เด็กสองภาษา – ลูกเข้าใจก่อนที่จะพูดหรือไม่
ในปัจจุบันการเรียนภาษาถือเป็นสิ่งที่สำคัญมากๆ สำหรับ เด็กๆยุคใหม่ เพราะ การรู้ภาษาต่างประเทศ ( Foreign Language ) มากกว่าภาษาแม่ ( Mother tongue , Native language) เป็นการพาลูกๆ สู่ประตูแห่งโอกาส และ อนาคตที่ดียิ่งขึ้น ดังนั้น คุณพ่อ และ คุณแม่ยุคใหม่ควรใส่ใจกับเรื่อง ภาษาไม่แพ้กับการเรียนวิชาอื่นๆเหมือนกัน วันนี้ทีมแอดมิน TheAsianparent จะพาคุณพ่อ คุณแม่มาเรียนรู้วิธีการสอนลูกให้เป็น เด็กสองภาษา กันค่ะ
ทำไม การเรียนสองภาษา จึงกลายเป็นสิ่งจำเป็น ?
ความจำเป็นในการเลี้ยงลูกให้เป็น เด็กสองภาษา ( อย่างน้อยให้สื่อสารได้ในระดับหนึ่ง ) มาจากเหตุผลต่อไปนี้
- คุณ และ คู่สมรสเป็นชาวต่างชาติ และ มีภาษาแม่คนละภาษากัน
- คุณต้องการให้ลูกสามารถสื่อสารกับญาติ ๆ ของฝ่ายคู่สมรสซึ่งอาศัยอยู่ในประเทศอื่นได้ และ ให้ลูกพูดได้อีกภาษาหนึ่ง
- คุณอยู่ในประเทศที่พูดภาษาอื่นที่ไม่ใช่ภาษาแม่ของคุณ ( เข้าทำนอง เข้าเมืองตาหลิ่ว ให้หลิ่วตาตาม )
- คุณ และ ครอบครัวมีปฏิสัมพันธ์ทางสังคมกับชาวต่างชาติ
- คุณอยากให้ลูกพูดมีภาษาที่สอง เช่น ภาษาอังกฤษ สเปน ฝรั่งเศส จีน หรือ ญี่ปุ่น เพื่ออนาคตทางการงานที่ดีขึ้นของลูก
วิธีการสอนภาษาที่สอง
ถ้าบ้านคุณเป็นบ้านที่พูดสองภาษาอยู่แล้ว ลูกน้อยจะมีแนวโน้มที่จะเติบโตขึ้น และ รู้โดยอัตโนมัติ ขณะที่ลูกน้อยกำลังพัฒนาความสามารถด้านการพูด และ คำศัพท์อยู่ คุณ และ คู่สมรสมักจะตั้งใจสอนลูกฝึกพูดด้วยวิธีการที่เป็นธรรมชาติ แต่ ถ้าที่บ้านของคุณไม่ได้เป็นอย่างนั้น ยังมีอีกหลากหลายโปรแกรมนำเสนอวิธีการสอนลูกให้พูดภาษาที่สอง หลักสูตรสองภาษาเหล่านี้มักจะใช้รูปภาพ เสียง และ การใช้คำซ้ำ ๆ เป็นหลักเพื่อช่วยให้เด็ก ๆ เข้าใจแนวคิดที่ว่า เราสามารถพูดคำว่า “ แม่ ” หรือ “ สวัสดี ” ได้มากกว่าหนึ่งแบบหรือหนึ่งภาษา รวมทั้งวิธีการพูดภาษาอื่นด้วย อย่างไรก็ดี
เมื่อไม่นานมานี้ได้มีการนำเสนอผลการวิจัยว่า เมื่อใด ที่เด็กจะมีความสามารถในการเรียนรู้ภาษาที่สอง งานวิจัยนี้ชี้ให้เห็นว่า ความสามารถของเด็กทารกในการเรียนรู้ภาษาที่สองเกิดขึ้นตั้งแต่ก่อนที่เด็กจะพูดได้เสียอีก งานวิจัยนี้ศึกษาจากกลุ่มเด็กทารกอายุประมาณ 7 เดือน รายงานระบุว่า เด็กทารกฟังเสียงภาษาต่างๆ ตามความยาวของเสียงคำ และ ระดับเสียงสูงต่ำของคำ ทารกยังบอกถึงความแตกต่างของภาษาที่พูดได้จากความยาว และ เสียงสูงต่ำที่ได้ยิน
