25 วิธีสังเกตว่าท้องหรือไม่ อาการแบบไหนที่บอกว่าคุณท้อง

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

คุณรู้หรือไม่ว่า วิธีสังเกตว่าท้องหรือไม่ ดูได้จากแบบไหน อาการแบบไหนบ้าง ที่เป็นอาการของคนท้อง คลื่นไส้ อาเจียน และอาการอื่นที่อาจจะเกิดขึ้นกับคุณ คุณมีอาการเหล่านี้หรือไม่ลองสังเกตอาการของตัวเองดู

 

วิธีสังเกตว่าท้อง หรือไม่ อาการทั่วไปของคนที่อาจจะตั้งท้อง

1. ประจำเดือนไม่มา

วิธีสังเกตว่าท้องหรือไม่ ถ้าคุณอยู่ในช่วงอายุที่สามารถตั้งท้องได้ แล้วประจำเดือนคุณไม่มา หลายสัปดาห์ก็แล้ว ไม่มาตามที่กำหนดสักที คุณอาจจะท้องก็เป็นได้ อย่างไรก็ตามการที่ประจำเดือนไม่มา ก็ไม่ได้การันตีเสมอไป ว่าคุณกำลังตั้งครรภ์ บางทีอาจจะเป็นเพียงแค่ประจำเดือนมาไม่ปกติ ก็เป็นได้

 

2. หน้าอกนุ่ม หรือ ขยาย

ในช่วงแรกของการตั้งครรภ์ ฮอร์โมนของคุณอาจจะมีการเปลี่ยนแปลง ทำให้หน้าอกมีความอ่อนต่อสิ่งเร้า หรือมีอาการปวด อาการนี้อาจจะสร้างความรำคาญให้กับคุณได้ แต่อาการนี้จะค่อย ๆ บรรเทาลงไป เมื่อร่างกายของคุณปรับตัวเข้ากับร่างกายได้แล้ว

 

3. คลื่นไส้ อาเจียน

วิธีสังเกตว่าท้องหรือไม่ อาการที่เรียกว่าแพ้ท้อง สามารถเกิดขึ้นตอนไหนก็ได้ ไม่ว่าจะเป็นต่อกลางวัน หรือ ตอนกลางคืน มันมักจะเกิดขึ้นในช่วงเวลาประมาณ 1 เดือนหลังจากที่คุณตั้งครรภ์ อย่างไรก็ตาม ผู้หญิงบางคนอาจจะมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน ก่อนหน้านั้น หรือ ไม่มีอาการเลยก็เกิดขึ้นได้เช่นกัน ต้นเหตุของการเกิดอาการคลื่นไส้ ระหว่างตั้งครรภ์นั้น ยังไม่มีคำตอบที่แน่นอน แต่คาดว่าน่าจะเกี่ยวข้องกับฮอร์โมน

บทความที่เกี่ยวข้อง : อาการคลื่นไส้คนท้อง เกิดจากอะไร มีวิธีบรรเทาอาการอย่างไรบ้าง

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

4. ปัสสาวะบ่อยขึ้น

เป็นเพราะในระหว่างตั้งครรภ์  มดลูกจะขยายใหญ่ขึ้นเรื่อย ๆ จนกดทับกระเพาะปัสสาวะ ส่งผลให้แม่ท้องรู้สึกปวดปัสสาวะบ่อยขึ้น ส่วนใหญ่อาการนี้จะเป็นตั้งแต่ช่วงต้นของการตั้งครรภ์ เพราะมดลูกจะขยายใหญ่ขึ้นอย่างรวดเร็ว จึงเป็นหนึ่งเหตุผลที่ว่า ทำไมคนท้องปัสสาวะบ่อย นั่นเอง นอกจากนั้น ในระหว่างตั้งครรภ์ปริมาณของเหลวในร่างกาย ก็จะเพิ่มมากขึ้น เพราะแม่ท้องจะรับประทานอาหาร และดื่มน้ำมากขึ้นกว่าเดิม ทำให้ไตทำงานหนักขึ้น  ซึ่งจะทำให้มีการผลิตปัสสาวะ เพื่อนำของเสียออกจากร่างกายมากขึ้นเช่นกัน

