X
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้าเข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ตั้งครรภ์
    • คำนวณวันคลอด
    • ฉันกำลังตั้งครรภ์
    • ไตรมาสที่ 1
    • ไตรมาสที่ 2
    • ไตรมาสที่ 3
    • Project Sidekicks
    • ตั้งชื่อลูก
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • อีเว้นท์
    • TAP Awards Winners
    • TAP idol
    • TAP x Safari Largest Treasure Hunt
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

คุณหมอบอกมา 5 ภาวะแทรกซ้อนขณะตั้งครรภ์ ที่แม่ท้องต้องระวัง!!

บทความ 3 นาที
คุณหมอบอกมา 5 ภาวะแทรกซ้อนขณะตั้งครรภ์ ที่แม่ท้องต้องระวัง!!

ตลอดระยะเวลาที่อุ้มท้อง คุณแม่ทุกคนก็อยากให้ลูกในท้องมีสุขภาพแข็งแรง คลอดออกมามีร่างกายที่สมบูรณ์ น้ำหนักอยู่ในเกณฑ์ ปลอดภัย แต่ระหว่างระยะเวลา 9 เดือนนั้นมันอาจจะปัญหาอุปสรรคเกิดขึ้น มีคุณแม่จำนวนไม่น้อยที่เกิด โรคแทรกซ้อนระหว่างตั้งครรภ์ ขึ้นได้

ภาวะแทรกซ้อนขณะตั้งครรภ์ เรื่องที่คุณแม่ตั้งท้องไม่เคยคิดอยากจะให้เกิด บางโรคอาจรุนแรงไม่มาก บางโรคก็มีความเสี่ยงอันตรายต่อชีวิต!!

5 ภาวะแทรกซ้อนขณะตั้งครรภ์ ที่แม่ท้องต้องระวัง!!

รองศาสตราจารย์นายแพทย์วิทยา  ถิฐาพันธ์ ภาควิชาสูติศาสตร์ – นรีเวชวิทยา คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ได้กล่าวถึงโรคแทรกซ้อนที่พบได้บ่อยและค่อนข้างเสี่ยงต่อสุขภาพของคุณแม่และลูกในท้อง ให้คุณแม่คอยสังเกตอาการผิดปกติ ที่ควรป้องกันและรับมือ หากพบว่ามีลักษณะดังกล่าวควรไปโรงพยาบาลเพื่อพบคุณหมอทันที

ท้องนอกมดลูก

#1 ภาวะท้องนอกมดลูก

การตั้งครรภ์ปกตินั้นจะตั้งครรภ์ในมดลูก แต่มีจำนวนไม่น้อยที่ไข่ที่ได้รับการผสมกับอสุจิแล้วไปฝังอยู่ที่ท่อนำไข่ หรือบางคนไปฝังในรังไข่ บางคนก็ในช่องท้อง แต่กรณีที่พบบ่อยที่สุดคือท้องในท่อนำไข่ นำไปสู่การตั้งครรภ์นอกมดลูก ซึ่งถือว่าเป็นการตั้งครรภ์ที่ผิดปกติ เมื่อลูกในครรภ์โตได้ระยะหนึ่งก็อาจเสียชีวิตได้

สาเหตุที่เกิดการท้องนอกมดลูก เกิดจากคุณแม่ที่เคยมีประวัติปีกมดลูกอักเสบ หรือเคยทำแท้งบ่อย ๆ การขูดมดลูกอาจจะมีการอักเสบติดเชื้อทำให้ท่อนำไข่หรือมดลูกไม่เรียบ ไข่เดินทางไปสู่มดลูกได้ช้า การฝังตัวเกิดได้ไม่ดีจึงเกิดฝังตัวนอกมดลูก การป้องกันเพื่อไม่ให้เกิดการท้องนอกมดลูกได้ดีที่สุดคือ การฝากครรภ์ให้เร็วที่สุด เพื่อหากพบภาวะนี้สามารถให้การรักษาได้ทันท่วงที ไม่เกิดอันตรายต่อคุณแม่ เพราะหากปล่อยไว้อาจเกิดท่อรังไข่ หรือรังไข่ฉีกขาดได้

