X
TAP top app download banner
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้า
เข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • โภชนาการ เเม่ท้อง เเม่ให้นม
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • ตั้งชื่อลูก
  • แม่ผ่าคลอด
    • พัฒนาการเด็กผ่าคลอด
    • เตรียมตัวผ่าคลอด
    • สุขภาพเด็กผ่าคลอด
    • คู่มือคุณแม่ผ่าคลอด
    • การดูแลหลังผ่าคลอด
    • โภชนาการเด็กผ่าคลอด
  • หลังคลอด
    • คลอดธรรมชาติ
    • ผ่าคลอด
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

เสริมพลังการ เรียนรู้ที่บ้าน ให้ลูกของคุณ เริ่มจากตรงไหนดีนะ ?

บทความ 3 นาที
เสริมพลังการ เรียนรู้ที่บ้าน ให้ลูกของคุณ เริ่มจากตรงไหนดีนะ ?

โรงเรียนเลิกไม่ได้หมายความว่าการเรียนรู้ของลูกจะต้องสิ้นสุดลง แต่ลูกยังเรียนรู้ได้ต่อในรูปแบบที่ต่างไปจากในห้องเรียน แทนที่จะจำกัดการเรียนรู้ไว้เพียงแค่ในรูปแบบการศึกษาที่เป็นระบบตามหลักสูตรในห้องเรียน มาทำให้บ้านของคุณกลายเป็นแหล่งความรู้ที่น่าค้นหาสำหรับลูกๆ โดยใช้กิจกรรมที่ทำอยู่แล้วในชีวิตประจำวัน (หรือบางอย่างที่อาจจะนานๆ ทำครั้งหนึ่ง) เพื่อเสริมสร้างความสนใจใฝ่เรียนรู้ให้กับลูก

เสริมพลังการ เรียนรู้ที่บ้าน ให้ลูกของคุณ เริ่มจากตรงไหนดีนะ ?

เสริมพลังการ เรียนรู้ที่บ้าน ให้ลูกของคุณ เริ่มจากตรงไหนดีนะ ?

คุณพ่อ คุณแม่หลายท่านอาจจะคิดว่า การส่งลูกไปโรงเรียนนั้นถือเป็นที่สิ้นสุด แต่จริงๆแล้วการเรียนรู้เกิดขึ้นได้ตลอดเวลา และ กับทุกสถานที่ และ สถานที่ที่ใกล้ตัวกับเด็กๆมากที่สุด ซึ่งก็คือที่บ้านนั่นเอง ดังนั้นการ เรียนรู้ที่บ้าน สำหรับลูกๆจึงเป็นสิ่งที่คุณพ่อคุณแม่ไม่ควรมองข้าม และ จะต้องใส่ใจมากขึ้นเพื่อพัฒนาการที่ดีสำหรับลูกน้อย

คุณพ่อคุณแม่ชวนลูก ” ลงมือปฏิบัติ “

ไม่ว่าจะมีสไตล์ การเรียนรู้ แบบใด เด็กทุกคนชอบลงมือทำกันทั้งนั้น เปิดทุกโอกาสที่เป็นได้ให้ทั้งตัวคุณเอง และ ลูกได้เพิ่มพูนทักษะต่าง ๆ ที่บ้าน

ให้ลูกช่วยงานคุณในครัว ไม่ว่าจะเป็นแกะผักกาดออกจากต้น หั่นผัก ขูดชีส ตวงเครื่องปรุง อ่าน/ทำตามขั้นตอนในการปรุงอาหาร และ ทำความเข้าใจกับเลขเศษส่วน

เสริมพลังการ เรียนรู้ที่บ้าน ให้ลูกของคุณ เริ่มจากตรงไหนดีนะ ?