อย่างไรก็ตาม อาการปัสสาวะบ่อยถือเป็นเรื่องปกติ เมื่อคุณแม่รู้สึกว่าปวดปัสสาวะขึ้นมา ก็ควรเข้าห้องน้ำทุกครั้ง ไม่ควรกลั้นปัสสาวะนะ เพราะอาจทำให้กระเพาะปัสสาวะอักเสบได้ และแม้ว่าการที่แม่ท้องปัสสาวะบ่อย อาจทำให้แม่ท้องเกิดความรำคาญ และไม่อยากเข้าห้องน้ำบ่อย ๆ จึงทำให้ดื่มน้ำน้อยลง ซึ่งนั่นเป็นสิ่งที่ไม่ถูกต้อง เพราะการดื่มน้ำน้อยลง อาจทำให้ร่างกายของคุณแม่ขาดน้ำ ซึ่งจะส่งผลเสียต่อลูกในครรภ์ได้ ดังนั้นคุณแม่จึงควรดื่มน้ำให้ได้วันละ 1.5 – 2 ลิตรต่อวัน

 

5. เหนื่อยล้า

หนึ่งในอาการการท้องสิ่งที่ทุกคนมักจะต้องเจอ คือ อาการเหนื่อยล้า ฮอร์โมนที่มีชื่อว่า progesterone จะพุ่งขึ้นสูงมาก ทำให้คุณรู้สึกง่วงเหงาหาวนอนตลอดเวลา

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

6. อารมณ์ขึ้น ๆ ลง ๆ

วิธีสังเกตว่าท้องหรือไม่ ฮอร์โมนจำนวนมากจะหลังไหล่ในร่างกายช่วงที่คุณตั้งครรภ์ ทำให้คุณอารมณ์ขึ้น ๆ ลง ๆ โกรธ ร้องไห้ เป็นเรื่องปกติ

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

7. มีอาการบวม

เช่นเดียวกันกับอาการตั้งครรภ์หลาย ๆ อย่างที่เกิดขึ้นจากฮอร์โมน คุณอาจจะรู้สึกว่าตัวเองตัวบวมขึ้น คล้าย ๆ กับเวลาก่อนที่คุณจะมีประจำเดือน

 

8. เลือดออกเล็กน้อย

หนึ่งในสัญญาณที่บอกว่าคุณจะท้อง คืออาการเลือดออก ซึ่งมักจะเป็นหนึ่งในอาการที่เกิดขึ้นแรก ๆ เป็นการส่งสัญญาณของการตั้งครรภ์ เมื่อไข่ที่ได้รับการปฏิสนธิ และฝังตัวลงในผนังมดลูกแล้ว หลังจากนั้น 10 - 14 วัน ก็จะมีเลือดสีอ่อน ๆ ออกมา คล้าย ๆ กับเป็นประจำเดือน สำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์ ประมาณ 1 ใน 4  ก็จะมีอาการเลือดออกเล็กน้อย และ ประมาณ 8 % เท่านั้น ที่มีอาการเลือดออกหนักหน่วง ประมาณ 3 วัน อาการเหล่านี้ เกิดขึ้นในช่วงระยะแรกของการตั้งครรภ์ ประมาณสัปดาห์ที่ 5 - 8

 

9. ตะคริว

ว่าที่คุณแม่ทั้งหลาย อาจจะประสบกับอาการตะคริวเล็กน้อยในช่วงบริเวณมดลูก ในช่วงสัปดาห์แรก ๆ อาการปวดตะคริวนี้คล้าย ๆ กับการปวดท้องประจำเดือน ถือเป็นเรื่องปกติ แต่หากว่าที่คุณแม่เป็นกังวลแล้วล่ะก็ ลองปรึกษาคุณหมอดูนะคะ

บทความที่เกี่ยวข้อง : ตะคริวที่ท้องขณะตั้งครรภ์ เป็นได้ยังไง แก้ยังไงให้หาย?