#2 ภาวะรกเกาะต่ำ

เมื่อเกิดภาวะรกเกาะต่ำลงมาที่ปากมดลูกเป็นเหตุทำให้ลูกในท้องเคลื่อนลงมาไม่ได้ และถ้าลูกตัวใหญ่ขึ้นรกที่เกาะอยู่แผ่นใหญ่ขึ้น พอขยายตัวอาจทำให้เกิดรอยเผยอระหว่างตัวรกกับปากมดลูกทำให้คุณแม่มีเลือดออกผิดปกติ ถ้าเลือดออกมาก ๆ อาจทำให้ทั้งแม่และลูกเสียชีวิตได้ แต่ก็มีแม่บางรายที่เกิดภาวะรกเกาะต่ำแต่ไม่เกิดปัญหาตามมาก็ได้

สาเหตุที่เกิดภาวะรกเกาะต่ำอาจเกิดขึ้นกับคุณแม่ที่เคยคลอดลูกหลาย ๆ คน หรือว่าเคยขูดมดลูกมาก่อน ในกรณีนี้หากรู้ว่าตนเองมีภาวะเสี่ยง เมื่อตั้งครรภ์ควรรีบฝากครรภ์เสียแต่เนิ่น ๆ เพราะถ้าตรวจพบว่ามีรกเกาะต่ำ ควรปฏิบัติตัวไม่ให้มีการกระทบกระเทือน ไม่ควรทำงานหนัก  หรือมีเพศสัมพันธ์ เพื่อป้องกันการเกิดปัญหาเลือดออกจากรกเกาะต่ำ หากมีภาวะนี้เกิดขึ้นคุณหมอจะรอจนมีอายุครรภ์ครบกำหนด และนัดมาผ่าตัดคลอด แต่ในบางรายที่ยังไม่ทันครบกำหนดแล้วมีเลือดออกเยอะ อาจจำเป็นต้องผ่าตัดคลอดก่อนกำหนด เพื่อรักษาชีวิตแม่เอาไว้

ภาวะแทรกซ้อนขณะตั้งครรภ์

#3 ภาวะแท้งลูก

การแท้งลูกคือการจำเป็นต้องยุติการตั้งครรภ์หรือสิ้นสุดลงก่อนเวลาอันควร หมายถึง การตั้งครรภ์ที่ยุติก่อน 20-28 สัปดาห์ ซึ่งถ้ายุติในช่วงเวลานี้ส่วนมากลูกในท้องจะไม่สามารถมีชีวิตได้เพราะว่าตัวเล็กเกินไป สาเหตุที่เกิดการแท้งคือ การแท้งที่อาจเกิดจากไข่ที่ไม่สมบูรณ์ หรือแม่มีโรคประจำตัวบางอย่าง เช่น เบาหวาน โรคเลือดบางชนิด ก็อาจทำให้แท้งได้ บางรายก็หาสาเหตุชัด ๆ ไม่ได้ เช่น ภาวะเครียด อดนอน ทำงานหนัก อีกสาเหตุหนึ่งคือการตั้งใจทำแท้ง

วิธีป้องกันที่ดีที่สุดก็คือ การตรวจสุขภาพร่างกายก่อนตั้งครรภ์ ถ้าคุณแม่มีโรคควรรักษาให้หายก่อนการตั้งครรภ์ หรืออยู่ในภาวะที่ควบคุมได้ ควรปรึกษาแพทย์เพื่อขอคำแนะนำก่อนปล่อยให้มีการตั้งครรภ์

#4 ภาวะรกลอกตัวก่อนกำหนด

ตามธรรมชาติรกจะเกาะที่ยอดมดลูก และรกจะหลุดจากมดลูกหลังจากคลอดตามออกมาด้วย แต่บางรายรกที่เกาะมดลูกอยู่หลุดออกมาก่อนโดยที่เด็กยังไม่คลอดออกมา เมื่อรกหลุดทำให้เลือดที่ไปเลี้ยงทารกผ่านรกขาดไปทันที หากช่วยไม่ทันจะทำให้ทารกเสียชีวิตตั้งแต่อยู่ในท้องได้ ซึ่งภาวะส่วนใหญ่เกิดขึ้นจากอุบัติเหตุ เช่น ถูกกระแทกที่หน้าท้อง หกล้ม กระแทกกระเทือนจากการนั่งรถ หรืออุ้มลูกที่มีน้ำหนักเยอะหรือยกของหนักระหว่างตั้งครรภ์ บางรายอาจเกิดจากการเป็นโรคความดันโลหิตสูง ก็อาจทำให้รกลอกตัวก่อนกำหนดได้เช่นกัน ในกรณีถ้าพบต้องเร่งทำคลอดทันที ดังนั้นระหว่างตั้งครรภ์ควรระมัดระวังไม่ให้เกิดการกระทบกระเทือนที่บริเวณหน้าท้องอย่างยิ่ง