การพับผ้าเป็นการสอนให้เด็กรู้จักแยกประเภทสิ่งของที่มีลักษณะคล้ายคลึงกัน

Advertisement

การกวาดใบไม้ และ การทำสวนช่วยให้เด็ก ๆ ได้รู้จักใบไม้ และ ต้นไม้ชนิดต่าง ๆ รวมถึงรู้วิธีการปลูก และ ดูแลต้นไม้

การเอาจานเก็บเข้าที่จะช่วยให้เด็ก ๆ ได้หัดแยกประเภท และ จัดวางจานให้ซ้อนกันตามขนาด รวมทั้งแยกแยะเครื่องใช้ต่าง ๆ บนโต๊ะอาหาร

พาลูก ” ออกสู่โลกกว้าง “

เสริมพลังการ เรียนรู้ที่บ้าน ให้ลูกของคุณ เริ่มจากตรงไหนดีนะ ?

พาลูกไปทำกิจกรรมกลางแจ้งต่างๆ

สำรวจสนามหญ้าและที่อื่น ๆ รอบตัวว่ามีแมลงอะไรอยู่บ้าง

สะสมใบไม้และทำป้ายบอกไว้ด้วยว่าเป็นใบของต้นอะไร ลูกจะได้รู้จักต้นไม้ต่าง ๆ ที่มีในย่านที่คุณอาศัยอยู่

ปลูกดอกไม้ ผักและ/หรือสมุนไพรต่าง ๆ เพื่อสอนให้ลูกรู้ว่าจริง ๆ แล้วอาหารมาจากไหน

ไปตกปลา

สอนให้ลูกก่อไฟและหัดทำอาหารบนกองไฟ

ดูดาวและช่วยกันมองหาดาวเคราะห์และกลุ่มดาวที่มองเห็นได้ด้วยตาเปล่า

ไปเก็บผลไม้ แล้วอาจนำมาแปรรูปเป็นแยม ผลไม้กวนหรือเจลลี่

ช่วยลูกค้นหาสิ่งที่ชื่นชอบ

เสริมพลังการ เรียนรู้ที่บ้าน ให้ลูกของคุณ เริ่มจากตรงไหนดีนะ ?

ไปพิพิธภัณฑ์และงานแสดงศิลปะต่าง ๆ แล้วพูดคุยกันเกี่ยวกับสิ่งที่ได้พบเห็น

พาลูกไปเข้าร่วมกิจกรรมหรือเวิร์คช็อปที่จัดขึ้นโดยร้านขายอุปกรณ์ต่อเติมบ้านหรือร้านที่ขายอุปกรณ์ทำงานฝีมือต่างๆ เพื่อให้ลูกได้มีประสบการณ์ในการสร้างชิ้นงานโดยใช้ไม้และเครื่องมือแบบง่าย ๆ การทาสี การทำงานประดิษฐ์โดยใช้ดินประดิษฐ์ กระดาษและสื่ออื่น ๆ

ซื้อกล้องถ่ายรูปราคาไม่แพงนักและอนุญาตให้เด็ก ๆ ใช้ได้ถ้าต้องการ และซื้อคู่มือถ่ายภาพสำหรับเด็กไว้ด้วยเพื่อให้เด็ก ๆ ได้เรียนรู้เทคนิคในการถ่ายภาพ

พาลูก ๆ ไปชมและเล่นกีฬาต่าง ๆ อย่าบังคับให้ลูกเล่นกีฬาชนิดใดชนิดหนึ่ง แต่ให้ลูกเลือกเองว่าอยากเล่นอะไร

รู้ว่ามีอะไรเกิดขึ้นบ้าง

หนึ่งในสิ่งที่ดีที่สุดที่ทำให้ลูกได้ คือ การทำให้ลูกได้รู้ทั้งจากคำพูดและการกระทำ ว่าการศึกษาของลูกมีความสำคัญสำหรับคุณ ทั้งโดยการมีส่วนร่วมกับทางโรงเรียน ด้วยการเป็นผู้ปกครองอาสาสมัคร การสื่อสารกับคุณครูอย่างสม่ำเสมอ และการพูดคุยเกี่ยวกับสิ่งที่เกิดขึ้นในวันนั้น ๆ กับลูกแต่ละคนเป็นประจำทุกวัน

เสริมพลังการ เรียนรู้ที่บ้าน ให้ลูกของคุณ เริ่มจากตรงไหนดีนะ ?