 

 

10. ท้องผูก

อาการท้องผูกเกิดจากการที่ฮอร์โมนทำให้ระบบย่อยทำงานได้ช้าลง

 

11. ไม่อยากอาหาร

เมื่อคุณท้อง คุณอาจจะอ่อนไหวต่อกลิ่นหรือสัมผัสบางอย่าง อาจจะเปลี่ยนไปไม่เหมือนตอนที่คุณไม่ได้ท้อง อาการเหล่านี้จะทำให้คุณเบื่อและไม่มีความอยากอาหาร

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

12. ปวดท้องน้อย

แม่ท้องหลายคน มักมีอาการปวดหน่วงบริเวณท้องน้อย หรือมีอาการคล้ายกับเป็นตะคริวช่วงท้องน้อย อาจเกิดจากการที่มดลูกเริ่มขยายตัว เพื่อรองรับการเจริญเติบโตของลูกน้อย ทำให้คุณแม่รู้สึกปวดหน่วงและปวดท้องน้อยเหมือนกับเป็นตะคริว

 

 

13. เต้านมมีการเปลี่ยนแปลง

ในช่วงแรก คุณแม่อาจสังเกตได้ว่าเต้านมและหัวนมมีการเปลี่ยนแปลง เต้านมอาจบวม อ่อนไหว เปราะบาง และอาจรู้สึกเสียวแปลก ๆ รวมถึงมีอาการคัดเต้านม บริเวณรอบหัวนมมีสีคล้ำขึ้น และขยายใหญ่ขึ้น นอกจากนี้ คุณแม่ยังอาจพบหลอดเลือดบริเวณรอบ ๆ เต้านมที่นูนขึ้น และมีตุ่มเล็ก ๆ รอบหัวนม

 

14. ท้องอืด

เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนในร่างกาย ทำให้คุณแม่รู้สึกอึดอัด แน่นท้อง และเกิดอาการท้องอืดได้ ซึ่งอาการท้องอืด จะมีลักษณะเหมือนกับมีประจำเดือนในช่วงแรก

 

15. อุณหภูมิในร่างกายมีการเปลี่ยนแปลง

เมื่อเริ่มตั้งครรภ์ ร่างกายจะมีอุณหภูมิที่สูงขึ้น เพื่อให้พร้อมสำหรับการเจริญเติบโตของลูกน้อย คุณแม่อาจรู้สึกว่ามีไข้ในตอนเย็น แต่ก็ไม่เป็นอันตรายใด ๆ ควรดื่มน้ำให้มาก และพักผ่อนให้เพียงพอ เพื่อช่วยให้อาการดีขึ้น

บทความที่เกี่ยวข้อง : 100 สิ่งที่คุณแม่หลังคลอดต้องรู้ ตอนที่ 33 ทำไมถึง รู้สึกหนาว ทั้ง ๆ ที่อากาศร้อน?

 

 

16. คัดจมูก

เพราะฮอร์โมนในร่างกายมีการเปลี่ยนแปลง ทำให้เยื่อเมือกในโพรงจมูก เกิดอาการแห้ง บวม มีเลือดออกง่าย คุณแม่จึงเกิดอาการคัดจมูก หรือน้ำมูกไหลนั่นเอง

 

17. ตกขาวมากกว่าปกติ

โดยทั่วไปแล้ว อาการตกขาวเป็นเรื่องปกติ แต่เมื่อคุณแม่ตั้งท้องก็จะเริ่มสังเกตว่าตกขาวมีมากกว่าปกติ หรืออาจพบว่ามีตกขาวแทนการมีประจำเดือน แต่ก็เป็นเรื่องปกติ ไม่เป็นอันตรายใด ๆ โดยลักษณะของตกขาวคนท้องนั้น จะไม่มีกลิ่นและไม่รู้สึกคัน 

 

18. รับประทานอาหารไม่ลง

คนท้องมักมีอาการไวต่อกลิ่นและรสสัมผัสมากกว่าปกติ รวมถึงการรับรสอีกด้วย อาหารที่เคยชอบอาจรู้สึกไม่ชอบ หรืออาจได้กลิ่นอาหารบางอย่างจนทำให้รู้สึกไม่อยากอาหาร ซึ่งอาการนี้มักเกิดจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน

 

 

