอ่อนตัว เอาออกได้ง่ายขึ้น เด็กจะหายใจโล่งขึ้น
อย่างไรก็ตามคุณพ่อคุณแม่ก็ต้องอย่าชะล่าใจหากเห็นลักษณะอาการต่าง ๆ ซึ่งบ่งว่าอาจมีภาวะแทรกซ้อน ได้แก่ อาการหายใจเร็วหรือหอบ หายใจลำบาก ไม่ดื่มนมและน้ำ ซึม หรือดูป่วยมากขึ้น ควรรีบพาลูกน้อยมาปรึกษาแพทย์ทันทีนะคะ
บทความที่น่าสนใจอื่นๆ :
ถูกไหมน้า? เป็นหวัดเจ็บคอ กินยาแก้อักเสบกันไว้
10 อาหารต้านหวัดให้ลูกน้อยไม่ป่วยบ่อย
คัดจมูก ลูกคัดจมูกทำไงดี อาหารชนิดไหนช่วยลดอาการคัดจมูกได้บ้าง
ที่มา : thaipediatrics, drug.fda.moph, pharmacy.mahido
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!