หากมีการเตรียมตัวก่อนพาลูกมาสนามบิน จะสามารถลดโอกาสที่เด็กจะ “กลัวเครื่องบิน” ได้อย่างแน่นอน แต่หากไม่สามารถแก้ปัญหาได้ผู้ปกครองควรเลื่อนการเดินทาง หากเป็นธุระสำคัญที่ไม่สามารถเลื่อนนัดได้ อาจต้องเปลี่ยนวิธีการเดินทาง ผู้ปกครองอาจต้องฝากเด็กไว้กับญาติ หรือผู้ที่ไว้ใจก่อน อย่างไรก็ตามปัจจุบันบนเครื่องบินมีอุปกรณ์มากมายที่จะดึงความสนใจของเด็กได้ ดังนั้นสิ่งที่ผู้ปกครองควรทำก่อนมาขึ้นเครื่องคือการเตรียมตัวเท่านั้น
กลัวเครื่องบิน เกิดจากอะไรได้บ้าง
- ความไม่คุ้นเคย : เด็ก ๆ อาจไม่มีประสบการณ์ หรือไม่คุ้นเคยกับเครื่องบินมาก่อน ซึ่งถือว่าเป็นเรื่องปกติที่เด็กจะมีความกังวลกับสิ่งที่ตนเองไม่เคยเจอ หรือไม่เคยทำมาก่อน ทำให้เกิดอาการต่อต้าน แน่นอนว่าเพื่อป้องกันปัญหานี้การเตรียมตัวมาก่อนจึงเป็นเรื่องที่สำคัญอย่างมาก ไม่ควรให้ลูกรู้ว่าตนเองต้องขึ้นเครื่องบินในวันที่เดินทาง
- ความกลัวจากสื่อ และคนรอบข้าง : บางครั้งเด็กอาจเคยเห็น หรือรู้จักเครื่องบินมาก่อน และรู้ว่าเครื่องบินมีบทบาทอย่างไรกับการเดินทาง แต่บุคคลรอบตัวเด็ก หรือการที่เด็กเห็นข่าวในสื่อต่าง ๆ เกี่ยวกับอุบัติเหตุของเครื่องบิน จุดนี้ก็มีส่วนทำให้เด็กเกิดความกลัวหากรู้ว่าตนเองต้องขึ้นเครื่องบินได้เช่นกัน
- ไร้การเตรียมตัวมาก่อน : ปัจจัยหลายอย่างที่เกิดขึ้นสามารถป้องกันได้จากการเตรียมตัว หากปล่อยให้เด็กเกิดความเข้าใจผิด หรือรู้ว่าเด็กกลัวแต่ตั้งใจไม่บอก อาจเป็นปัญหาใหญ่ในภายหลังซึ่งเกี่ยวข้องกับความรู้สึกของเด็ก และการมีอคติต่อการ ขึ้นเครื่องบิน
นอกจากนี้ยังมีโรคสำคัญโรคหนึ่งที่เป็นสาเหตุของเด็กทำให้ไม่กล้าที่จะขึ้นเครื่องบินนั่นคือโรค “กลัวเครื่องบิน” ที่คุณพ่อคุณแม่ต้องทำความเข้าใจเอาไว้ก่อนเพื่อสังเกตลูกว่ามีอาการเข้าข่ายหรือไม่
บทความที่เกี่ยวข้อง : ต้องทำอย่างไร เมื่อลูกน้อยจำเป็นต้อง เดินทางคนเดียวด้วยเครื่องบิน เป็นครั้งแรก
กลัวเครื่องบิน เป็นโรคหนึ่งที่ทำให้เด็กต่อต้าน
โรคกลัวเครื่องบิน (Aerophobia) เป็นหนึ่งในกลุ่มอาการกลัวโฟเบีย (Phobia) โดยจะมีอาการทำให้กลัว วิตกกังวล และเครียดจากการที่ต้องขึ้นเครื่องบิน รวมไปถึงพาหนะต่าง ๆ ที่เดินทางบนอากาศ โดยมีสาเหตุหลักมาจากการถูกปลูกฝังให้กลัว, ความกลัวส่วนตัว, กลัวที่สูง หรือมีประสบการณ์ที่ไม่ดีกับการขึ้นเครื่องบิน โดยจะมีอาการอื่น ๆ ประกอบด้วย ได้แก่
- หัวใจเต้นถี่มากขึ้น
- เหงื่อออกมากกว่าปกติ
- ไม่สามารถควบคุมอารมณ์ตนเองได้
- คลื่นไส้ อาเจียน
- ตัวสั่น
- ไม่สามารถคิด หรือประมวลผลได้เหมือนปกติ
อาการนี้ต้องใช้ความเข้าใจ และการดูแลจากคนรอบข้าง เนื่องจากสาเหตุหลักมาจากสภาวะทางจิตใจ ดังนั้นจึงควรรักษาด้วยการบำบัด และควรพกยาติดตัวไว้เสมอหากพบว่าเด็กมีอาการกลัวเครื่องบิน