การรู้สองภาษามาจากการฟัง การพูด และ การมีปฏิสัมพันธ์ ทารกสามารถจดจำเสียงยาวได้ก่อนอายุเจ็ดเดือน แต่ หากจะให้เป็นทารกสองภาษาอย่างแท้จริง เด็กจะต้องเข้าใจว่า “ลูกอม” คืออะไรก่อนที่จะเข้าใจว่า “ลูกอม” กับ “candy” คือสิ่งเดียวกัน แต่ใช้ภาษาเรียกคนละภาษา
ข้อได้เปรียบของการเป็นเด็กสองภาษา
happy father using tablet pc with little girls
1 . ประโยชน์ต่อสมองและฝึกทักษะทางด้านการเรียนรู้
การฝึกให้ลูกได้รู้จักกับภาษาที่สอง ถือเป็นวิธีการฝึกสมองที่ดีอย่างหนึ่ง เพราะสมองจะถูกกระตุ้นให้เรียนรู้คำศัพท์ และ ไวยากรณ์ของทั้งสองภาษา รวมทั้ง เด็กสองภาษาไม่เพียงแต่รู้คำศัพท์ของภาษาที่สองเท่านั้น แต่ยังสามารถเปรียบเทียบ แปล ผสมคำ ในแต่ละภาษา และ เข้าใจความหมายของคำเหล่านั้นด้วย การใช้สมองในเรื่องภาษา จึงเป็นแบบฝึกหัดอันซับซ้อนที่เข้ามาในชีวิตของเด็กอย่างเป็นธรรมชาติ นอกจากนี้ การเรียนสองภาษา จะทำให้เด็กมีความสามารถในการคิด และ การแก้ปัญหาต่างๆ ได้ดี
2. ประโยชน์ทางวิชาการ และ ความคิดสร้างสรรค์
จากมุมมองทางวิชาการ เด็กสองภาษามีข้อได้เปรียบมากมาย งานวิจัยบอกว่า เมื่อถึงเวลาตอบข้อสอบ เด็กสองภาษาจะมีความคิดสร้างสรรค์และตอบได้ละเอียดมากกว่าเด็กที่รู้แค่ภาษาเดียว อาจเป็นเพราะรู้คำศัพท์ในหลายภาษาจึงทำให้เกิดความคิดพลิกแพลง และ ยืดหยุ่นกว่า ซึ่ง เรามักจะพบความครีเอทของเด็กกลุ่มนี้มากกว่าเด็กที่พูดได้เพียงภาษาเดียว
3.ประโยชน์ทางด้านครอบครัว และ สังคม
การรู้สองภาษาไม่ใช่แค่เรียนรู้คำในสองภาษาเท่านั้น แต่เป็นการเชื่อมโยงสองวัฒนธรรมที่แตกต่างกันเข้าด้วยกัน แม้เด็กจะมีเอกลักษณ์เฉพาะตน แต่ ก็อาศัยอยู่ในครอบครัว ชุมชน และ โลกใบนี้ด้วย การเป็นเด็กสองภาษาจึงทำให้เด็กๆ มีทักษะที่ดีกว่าในเรื่องของการสื่อสาร การเข้าใจโลกรอบตัว รับรู้ความต่างทางวัฒนธรรม และ เข้าใจบทบาทอันหลากหลายของตัวเองในโลก ทั้งนี้เด็กสองภาษายังสามารถปรับตัว และ เข้าใจบริบทสังคมได้มากกว่า
Source : admissionpremium
บทความอื่นๆที่น่าสนใจ
สอนลูกให้เป็นเด็กสองภาษา ควรเริ่มเมื่อไหร่?
10 วิธี การเลี้ยงลูกให้ฉลาด อยากให้ลูกฉลาดเติบโตเป็นคนเก่ง ต้องอ่าน!!
วิธีการเลี้ยงลูกให้โตไปประสบความสำเร็จ ความสัมพันธ์ในครอบครัว ส่งผลอย่างไร
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!