#5 ภาวะตกเลือดหลังคลอด

การคลอดปกติจะทำให้แม่เสียเลือดประมาณ 200 – 300 ซีซี. แต่แม่บางคนภายหลังจากคลอดลูก รกคลอดไปแล้ว อาจเลือดออกมากกว่าครึ่งลิตรหรือมากกว่า 500 ซีซี. ซึ่งทำให้เกิดอาการช็อกหรือเสียชีวิต ซึ่งสาเหตุที่เกิดพบได้ 3 กรณีคือ

  • มดลูกบีบตัวได้ไม่ดีทำให้มดลูกแข็งตัวได้ไม่ดี เลือดจึงออกเยอะไหลไม่หยุด มักพบในคุณแม่ตั้งครรภ์ที่อายุมาก คลอดลูกบ่อย หรือเกิดจากการคลอดยากซึ่งอาจเป็นเพราะลูกตัวโตหรือมีท่าผิดปกติ หรือคุณแม่ที่ได้รับยาคลายกล้ามเนื้อมดลูกบางอย่างทำให้มดลูกหดรัดตัวได้ไม่ดีเช่นกัน
  • เกิดจากการฉีกขาดของช่องทางคลอด ฝีเย็บอาจจะมีการฉีกขาดทำให้เลือดออกมาก บางรายอาจเกิดมดลูกฉีกขาดหรือแตกจากการคลอดที่สาเหตุมาจากการที่ลูกตัวใหญ่มาก
  • หลังคลอดลูกออกมาแล้วแต่รกคลอดไม่หมด ยังค้างอยู่บางส่วน รกที่ค้างอยู่ทำให้มดลูกหดรัดตัวไม่ดี ทำให้เสียเลือดได้

การเสียชีวิตจากการตกเลือดหลังคลอดส่วนใหญ่พบในประเทศที่ด้อยพัฒนาเนื่องจากอาจจะมีเลือดมารักษาไม่เพียงพอ หรือยารักษาการติดเชื้อไม่ดีพอ สำหรับในประเทศไทยที่มีโอกาสที่จะเสียชีวิตจากโรคนี้ต่ำมาก อย่างไรก็ตาม คุณแม่ควรได้ดูแลตัวเองให้ดีและได้รับคำปรึกษาจากคุณหมอตลอดระยะเวลาการตั้งครรภ์ ก็จะทำให้คลายกังวลจากโอกาสเกิดโรคแทรกซ้อนต่าง ๆ เหล่านี้.


ที่มา : www.si.mahidol.ac.th

บทความอื่นที่น่าสนใจ :

6 อาการผิดปกติของคนท้อง แค่เจออาการเดียวก็ต้องไป รพ. พบหมอทันที!

มีลูกตอนอายุมาก ตั้งครรภ์อย่างไรให้ปลอดภัย

บทความจากพันธมิตร
โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ เปิดบ้านต้อนรับคู่รักที่มีภาวะมีบุตรยาก ชวนทำความรู้จัก คลินิกรักษาผู้มีบุตรยาก ที่พร้อมให้บริการแบบ One Stop Service
โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ เปิดบ้านต้อนรับคู่รักที่มีภาวะมีบุตรยาก ชวนทำความรู้จัก คลินิกรักษาผู้มีบุตรยาก ที่พร้อมให้บริการแบบ One Stop Service
แม่ท้องอย่ามองข้าม อาการท้องผูก ในระหว่างตั้งครรภ์เสี่ยงต่อการแท้งได้จริง?
แม่ท้องอย่ามองข้าม อาการท้องผูก ในระหว่างตั้งครรภ์เสี่ยงต่อการแท้งได้จริง?
Attitude Mom รุ่น Galaxy II เครื่องปั๊มนม ที่คุณแม่วางใจ ส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างมีประสิทธิภาพ
Attitude Mom รุ่น Galaxy II เครื่องปั๊มนม ที่คุณแม่วางใจ ส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างมีประสิทธิภาพ
รีวิว IMANI i2 Plus อันดับ 1 เครื่องปั๊มนมไร้สายสุดพรีเมียม ผู้ช่วยของคุณแม่ยุคใหม่ที่ทำให้การปั๊มนมเป็นเรื่องง่าย
รีวิว IMANI i2 Plus อันดับ 1 เครื่องปั๊มนมไร้สายสุดพรีเมียม ผู้ช่วยของคุณแม่ยุคใหม่ที่ทำให้การปั๊มนมเป็นเรื่องง่าย