ทำอย่างไรดี ให้ลูกหายกลัวเครื่องบิน
หากลูกไม่ยอมขึ้นเครื่องบินโดยปกติต้องใช้การเกลี้ยกล่อม หรือปลอบลูกให้สบายใจมากขึ้น แต่หากลูกมีท่าทีที่ไม่ยอม ผู้ปกครองอาจจำเป็นต้องเลื่อนการเดินทางออกไปก่อน อย่างไรก็ตามก่อนที่จะให้ปัญหาเหล่านี้เกิดขึ้น ผู้ปกครองควรทำตามขั้นตอนที่ถูกต้องก่อนเพื่อป้องกันอาการ กลัวเครื่องบิน
วางแผนในระยะยาวดีที่สุด
ก่อนเริ่มการเตรียมตัว เราอาจไม่รู้ว่าเด็กเล็กต้องใช้เวลาเตรียมตัวมากแค่ไหน บางคนอาจทำความเข้าใจได้รวดเร็ว ในขณะที่เด็กบางคนอาจต้องใช้เวลา ดังนั้นหากเป็นไปได้คุณพ่อคุณแม่ไม่ควรทำการเลือกวันเดินทางที่กระชั้นชิด เพื่อเตรียมตัวลูกน้อยก่อนขึ้นเครื่องบิน
ทำกิจกรรมเสริมทักษะ
หลังจากวางแผนการเดินทางไว้เรียบร้อยแล้วก็เข้าสู่ขั้นตอนการปรับตัวของเด็ก ด้วยการพาทำกิจกรรมต่าง ๆ ที่ช่วยให้คุ้นเคยกับการขึ้นเครื่องบินมากขึ้น ซึ่งมีอยู่หลายวิธีด้วยกัน ได้แก่
- การพูดคุยคือพื้นฐานที่สำคัญ : ค่อย ๆ ทำการพูดคุยกับลูกเกี่ยวกับการขึ้นเครื่องบิน โดยอาจวางแผนการพูดคุยในแต่ละวัน เพื่อเข้าใจปัญหาของเด็กว่าทำไมจึงกลัว หรือกลัวจากอะไร หากรู้สาเหตุจะทำให้ผู้ปกครองสามารถอธิบายให้เด็กเข้าใจในประเด็นนั้น ๆ ได้ และควรทำการพูดคุยกับลูกเรื่อย ๆ ในมุมของการเสริมสร้างความมั่นใจให้ลูกด้วย
- สื่อที่แสดงถึงความปลอดภัย : หากทำการพูดคุยกับลูกแล้ว จะทำให้รู้ประเด็นความกลัวของลูก หากการพูดคุยทำได้ยาก หรือทำให้เด็กไม่ยอมฟัง ผู้ปกครองสามารถใช้สื่อด้านอื่นเพื่ออธิบายให้ลูกฟัง เช่น อ่านหรือแต่งนิทานก่อนนอนที่มีความเกี่ยวข้องกับเครื่องบินในแง่ดี หรือการให้ดูการ์ตูนความรู้เกี่ยวกับความปลอดภัยของการเดินทาง เป็นต้น
- เล่นเกมสวมบทบาทเกี่ยวกับการบิน : คุณพ่อคุณแม่สามารถเลือกให้ลูกเข้าใจเกี่ยวกับ การขึ้นเครื่องบิน ด้วยการเล่นกับลูกเมื่อมีเวลาว่าง เพื่อให้ลูกมีความเข้าใจเกี่ยวกับการเดินทางด้วยเครื่องบินมากขึ้น เช่น ให้พ่อแม่สวมบทเป็นผู้โดยสาร และให้ลูกเป็นคนขับเครื่องบิน สวมบทบาทให้พาเครื่องบินลงจอดได้อย่างปลอดภัย เป็นต้น
สื่อเสริมความมั่นใจให้เด็กเมื่อ กลัวเครื่องบิน
ปัจจุบันมีหลายสื่อการเรียนรู้ที่สามารถส่งเสริมให้ความรู้เกี่ยวกับการเดินทางด้วยเครื่องบิน เพื่อช่วยให้เด็กซึมซับเรื่องราวที่เกี่ยวกับเครื่องบินที่สามารถหาให้เด็กดูได้ฟรีบนช่องทางต่าง ๆ ได้แก่
- เพลงที่กล่าวถึงความปลอดภัยบนเครื่องบินกับเพลง “ขึ้นเครื่องบิน อย่าลืมคาดเข็มขัดนะ” ของช่อง Youtube : Little Angel Thai ช่องทางการรับชม : Youtube