19. ไวต่อกลิ่น

อย่างที่รู้กันดีว่า คนท้องหลายคนมักไวต่อกลิ่น ไม่เพียงแค่กลิ่นอาหารเท่านั้น ยังหมายถึงกลิ่นต่าง ๆ รอบตัว เช่น กลิ่นน้ำหอม กลิ่นสามี หรือสิ่งของต่าง ๆ เป็นต้น

 

20. น้ำลายไหลผิดปกติ

ปกติแล้ว อาการน้ำลายไหลเกิดขึ้นได้ทั่วไป ทั้งคุณแม่ท้องและคนที่ไม่ได้ท้อง เพราะเป็นกลไกธรรมชาติที่ร่างกายขับน้ำลายออกมาเพื่อปกป้องปาก ฟัน และลำคอ แต่สำหรับแม่ท้อง มักจะเกิดขึ้นในช่วงแรกของการตั้งครรภ์ คุณแม่บางคนจึงมีน้ำลายไหลมากผิดปกติ

 

21. ปวดหลัง

อาการปวดหลังมักเกิดขึ้นในช่วงแรกของการตั้งครรภ์ เพราะการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนในร่างกาย ส่งผลต่อไขข้อ เส้นเอ็น และกระดูกเชิงกราน ทำให้คุณแม่เกิดอาการปวดหลังได้

บทความที่เกี่ยวข้อง : คนท้องปวดหลัง เกิดจากสาเหตุใด วิธีแก้ง่าย ๆ ไม่ต้องทนปวดอีกต่อไป

 

 

22. ปวดหัว

โดยทั่วไปแล้ว อาการปวดหัวหรือเวียนศีรษะ เป็นเรื่องปกติที่เกิดขึ้นในช่วงตั้งครรภ์ เพราะการเปลี่ยนแปลงของร่างกาย และปริมาณการไหลเวียนของเลือด ทำให้คุณแม่เกิดอาการปวดหัวได้ง่าย

 

23. หายใจถี่

หลังจากที่คุณแม่ตั้งครรภ์ ร่างกายต้องการออกซิเจนมากขึ้นเพื่อรองรับทารกในครรภ์ แต่บางครั้งก็อาจทำให้คุณแม่หายใจไม่ออก หรือหายใจถี่ ซึ่งบางครั้งก็อาจเกิดการอ่อนเพลีย ทำให้หายใจไม่สะดวก หรือหายใจถี่ในเวลาที่เหนื่อยหรืออ่อนเพลียมาก ๆ

 

24. เป็นสิว

ผู้หญิงหลายคนมักเป็นสิวตอนตั้งครรภ์ เพราะการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนในร่างกาย ส่งผลต่อกระบวนการผลิตไขมันในต่อมใต้ผิวหนัง ทำให้เป็นสิวและมีสิวเห่อได้

 

 

25. รู้สึกถึงรสโลหะในปาก

ช่วงแรกของการตั้งครรภ์ คุณแม่อาจรู้สึกได้ถึงรสโลหะในปาก ซึ่งเกิดจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนในร่างกาย ทำให้รสชาติของอาหารที่คุณแม่รับประทานเข้าไป รู้สึกว่ามีรสโลหะอยู่ในปากเวลารับประทานอาหาร

 

อย่างไรก็ตามอาการเหล่านี้ ไม่ได้เป็นตัวการันตีว่าคุณจะท้อง เพราะความเครียดก็ทำให้เกิดอาการแบบที่เขาเขียนบอกไว้เช่นกัน สิ่งที่จะทำให้คุณมั่นใจได้มากที่สุดว่าคุณต้องท้องก็คือ ซื้อที่ตรวจครรภ์ มาตรวจจะชัวร์ที่สุด

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

อยากท้องทำไงดี ทำไมถึงมีลูกยาก เคลียร์ทุกปัญหาคาใจ พร้อมวิธีแก้ไข

9 อาหารเพิ่มโอกาสการตั้งครรภ์ อาหารทำให้ท้อง อาหารเพิ่มโอกาสท้อง

เคล็ดลับเพิ่มโอกาสการตั้งครรภ์ มีลูกยาก อยากมีลูก ต้องบำรุงร่างกายให้ฟิตปั๋งแค่ไหน?

ที่มา : 1, 2, 3

บทความโดย

Jitawat Jansuwan