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
ddc-calendar
เตรียมความพร้อมสำหรับลูกน้อย โดยใส่วันครบกำหนดคลอดของคุณ
หรือ
คำนวณวันครบกำหนดคลอด
img
บทความโดย

Napatsakorn .R

  • หน้าแรก
  • /
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • /
  • คุณหมอบอกมา 5 ภาวะแทรกซ้อนขณะตั้งครรภ์ ที่แม่ท้องต้องระวัง!!
แชร์ :
  • 9 โรคอันตรายที่เกิดขึ้นได้ระหว่างตั้งครรภ์

    9 โรคอันตรายที่เกิดขึ้นได้ระหว่างตั้งครรภ์

  • นาทีเป็น นาทีตาย เมื่อเป็นโรคแทรกซ้อนระหว่างตั้งครรภ์

    นาทีเป็น นาทีตาย เมื่อเป็นโรคแทรกซ้อนระหว่างตั้งครรภ์

  • ลูกเหงื่อออกตอนนอน สัญญาณโรคร้ายที่พ่อแม่ต้องระวัง

    ลูกเหงื่อออกตอนนอน สัญญาณโรคร้ายที่พ่อแม่ต้องระวัง

  • ลูกเหงื่อออกตอนนอน สัญญาณโรคร้ายที่พ่อแม่ต้องระวัง

    ลูกเหงื่อออกตอนนอน สัญญาณโรคร้ายที่พ่อแม่ต้องระวัง

  • 9 โรคอันตรายที่เกิดขึ้นได้ระหว่างตั้งครรภ์

    9 โรคอันตรายที่เกิดขึ้นได้ระหว่างตั้งครรภ์

  • นาทีเป็น นาทีตาย เมื่อเป็นโรคแทรกซ้อนระหว่างตั้งครรภ์

    นาทีเป็น นาทีตาย เมื่อเป็นโรคแทรกซ้อนระหว่างตั้งครรภ์

  • ลูกเหงื่อออกตอนนอน สัญญาณโรคร้ายที่พ่อแม่ต้องระวัง

    ลูกเหงื่อออกตอนนอน สัญญาณโรคร้ายที่พ่อแม่ต้องระวัง

  • ลูกเหงื่อออกตอนนอน สัญญาณโรคร้ายที่พ่อแม่ต้องระวัง

    ลูกเหงื่อออกตอนนอน สัญญาณโรคร้ายที่พ่อแม่ต้องระวัง

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
    • ก่อนตั้งครรภ์
    • การคลอด
    • ระยะการตั้งครรภ์
    • การคลอด
  • พัฒนาการลูก
    • ทารก
    • เด็กก่อนเข้าเรียน
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • การวางแผนการเงิน
    • การเลี้ยงลูก
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • นมแม่และนมผง
  • โภชนาการ
    • สินค้าเด็ก
    • นมผง
    • เมนูอาหาร
    • สินค้าแม่
  • เพิ่มเติม
    • TAP สังคมออนไลน์
    • ติดต่อโฆษณา
    • ติดต่อเรา
    • Influencer Marketing (KOL)
    • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Sri-Lanka flag Sri Lanka
  • India flag India
  • Vietnam flag Vietnam
  • Australia flag Australia
  • Japan flag Japan
  • Nigeria flag Nigeria
  • Kenya flag Kenya
© Copyright theAsianparent 2023. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

theAsianparent heart icon
เราต้องการส่งแจ้งเตือนข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการดูแลตัวเองระหว่างตั้งครรภ์ไปให้กับคุณ