เวลาพูดคุยกับลูก ๆ เกี่ยวกับสิ่งที่เกิดขึ้นในแต่ละวัน สิ่งสำคัญอย่างยิ่งที่คุณจะต้องไม่ทำให้ลูกรู้สึกว่ากำลังถูกสอบสวน คุณควรถามคำถามง่าย ๆ ไม่กี่คำถามที่ต้องการคำตอบมากกว่า “ใช่” หรือ “ไม่ใช่” แล้วฟังลูก คุณแสดงความเห็นสั้น ๆ หรือถามเป็นระยะ ๆ แต่ สิ่งที่ลูกต้องการจริง ๆ คือให้คุณเป็นผู้ฟัง เช่น “วันนี้ลูกทำอะไรบ้างช่วงพักกลางวัน” “อืม พีทเค้าเตะบอลแรงขนาดนั้นเลยเหรอลูก” “วันนี้ลูกทำอะไรบ้างนอกจากอ่านหนังสือ” “เล่นเกมคิดเลขก็ทำให้เรียนสนุกขึ้นไม่ใช่เหรอลูก ถ้าทุกคนได้เล่น มันก็ไม่สำคัญหรอกนะลูก ว่าใครจะแพ้หรือชนะ”

เช็คกระเป๋าหนังสือของลูกทุกวัน เด็ก ๆ ไม่ได้ตั้งใจที่จะไม่บอกคุณหรอกว่าวันนี้มีจดหมายมาจากโรงเรียนหรือไม่ทำการบ้าน แค่พอออกจากโรงเรียนเด็ก ๆ ก็พร้อมจะลืมทุกสิ่งอย่างแล้ว

ถ้าโรงเรียนของลูกคุณมีช่องทางสื่อสารทางอินเทอร์เน็ตสำหรับผู้ปกครอง คุณควรเข้าใช้งานช่องทางเหล่านั้นเนื่องจากคุณสามารถติดตามพัฒนาการของลูก รับทราบข้อมูล กิจกรรมของโรงเรียนและประกาศต่าง ๆ รวมถึงส่งอีเมลหาคุณครูได้

นี่คือหน้าที่ของพ่อแม่

บทความจากพันธมิตร
การมีสติ ฉบับเด็ก ๆ เป็นอย่างไร ฝึกลูกให้มีสติ ท่ามกลางโลกที่วุ่นวาย
การมีสติ ฉบับเด็ก ๆ เป็นอย่างไร ฝึกลูกให้มีสติ ท่ามกลางโลกที่วุ่นวาย
ส่งเสริมพัฒนาการเด็กยุคใหม่ด้วย ทักษะ Executive Function
ส่งเสริมพัฒนาการเด็กยุคใหม่ด้วย ทักษะ Executive Function
ปี 2567 เด็กป่วยด้วยโรคอะไร? LUMA แบ่งปันสถิติให้เข้าใจมากขึ้น
ปี 2567 เด็กป่วยด้วยโรคอะไร? LUMA แบ่งปันสถิติให้เข้าใจมากขึ้น
Value Health (Kids) ประกันสุขภาพสำหรับลูกน้อย เจ้าของรางวัล Most Promising จากเวที TAP Awards 2023
Value Health (Kids) ประกันสุขภาพสำหรับลูกน้อย เจ้าของรางวัล Most Promising จากเวที TAP Awards 2023

เด็ก ๆ เรียนรู้จากสิ่งที่เขาพบเห็นในชีวิต ถ้าคุณกระตือรือร้นให้ความสนใจกับ การเรียนรู้ลูก เขาก็จะเป็นเช่นนั้นเหมือนกัน การสร้างรากฐาน การเรียนรู้ลูก ด้วยความสนใจและความปรารถนาที่จะเรียนรู้ตั้งแต่ตอนนี้จะช่วยให้เด็ก ๆ มีทัศนคติในการเรียนรู้เช่นนี้ไปจนถึงระดับมหาวิทยาลัย (เผลอเดี๋ยวเดียวลูกก็เข้ามหาวิทยาลัยแล้ว) นอกจากนี้ ในฐานะของคุณพ่อคุณแม่ การปลูกฝังความรักที่จะเรียนรู้ให้ลูกเป็นหน้าที่ของคุณ ด้วยการสร้างและหยิบยื่นโอกาสให้ลูก ๆ ได้ทำในสิ่งต่าง ๆ ที่ลูกต้องการไม่ว่าจะในด้านของอารมณ์ความรู้สึกหรือสติปัญญา เด็ก ๆ จำเป็นต้องรู้ว่าสิ่งที่จะจำกัดเขาได้มีเพียงท้องฟ้าเท่านั้น