- การให้ความรู้เกี่ยวกับการทำงานของเครื่องบิน และคนขับที่มีความเชี่ยวชาญ เสริมความมั่นใจให้กับเด็กได้ ผ่านช่อง Youtube : Bright Side Thai ช่องทางการรับชม : Youtube
- การ์ตูนความรู้ที่ใช้ตัวเอกเป็น “เครื่องบิน” เพื่อให้ลูกมองว่าเครื่องบินเข้าถึงได้ง่าย และดูเป็นฮีโร่ กับการ์ตูนเรื่อง “SUPER WINGS ซูเปอร์วิงส์ เหินฟ้าผู้พิทักษ์” ช่องทางการรับชม : Youtube หรือ LINE TV
ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ
หากการทำกิจกรรมส่งเสริมทักษะเพื่อความพร้อมของเด็กแล้ว แต่ใกล้ถึงวันที่ต้องขึ้นเครื่องบิน เด็กกลับไม่พร้อม และยังดูมีอาการวิตกกังวล หรือกลัวเครื่องบินอยู่ ควรพาเด็กไปพบแพทย์ หรือผู้เชี่ยวชาญที่สามารถให้คำแนะนำในการรักษาได้ ซึ่งไม่ใช่เรื่องที่เสียเวลาแต่อย่างใด ผู้ปกครองควรให้ความสำคัญกับการรักษาตั้งแต่ลูกยังเล็ก เนื่องจากหากปล่อยไว้ลูกอาจจำฝังใจ และกลายเป็นคนที่กลัวการขึ้นเครื่องบินไปจนโต ซึ่งจะยิ่งสร้างความลำบากได้ในอนาคต
เตรียมตัวให้พร้อม
หลังปรับความเข้าใจ และเตรียมตัวให้ลูกด้วยกิจกรรมต่าง ๆ แล้ว อย่าลืมเตรียมของใช้ที่จำเป็นสำหรับเด็กทั้งของส่วนตัว เช่น ยาประจำตัวของเด็ก ไปจนถึงของเล่นของเด็ก โดยเลือกสิ่งที่จำเป็นมาก ๆ ไปเท่านั้น เนื่องจากการขึ้นเครื่องบิน จะมีเรื่องน้ำหนักสัมภาระเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย
บทความที่เกี่ยวข้อง : ยิ้มตลอดทริปข้ามฟ้า เคล็ดไม่ลับ ทำยังไงให้ลูกน้อยสนุกกับการ เดินทางด้วยเครื่องบิน
ปรับเปลี่ยนแผน
อย่างไรก็ตามหากทำตามขั้นตอน และเข้ารับคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญแล้ว แต่การรักษาอาจต้องใช้เวลา ผู้ปกครองอาจต้องวางแผนการเดินทางใหม่ เช่น เลื่อนวันการเดินทาง หรือเลือกเดินทางรูปแบบอื่นที่หลีกเลี่ยงการขึ้นเครื่องบิน กรณีเป็นธุระสำคัญที่ไม่สามารถเลื่อนได้อาจหาทางออกอื่นเพิ่มเติม เช่น สามารถให้บุคคลที่ไว้ใจดำเนินการแทนได้หรือไม่ หรือการฝากเด็กไว้กับบุคคลที่ไว้ใจระหว่างที่เดินทาง เป็นต้น
เด็กแต่ละคนมีความกลัวที่แตกต่างกันอาการ กลัวเครื่องบิน ก็เช่นกัน คุณพ่อคุณแม่จำเป็นต้องใช้ความเข้าใจในมุมความคิดของเด็กเพื่อแก้ปัญหาต่าง ๆ ก่อนวันเดินทางจริงให้ได้เป็นคำแนะนำที่ดีที่สุด แต่หากต้องทำการรักษาจริงคุณพ่อคุณแม่ควรวางแผนการรักษา และการเดินทางในอนาคตเพื่อเอื้อต่อเด็กด้วย
ที่มาข้อมูล :hellokhunmor mgronline wikipedia
บทความที่น่าสนใจ
ต้องทำอย่างไร เมื่อลูกน้อยจำเป็นต้อง เดินทางคนเดียวด้วยเครื่องบิน เป็นครั้งแรก
7 เคล็ดลับ เดินทางโดยเครื่องบิน สำหรับแม่ท้อง
ควรให้ลูกกินยาก่อนขึ้นเครื่องบินหรือเปล่า?
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!