Source : happyschoolbreak

บทความอื่นๆที่น่าสนใจ

สอนลูกทำอาหาร มาดูกันดีกว่าว่าทักษะทำอาหาร ของลูกแต่ละวัยเป็นอย่างไร

ศิลปะ ความคิดสร้างสรรค์ ปลูกฝังวิธีคิดเด็กยุคใหม่กับโกลเบิล อาร์ต

วิธีการเลี้ยงลูกให้โตไปประสบความสำเร็จ ความสัมพันธ์ในครอบครัว ส่งผลอย่างไร

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

theAsianparent Thailand Team

  • หน้าแรก
  • /
  • ชีวิตครอบครัว
  • /
  • เสริมพลังการ เรียนรู้ที่บ้าน ให้ลูกของคุณ เริ่มจากตรงไหนดีนะ ?
แชร์ :
  • ต้องแยกแยะ “สุภาพ” กับ “โกหก”  สอนลูกพูดความจริง เมื่อการสร้างภาพและรักษาน้ำใจไม่ใช่ทางออก

    ต้องแยกแยะ “สุภาพ” กับ “โกหก” สอนลูกพูดความจริง เมื่อการสร้างภาพและรักษาน้ำใจไม่ใช่ทางออก

  • ครอบครัวแบบไหนไม่ทำร้ายเด็ก สร้างพื้นที่ปลอดภัย เป็นความสบายใจให้ลูก

    ครอบครัวแบบไหนไม่ทำร้ายเด็ก สร้างพื้นที่ปลอดภัย เป็นความสบายใจให้ลูก

  • เคล็ดลับสร้างวินัยเชิงบวกให้ลูก เลี้ยงลูกแบบ ใจดีแต่ไม่ใจอ่อน (Kind but Firm)

    เคล็ดลับสร้างวินัยเชิงบวกให้ลูก เลี้ยงลูกแบบ ใจดีแต่ไม่ใจอ่อน (Kind but Firm)

  • ต้องแยกแยะ “สุภาพ” กับ “โกหก”  สอนลูกพูดความจริง เมื่อการสร้างภาพและรักษาน้ำใจไม่ใช่ทางออก

    ต้องแยกแยะ “สุภาพ” กับ “โกหก” สอนลูกพูดความจริง เมื่อการสร้างภาพและรักษาน้ำใจไม่ใช่ทางออก

  • ครอบครัวแบบไหนไม่ทำร้ายเด็ก สร้างพื้นที่ปลอดภัย เป็นความสบายใจให้ลูก

    ครอบครัวแบบไหนไม่ทำร้ายเด็ก สร้างพื้นที่ปลอดภัย เป็นความสบายใจให้ลูก

  • เคล็ดลับสร้างวินัยเชิงบวกให้ลูก เลี้ยงลูกแบบ ใจดีแต่ไม่ใจอ่อน (Kind but Firm)

    เคล็ดลับสร้างวินัยเชิงบวกให้ลูก เลี้ยงลูกแบบ ใจดีแต่ไม่ใจอ่อน (Kind but Firm)

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • พัฒนาการลูก
  • ชีวิตครอบครัว
  • ระยะการตั้งครรภ์
  • โภชนาการ
  • ไลฟ์สไตล์
  • TAP สังคมออนไลน์
  • ติดต่อโฆษณา
  • ติดต่อเรา
  • Influencer Marketing (KOL)
  • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Vietnam flag Vietnam
© Copyright theAsianparent 2025. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว